หน้าที่สำคัญของการสื่อสารแบบอะซิงโครนัสก็คือ
รับสัญญาณ
- เปลี่ยนสัญญาณเข้ามาแบบอนุกรมให้เป็นแบบขนาน
- ตรวจสอบความผิดพลาดของสัญญาณที่รับ
- ตัดสต๊อปบิตและพาริตี้บิตออก
- ส่งสัญญาณให้ซีพียูรู้ว่ารับสัญญาณไว้แล้ว
ส่งสัญญาณ
- เปลี่ยนสัญญาณแบบขนานจากซีพียู ค่อยทยอยส่งออกเป็นแบบอนุกรม
- เพิ่มสต๊อปบิตและพาริตี้บิต
- เพิ่มสัญญาณควบคุมโมเด็มที่ต่อเชื่อม ( ถ้ามี )
การใช้ RS 232C เชื่อมต่ออุปกรณ์
ความจริงอีกประการหนึ่งของ RS 232 ก็คือความเร็วและระยะทางของการเชื่อมต่อ RS 232 สามารถเชื่อมต่อการถ่ายโอนข้อมูลได้จาก 0 - 20,000 บิตต่อวินาที ซึ่งเพียงพอสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดอัตราบอด 110 ถึง 9600 บอด ความยาวของสายเชื่อมต่อโดยสัญญาณตามมาตรฐานของ RS 232 จำกัดอยู่แค่ 50 ฟุต ซึ่งเพียงพอสำหรับการสื่อสารไมโครคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์รอบนอก
ลักษณะของสัญญาณ RS 232C
เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลถูกส่งออกไปอย่างถูกต้อง
และอุปกรณ์ถูกควบคุมอย่างถูกต้อง จำเป็นจะต้องมีข้อตกลงกันในเรื่องของสัญญาณที่ใช้
มาตรฐาน RS 232C กำหนดย่านของแรงดันไฟฟ้าในสัญญาณเพื่อสนองจุดประสงค์ข้างบน
ดังแสดงในตาราง
|
|||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
+ 5 V, + 3 V ย่านแรงดันไฟฟ้าบวก
- 3 V , - 15 V ย่านแรงดันไฟฟ้าลบ
สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์บางเครื่อง ใช้แต่สัญญาณลอจิกออกมาเป็นสัญญาณของ RS 232C เลย อย่างเช่น อะซิงโครนัสอะแดปเตอร์ของ IBM PC ในกรณีเช่นนี้ระยะทางของสายที่เชื่อมต่ออาจจะไปได้สั้นกว่า 50 ฟุต ดังที่กล่าวเอาไว้เนื่องจากระดับของกราวนด์เปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องจากการสูญเสียไปในความต้านทานของสาย ผู้ที่เคยใช้ IBM PC อาจจะเคยประสบกับปัญหานี้มาแล้วว่า เอ๊ะทำไมต่อสัญญาณ RS 232 เกินกว่า 10 ฟุต แล้วใช้งานไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม RS 232 ของ IBM PC ยังมีโอกาสให้เลือกใช้ 20 มิลลิแอมแปร์ กระแสวนกลับแทนแรงดันไฟฟ้า
การกำหนดจุดข้อต่อของ RS 232C
ในทางฟิสิกส์แล้ว มาตรฐานของ RS 232C กำหนดข้อต่อแบบ
DB-25 แต่ละขาของข้อต่อกำหนดไว้ดังในรูป อย่างไรก็ตามผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์อาจจะใช้ข้อต่อชนิดอื่นที่นอกเหนือไปจาก
DB-25 ยกตัวอย่างเช่น Fujitsu F-8, IBM AT, IBM Jr เป็นต้น ตัวเมียของข้อต่อควรจะอยู่ที่ตัวโมเด็ม
ขณะที่ตัวผู้ควรจะอยู่ที่ asynchronous communication adapter หรือที่ตัวไมโครคอมพิวเตอร์เอง
อย่างไรก็ตามผู้ผลิตหลายรายไม่ได้ทำตามกฎเกณฑ์ที่ว่านี้
รูปที่ 9