..........................................................................................

Cis224 Project

นานเจนวิทย์ นาคเครือ 444372 กลุ่ม 01

นายยุทธพล บังเกิดแสง 451472 กลุ่ม 01

..........................................................................................

 
 


Network Technology
Network Architecture
Standard Organization
Basic Network
Modem
ISDN
ADSL
xDSL
Cable Modem
Wireless Lan
Sattelite
OSI Model
IEEE 802
IEEE and OSI Model
Ethernet
Tokenring
Gigabit Ethernet
FDDI
Frame Relay
ATM
Network Technology
TCP/IP
 ATM

          ATM (Asynchronous Transfer Mode) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น จากความปรารถนาที่จะเพิ่มกระบวนการมัลติเพล็กซ์เชิงสถิติเข้าไปในระบบ
STM (Synchronous Transfer Mode) ปัจจุบันมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการสื่อสาร ระบบ
STM นั้นอนุญาตให้ "ขบวน" ของข้อมูลเดินทางระหว่างโหนดสองโหนดใน
เครือข่าย ในแต่ละหน่วยของข้อมูลที่เรียกว่า Bucket หรือ Wagon ก็จะสัมพันธ์กับการเชื่อมต่อตัวอื่น (สังเกตุว่าคำศัพท์ที่ใช้ใน ATM จะเรียก
Bucket หรือ Wagon แทนแพ็กเก็ต หรือเซลล์) ภายใต้ช่วยเวลาที่กำหนด ขบวนของข้อมูลสามารถจะเดินทางไปมาระหว่างสองโหนดได้หลายครั้ง ความถี่การเดินทางของขบวนข้อมูล และจำนวน Wagon ในขบวนข้อูลตลอด
จนขนาดของ Wagon นั้นรวมกันเป็นความสามารถในการรับ/ส่งข้อมูล
ระหว่างสองโหนด (ในกรณีนี้ไม่พิจารณาถึง Overhead) ก่อนที่จะรับ/ส่งข้อมูลระหว่างสองโหนดต้องกำหนดค่าการเชื่อมต่อแบบหลาย
การเชื่อมต่อขึ้นมาก่อน ค่าที่กำหนดนี้ประกอบไปด้วย Wagon ที่จะใช้ในการเชื่อมต่อโดยสามารถกำหนดให้ Wagon สามารถอยู่จนกระทั่ง
การเชื่อมต่อยุติลง แต่ถ้าหากไม่มีการเดินทางของข้อมูบในการเชื่อมต่อ ( เช่น คู่สนทนาทั้งสองฝ่ายหยุดการพูดคุย)
Wagon ที่ยังอยู่จะเดินทางไปแบบ "เปล่าๆ"

          เห็นได้ชัดเจนว่าทรัพยากรของเครือข่ายเกิดการสูญเปล่าขึ้น เมื่อทำงานในลักษณะของ STM โดยโปรโตคอลนี้หมาย
เลขของ Wagon (หรือตำแหน่งของ Wagon ภายในขบวนข้อมูล) จะทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้การเชื่อมต่อ ซึ่งในแบบ ATM นั้นได้เปลี่ยนแปลงการทำงานในส่วนนี้ โดยกำหนดให้ตัวบ่งชี้การเชื่อมต่อเดินทางไปพร้อมกับข้อมูลใน Wagon ด้วย ดังนั้นเมื่อใดที่ต้องการส่งข้อมูล ข้อมูลนั้นจะถูกติดรวมเข้ากับตัวบ่งชี้เชื่อมต่อไปยัง Wagon ถัดไปที่ว่างอยู่ ตัวบ่งชี้การ
เชื่อมต่อนี้มีชื่อเรียกว่า VCI (Virtual Circuit Identifier) ดังที่ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ ATM มีการเพิ่มกระบวนการมัลต
ิเพล็กซ์เชิงสถิติ (เพื่อช่วยในการจัดสรรแบนด์วิดธ์แบบไดนามิก) เข้าไปยัง STM ซึ่งแต่เดิมจำนวนของการเชื่อมต่อจะถูกจำกัดด้วยจำนวนของ Wagon ในกรณีของ ATM จะไม่มีข้อจำกัดนี้เกิดขึ้น
แต่โปรโตคอล STM ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อที่ว่างอยู่เพื่อนำมาใช้งานได้ แต่ถ้าเป็นโปรโตคอล ATM แล้วจะสามารถคาดหวังได้ว่าการเชื่อมต่อที่ได้เริ่มขึ้นมาทั้งหมด จะต้องถูกใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าข้อมูลบางส่วนอาจจะอยู่ในสภาวะไม่ว่าง ก็สามารถที่จะนำไปพักไว้ชัวคราวเพื่อรอจนกระทั่ง Wagon ว่างได้

