12. การแปรรูปลำไย

ลำไยจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกประเภทหนึ่งของไทยเนื่องจากเป็นที่นิยมรับประทานทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าลำไยมีคุณสมบัติในทางแก้ความเหนื่อยอ่อนเพลีย ช่วยให้หลับสบายและเป็นยาเจริญอาหาร ตลอดจนเชื่อว่าเป็นผลไม้แห่งโชคลาภและไม้มงคลปัจจุบัน ลำไยเป็นผลไม้ส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศประมาณ 5-6 หมื่นตัน มูลค่าการส่งออกถึง 1,800 ล้านบาท นอกจากจะบริโภคลำไยสดแล้วยังสามารถแปรรูปเป็นลำไย
แห้งเพื่อยืดอายุการเก็บให้สามารถเก็บไว้บริโภคได้นานๆ และยังมีรสชาติอร่อยอีกด้วยลำไยอบอบแห้งเป็นวิธีการแปรรูปผลผลิตลำไยสดเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตลำไยให้สูงขึ้น และเป็นการแก้ไขปัญหาด้านราคาผลผลิตลำไยสดตกต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากลำไยอบแห้งเป็นที่ต้องการของตลาด
ทั้งในและต่างประเทศ มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี โดยสามารถดูได้จากตัวเลขปริมาณการส่งออก
ลำไยอบแห้งในปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าปริมาณการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น
การส่งออกลำไยอบแห้งในปัจจุบันพบว่า มีการแข่งขันทางด้านตลาดกันอย่างมาก ดังนั้นในการอบแห้งลำไยจึงได้เน้นการผลิตเพื่อการจำหน่าย
และเกษตรกรจำเป็นต้องมีการพัฒนาคุณภาพลำไยอบแห้ง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

การแปรรูปลำไยมีหลายวิธี เช่น

1. ลำไยแช่แข็ง
2. ลำไยกระป๋อง

3. ลำไยแห้ง

- อบเปลือก
- อบเนื้อ

ลำไยแช่แข็ง

ใช้ลำไยพันธุ์กะโหลกที่มีเนื้อหนาและกรอบ โดยได้ทดลองกับลำไยพันธุ์อีดอ สามารถทำลำไยแช่แข็งได้ 2 วิธีคือ แช่ในน้ำเชื่อม และไม่แช่น้ำเชื่อม แต่จากผลการทดลองปรากฏว่าหลังจากเก็บลำไยแช่แข็งไว้นานถึง 4 เดือน ลำไยแช่แข็งโดยวิธีไม่แช่น้ำเชื่อมเจา ยังคงลักษณะทั่วไปและคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกับลำไยสดมากกว่าโดยวิธีแช่ในน้ำเชื่อมวิธีแช่ในน้ำเชื่อม นำลำไยมาล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือก คว้านเมล็ดแล้วล้างให้สะอาดอีกครั้ง นำไปบรรจุในน้ำเชื่อมที่มีความเข้มข้น 30 องศาบริกซ์ แล้วนำไปแช่แข็งที่อุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส เมื่อแข็งแล้วนำไปเก็บในตู้แช่แข็งที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส เพื่อเก็บไว้บริโภคต่อไป

วิธีไม่แช่น้ำเชื่อม นำลำไยมาล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือก คว้านเมล็ดแล้วล้างน้ำให้สะอาดอีกครั้ง จากนั้นนำไปแช่ในสารละลายที่ประกอบด้วยแคลเซียมคลอไรด์ ร้อยละ 0.1 และกรดแอสคอร์บิก ร้อยละ 0.05 นานประมาณ 15 นาที จึงนำไปจุ่มในน้ำเชื่อมที่มีความเข้มข้น 34 องศาบริกซ์ แล้วนำไปวางบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำเชื่อม พอหมาดจึงบรรจุในถุงพลาสติกอย่างหนา ปิดถุงภายใต้สูญญากาศ นำลำไยบรรจุถุงไปแช่แข็งที่อุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส เมื่อแข็งแล้วนำมาเก็บในตู้แช่แข็งที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส เพื่อรอการบริโภคต่อไป

