
กฤษณา
กฤษณา หรือ AQUILARIA MALACCENSIS LAMK. อยู่ในวงศ์ THYMELAECEAE หรือ
ROSACEAE เป็นไม้ยืนต้นสูง 20 - 30 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบสีเทาถึงคล้ำ
เป็นไม้จำพวกสารลงในต้นคล้ายกะลำพัก เนื้อไม้สีขาว แต่ถ้าไม้แก่จัดจะมีสารลงในต้น
ทำให้เนื้อไม้เป็นสีหม่นและมีกลิ่นหอมจนเป็นสีดำจัดเป็นเงาและแข็งแกร่ง ความหอมยิ่งทวีคูณขึ้นเรื่อย
ๆ ชาวป่าจะเจาะลำต้นดมดูพอได้กลิ่นหอมก็จะโค่นเอาไปขายได้ราคาแพง ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีแกมรูปใบหอก
ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบผิวเกลี้ยงหรือขนประปราย
ดอกเป็นสีเหลืองนวลมีกลิ่นหอมแรงและหอมไกล ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบและปลายกิ่ง
3 - 5 ดอก ดอกเป็นรูประฆัง มีกลีบดอก 5 กลีบมีเกสรตัวผู้เป็นกระจุก บริเวณใจกลางดอก
ดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 - 15 มม. เวลามีดอกดกและบานพร้อมกันทั้งต้น
จะส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณใกล้เคียง เป็นที่ชื่นใจมาก
ผล รูปไข่กลับ มีขนปกคลุม เมื่อแก่แตกอ้า มีเมล็ดดอกออกได้เรื่อย ๆ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
พบตามป่าดิบชื้นบนไหล่เขา มีมากที่สุดทางภาคเหนือตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ของประเทศไทยมีชื่อเรียกอีกคือ
กายูการู กายูกาฮู พวมพร้าว และไม้หอม
ประโยชน์ ทางสมุนไพร เนื้อไม้ รสขม หอมคุม และบำรุงโลหิตในหัวใจ ( อาการหน้าเขียวตาเขียว)
ทำให้ตับปอดเป็นปกติ ปรุงเป็นยาหอมแก้ลมหน้ามืด วิงเวียน ผสมเครื่องหอมทุกชนิด
เช่น ธูปหอม น้ำอบไทย สุมศีรษะแก้ลมซางสำหรับเด็ก กินทำให้ชุ่มชื้นหัวใจ
ใช้น้ำมันจากเมล็ดรักษาโรคเรื้อน โรคผิวหนังได้ บางตำราใช้เนื้อไม้เป็นยารักษาโรคปวดข้อได้อีกด้วย
|