          ATM นั้นจะมีการรับรองว่ามีการส่งข้อมูลตามลำดับ แต่ไม่มีการรับรองว่าข้อมูลจะถูกส่งไปถึงเรียบร้อยหรือไม่ การรับรองถึงการส่งในลำดับของข้อมูลเป็นไปได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า ATM เป็นระบบ Circuit Oriented ดังนั้นข้อมูลทุกตัวจะเดินทางในเส้นทางเดียวกันเสมอ โปรโตคอล ATM เหมาะที่จะนำมาใช้รับ/ส่งข้อมูลให้กับแอพพลิเคชันเหล่านี้คือ แอพพลิเคชันที่ยอมให้เกิดการสูญหายของข้อมูล แต่ความล่าช้าจะมีผลต่อการรับ/ส่งข้อมูล (เช่น ภาพ และเสียงแบบเรียบไทม์ แน่นอนว่าการสูญหายของข้อมูลจะต้องอยู่ในขนาดที่จำกัด และไม่สูญเสียมากเกินไป) แอพพลิเคชันที่การสูญหายของข้อมูลมีผลอย่างยิ่งต่อการรับ/ส่ง แต่ความล่าช้าของการส่งข้อมูลไม่มีผลมากนัก (เช่น การรับ/ส่งไฟล์ข้อมูล ทั้งนี้ความล่าช้าที่เกิดขึ้นต้องไม่มากจนเกินไปด้วย) และสุดท้ายแอพพลิเคชันแบบที่การสูญเสียของข้อมูล และความล่าช้ามีผลต่อการทำงานของแอพพลิเคชัน โดยธรรมชาติของโปรโตคอล ATM จะเป็นบริการแบบ Connection Oriented ดังนั้นการจัดเตรียมบริการแบบ Connectionless ให้กับแอพพลิเคชันเก่าๆ จึงต้องกระทำที่ชั้นบนสุดของโมเดล ATM นั่นคือทำให้บริการเหล่านั้นเป็นแอพพลิเคชันของ ATM การกระทำเช่นนี้เป็นแนวคิดแบบ Connectionless Server ซึ่งอาศัยข้อมูลเส้นทางที่มีอยู่ในเซลล์สำหรับใช้เปลี่ยนทิศทางข้อมูล

          ATM เป็นมาตรฐานที่ไม่ลงตัวกับ โมเดล ISO/OSI ได้อย่างพอดีนัก โมเดลทั้งหมดของ ATM ค่อนข้างจะคล้ายกับชั้น Data-Link (ชั้นที่ 2 ของโมเดล ISO/OSI) มากที่สุด แต่ว่าการควบคุมการไหลของข้อมูล (Flow Control), การทำวงจรเสมือน (Virtual Circuit) และอีกหลายส่วนที่ทำงานในชั้นที่สูงกว่าก็ยังคงอยู่ นอกจากนี้ชั้น AAL ในโมเดลที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้ขนส่งโปรโตคอลที่ทำงานในชั้นที่สูงกว่า เช่น IPOATM เป็นต้น ในท้ายที่สุด ATM ควรจะถูกพิจารณาในฐานะที่เป็นเทคโนโลยีมากกว่าที่จะเป็นผลิดภัณฑ์ โดยเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย รวมถึงการนำไปทำเป็น Backbone สำหรับเครือข่ายความเร็สูง, LAN Emulaionและอื่นๆ

