..........................................................................................

Cis224 Project

นานเจนวิทย์ นาคเครือ 444372 กลุ่ม 01

นายยุทธพล บังเกิดแสง 451472 กลุ่ม 01

..........................................................................................

 
 


Network Technology
Network Architecture
Standard Organization
Basic Network
Modem
ISDN
ADSL
xDSL
Cable Modem
Wireless Lan
Sattelite
OSI Model
IEEE 802
IEEE and OSI Model
Ethernet
Tokenring
Gigabit Ethernet
FDDI
Frame Relay
ATM
Network Technology
TCP/IP
Modem
โมเด็ม
          โมเด็ม (Modem เป็นคำย่อมาจาก Modulator/Demodulator) คืออุปกรณ์สื่อสารที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอะนาล็อก ในทางกลับกันโมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้
คอมพิวเตอร์ (ใช้สัญญาณดิจิตอล) สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบโทรศัพท์ท้องถิ่นธรรมดาได้ (ใช้สัญญาณในแบบอะนาล็อก) สัญญาณดิจิตอลที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ เพือ่ส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นนั้น จะถูกโมเด็มแปลงไปเป็นสัญญาณอะนาล็อก แล้วป้อนสัญญาณนั้นเข้าสู่ระบบโทรศัพท์ท้องถิ่น
(ดังที่เรียกกันว่า Plain Old Telephone System หรือ POSTS) ซึ่งฝั่งผู้รับก็จะมีโมเด็มอีกตัวหนึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณอะนาล็อก
และแปลงกลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทีเป็นผู้รับต่อไป

          CCITT เป็นคำย่อในภาษาฝรั่งเศส ของคณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้านโทรศัพท ์และโทรเลขสากล (International Telegraph and Telephone Consultative Committee) ซึ่งเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลไว้จำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นประกอบไปด้วยโปรโตคอลสำหรับโมเด็ม, ระบบเครือข่ายและการรับ/ส่งโทรสาร ในปี 1993 ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunications Union) ดังเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ ITU ในปัจจุบัน ตารางถัดไปนี้แสดงให้เห็นส่วนหนึ่ง ของมาตรฐานของโปรโตคอล
สำหรับโมเด็ม ตารางนี้ไม่ได้แสดงรายละเอียดมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ได้แสดงมาตรฐานเฉพาะผู้ค้ารายใด
รายหนึ่ง คำว่า bps ย่อมาจาก bits per second หรือจำนวนบิตต่อวินาที ตัวอักษรหนึ่งตัวประกอบไปด้วยสัญญาณขนาด 8 บิตรวมกับบิตเริ่มต้นและบิตปิดท้าย หรืออาจกล่าวได้ว่าการรับ/ส่งข้อมูล 1 ตัวอักษรต้องใช้สัญญาณขนาด 10 บิตนั่นเอง

          ขั้นตอนเริ่มต้นการสื่อสารด้วยโมเด็ม (ช่วงที่ท่านจะได้ยินโมเด็มส่งเสียงเมื่อเริ่มเชื่อมต่อสัญญาณกัน : ผู้แปล) ครั้งแรกสุดจะพยายามใช้โปรโตคอลที่มีความเร็วสูงที่สุดแล้วค่อยๆ ลดระดับลงมาหากโมเด็มอีกฝั่งไม่สนับสนุนโปรโตคอลที่เลือกขึ้นมาได้ จากตัวอย่างในตารางที่ผ่านมาลำดับการเลือกโปรโตคอลจะเริ่มต้นจาก V.34 หากไม่สำเร็จจะเลือกโปรโตคอลที่รองลงมา
คือ V.32 bis ถ้ายังคงใช้ไม่ได้อีกก็จะลดลงไปสู่ V.32 ตามลำดับ เมื่อโมเด็มสามารถตกลงกันถึงโปรโตคอลที่จะใช้ได้แล้ว จากนั้นมันจะพยายามส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด ภายใต้ข้อกำหนดของดปรโตคอลนั้น และยังคงเลื่อนระดับความเร็ว
ลงมาได้อีก หากพบว่าสัญญาณการรบกวนก่อให้เกิดข้อผิดพลาดใน การรับ/ส่งข้อมูลมากเกินไป จึงเป็นไปได้ว่าในบางกรณีโมเด็มขนาดความเร็ว 33.6 Kbps บางครั้งอาจรับ/ส่งกันด้วยความเร็วที่ลดลงไปเรื่อยๆ จนถึง
9600 bps เลยก็มี

