..........................................................................................

Cis224 Project

นานเจนวิทย์ นาคเครือ 444372 กลุ่ม 01

นายยุทธพล บังเกิดแสง 451472 กลุ่ม 01

..........................................................................................

 
 


Network Technology
Network Architecture
Standard Organization
Basic Network
Modem
ISDN
ADSL
xDSL
Cable Modem
Wireless Lan
Sattelite
OSI Model
IEEE 802
IEEE and OSI Model
Ethernet
Tokenring
Gigabit Ethernet
FDDI
Frame Relay
ATM
Network Technology
TCP/IP
Ethernet


              อีเทอร์เน็ต (Ethernet) หมายถึงความหมายที่มีอยู่ทั่วไปของอีเทอร์เน็ต ซึ่งมีหลากหลายมาตรฐาน อีเทอร์เน็ตพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Xerox (โดยได้แนวคิดมาจากโครงการสื่อสารผ่านดาวเทียม Aloha ที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัย hawaii : ผู้แปล) เพื่อเป็นมาตรฐานสำคัญของเครือข่าย LAN ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ระบบที่ใช้อีเทอร์เน็ตนั้นเหมาะกับงานที่ต้องการรับ/ส่งข้อมูล ในอัตราความเร็วสูงเป็นช่วงๆ เป็นครั้งคราว การรับ/ส่งข้อมูลในเครือข่ายแบบอีเทอร์เน็ตแต่ละเครื่องเป็นไปอย่างไม่มีระเบียบวินัย นั่นคือเมื่อตรวจสอบแล้วว่าในขณะนั้นไม่มีเครื่องอื่นๆ กำลังส่งข้อมูล แต่ละเครื่องจะแย่งกันส่งข้อมูลออกมา โดยเครื่องใดที่ส่งข้อมูลออกมาจะมีหน้าที่เฝ้าดูว่ามีเครื่องอื่นทำการส่งข้อมูลออกไปพร้อมกันด้วยหรือไม่ เพราะถ้าเกิดการส่งพร้อมกันแล้วจะก่อให้เกิดการชนกันของข้อมูล แต่ถ้าตรวจจับได้ว่ามีการชนกันขึ้นก็จะหยุดการส่งแล้วรอคอยเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนจะทำการส่งข้อมูลออกไปอีกครั้งหนึ่ง เวลาที่ใช้ในการรอคอยนั้นเป็นค่าที่สุ่มขึ้นมา ซึ่งมีความสั้นยาวต่างกันไป เทคนิคหลายอย่างที่นำมาใช้ในการรอคอยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันซ้ำสอง หนึ่งในนั้นคือคำนวณการเพิ่มระยะเวลารอคอยแบบ Exponential ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection (CSMA/CD)


              แม้ว่าเฟรมข้อมูลของอีเทอร์เน็ตจะมีแอดเดรสต้นทางและปลายทาง แต่เทคโนโลยีอีเทอร์เน็ตเอง กลับเป็นการส่งข้อมูลแบบกระจายสัญญาณ (Broadcast) ซึ่งเครื่องในเครือข่ายเดียวกันจะได้รับเฟรมข้อมูลเดียวกันทุกเฟรม โดยเลือกเฉพาะเฟรมที่มีแอดเดรสปลายทางเป็นของตนเองเท่านั้น ส่วนเฟรมอื่นๆ จะไม่สนใจ แต่ในบางกรณีที่มีการทำงานในโหมด Promiscuous ซึ่งเป็นโหมดที่นำเฟรมข้อมูลทุกเฟรมไปใช้งานโดยส่งต่อไปยังซอฟแวร์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป เช่น กรณีของเครื่องที่ทำหน้าที่วิเคราะห์โปรโตคอล (Protocol Analyzer) หรืออาจจะเป็นการกระทำของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีของพวกแฮกเกอร์ก็ได้ กรณีเช่นนี้จะเห็นถึงความไม่ปลอดภัยของ
มาตรฐานนี้


              เครื่องในเครือข่ายแบบอีเทอร์เน็ตปกติจะเชื่อมต่อโดยใช้โทโพโลยีแบบบัส (Bus) หรือแบบดาว (Star) อย่างใดอย่างหนึ่ง สวิตช์และบริดจ์ของอีเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อ BUS (หรือ LAN) ต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยทำหน้าที่ส่งต่อเฟรมข้อมูลในเครือข่ายที่ต่างเซ็กเมนต์กัน ในแง่ของประสิทธิภาพอุปกรณ์ทั้งสอง ช่วยลดขนาดขอบเขตการชนกันของข้อมูล (Collision Domain) ในเครือข่าย และช่วยสร้างความมั่นใจว่าทรัพยากรของเครือข่าย ส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในการส่งข้อมูล (แทนที่จะเต็มไปด้วยเฟรมที่เป็นขยะอันเกิดจากการชนกัน) สายสัญญาณที่ใช้ในระบบอีเทอร์เน็ตมีใช้กันหลายแบบ ตารางต่อไปนี้แสดงถึงมาตรฐานบางส่วนของสายที่ใช้กัน พร้อมทั้งแสดงข้อจำกัดความยาวสูงสุดของสายที่สามารถเชื่อมต่อได้ในแต่ละเซ็กเมนต์ด้วย

             


>> Home <<



Webmaster : seeis_224@yahoo.com