กองโรงงานเครื่องจักรกล WORKSHOP DIVISION
www.oocities.org/workshopard
ความเป็นมา
กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท กระทรวงมหาดไทย กลับหน้าแรก

รู้จักองค์กร ภารกิจ / นโยบาย ผลงาน กิจกรรม 5 ส. iso9002
งานเยาวชน งานคลังพัสดุ ประกาศ/คำสั่ง หน้าต่างข่าว สารสนเทศ อื่นๆ

การจัดทำระบบคุณภาพของ

กองโรงงานเครื่องจักรกล


ความเป็นมา

กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการก่อสร้างทางหลวงชนบทการบูรณะและซ่อมบำรุงทางหลวงชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำ การส่งเสริมอาชีพและพัฒนาอาชีพ ซึ่งมีเป้าหมายในการยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของชาวชนบทให้ดีขึ้น การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว รพช.ได้ใช้เครื่องมือ และวิธีการบริหารจัดการหลายรูปแบบและได้กำหนดนโยบายให้หน่วยงานรพช. แสวงหาเทคนิคการบริหารจัดการแนวใหม่ มาปรับปรุงและพัฒนาการบริหารในองค์การ

กองโรงงานเครื่องจักรกลมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการให้บริการด้านการซ่อมเครื่องจักรกลซ่อมแลกเปลี่ยนชุดส่วนประกอบเครื่องจักรกล ผลิตป้ายจราจร เครื่องสูบน้ำมือโยก เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง สนับสนุนให้กับศูนย์ฯ รพช.และสำนักงาน รพช.จังหวัด อีกทั้งฝึกอบรมเยาวชนด้านช่าง รวม 7 สาขาด้วยกัน ได้แก่ สาขาช่างยนต์ ช่างเชื่อม ช่างปรับอากาศ ช่างไฟฟ้า ช่างทำมุ้งลวดและเหล็กดัด ช่างซ่อมรถยนต์ และช่างซ่อมรถจักรยานยนต์

จากหน้าที่ความรับผิดชอบดังกล่าวกองโรงงานเครื่องจักรกลได้สนองนโยบายกรมในการปรับปรุงพัฒนาระบบการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง โดยได้นำกิจกรรมการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพงานของหน่วยงาน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2537 เป็นโครงการนำร่องของกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท (สำนักงาน รพช.เดิม)และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่งได้รับรางวัลจากหน่วยงานภายนอกหลายครั้งรวมทั้งมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมาศึกษาดูงานเป็นจำนวนมาก เช่น สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. สถาบันราชภัฏ ฯลฯ จึงมีแนวคิดในการนำระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 มาปรับใช้ในหน่วยงาน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

กองโรงงานฯ ได้นำกิจกรรมการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร(TOTAL QUALITY MANAGEMENT : TQM.) มาใช้ใน การพัฒนาคุณภาพของ หน่วยงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537โดยเป็นโครงการนำร่องของกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท(สำนักงาน รพช.เดิม)และได้ดำเนินการ อย่าง ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่งได้รับรางวัลจากเลขาธิการ และหน่วยงานภายนอกหลายครั้ง เทคนิคที่ใช้ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมคือ

วิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพงาน คือ

กระทรวงมหาดไทยร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดโครงการนำร่อง (Pilot Project) การฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำ การจัดระบบบริหารงานคุณภาพ ด้านการบริการ ตาม ISO 9000 ของกลุ่มหน่วยงานอำเภอขึ้นจำนวน 10 อำเภอเพื่อส่งเสริม ให้อำเภอได้นำระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 ไปใช้ในการดำเนินงาน และการบริหารงานตามแนวทางสากลอันจะก่อ ให้ เกิดระบบ ระเบียบและยกระดับการให้บริการแก่ประชาชน ให้มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็วและเป็นที่พึงพอใจ ของประชาชน มากยิ่งขึ้น โดยได้เริ่มโครงการเมื่อวันที่ 11มกราคม 2542 ตามหนังสือด่วนที่สุดที่ มท. 0213.1/15609 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2541

คณะรัฐมนตรี ได้ลงมติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2542 เห็นชอบ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจนำระบบการจัดการคุณภาพ ISO 9000 มาใช้พัฒนาการบริการของหน่วยงาน ได้ตามความพร้อมและความสมัครใจ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะให้ การสนับสนุน ตาม รูปแบบของโครงการ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด ทั้งนี้ ไม่ถือว่าเป็นการซ้ำซ้อนกับการดำเนินการตามนโยบายจัดทำ และ พัฒนาระบบมาตรฐานสากลของประเทศไทยด้านการจัดการและสัมฤทธิ์ผลของงานภาครัฐ (Thailand International Public Sector Standard Management System and Outcome หรือ Thailand International P.S.O.) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2541 (ที่ นร. 0205/2742 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2542)

