..........................................................................................

Cis224 Project

นานเจนวิทย์ นาคเครือ 444372 กลุ่ม 01

นายยุทธพล บังเกิดแสง 451472 กลุ่ม 01

..........................................................................................

 
 


Network Technology
Network Architecture
Standard Organization
Basic Network
Modem
ISDN
ADSL
xDSL
Cable Modem
Wireless Lan
Sattelite
OSI Model
IEEE 802
IEEE and OSI Model
Ethernet
Tokenring
Gigabit Ethernet
FDDI
Frame Relay
ATM
Network Technology
TCP/IP
Gigabit Ethernet

          ประมาณว่ามีบริษัทมากกว่า 100 แห่งรวมตัวกันจัดตั้ง Gigabit Ethernet Alliance ขึ้นเป็นกลุ่มเพื่อพัฒนามาตรฐานอีเทอร์เน็ตยุคใหม่ ก่อนที่จะมาเป็น Gigabit Ethernet ยังมีเทคโนโลยีอื่นของอีเทอร์เน็ตคือ 10 Mbps และ 100 Mbps Fast Ethernet แม้ว่า Gigabit Ethernet จะยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา และยังไม่มีการนำไปใช้งานกันมากนัก แต่ผู้ที่เสนอโครงการนี้ต่างเห็นว่า Gigabit Ethernet เป็นเทคโนโลยีที่จะสามารถเติบโตต่อไปจนสามารถแข่งขันกับ ATM ได้ ผลการแข่งขันระหว่าง ATM และ Gigabit Ethernet จะออกมาเป็นอย่างไรนั้นอยู่นอกเหนือขอบเขตของหนังสือเล่มนี้ สิ่งที่พอจะกล่าวได้ถึง Gigabit Ethernet ในเวลานี้คือ จะทำให้เราสามารถรับ/ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 1 Gbps (Gigabits per second) บนระยะทาง 300 เมตร ไปจนถึง 10 กิโลเมตร ชัดเจนว่าในเบื้องต้น Gigabit Ethernet คงจะถูกใช้เป็น Backbone ทั้งของ LAN, WAN และ Gigabit Ethernet คงจะยังไม่ถูกนำมาใช้เพื่อการเชื่อมต่อให้กับเครื่องในลักษณะเดสก์ท็อป ในอนาคตอันใกล้นี้ สำหรับการออกแบบเครือข่ายขนาดใหญ่ในปัจจุบันเป็นไปได้ว่าจะประกอบไปด้วย ทั้งสามมาตรฐานคือ Ethernet, Fast Ethernet และ Gigabit Ethernet

          IEEE ได้แต่งตั้งคระกรรมการที่เรียกว่า 802.3Z เพื่อวางมาตรฐานของ Gigabit Ethernet มาตรฐาน 802.3z นี้กำหนดให้ใช้สายสัญญาณสองชนิดคือสายคู่พันเกลียว และสายใยแก้วนำแสง ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังมีใข้กันอยู่เฉพาะที่เป็นสายใยแก้วนำแสงเท่านั้น ส่วนสายคู่พันเกลียวหรือ UTP นั้นยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา

          การประยุกต์ใช้ Gigabit Ethernet ปัจจุบันนั้นทำงานในแบบ Full Duplx โดยใช้ใยแก้วนำแสงระหว่างเครื่องสองเครื่อง แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณเป็นของตนเอง ดังนั้นเทคโนโลยีนี้จึงสามารถหลีกเลี่ยงการชนกันของข้อมูล ความไว้วางใจที่เข้ามาแทนที่การตรวจจับเหตุการณ์ข้อมูลชนกันภายใต้สถาวะอัตราความเร็วสูงมาก คือการติดตั้งให้แต่ละเครื่องในเครือข่าย Gigabit Ethernet อยู่ใกล้กันมากที่สุด ความสามรถรับ/ส่งข้อมูลที่สูงมากทำให้บางครั้งอาจส่งเฟรมข้อมูลไปให้ผู้รับได้หลายเฟรมในขณะทีเฟรมแรกยังไปไม่ถึง และเฟรมอาจสูญหายเมื่อเครื่องทั้งสองเริ่มส่งข้อมูลอย่างต่อเนื่องนอกจากว่าเครื่องทั้งสองจะอยู่ใกล้ชิดกันมาก ปัญหานี้ตามมาตรฐานของอีเทอร์เน็ตแล้ว เฟรมที่กลายเป็นขยะเหล่านี้ต้องส่งไปให้ผู้รัใหม่อีกครั้งหนึ่ง

          มาตรฐาน 802.3z กำหนดเทคโนโลยีขึ้นมาสองอย่างหนึ่งเพื่อช่วยเพิ่มระยะทางระหว่างเครื่องสองเครื่องในระบบ Gigabit Ethernet คือ Carrier Extension และ Packet Bursting เทคโนโลยี Carrier Extension เป็นเทคนิคเพิ่มความยาวเฟรมเดิมที่มีขนาดสั้นให้ยาวมากขึ้น (เฟรมของอีเทอร์เน็ตนั้นสามารถจะสั้นได้ถึง 64 ไบต์) ได้ถึง 512 ไบต์ เทคนิคนี้ทำให้เครื่องสามารถอยู่ห่างกันมากขึ้นและ ยังคงสามารถที่จะตรวจจับการชนกันของข้อมูลได้ แต่ทำให้เกิดการสูญเปล่าของแบนด์วิดธ์เพราะต้องมีการเคลื่อนย้ายข้อมูลที่ไม่ได้ใช้งานจริง (ซึ่งจะถูกทิ้งไปหลังจากที่การรับข้อมูลเสร็จสิ้นแล้วป เทคนิค Packet Bursting สามารถช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้ โดยอนุญาตให้สามารถส่งข้อมูลออกไปได้หลายเฟรมในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นเทคนิคที่แตกต่างจากของอินเตอร์เน็ตทั่วไปที่อนุญาตให้เครื่องใดๆ สามารถที่จะส่งข้อมูลออกได้ครั้งละเฟรมเดียวเท่านั้น เทคนิคนี้มีเฉพาะเฟรมแรกเท่านั้นที่ได้รับการขยายขนาดเป็น 512 ไบต์ ส่วนเฟรมอื่นๆ นั้นจะไม่มีการขยายขนาดแต่อย่างใด


>> Home <<



Webmaster : seeis_224@yahoo.com