ดดดดคำนิยาม
ดดดดคำพูดทั้งหลาย เมื่อนำมาพูดจากันเป็นเรื่องความ ย่อมมีหน้าที่เกี่ยวเนื่องติดต่อกันทั้งนั้น ลักษณะคำพูดที่เกี่ยวข้องกันเช่นนี้เรียกว่า หน้าที่เกี่ยวข้องของคำ นับว่าสำคัญมากในไวยากรณ์ไทย เพราะคำในภาษาไทยมีลักษณะไม่แน่นอน หน้าที่เกี่ยวข้องของคำนี้เป็นพื้นฐานของการวินิจฉัยคำพูดต่าง ๆ ว่าเป็นชนิดอะไร ลึงค์อะไร พจน์อะไร และทำหน้าที่อะไร
ดดดดหน้าที่เกี่ยวข้องของนาม
ดดดดหน้าที่ที่สำคัญของนาม คือต้องใช้เป็นการก (การกคือกริยาที่ทำหน้าที่ประธาน กรรมหรือส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม) ต่าง ๆ ได้แก่
ดดดดด๑. เป็นกรรตุการก คือเป็นผู้กระทำกริยา มีหน้าที่อยู่ 2 อย่าง
ดดดดด๑.๑ อยู่หน้าข้อความ หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่าเป็นประธานนั่นเอง เช่นคำว่า ครู ต่อไปนี้
ดดดดดด ทำเอง ครู อ่านหนังสือ
ดดดดดด เป็นผู้ใช้ ครู ให้ศิษย์อ่านหนังสือ เป็นต้น
ดดดดด๑.๒ อยู่หลังคำว่า ถูก ทำหน้าที่ช่วยกริยา เช่นคำว่า ครู ในตัวอย่างดังต่อไปนี้
ดดดดดด ทำเอง หนังสือถูก ครู อ่าน
ดดดดดด เป็นผู้ใช้ หนังสือถูก ครู ให้ศิษย์อ่าน เป็นต้น
ดดดดกรรตุการกพวกนี้ ใช้คำว่า โดย นำหน้าก็มี แต่จะมีข้อสังเกตคือจะเรียงไว้หลังข้อความ เช่น หนังสือที่แต่งโดย ครู เป็นต้น
ดดดดด๒. เป็นกรรมการก คือเป็นผู้ถูกกริยาทำหรือเป็นกรรม มีหน้าที่ 2 อย่างดังนี้
ดดดดด๒.๑ เป็นประธาน จะอยู่หน้าข้อความ เช่นคำว่า หนังสือ ต่อไปนี้
ดดดดดด ถูกกรรตุการกทำ หนังสือ ถูกครูอ่าน
ดดดดดด ถูกการิตการกทำ หนังสือ ถูกครูให้ศิษย์อ่าน เป็นต้น โดยเนื้อหา การิตการกจะอยู่ในข้อต่อไป
ดดดดด๒.๒ อยู่หลังสกรรมกริยา หรือกริยาที่ต้องการกรรมมารองรับ จุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้กริยามีเนื้อความเต็ม เช่นคำว่า หนังสือ ต่อไปนี้
ดดดดดด ถูกกรรตุการกทำ ครูอ่าน หนังสือ
ดดดดดด ถูกการิตการกทำ ครูให้ศิษย์อ่าน หนังสือ เป็นต้น
ดดดดด๓. เป็นการิตการก คือเป็นผู้ถูกใช้ให้ทำกริยา มีหน้าที่ 2 ประการดังนี้
ดดดดด๓.๑ อยู่หน้าข้อความ หรือเป็นประธาน เช่น ศิษย์ ถูกครูให้อ่านหนังสือ เป็นต้น
ดดดดด๓.๒ อยู่กลางข้อความหลังกริยา ให้ ทำหน้าที่ช่วยกริยา เช่นคำว่าศิษย์ต่อไปนี้ที่จะแบ่งได้เป็นประธานและไม่ใช่ประธาน
ดดดดดด ประธาน ใช้ ครูให้ ศิษย์ อ่านหนังสือ
ดดดดดด ไม่ใช่ประธาน ใช้ หนังสือถูกครูให้ ศิษย์ อ่าน เป็นต้น
ดดดดด๔. เป็นวิเศษณการก ซึ่งมักจะมีคำบุพบทนำหน้า ใช้ประกอบหน้าบทเพื่อบอกหน้าที่ เช่น ประโยคว่า เสื้อของฉัน คำว่า ฉัน เป็นวิเศษณการกที่ไปประกอบคำว่า เสื้อ โดยจะบอกหน้าที่ที่เป็นเจ้าของ เป็นต้น
ดดดดด๕. เป็นวิกัติการก ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายบทหน้าทั้งนามและกริยา
ดดดดด๕.๑ ขยายนาม คล้ายกับคำนามที่ใช้เป็นคำวิเศษณ์ ไม่มีบุพบทนำหน้า จะแยกได้โดยสังเกตเนื้อความ โดยคำนามที่เป็นวิเศษณ์จะบอกลักษณะของนามข้างหน้าอย่างเดียวกับคำวิเศษณ์ (คำขยาย) แต่ถ้าเป็นวิกัติการก จะมีหน้าที่ต่าง ๆ กันออกไป ได้แก่
