![]() |
![]() |
![]() |
ใบอนุญาต |
......ข้าพเจ้าผู้เซ็นชื่อกำกับข้างล่างนี้เป็นผู้ที่ใครๆ ก็คิดว่าเป็นนักปราชญ์หรือแม้กระทั่งผู้ทรงปัญญาล้ำเลิศ ข้าพเจ้าได้อ่านต้นฉบันหนังสือเรื่องนี้แล้ว ทั้งๆ ที่ไม่อยากอ่านเลย แต่ก็เห็นว่าเป็นเรื่องแปลก สนุก มีคติ และแง่คิด น่าจะถูกใจแม้แต่ผู้ที่ไม่ชอบอ่านหนังสือประเภทนวนิยาย ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงได้วิจารณ์ลดค่าหนังสือเล่มนี้ พร้อมทั้งได้ให้ความมั่นใจกับท่าน ..กาดิ ..เลสกิเอร์ ว่างานเขียนเรื่องนี้ไม่มีคุณค่าเลย |
ซาดีทูล เกล้าถวาย |
คำอุทิศเรื่องซาดิก |
แด่ องค์สุลตานา เซราอา |
......วันที่10 เดือน เซอวาล เฮจิเราะห์ศักราช 837 |
......ข้าแต่องค์สุลตานา พระองค์ทรงเป็นดวงประทีปส่องทางปัญญา และทรงเสน่ห์จนบาดหัวใจผู้ที่ได้ยลโฉมของพระองค์กระหม่อมไม่อาจจุมพิตละอองธุลีพระบาทของพระองค์ได้ เพราะพระองค์ทรงดำเนินไปแต่บนพรมอิหร่านหรือมวลกลีบกุหลาบเท่านั้น ไม่เคยเหยียบย่างลงบนพื้นพสุธาเลย กระหม่อมจึงขอทูลเกล้าถวายหนังสือแทน กระหม่อมได้แปลหนังสือเล่มนี้จากเรื่องของนักปราญช์โบราณท่านหนึ่งซึ่งโชคดี มีเวลาว่างพอที่จะหาความสุขใส่ตนโดยการเขึยนเรื่องซาดิก งานวรรณกรรมที่มีความหมายลึกยิ่งกว่าที่ปรากฏเป็นตัวอักษร กระหม่อมขอกราบทูลให้ทรางอ่านและวิจารณ์หนังสือเล่มนี้ดูเพราะถึงแม้พระองค์จะทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ในวัยรุ่นแรกแย้ม พร้อมพรั่งด้วยสิ่งบำรุงบำเรอความสนุกสนานนานัปการ ทั้งยังทรงมีรูปลักษณ์โสภากอรปกับพรสวรรค์อีกหลายด้าน จนผู้คนแซ่ซ้องสรรเสริญพระองค์ตั้งแต่ยามสนธยาจวบจนรุ่งอรุณเหตุผลทั้งหมดนี้เพียงพอที่จะทำให้พระองค์ทรงสิทธิ ไม่จำเป็นต้องมีสามัญสำนึก แต่ถึงกระนั้น พระองค์ก็ยังทรงมีพระสติปัญญาหลักแหลมและรสนิยมที่ปราณีต ยิ่ง กระหม่อมเคยได้ยินพระองค์ทรงให้เหตุผลดีกว่าเหล่าราชครูผู้เฒ่าซึ่งมีเครายาวและสวมหมวกปลายแหลมเสียอีก นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเก็บความลับได้ดี ไว้วางใจผู้อื่น อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ ทำบุญกุศลอย่างมีวิจารณญาณ รักพระสหายและไม่ก่อศัตรูเลย ทั้งยังไม่โปรดติฉินนินทาผู้อื่นเพื่อเป็นการพักผ่อนสมอง และไม่ตรัสให้ร้ายผู้ใด ตลอดจนไม่ทรงเคยประพฤติชั่ว ทั้งๆที่มีวโรกาสที่จะทำได้อย่างง่ายดาย สรุปแล้ว กระหม่อมได้ประจักษ์เสมอมาว่าพระองค์ทรงมีจิตใจงดงามบริสุทธิ์ดุจเดียวกับพระสิริโฉมของพระองค์ ยิ่งกว่านั้นพระองค์ยังทรงมีพื้นฐานทางปรัชญาอยู่บ้าง กระหม่อมจึงเชื่อว่าพระองค์จะทรงโปรดงานวรรณกรรมของนักปราชญ์ท่านนี้ยิ่งกว่าผู้ใด |
