![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
|
![]() |
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
|
ปลาร้าผงฝีมือไม่ธรรมดาของกลุ่มแม่บ้าน'สรรพยา' กลุ่มแม่บ้านหมู่ที่ 2 ต.บางหลวง อ.สรรพยา รวมกลุ่มชาวบ้านพยายามคิดค้นหาวิธีที่จะผลิตปลาร้าสำเร็จรูปเป็นปลาร้าผง เพื่อสะดวกในการพกพานำไปใช้ทุกพื้นที่และเก็บไว้ได้นาน ลองผิดลองถูกมาเป็นเวลา 2 ปี เพิ่งประสบความสำเร็จเมื่อไม่นาน นางสมใจ อยู่ชู อายุ 44 ปีประธานกลุ่มแม่บ้านบ้านท่าน อ.สรรพยา จ.ชัยนาท กล่าวว่า กรรมวิธีการผลิตปลาร้าผง ขั้นแรกนำปลาร้าที่หมักไว้ มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ พร้อมด้วยหอม กระเทียม พริก จากนั้นนำชิ้นส่วนทั้งหมด เข้าตู้อบความร้อนขนาดใหญ่ ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง ด้วยความร้อน 100 องศาเซลเซียส จนปลาร้าสด หอม กระเทียม แห้งสนิท นำมาคลุกเคล้ากันในอัตราส่วนปลาร้าอบ 1 กิโลกรัมต่อหอมแดง 2 ขีด กระเทียม 2 ขีด และพริกแดง 2 ขีด จากนั้นนำไปเข้าเครื่องบดถึง 3 รอบ จนปลาร้าละเอียดเป็นผง นำมาบรรจุใส่ถุงตีตราให้กับท้องตลาดที่ต้องการ บรรจุใส่ถุง 50 กรัม จำหน่ายในราคา 15 บาท ปลาร้าผงนิยมใช้ปลาสร้อย เนื้อจะฟูกว่าปลาชนิดอื่น และกลิ่นไม่แรง จัดหาได้ง่ายในแม่น้ำเจ้าพระยา ข้อดีของปลาร้าผง รับประทานง่าย เพราะอบในตู้อบลมควันทำให้เนื้อปลาฟ ูเนื้อแห้งสนิท บดง่ายกลิ่นรสชาติคงเดิมเหมือนปลาร้าหมัก อีกทั้งไม่ขขื้นราและเก็บไว้ได้นานนับปี |
|
|||||||
![]() |
|||||||||
![]() |
|||||||||