ดดดด(ก) เป็นสามานยนาม บอกชนิดย่อยของนามข้างหน้า เช่น คนแขก คำว่าแขกจะบอกชนิดย่อยของคำว่าคน ซึ่งคนนั้นจะแบ่งชนิดย่อยออกไปได้มากมาย
ดดดด(ข) เป็นวิสามานยนาม เป็นชื่อเฉพาะของนามข้างหน้า เช่น นาย สอน ประตู เทวาพิทักษ์ ฯลฯ
ดดดด(ค) เป็นสามานยนาม บอกตำแหน่งของนามข้างหน้า เช่น หญิง แม่เรือน เด็ก นักเรียน ฯลฯ
ดดดด(ง) เป็นลักษณนาม บอกลักษณะของนามข้างหน้า เช่น เรือ สาม ลำ ข้าวห้า เกวียน ฯลฯ
ดดดดด๕.๒ ขยายกริยา คือจะช่วยวิกตรรถกริยาหรือกริยาที่อาศัยส่วนเติมเต็ม ให้มีเนื้อความสมบูรณ์ เช่น เขาเป็น นายอำเภอ คนเป็น อัน มาก เป็นต้น โดยวิกัติการกในรูปนี้ บางทีก็จะอยู่ในรูปของลักษณนาม
ดดดดข้อสังเกตคำนามการกต่าง ๆ
ดดดดเปรียบเทียบประโยค ว่า เขาอยู่ที่บ้าน กับประโยค เขาอยู่บ้าน ทั้ง 2 ประโยคนี้มีความหมายเหมือนกันถึงแม้ว่าจะดึงคำบุพบทออกไปก็ตาม เช่นเดียวกับนามการกต่าง ๆ ที่มีบุพบทนำหน้า ในบางครั้งก็ละบุพบทเสียโดยจะขึ้นอยู่กับเนื้อความของประโยคเป็นสำคัญ
ดดดดคำนามที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับนามการก คือนามอาลปน์ หรือคำร้องเรียก เช่น นาย แดง แกไปไหน เป็นต้น
ดดดดหน้าที่เกี่ยวข้องของสรรพนาม
ดดดดด๑. คำประพันธสรรพนาม มีหน้าที่อยู่ 3 อย่าง คือ
ดดดดด๑.๑ เป็นวิกัติการกของนาม ในประโยคใหญ่ที่อยู่ข้างหน้า
ดดดดด๑.๒ เป็นบทเชื่อมของประโยค ทั้งสอง
ดดดดด๑.๓ เป็นการกต่าง ๆ ของประโยคเล็ก เช่น ม้า ที่ ฉันเลี้ยงตาย คำว่า ที่ เป็นวิกัติการกของคำว่าม้า และเป็นบทเชื่อมของประโยคใหญ่คือประโยค ม้า...ตาย กับประโยคเล็กคือประโยค ที่ ฉันเลี้ยง และคำว่า ที่ ยังทำหน้าที่เป็นกรรมการกของประโยคเล็กอีกด้วย แต่บางทีก็ใช้เป็นเพียงวิกัติการกของนามในประโยคใหญ่และเครื่องเกี่ยวกับประโยคเล็กที่อยู่ข้างหลังเท่านั้น มิได้เกี่ยวข้องกับประโยคเล็ก เช่น พระรูป ที่ ศิษย์ของท่านดื้อต้องลำบาก คำว่ารูป เป็นลักษณนามวิกัติการกของ พระ และ คำว่า ที่ เป็นวิกัติการกของ รูป และเป็นบทเชื่อมของประโยค พระรูป...ต้องลำบาก กับ ประโยค ศิษย์ของท่านดื้อ เท่านั้น
ดดดดด๒. คำวิภาคสรรพนาม คำว่า ต่าง กับ บ้าง นิยมใช้เป็นวิกัติการกของนามข้างหน้าและสามารถเติมคำอื่นลงในระหว่างก็ได้ คน ต่าง กินข้าว เป็น คนในบ้าน ต่าง กินข้าว เป็นต้น นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นว่าคำข้างหน้าเป็นพหูพจน์อีกด้วย
ดดดดวิภาคสรรพนาม คำว่า กัน กันและกัน สามารถใช้เป็นการกต่าง ๆ ได้ แต่ไม่ใช้เป็นบทประธานและวิกัติการก และใช้เป็นพหูพจน์
(คำที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง) ทั้งสิ้น
กลับสู่ด้านบน กลับสู่หน้าแรก หน้าต่อไป
![]() |
ffdjnรวมลิงค์เว็บภาษาไทย |
คำนิยาม คำนาม 5 ชนิด คำนามที่ได้จาก ภาษาบาลีและสันสกฤต คำนิยาม คำสรรพนาม 6 ชนิด คำนิยาม คำกริยา 4 ชนิด คำนิยาม คำวิเศษณ์ 10 ชนิด คำนิยาม บุพบทที่ไม่เชื่อมกับบทอื่น บุพบทที่เชื่อมกับบทอื่น คำนิยาม คำสันธานตามลักษณะการเชื่อม คำนิยาม อุทานบอกอาการ อุทานเสริมบท
|
|