......หนังสือเล่มนี้ เดิมเขียนเป็นภาษาคัลดีนโบราณ ทั้งพระองค์และกระหม่อมไม่อาจเข้าใจได้ ต่อมา มีผู้แปลเป็นภาษาอาหรับและนำทูลเหล้าถวายแด่องค์สุลต่านอุลุกเบกผู้เรืองนามเพื่อพระองค์จะได้ทรงสำราญพระราชหฤทัยกับการอ่านหนังสือเล่มนี้ ขณะนั้นเป็นสมัยเดียวกันกับที่ชาวอาหรับและเปอร์เซียเริ่มเขียนเรื่องพันหนึ่งราตรี พันหนึ่งทิวาและอื่นๆ องค์สุลต่านอุลุกเบก ทรงโปรดเรื่องซาดิกมากกว่าเพื่อน แต่เหล่าสุลตานากลับทรงชอบเรื่องพันหนึ่งต่างๆ มากกว่า สุลต่านอุลุกเบกผู้ทรงปรีชาญาณจึงตรัสถามว่า |
......"ทำไมพวกเจ้าจึงชอบอ่านเรื่องเหลวไหลไร้สาระพรรค์นั้นเล่า" |
......เหล่าสุลตานาทูลตอบว่า |
......"ก็เพราะเป็นเรื่องแบบนั้นสิเพคะ พวกหม่อมฉันถึงได้ชอบอ่าน" |
......กระหม่อมมั่นใจว่าพระองค์จะทรงแตกต่างจากสุลตานาเหล่านั้น และทรงเป็นเสมือนสุลต่านอุลุกเบกจริงๆ ทั้งยังหวังด้วยว่า เมื่อใดที่พระองค์ทรงเริ่มเบื่อหน่ายการสนทนาเรื่องทั่วๆไป ซึ่งเกือบจะเหมือนกับนิทานประเภทพันหนึ่งทั้งหลายเพียงแต่จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็ตรงที่สนุกน้อยกว่าเท่านั้น เมื่อนั้นกระหม่อมก็คงได้รับเกียคติสนทนาเรื่องที่มีสาระกับพระองค์บ้างสักหนึ่งนาที และถ้าหากพระองค์ทรงเคยเป็นพระราชินีทาเลสทริส มเหสีของพระเจ้าสแกนเดอร์ พระโอรสของพระเจ้าฟิลลิปหรือพระราชินีแห่งซาบา มเหสีของพระเจ้าสุไลมาน กษัตริย์เหล่านี้ควรจะได้เสด็จมาเฝ้าพระองค์ |
......ท้ายที่สุดนี้ กระหม่อมขออธิษฐานให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสรวงสวรรค์ จงดลบันดาลให้พระองค์ทรงพระเกษมสำราญปราศจากสิ่งรบกวนใดๆ ทรงพระสิริโฉมอยู่เป็นนิตย์ และทรงประสบแต่ความสุขชั่วกัลปาวสาน ด้วยเทอญ |
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ |
ข้าพระพุทธเจ้า ซาดี |
เรื่องราวมีดังต่อไปนี้ |
บทที่ 1 ชายตาเดียว |
บทที่ 2 จมูก |
บทที่ 3 สุนัขและม้า |
บทที่ 4 จอมอิจฉา |
บทที่ 5 คนใจกว้าง |
บทที่ 6 อคัรมหาเสนาบดี |
บทที่ 7 คดีพิพาทและการพิจารณาคดี |
บทที่ 8 ความหึงหวง |
บทที่ 9 สาวผู้ถูกตี |
บทที่ 10 ตกเป็นทาส |
บทที่ 11 พิธีสตี |
บทที่ 12 อาหารค่ำ |
บทที่ 13 การนัดพบ |
บทที่ 14 การเต้นรำ |
บทที่ 15 นัยน์ตาสีฟ้า |
บทที่ 16 มหาโจร |
บทที่ 17 คนหาปลา |
บทที่ 18 ตัวปาสิลิค |
บทที่ 19 การสัประยุทธ์ |
บทที่ 20 ฤษี |
บทที่ 21 ปริศนา |