เป็นผู้ว่าง่าย
ปกแรก l บทนำ l
บทที่ ๑ l บทที่ ๒ l บทที่ ๓ l บทที่ ๔ l บทที่ ๕ l บทที่ ๖ l บทที่ ๗ l บทที่ ๘ l บทที่ ๙ l บทที่ ๑๐ l
บทที่ ๑๑ l บทที่ ๑๒ l บทที่ ๑๓ l บทที่ ๑๔ l บทที่ ๑๕ l บทที่ ๑๖ l บทที่ ๑๗ l บทที่ ๑๘ l บทที่ ๑๙ l บทที่ ๒๐ l
บทที่ ๒๑ l บทที่ ๒๒ l บทที่ ๒๓ l บทที่ ๒๔ l บทที่ ๒๕ l บทที่ ๒๖ l บทที่ ๒๗ l บทที่ ๒๘ l บทที่ ๒๙ l บทที่ ๓๐ l
บทที่ ๓๑ l บทที่ ๓๒ l บทที่ ๓๓ l บทที่ ๓๔ l บทที่ ๓๕ l บทที่ ๓๖ l บทที่ ๓๗ l บทที่ ๓๘ l บทที่ ๓๙ l บทที่ ๔๐ l

บทที่ ๒๘ เป็นผู้ว่าง่าย


ความรู้ ความฉลาด ความเจริญ ความดี
ที่ทุกคนปรารถนั้น มิใช่มีติดตัวมาแต่กำเนิด
ต้องอาศัยสร้างให้เกิดมีในปัจจุบันเพิ่มขึ้นทีละน้อย
โดยอาศัยการเรียนรู้จากบุคคลผู้มีความเจริญมาก่อนกล่าวสอนให้
และการทำตนห้เป็นผู้สมควรรับสิ่งที่ดีเหล่านั้น
ก็ต้องทำตนให้เป็นคนว่าง่าย ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ ครูอาจารย์
หรือนักบวชในศาสนาก็ตาม
เมื่อท่านมีความปราถนาดีกล่าวสอนอยู่โดยชอบธรรม
ก็ยินดีเต็มใจรับ ทำความเอื้อเฟื้อ ความเคารพนอบน้อม
แม้เป็นเรื่องที่หนัก กล้าแข็ง ก็อดทนได้โดยทำความเข้าใจว่า
เป็นเหมือนได้ขุมทรัพย์ ไม่ถือรั้น ไม่ขัดคอ
ไม่กล่าวโต้ตอบไม่เป็นคนว่ายาก
เพราะแม้นักบวชในศาสนา ผู้ประพฤติดีประพฤติชอบแล้ว
ยังเป็นผู้ว่าง่าย ให้โอกาสตำหนิสิ่งที่เป็นโทษ
บอกกล่าวสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กันและกัน

คนว่าง่ายเท่านั้น ย่อมเป็นที่พอใจของคนกล่าวสอน
และพอใจจะกล่าวสอนให้มากยิ่งขึ้น
เป็นผู้ห่างไกลจากโทษแต่ไม่ห่างไกลจากประโยชน์
มีความสำเร็จสมปราถนา เป็นความเจริญแห่งชีวิตอย่างหนึ่ง



songkran2000@chaiyo.com