หน้าแรก จุดมุ่งหมาย การเสนอซื้อขาย ข่าวสาร งานวิจัย ลิงค์อื่นๆ
             

 

โลดทะนงขาว หายาก รากเป็นยาดี

ไม้ชนิดนี้ มี 2 พันธุ์ ส่วนใหญ่คนที่นิยมปลูกไม้สมุนไพรจะรู้จักเฉพาะ โลดทะนงแดง แต่ "โลดทะนงขาว" น้อยนักจะรู้จัก เนื่องจากเป็นไม้หายาก ข้อแตกต่างและการแยกแยะว่าเป็นชนิดใดนั้นขึ้นอยู่ที่การสังเกตที่เปลือกหุ้มราก ถ้าเป็นสีดำ เรียกว่า "โลดทะนงขาว" เป็นสีแดง เรียกว่า "โลดทะนงแดง" อย่างอื่นเหมือนกันหมด รากโลทะนงแดงมีสรรพคุณ ฝนกับสุรารับประทานทำให้อาเจียนอย่างแรง ถอนพิษคนที่ถูกยาเบื่อ ยาเมา เมาเห็ด เมาหอยต่าง ๆ และถอนพิษเสหะได้ดี แก้หอบหืด เป็นทั้งยาระบายด้วย ขนาดรับประทานประมาณ 5 เกรน แพทย์แผนไทยอีสานใช้ต้มดื่มแก้วัณโรค ภาคเหนือตอนล่างใช้รากฝนกับมะนาวหรือเหล้าเป็นยาแก้พิษงู ภายนอก ทาเกลื้อน หัวฝีที่ยังไม่ตั้งหนอง ถ้าฝีแตกใช้เป็นยาดูดหนอง ถ้าบดรากโลทะนงเป็นผงผสมกับแป้งพอกปิดหัวฝี สามารถช่วยไม่ให้เจ็บปวดได้ดีมาก

โลทะนงขาวอยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE ลำต้นขึ้นเป็นกระจุก แตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบนัก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาคล้ายใบตะขบฝรั่ง ผิวใบด้านล่างมีขนนุ่ม สีเขียวสด

ดอกออกเป็นช่อแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเป็นสีขาว หรือสีแดงจนถึงอมม่วง ขนาดของดอกเล็ก มีกลีบดอก 5 กลีบ เป็นไม้ที่เจริญงอกงามในฤดูฝน พบถึงฤดูแล้งต้นมักตายแล้วเกิดหน่อใหม่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน พบตามป่าเบญจพรรณแล้ง ที่ระดับความสูงไม่เกิน 500 เมตร

ปลูกได้ในดินทั่วไป ชอบแดด ไม่ชอบน้ำท่วมขัง เหมาะจะปลูกเป็นสมุนไพรไว้ใช้ในบริเวณบ้าน หลังจากปลูกบำรุงด้วยปุ๋ยคอกสม่ำเสมอ รดน้ำพอชุ่มทั้งเช้าและเย็น

  • วันที่ 1-3 มกราคม 2545
  • วันที่ 5-10 มกราคม 2545
  • วันที่ 15 มกราคม 2545
  • วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2545