โมเด็มมีการใช้โปรโตคอลในการตรวจจับข้อผิดพลาดและแก้ไขปัญหา โปรโตคอลเหล่านี้สามารถตรวจจับความผิดพลาด และในบางกรณียังคำนวณหาข้อมูลที่ถูกต้องโดยไม่ต้องขอให้มีการส่งข้อมูลมาใหม่ ย้อนกลับไปเมื่อโมเด็มทำการตกลงกันเรื่องโปรโตคอลที่จะใช้ในการมอดูเลต (Modulate) สัญญาณ โมเด็มจะตกลงกันถึงโปรโตคอลที่จะใช้ในการตรวจจับความผิดพลาด้วย ตัวอย่างโปรโตคอลเหล่านี้เช่น
Microcom Networking Protocol (MNP) ระดับ 1, 2, 3, 4 และ V.42 หรือที่รู้จักกันในชื่อ
Link Access Protocol for Modems (LAPM) ลำดับขั้นตอนของการเลือกใช้โปรโตคอลในชุดนี้จะเริ่มต้นจาก
V.42 ไปยัง MNP4, MNP3, MNP2 และMNP1 ตามลำดับ แม้ว่าจะใช้โปรโตคอลตรวจจับความผิดพลาดการรับ/ส่งของข้อมูลแล้วก็ตาม แต่การตรวจจับในระดับที่สูงนั้นไปยังคงต้องมีอยู่ภายในโปรโตคอลที่ใช้ในการโอนย้ายไฟล์ เนื่องจากอาจจะเกิดปัญหา
Buffer Overrun (เกิดขึ้นเมื่อความเร็วที่ไม่สัมพันธ์กันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับโมเด็ม) อาจทำให้ข้อมูลเกิดการสูญหายไปซึ่งกรณีนี้จะไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยโปรโตคอลตรวจจับและแก้ไขข้อผิดพลาดที่ตัว
โมเด็มเอง

โมเด็มความเร็ว 56-Kbps
          พัฒนาการล่าสุดของโมเด็มคือสามารถทำความเร็ว รับ/ส่งข้อมูลสูงสุดที่ 56 Kbps
(กิโลบิตต่อวินาที : Kilobits per second) ซึ่งจะทำการส่งข้อมูลผ่านระบบ Public Switch telephone Network
(หรือ PSTN : คือ ระบบชุมสายโทรศัพท์พื้นฐานที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบันมีระบบการทำงานเป็นแบบ Switching)
ระบบ PSTN ในครั้งเริ่มต้นมีการเชื่อมต่อระหว่างจุดเป็นแบบอะนาล็อกจากนั้นจึงค่อยๆ เปลี่ยนบางส่วนมาเป็น
ระบบดิจิตอล ตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงนั้นมีการแปลงสัญญาณอะนาล็อกไปเป็นดิจิตอลด้วยวิธีการเก็บตัวอย่างสัญญาณ
(Sampling Technique) สายที่เชื่อมต่อระหว่างชุมสายโทรศัพท์เป็นตำแหน่งแรกที่เปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล ซึ่งในปัจจุบันการเชื่อมต่อระหว่างชุมสายในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ๆ ของไทยเองก็เปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิตอลกันมาก สังเกตง่ายๆ ได้จากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตสามารถให้บริการที่ความเร็ว 56 kbps ได้นั่นเอง แต่ในส่วนที่เชื่อมโยงระหว่างชุมสายท้องถิ่นและผู้ใช้ยังคงเป็นสายทองแดงอยู่

          โมเด็มจะสร้างสัญญาณอะนาล็อกซึ่งจะถูกแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลที่ชุมสาย PSTN ด้วยวิธีการเก็บตัวอย่างสัญญาณ (โดยใช้อัตราความเร็วประมาณ 8000 ครั้งต่อวินาที) จากนั้นสัญญาณดิจิตอลจะส่งไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตซึ่งมีรุปแบบการแปลงสัญญาณดังนี้ ดิจิตอลอะนาล็อก-ดิจิตอล จะเห็นได้ว่าเป็นรูปแบบของโมเด็มแบบ 56 Kbps ซึ่งตั้งอยู่บนข้อสมมุติฐานที่ว่าการเชื่อมต่อไปยังเซิรฟเวอร์ หรือ ISP นั้นเป็นไปในแบบดิจิตอล


>> Home <<


Webmaster : seeis_224@yahoo.com