มาตรฐานของ ATM
          มีคำพูดในเชิงเสียดสีว่า "ข้อดีของมาตรฐานก็คือ มีหลายมาตรฐานให้เลือกใช้" CCITT ที่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น ITU (http://www.itu.ch) ได้กำหนดมาตรฐาน ISDN แบบ Broadband บน ATM ไว้ สถาบันมาตรฐานนของสหรัฐฯ (ANSI) (http://www.ansi.org) ได้ตั้งคณะทำงาน T1S1.5 เพื่อกำหนดมาตรฐานของ ATM นอกจากนี้ยังมีการรวมตัวกันของบริษัทด้านการสื่อสาร,หน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มงานวิจัยก่อนก่อตั้งเป็น ATM Forum ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกมากกว่า 400 ราย มาตรฐานเหล่านี้ IETF เองก็มีส่วนในการกำหนดดด้วย ซึ่งบางส่วนก็เข้ากันได้บางส่วนก็เข้ากันไม่ได้ ตัวอย่างของมาตรฐานเหบ่านี้ได้แก่ มาตรฐานการทำ LAN Emulation ที่พัฒนาโดย IETF และ RFC 1577 คือ "Classical IP and ARP over ATM" เป็นมาตรฐานจาก IETF ที่กำหนดวิธีการส่ง IP ไปบนระบบ ATM ให้ดูเรื่อง "LAN Emulation" ในตอนท้ายของบทนี้ หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม

รูปแบบเฮดเดอร์ของ ATM
          เซลล์ของ ATM นั้นประกอบด้วยเฮดเดอร์ขนาด 5 ไบต์ต่อท้ายด้วยข้อมูลขนาด 48 ไบต์ เฮดเดอร์มีอยู่สองแบบคือ UNI แบบนี้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครือข่าย อีกแบบหนึ่งคือ NNI แบบนี้ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายกับเครือข่าย เฮดเดอร์แบบ UNI ใช้ข้อมูลขนาด 4 บิตเพื่อทำ Generic Flow control (ควบคุมการไหลของข้อมูลทั่วไป) โดยควบคุมความคับคั่งของข้อมูลด้วยการจำกัดจำนวนข้อมูลที่ไหลเข้ามายังเครือข่าย ตัวกำหนดเซสชันของ ATM ใช้ VCI (Virtual Channel Indiactor) ซึ่งสามารถกำหนดให้เป็นได้ทั้งแบบถาวรหรือแบบชั่วคราว การรวม VCI เข้าเป็นกลุ่มเดียวกันสามารถทำได้ด้วย VPI (Virtual Path Identifier) ทั้ง VPI และ VCI จะมีความหมายต่อโหนดใดโหนดหนึ่งเป็นการเฉพาะเท่านั้น และจะเปลี่ยนแปลงไปตามการไหลของข้อมูล เมื่อมีการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง PTI (Payload Type Indicator) จะเป็นตัวบอกว่าข้อมูลที่อยู่ในเซลล์นั้นเป็นข้อมูลของผู้ใช้ หรือเป็นข้อมูลที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของระบบ ข้อมูลนี้ยังใช้เป็นตัวแสดงว่าเกิดความคับคั่งของข้อมูลหรือไม่ด้วย ส่วนที่เป็น CLP (Cell Loss Priority) จะถูกนำไปใช้ในวิธีการต่างๆ หนึ่งในนั้นคือใช้เป็นตัวบอกว่างานรับ/ส่งข้อมูลเกินอัตราที่ตกลงกันไว้แล้ว สำหรับเซลล์ที่ใช้บรรจุข้อมูลของผู้ใช้นั้น ข้อมูลนี้จะเป็นตัวบอกถึงว่าผู้ใช้ยินยอมให้เกิดการสูญหายของข้อมูลหรือไม่ เช่น ถ้าเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลในฐานข้อมูล ย่อมต้องแสดงว่าไม่สามารถยอมรับการสูญเสียของข้อมูลได้ แต่ถ้าเป็นงานมัลติมีเดีย การสูญเสียข้อมูลไปบางส่วนจะเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ข้อมูลในส่วน HEC (Header Error Check) เป็นส่วนเพิ่มความถูกต้องของข้อมูลด้วย CRC แต่จะทำเฉพาะส่วนที่เป็นเฮดเดอร์เท่านั้น ไม่รวมไปถึงส่วนข้อมูลภายในเซลล์