ในการทำลำไยแช่แข็งนั้น ถ้าใช้ลำไยพันธุ์อีดอจะได้ลำไยแช่แข็งที่มีสีดีกว่าทำจากลำไยพันธุ์แห้ว นอกจากนี้ลำไยแช่แข็งยังมีคุณค่าทางอาหารและลักษณะสี กลิ่น และรสใกล้เคียงกับ ลำไยสด ดังนั้น ลำไยแช่แข็งจึงสามารถส่งออกไปขายยังต่างประเทศในระดับอุตสาหกรรมได้ เพราะในปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งเริ่มจะมีบทบาทและเป็นที่เผยแพร่หลายกันมากขึ้น

ลำไยกระป๋อง ใช้ลำไยพันธุ์กะโหลกที่มีเนื้อหนาและกรอบ เช่น เบี้ยวเขียว อีดอ แห้ว เป็นต้น สำหรับลำไยที่มีเนื้อบางไม่นิยมนำมาบรรจุกระป๋อง กรรมวิธีทำลำไยกระป๋องมีดังนี้

1. ลำไยต้องสดและแก่กำลังพอดี คัดขนาดให้ได้เท่ากัน นำไปล้างน้ำให้สะอาดปอกเปลือกคว้าวเอาเมล็ดออก ล้างน้ำอีกครั้ง แล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำ

2. ทำน้ำเชื่อมที่มีความเข้มข้นระหว่าง 23 - 25 องศาบริกซ์ ( น้ำเชื่อมเข้มข้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความหวานของลำไยด้วย)และเติมกรดซิตริกร้อยละ0.2 และแคลเซียมคลอไรด์ ร้อยละ 0.1

3. บรรจุลำไยลงกระป๋องเคลือบดีบุก เติมน้ำเชื่อมร้อนๆ ที่เตรียมไว้

4. นำไปไล่อากาศให้อุณหภูมิตรงกึ่งกลางกระป๋องร้อนประมาณ 85 องศาเซลเซียสแล้ว ปิดกระป๋อง

5. นำไปต้มฆ่าเชื้อในน้ำเดือดประมาณ 30 นาที แล้วทำให้เย็นโดยการแช่น้ำ อุณหภูมิ 40 - 50 องศาเซลเซียส เอาขึ้นจากน้ำทิ้งไว้สักพักให้กระป๋องแห้งเอง จึงนำไปเก็บไว้ในที่เย็น มีอากาศถ่ายเทสะดวก

ลำไยบรรจุขวดโหลทำได้เช่นเดียวกับลำไยกระป๋องแต่ขวดโหลที่ใช้ต้องเป็นชนิดที่ทนความร้อนได้และมีฝาปิดขวดได้สนิท อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ ปัจจุบัน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( สมอ.) ได้กำหนดมาตรฐานลำไยกระป๋องไว้ที่ มอก. 68-2517 โดยจะเป็นผู้ตรวจสอบรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ และจะให้เครื่องหมายมาตรฐานแก่ผู้ผลิต ที่ผ่านการตรวจรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์และจะให้เครื่องหมายมาตรฐานแก่ผู้ผลิต ที่ผ่านการตรวจรับรองคุณภาพ
แล้วว่าผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานแก่ผู้ผลิตที่ผ่านการตรวจรับรองคุณภาพแล้วว่าผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานแก่ผู้ผลิตที่ผ่านการตรวจรับรองคุณภาพตรงตามที่กำหนดไว้

