จากคำประพันธ์ข้างต้น  สุนทรภู่ต้องการเปรียบเทียบให้เห็นถึงจิตใจที่มีความผูกพันฝังตรึงอยู่กับนางจนยากจะตัได้  หรือการตัดใจจากนางที่ตนพึงพอใจ  ยากเสียยิ่งกว่าการถอนอาวุธปลายแหลมจำนวนนับแสนเล่มที่ปักอยู่ที่ร่างการยของตนเสียอีก

           4.3.5  สัทพจน์  คือ  การเปรียบเทียบโดยการใช้คำเลียวเสียงธรรมชาติ  ทำให้รู้สึกว่าธรรมชาตินั้นมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น  เช่น

                                                   ต้อยตะริดติ๊ดตี่เจ้าพี่เอ๋ย

                                                จะละเลยเร่ร่อนไปนอนไหน

                                                แอ้อีอ่อยสร้อยฟ้าสุมาลัย

                                                แม้นเด็ดได้แล้วไม่ร้างให้ห่างเชย

                                                                                                (พระอภัยมณี  : สุนทรภู่)

                                                   ไผ่ซออ้อเอียดเบียดออด

                                                ลมลอดไล่เลียวเรียวไผ่

                                                ออดแอดแอดออดยอดไกว

                                                แพใบไล้น้ำลำคลอง   

                                                                                  (คำหยาด : เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)

         4.3.6   สัญลักษณ์    คือ  การใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง  สัญลักษณ์อาจเป็นคำคำเดียว  เป็นข้อความ  เป็นเรื่องเฉพาะตอน  หรือเป็นเรื่องทั้งเรื่องก็ได้  เช่น

                                                   เมื่อแรกเชื่อว่าเนื้อทับทิมแท้

                                                มาแปรเป็นพลอยหุงไปเสียได้

                                                กาลวงว่าหงส์ให้ปลงใจ

                                                ด้วยมิได้ดูหงอนแต่ก่อนมา     

           (ขุนช้างขุนแผน)

                         ทับทิมและหงส์เป็นสัญลักษณ์แทนคนดีหรือผู้สูงศักดิ์พลอยหุงและกาเป็นสัญลักษณ์แทนคนชั่วคนชั้นต่ำ       

ตัวอย่างสัญลักษณ์ที่ใช้กันทั่วไป

          แสงสว่าง         เป็นสัญลักษณ์ของ     ปัญญา

            ความมืด          เป็นสัญลักษณ์ของ     กิเลสและอวิชชา

Page 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20