ชั้น AAL
          ATM เป็นเทคโนโลยีของการเชื่อมต่อแบบ Connection Oriented ที่จะโอนย้ายข้อมูลด้วยเซลล์ที่มีขนาดคงที่คือ 53 ไบต์ สามารถนำไปใช้งานได้หลายประเภท โดยมีชั้น Adaptation Layer เพื่อให้มีอินเตอร์เฟซที่จำเป็นต่อการใช้งานได้หลากหลายของ ATM

ชั้น AAL1
ชั้น AAL1 (ATM Adaptation Layer1) จัดเตรียมการติดต่อกับแอพพลิเคตชันโดยกำหนดอัตรา Bit Rate ให้คงที่พื่อใช้กับแอพพลิเคชันที่มีรูปแบบการจราจรของข้อมูลที่สามารถคาดเดาได้ รูปแบบของข้อมูลของแอพพลิเคชันนั้น จะถูกส่งตามลำดับที่สัมพันธ์กับเวลาที่หน่วงอย่างคงที่

ชั้น AAL2
ชั้น AAL2 (ATM Asaptation Layer 2) จัดเตรียมการติดต่อกับแอพพลิเคชันที่ใช้การจราจรข้อมูลบนเครือข่ายที่ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าและมีอัตรา Bit Rate ที่ไม่แน่นอนด้วย

ชั้น AAL3/4
ชั้น AAL3/4 (Adaptation Layer ?) ให้บริการแอพพลิเคชันที่เชื่อมต่อแบบ Connectionless (คือแบบที่ไม่ต้องมีการสร้างวงจร หรือเซสชันก่อนการส่งข้อมูล) และแอพพลิเคชันที่สร้างข้อมูลที่มีขนาดไม่แน่นอน นอกจากนี้แอพพลิเคชันยังประเมินความผิดพลาดของการส่งข้อมูลที่ถูกพบ ข้อมูลอาจจะมาถึงล่าช้า โดยไม่ส่งผลกระทบต่อโปรแกรมใช้งาน และแอพพลิเคชันเหล่านั้นสามารถจะส่งชิ้นข้อมูลจำนวนหลายชิ้นมาที่ชั้นต่างๆ ของโมเดล ATM โดยที่ไม่ต้องรอคอยให้ส่งข้อมูลชุดก่อนหน้าให้เสร็จสิ้นเสียก่อน

ชั้น AAL5
ชั้น AAL5 (ATM Adaptation Layer5) นั้นคล้ายกับ AAL3/4 แต่กำหนดให้แอพพลิเคชันส่งข้อมูลให้ชั้นของ ATM ครั้งละหนึ่งหน่วยเท่านั้น

แอดเดรสของ ATM
          ITU ได้กำหนดรูปแบแอดเดรสเครือขาย ATM สาธารณะ (เพื่อใช้งานโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคมเชิงพาณิชย์) รูปแบบแอดเดรสนั้นขึ้นอยู่กับการใช้หมายเลขโทรศัพท์และอ้างอิงตามมาตรฐาน E.164 ส่วน ATM Forum กำหนดรูปแบบแอดเดรสของ ATM สำหรับใช้ในเครือข่ายไม่เป็นสาธารณะไว้ 3 แบบ โดยแต่ละแบบมีความยาว 20 ไบต์เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่รูปแบบแรกนั้นอาศัยพื้นฐานของ ITU E.164 ส่วนรูปแบบที่สองใช้รูปแบบของIEEE 802 และรูปแบบที่สามนั้นเป็นการใช้ตามแบบของ ISO ในสหรัฐอเมริกา ANSI เป็นผู้ควบคุมการจดทะเบียนแอดเดรสของ ATM


>> Home <<



Webmaster : seeis_224@yahoo.com