ต้นทุนการทำลำไยบรรจุกระป๋องเคลือบดีบุกขนาด 83 x 113 มิลลิเมตรปริมาณน้ำหนัก 550 กรัม/กระป๋อง ต้องใช้เนื้อลำไย 250 - 255 กรัม น้ำเชื่อมความเข้มข้นร้อยละ 30 ประมาณ 300 กรัม ( หรือประมาณ 55%ต่อน้ำหนักผลิตภัณฑ์ ) คิดเป็นค่าวัตถุดิบ เช่น ลำไย น้ำตาล สารเคมีประมาณ 12 บาท ค่ากระป๋องเคลือบดีบุกประมาณ 2 บาท รวมแล้วต้นทุนในการบรรจุกระป๋องสำหรับการประกอบเป็นอุตสาหกรรมประมาณ 16 - 20 บาท ( รวมค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าสาธารณูปโภคและสาธารณูปการจากโรงงานผลิตแล้ว ) ซึ่งตลาดในประเทศจำหน่ายส่งเป็นหีบๆ ละ 24 กระป๋องเป็นเงิน 520 - 540 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตและราคาของลำไยสด

การแปรรูปลำไยแห้ง

ลำไยเป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อน มีชื่อเรียกทางพฤกษศาสตร์ว่า Euphoria Longana Lamk จัดเป็นพืชใน Family Spindaceae เป็นผลไม้ที่สามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย ลำไยมีหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่ดีและนิยมกันมากคือ พันธุ์กะโหลก เพราะให้ผลดก มีรสหวาน เนื้อหนา และเมล็ดเล็ก ลำไยพันธุ์กะโหลกนี้ยังแตกพันธุ์ได้อีกหลายชนิด แต่พันธุ์ที่นิยมปลูกในจังหวัดเชียงใหม่ได้แก่ สีชมพู, แห้ว, อีดอ, และเบี้ยวเขียว

การอบลำไยแห้งทั้งเปลือก

ลำไยอบแห้งเป็นวิธีการแปรรูปผลผลิตลำไยสดเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตลำไยให้สูงขึ้นและเป็นการแก้ไขปัญหาด้านราคาผลผลิตลำไยสดตกต่ำทั้งนี้เนื่อง
จากลำไยอบแห้งเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการผลผลิตลำไยอบแห้งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี โดยสามารถ
ดูได้จากตัวเลขปริมาณการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น
การส่งออกลำไยอบแห้งในปัจจุบันพบว่า มีการแข่งขันทางด้านตลาดกันอย่างมากดังนั้นในการอบแห้งลำไย
จึงได้เน้น
การผลิตเพื่อการจำหน่ายและเกษตรกรจำเป็นต้องมีการพัฒนาคุณภาพผลผลิตลำไยอบแห้ง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

เครื่องอบหรือเตาอบที่เกษตรกรนิยมใช้ จะมี 2 ชนิด ด้วยกันคือ

1. เครื่องอบหรือเตาอบแบบใช้น้ำมันโซล่าเป็นเชื้อเพลิง มีขนาดความจุ 2,500 - 2,700 กก.

2. เครื่องอบหรือเตาอบแบบใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง มีความจุประมาณ 2,500 - 2,700 กก.

อุปกรณ์และวิธีการอบแห้งลำไยทั้งเปลือก

อุปกรณ์ การอบแห้งลำไยในแต่ละครั้งจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการอบแห้งซึ่งประกอบด้วย

1. ผลผลิตลำไยสดที่จะนำมาอบแห้ง

2. เครื่องอบหรือเตาอบ

3. ตาข่ายทนความร้อน

4. รอกยกตาข่าย

ขั้นตอนและวิธีการอบแห้งลำไยทั้งเปลือก

1. นำลำไยสดเฉพาะผลที่ต้องการอบเทใส่ลงในกะบะอบ โดยแบ่งออกเป็น 3 ชั้น เท่าๆ กัน แต่ละชั้นจะขั้นด้วยตาข่ายทนความร้อนและใช้กระสอบป่าน
คลุมด้านบนของกะบะให้มิดชิด

2. การอบแห้งลำไยจะแบ่งเวลาออกเป็น 5 ช่วงด้วยกัน โดยแต่ละช่วงอุณหภูมิและระยะเวลาที่ใช้จะแตกต่างกันคือ

