|

ไลเปส (Lipases, EC 3.1.1.3)
หรือเรียกอีกชื่อว่า Glycerol ester hydrolase
เป็นเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาทั้งการย่อยสลายและการสังเคราะห์พันธะเอสเทอร์ของไตรกลีเซอร์ไรด์
ซึ่งมีกรดไขมันสายยาวเป็นส่วนประกอบ
เช่น Triacylglycerol
ได้ผลิตผลของปฏิกิริยาเป็น
กรดไขมันอิสระ (free fatty acid)
และกลีเซอรอล (glycerol)
หรือในทางกลับกัน
เอนไซม์นี้สามารถเร่งปฏิกิริยาระหว่าง
กลีเซอรอลและกรดไขมันอิสระ
ให้ได้ผลผลิตเป็น Triacylglycerol
ไลเปสพบได้ทั้งในสัตว์ พืช
และจุลชีพ ในสัตว์พบได้ใน
น้ำนมและตับอ่อน
ส่วนพืชพบในเมล็ดที่กำลังงอก
เช่น เมล็ดข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต
ข้าวไรย์ ฝ้าย ถั่วเหลือง
และละหุ่ง เป็นต้น
ไลเปสจากพืชและสัตว์มีความคงตัวต่ำกว่าจุลินทรีย์
ไลเปสจากจุลินทรีย์จะพบทั้งที่สร้างอยู่ในเซลล์
และขับออกมานอกเซลล์
นอกจากนี้ยังมีข้อดี คือ
เจริญเติบโตเร็ว เลี้ยงง่าย
ไม่ต้องการพื้นที่มากในการเลี้ยงไม่ขึ้นกับฤดูกาล
และนอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มผลผลิตได้โดยวิธีปรับปรุงพันธุกรรมของจุลินทรีย์
ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เอนไซม์ไลเปสจากเชื้อจุลชีพในทางเทคโนโลยีชีวภาพอย่างกว้างขวางเนื่องจากมีข้อดีหลายประการเช่น
เอนไซม์มีความคงตัวใน organic solvents,
เอนไซม์ไม่ต้องการ cofactors,
เอนไซม์มีความจำเพาะต่อ substrate น้อย
(broad substrate specificity) และที่สำคัญ
ไลเปสมีความจำเพาะเจาะจงในเรื่อง
enantioselectivityมีการรายงานว่ามีเอนไซม์ไลเปสที่ใช้ประโยชน์ทางการค้าในปัจจุบัน
มีต้นกำเนิดมาจาก
34แหล่งของเอนไซม์ที่แตกต่างกัน
ซึ่งในนั้นมี 18
แหล่งแยกได้จากพวก fungi เช่น Candida rugosa,
Candida antarctica,Thermomyces lanuginosus, Rhizomucor miehei เป็นต้น
และ7 แหล่งจากแบคทีเรีย เช่น Burkholderia
cepacia, Pseudomonas alcaligenes, Pseudomonas mendocina, Chromobacterium viscosum
เป็นต้น
ซึ่งเอนไซม์ไลเปสได้มีการนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์มากมายเช่น
ใช้ในการสังเคราะห์สารอินทรีย์
(organic synthesis),
ใช้เติมในผงซักฟอกเพื่อช่วยประสิทธิภาพการซักล้าง,
เพิ่มรสชาติในอาหาร,
ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ,
และในอนาคตอาจมีการนำมาใช้เพื่อการบำบัดของเสียเนื่องจากประโยชน์อันหลากหลายของเอนไซม์ไลเปสจากจุลชีพผู้ทำโครงงานจึงเกิดแนวความคิดที่จะหาเชื้อที่มีความสามารถผลิตเอนไซม์ไลเปส
ได้จากธรรมชาติ
โดยเลือกตรวจกรองจุลินทรีย์พวกยีสต์จากเกสรดอกไม้เนื่องจากเป็นแหล่งที่มีน้ำตาลสูงผู้ทำโครงงานคาดหวังว่าจะพบยีสต์ที่สามารถผลิตเอนไซม์ไลเปสได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
|
|