..........................................................................................

Cis224 Project

นานเจนวิทย์ นาคเครือ 444372 กลุ่ม 01

นายยุทธพล บังเกิดแสง 451472 กลุ่ม 01

..........................................................................................

 
 


Network Technology
Network Architecture
Standard Organization
Basic Network
Modem
ISDN
ADSL
xDSL
Cable Modem
Wireless Lan
Sattelite
OSI Model
IEEE 802
IEEE and OSI Model
Ethernet
Tokenring
Gigabit Ethernet
FDDI
Frame Relay
ATM
Network Technology
TCP/IP
โครงสร้างเครือข่าย (Network Architecture)
โครงสร้างเครือข่าย (Network Architecture)
          ในเรื่องนี้จะอธิบายถึงโครงสร้างของเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นพื้นฐานก่อนที่จะอธิบายรายละเอียด
ต่าง ๆ ของเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างเครือข่ายในเรื่องอื่นอีก ซึ่งระบบเครือข่ายในทางคอมพิวเตอร์นั้นก็คือ ระบบที่เกิดจากการนำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ พรินเตอร์ สแกนเนอร์
Hub/switch หรืออุปกรณ์อื่น ๆ มาเชื่อมต่อกัน โดยใช้สื่อ (transmission media) ต่าง ๆ เช่น สายเคเบิลชนิดต่าง ๆ ซึ่งอาจทำด้วยทองแดงหรือใยแก้วนำแสง หรืออาจเป็นสื่อแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ อินฟาเรด หรือไมโครเวฟ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดต่อหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน หรือเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
เช่น การแชร์พรินเตอร์หรือการแชร์ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้นระบบเครือข่ายแบ่งได้เป็น 3 ประเภทตามขนาดหรือระยะ
ทำการของ

เครือข่ายคือ
          1. LAN (Local Area Network) คือเครือข่ายเฉพาะกลุ่มที่มีขนาดเล็ก ๆ หรือระยะทำการไม่ไกลนัก เช่น              เครือข่ายภายในออฟฟิศหรือสำนักงาน มีระยะทำการใกล้ ๆ และมักเชื่อมโยงกันด้วยความเร็วสูง              เครือข่ายแบบนี้ยังถูกนำมาใช้เป็นเครือข่ายในบ้านของเราด้วย
          2. MAN (Metropolitan Area Network) คือเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่กว่า LAN ซึ่งจะเชื่อมในระยะห่าง ๆ
             ภายในจังหวัดหรือภายในตัวเมือง และเชื่อมระบบ LAN หลาย ๆเครือข่ายมารวมกัน
          3. Wan (Wide Area Network) คือเครือข่ายสำหรับเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ หรือเครือข่ายคนละชนิดที่อย
ู่              ห่างไกลกันมากๆ เช่น คนละจังหวัด หรือคนละประเทศเข้าด้วยกัน ตัวอย่างของ WAN               ที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั่นเอง

โครงสร้างของเครือข่าย
          โครงสร้างของเครือข่ายหรือภาษาทางเทคนิคเรียกว่า “Topology” คือลักษณะการเชื่อต่อทางกายภาพระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย ซึ่งหากจะแบ่งประเภทของโครงสร้างเครือข่ายกันจริง ๆ ตามหลักวิชาการที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยก่อน ๆ นั้น
ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ
• โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Network)
• โครงสร้างแบบบัส (Bus Network)
• โครงสร้างแบบริง (Ring Network)
• โครงสร้างแบบผสม (Hybrid Network)

โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Network)

          ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์จะคล้าย ๆ กับดาวกระจาย ดังรูป 1.1 คือมีอุปกรณ์ประเภท
Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อแบบนี้มีประโยชน์คือ เวลาที่มีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบโดยรวมแต่อย่างใด นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องหยุดการ
ทำงานของเครือข่ายก่อน การต่อแบบสตาร์นี้เป็นแบบที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากราคาอุปกรณ์ที่มาใช
้เป็นศูนย์กลางอย่าง Hub หรือ Switch ลดลงมากในขณะที่ประสิทธิภาพหรือความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันได้ความเร็วถึงระดับของกิกาบิต (1,000 Mbps) แล้ว



โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)

          คือลักษณะการเชื่อมต่อแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นยาวต่อเนื่องกันไปดังรูปที่ 1.2 โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนคือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล ก็จะทำให้เครือข่ายรวนไปทั้งระบบ นอกจากนี้เมื่อมีการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่าย อาจต้องหยุดการใช้งานของระบบเครือข่ายก่อน เพื่อตัดต่อสายเข้าเครื่องใหม่ ส่วนข้อดีคือโครงสร้างแบบบัสนี้ไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่าง Hub หรือ Switch ใช้เพียงเส้นเดียวก็สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก ปัจจุบันไม่ค่อยใช้
กันแล้ว เนื่องจากไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทำให้ความเร็วถูกจำกัดอยู่ที่ 10 Mbps และถูกทดแทนโดยการเชื่อมต่อแบบสตาร์



โครงสร้างแบบริง (Ring Network)
          โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้นเดียวเป็นวงแหวน
ดังรูปที่1.3 การส่งข้อมูลจะใช้ทิศทางเดียวกันตลอดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัดกันไปเป็นทอด ๆ ถ้าแอดเดรสของมันไม่ตรงกับผู้รับตามที่เครื่องต้นระบุมา มันก็จะส่งผ่านไปยังเครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายคือตรงกับใครเครื่องนั้นก็รับ ไม่ส่งต่อ โครงสร้างแบบนี้มีข้อเสียคล้าย ๆ กับแบบบัส คือเมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบวงแหวนมักใช้สายเคเบิลที่มีวงแหวนสำรองที่สามารถส่งข้อมูลในทิศทางกลับกัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในกรณีที่เครือข่ายมีปัญหา ซึ่งราคาแพงพอสมควร นอกจากนี้การเพิ่มเครื่องเข้าไปในเครือข่ายจะต้องปิดการทำงานของระบบก่อนเช่นเดียวกับแบบบัส เครือข่ายแบบนี้ปัจจุบันยังใช้กันอยู่ โดยเฉพาะในเครือข่ายของผลิตภัณฑ์ในตระกูล IBM ซึ่งโดยมากจะเป็นการเชื่อต่อเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์



โครงสร้างแบบผสม (Hybrid Network)
โครงสร้างแบบผสมนี้เกิดจากการนำเครือข่ายย่อย ๆ ที่มีโครงสร้างตามแบบต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นมาเชื่อมต่อกันเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ขึ้นนั้นเอง ตัวอย่างเช่น จากรูปที่ 1.4 จะเป็นการนำเอาเครือข่ายที่มีโครงสร้างทั้ง 3 แบบมาต่อกัน



โครงสร้างเครือข่ายแบบไร้สาย
          โครงสร้างที่กล่าวมาทั้ง 4 แบบข้างต้นนั้นเป็นโครงสร้างที่ใช้กันสำหรับเครือข่ายแบบใช้สาย แต่เนื่องจากเครือข่ายแบบไร้สายนั้นจะอาศัยคลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูลซึ่งทำให้โครงสร้างของเครือข่าย
แตกต่างกันไปด้วย ลักษณะโครงสร้างเครือข่ายแบบไร้สายจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ โครงสร้างแบบ Ad-hoc
หรือ Peer-to-Peer และโครงสร้างแบบ Client-Server ซึ่งทั้ง 2 ประเภทจะมีลักษณะดังรูปที่ปรากฏตามลำดับ







>> Home <<


Webmaster :
seeis_224@yahoo.com