ข้อมูลศึกษาเปรียบเทียบการอบแห้งลำไยทั้งเปลือก

การทดลอง อบลำไยสดโดยใช้เครื่องอบที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงเปรียบเทียบกับเครื่องอบที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง ปริมาณลำไยที่อบ 2,700 กก.เท่ากันโดยศึกษา.
ประเด็นต่อไปนี้

1. ประมาณเชื้อเพลิง

2. ระยะเวลาการอบ

วิธีการอบ แบ่งเป็นช่วงๆ ดังนี้

  ช่วงที่ 1 อุณหภูมิ 90 ํเซนติเกรด เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง
ช่วงที่ 2 อุณหภูมิ 80 ํเซนติเกรด เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง
 

ช่วงที่ 3 หยุดพักการอบเพื่อพลิกกลับด้าน 3 - 4 ชั่วโมง

 

ช่วงที่ 4 อุณหภูมิ 80 ํเซนติเกรด เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง

 

ช่วงที่ 5 อุณหภูมิ 90 ํเซนติเกรด จนกระทั่งยุติการอบเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง

1. ปริมาณเชื้อเพลิงและเวลาที่ใช้

ข้อมูลการอบด้วยเครื่องอบใช้แก๊ส

ช่วงที่ 1

เวลา

จน.ชม.ที่

ผ่านไป ( ชม.)

อุณหภูมิ

( เซนติเกรด )

นน.แก๊สรวมถัง

( กก.)

นน.แก๊สที่ใช้ไปสะสม ( กก.)

หมายเหตุ

1200

1300

1400

1500

1800

1900

1955

2000

2300

2400

-

1

2

3

6

7

7.55

8

11

12

90

90

90

90

90

90

90

90

90

90

83.0

77.0

71.5

66.0

50.1

44.8

39.3

81.0

64.5

59

-

60

11.5

17.0

32.9

38.2

43.7

-

60.2

65.4

ถังแก๊สที่ 1

 

 

 

 

 

ถังแก๊สที่ 2

ช่วงที่ 2

เวลา

จน.ชม.ที่

ผ่านไป ( ชม.)

อุณหภูมิ

( เซนติเกรด )

นน.แก๊สรวมถัง

( กก.)

นน.แก๊สที่ใช้ไปสะสม ( กก.)

หมายเหตุ

00.10

0100

0200

0300

0445

12.10

13

14

15

16.45

80

80

80

80

80

59.3

55.0

50.5

46.2

38.7

65.4

69.7

74.2

78.5

86.0

ช่วงที่ 3 หยุดเครื่องเพื่อรอพลิกกลับด้าน 4 ชม.

ช่วงที่ 4

เวลา

จน.ชม.ที่

ผ่านไป ( ชม.)

อุณหภูมิ

( เซนติเกรด )

นน.แก๊สรวมถัง

( กก.)

นน.แก๊สที่ใช้ไปสะสม ( กก.)

หมายเหตุ

0900

1000

1200

21

22

24

80

80

80

84.0

79.5

70.7

86.0

90.5

99.3

ถังแก๊สที่ 3

ช่วงที่ 5

เวลา

จน.ชม.ที่ผ่าไป ( ชม.)

อุณหภูมิ

( เซนติเกรด)

นน.แก๊สรวมถัง

( กก.)

นน.แก๊สที่ใช้ไปสะสม ( กก.)

หมายเหตุ

1210

1300

1400

1500

1700

1705

1800

2000

2100

2200

24.10

25

26

27

29

29.05

30

32

33

34

90

90

90

90

90

90

90

90

90

90

70.7

64.8

59.4

53.9

43.0

82.0

76.3

65.3

60.0

54.5

99.3

104.8

110.2

115.7

126.6

126.6

131.9

142.9

148.2

153.7

 

 

 

 

ถังแก๊สที่4

 

 

เหลือแก๊สในถังประมาณ 15 กก.