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)ได้จัดโครงการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำ การจัดทำระบบ บริหารงาน คุณภาพ ISO 9000 ให้แก่กลุ่มหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ มีหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจเข้าร่วมโครงการ ฝึกอบรม ในหลักสูตรนี้ทั้งหมด 60 หน่วยงาน เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมพัฒนาชุมชน กรมชลประทานกรมการ ขนส่ง ทางบก กรมไปรษณีย์โทรเลข ศาลฎีกา ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานเขตต่างๆ ใน กทม. และอำเภอเมืองชลบุรี เป็นต้น กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท (สำนักงาน รพช.เดิม) เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ตระหนักถึง การนำระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 มาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน จึงมอบหมายให้กองโรงงานเครื่องจักรกลสมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าว เป็นหน่วยงานนำร่อง และ สมอ. ได้ตอบรับการเข้าร่วมโครงการตามหนังสือที่ อก.0704/ว.582 ลงวันที่ 29 มกราคม 2542

ผอ.กองโรงงานฯ เข้าร่วมพิธีลงนามแสดงเจตจำนงการจัดระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2542 ณ โรงแรมสยามซิตี้กรุงเทพฯ โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม(นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ)เป็นประธานฯ

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มอบหมายให้บริษัท HR BUSINESS & PARTNER จำกัด มาเป็นที่ปรึกษา ในการจัดทำระบบบริหารงานคุณภาพโดยไม่คิดมูลค่าและแนะนำให้กองโรงงานเครื่องจักรกลจัดทำระบบบริหารงานคุณภาพในอนุกรมมาตรฐาน ISO 9002

กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับนโยบายการบริหารงานคุณภาพ ISO 9002 (Steering Committee) โดย มีผู้อำนวยการกองโรงงานเครื่องจักรกลเป็นประธานกรรมการ หัวหน้าฝ่ายทุกฝ่ายเป็นกรรมการและแต่งตั้งตัวแทน ฝ่ายบริหาร ด้านคุณภาพ(Quality Management Representative: QMR) เป็นผู้ดำเนินการจัดทำ ดูแลระบบและรายงานให้คณะ กรรมการ กำกับนโยบายฯทราบ

จัดฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ทุกคนเรื่องระบบบริหารงานคุณภาพ ตามข้อกำหนด ISO 9002 เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพ และการเรียนรู้จากระบบสามารถนำความรู้ไปใช้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

การเริ่มต้นจัดทำระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9002 ได้ศึกษาขั้นตอนของระบบงานเดิมควบคู่กันไปกับการศึกษา ระบบบริหาร งานคุณภาพ ISO 9002 ตามมาตรฐานข้อกำหนด 19 ข้อแล้วนำระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9002มาประยุกต์ใช้กับ ระบบ งานเดิม ให้ครบถ้วนตามข้อกำหนดของ ISO 9002 ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำให้ระบบงานแปรเปลี่ยนไป จากทางราชการ กำหนด เมื่อประยุกต์ข้อกำหนดระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9002 เข้ากับระบบงานเดิมแล้วจึงจัดทำเอกสารซึ่งประกอบด้วย คู่มือคุณภาพ (Quality Manual : QM) ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure Manual : PM) วิธีปฏิบัติงาน(Work Instruction : WI) เอกสารอ้างอิงและแบบฟอร์มต่างๆ ที่ช่วยในการปฏิบัติงาน (Supporting Document : SD) เพื่อใช้เป็นเอกสารในการถือปฏิบัติ และเป็นคู่มือมาตรฐานในการปฏิบัติงานของงานทุกงาน ในกองโรงงานเครื่องจักรกล

ตามความเชื่อของ ISO 9002 ที่ว่า หน่วยงานใดมีระบบบริหารการจัดการครอบคลุมตามที่ ISO 9002 กำหนดแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ออกมา น่าจะมีคุณภาพดีตามไปด้วย

ผลการดำเนินการ

1. เดือนกรกฎาคม 2543 คณะกรรมการกำกับนโยบายการบริหารงานคุณภาพ ISO 9002(Steering Committee) ได้มีมติ เห็นชอบให้ทำหนังสือยื่นต่อสถาบันรับรองมาตรฐาน ไอเอสโอ(Management System Certification Institute (Thailand ) : MASCI)เพื่อขอรับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน มอก. - ISO 9002

2.ทางสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอได้จัดส่งคณะผู้ตรวจประเมินมาทำการตรวจประเมินระบบคุณภาพตามมาตรฐานข้อกำหนด ISO 9002 ที่กองโรงงานเครื่องจักรกล เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2543 และ วันที่ 26 - 28 กุมภาพันธ์ 2544

3. คณะผู้ตรวจประเมินได้จัดทำรายงานผลการตรวจประเมินระบบบริหารงานคุณภาพของกองโรงงานเครื่องจักรกล ต่อคณะ กรรม การสถาบันรับรองระบบมาตรฐานไอเอสโอ เพื่อพิจารณาอนุมัติให้การรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน มอก.-ISO 9002

กองโรงงานเครื่องจักรกล ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9002 (ISO 9002 Certified)เมื่อ วันที่ 12 เมษายน 2544 จาก สถาบันรับรองระบบมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI)ที่ได้รับการรับรองโดย NAC และ JAS-ANZ โดยเป็นการรับรองในมาตรฐานครอบคลุม การดำเนินงานครบทั้งองค์กร