สรุป ปริมาณแก๊สที่ใช้ 153.7 กก.ระยะเวลา 34 ชม. ( รวมการหยุดเพื่อพลิกกลับ )

ข้อมูลการอบด้วยเครื่องอบใช้น้ำมัน

ช่วงเวลา

ปริมาณน้ำมันที่เติม

อุณหภูมิ

หมายเหตุ

-1100 ถึง 2400

-0010 ถึง 0500

-0500 - 0800

-0800 ถึง 0100

155

-

160

90

80

90

ยังคงมีน้ำมันเหลืออยู่ประมาณ 70 ลิตร

ยังคงมีน้ำมันเหลืออยู่ประมาณ 40 ลิตร

หยุดเครื่องเพื่อพลิกกลับด้าน

ยังคงมีน้ำมันเหลืออยู่ประมาณ 100 ลิตร

สรุป ปริมาณน้ำมันที่ใช้อบ ประมาณ 210 ลิตร ระยะเวลาการอบ 38 ชั่วโมง (รวมการหยุดเครื่อง)

ข้อควรคำนึงในการอบแห้งลำไย

1.ลำไยสดที่จะนำมาอบแห้งนั้นควรเป็นลำไยที่สุกแก่เต็มที่แล้วเพราะจะทำให้ลำไยสดที่จะนำมาอบมีขนาดผลที่โตเต็มขนาดใหญ่ และมีปริมาณน้ำในเนื้อของลำไยน้อย

2.ปริมาณลำไยสดที่จะนำมาอบแห้งแต่ละครั้งไม่ควรมีปริมาณเกินขนาดความจุของเครื่องอบ

3. ควรจะมีการควบคุมอุณหภูมิให้สม่ำเสมอในการอบ

4. หลังจากการอบไปแล้ว 30 ชั่วโมง ควรจะมีการตรวจสอบความแห้งลำไยที่อบเพื่อให้ได้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการ

5. ควรจะมีไฟฟ้าสำรองเพื่อป้องกันไฟฟ้าดับขณะที่อบ เพราะถ้าหากไฟฟ้าดับพัดลมที่เป่าความร้อนเข้าสู่กะบะอบก็ไม่สามารถที่จะทำงานได้ ทำให้ลำไยที่อบแห้งได้รับความร้อนไม่สม่ำเสมอกัน ซึ่งจะเป็นผลให้คุณภาพผลผลิตลำไยอบแห้งออกมาไม่ดีเท่าที่ควร

6. หลังจากการอบแห้งลำไยไปแล้ว 1 อาทิตย์ ควรจะนำลำไยที่อบแห้งแล้วนำมาอบอีกครั้งหนึ่งโดยใช้อุณหภูมิ 60 ํ เซนติเกรด ใช้ระยะเวลาการอบ3 - 4 ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อรา

การคัดเกรดลำไยอบแห้ง

สำหรับการคัดเกรดลำไยอบแห้งโดยทั่วไปจะมีการคัดเกรดลำไยหลังการอบแห้งแล้วจะแบ่งออกเป็น 4 เกรดด้วยกัน คือ

1. เกรด AA มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของผล มากกว่า 2.5 ซม.

2. เกรด A มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของผล มากกว่า 2.2 - 2.5 ซม.

3. เกรด B มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของผล 2.0 - 2.2 ซม.

4. เกรด C มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของผล น้อยกว่า 2.0 ซม.

ต้นทุนในการอบลำไยแห้ง

ลำไยสดที่นำมาอบแห้งอัตราส่วนของลำไยสด ต่อลำไยอบแห้งเท่ากับ 3 : 1 กล่าวคือ ถ้าหากนำลำไยสด ปริมาณ 2,000 กก. มาอบจะได้ลำไยอบแห้งปริมาณ 680 กก. สำหรับราคาซื้อขายลำไยอบแห้งจะขึ้นอยู่กับเกรด และคุณภาพของลำไยอบแห้ง

ราคาซื้อขายลำไยอบแห้งปี 2540

1. เกรด AA ราคาขาย 85 - 90 บาท / กก.

2. เกรด A ราคาขาย 72 - 75 บาท / กก.

3. เกรด B ราคาขาย 40 - 45 บาท / กก.

4. เกรด C ราคาขาย 20 - 25 บาท / กก.

หมายเหตุ : สำหรับราคาลำไยอบแห้งแบบขายคละ ( รวมทุกเกรด ) และคุณภาพดี ราคา กก.ละ 70 บาท

การอบลำไยแห้งเนื้อ

การอบลำไยแห้งเนื้อ เป็นวิธีการแปรรูปลำไยสดโดยการนำเฉพาะเนื้อลำไยแกะเปลือกนำเข้าเตาอบเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตลำไยซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
อย่างแพร่หลายฉะนั้นการอบลำไยแห้งเนื้อ จึงต้องมีเทคนิคในการผลิต เพื่อให้ผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพดีและเป็นที่ต้องการของ
ผู้บริโภค

พันธุ์ลำไยที่ใช้อบแห้งเนื้อ

1. พันธุ์อีดอ
2. พันธุ์แห้ว
3. พันธุ์เบี้ยวเขียว

อุปกรณ์

1. เตาอบลำไยแห้งเนื้อขนาด 350 กก./ครั้ง
2. ช้อนแกงหรือตุ๊ดตู่สำหรับคว้านเมล็ดลำไย
3. สารละลายโปรตัสเซี่ยมเมตาไบซันไฟด์
4. ลำไยสดเกรด A หรือจัมโบ้แกะเปลือกและคว้านเมล็ดออก

ขั้นตอนการผลิต

1. นำลำไยสดคว้านเมล็ดและแกะเปลือกออกด้วยด้ามช้อนแกงหรือตุ๊ดตู่

2. ล้างน้ำให้สะอาด วางเรียงบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ

3. นำลำไยที่ทำความสะอาดแล้วจนสะเด็ดน้ำไปแช่ลงในสารละลายโปรตัสเซี่ยมเมตาไบซันไฟด์ขนาดสารละลาย 5 กรัม/น้ำ 1 ลิตร ใช้เนื้อลำไย 1 - 1.5 กก.แช่ไว้นานประมาณ 10 นาที เพื่อกันการเกิดราหลังจากอบแล้ว

4. เรียงลำไยบนตะแกรงโปร่ง

5. นำเข้าเตาอบชนิดที่มีพัดลมเป่าอุณหภูมิ 70 ํเซนติเกรด ใช้เวลาอบเนื้อนาน 12 ชม. หากเตาอบขนาดบรรจุ 100 กก.ใช้เวลาอบนาน 15 ชม.ในอุณหภูมิเท่ากัน หากเตาอบชนิดที่ไม่มี พัดลมเป่า จะต้องอบที่อุณหภูมิ 65 ํเซนติเกรด ใช้เวลา 16 - 20 ชม.ติดต่อกัน
6.นำออกจากเตาผึ่งให้เย็นเก็บใส่ถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่นสนิทบรรจุลงในถุงพลาสติกสีดำแล้วนำไปบรรจุในกล่องกระดาษเก็บไว้ในห้องเย็น
ที่อุณหภูมิ
4 - 10 ํเซนติเกรด จะเก็บไว้ได้นาน 6 - 9 เดือน โดยที่คุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง

ลักษณะที่ดีของเนื้อลำไยอบแห้ง

1. ขนาดของผลสม่ำเสมอ ไม่บุบแบนหรือฉีกขาด

2. มีสีเหลืองทองผิวแห้งสนิท

3. ไม่มีสิ่งอื่นเจือปน

4. มีกลิ่นหอมของลำไย

ผลผลิต

1. ลำไยสดทั้งเปลือก 500 กก. แกะเปลือกและเมล็ดออกแล้ว จะได้เนื้อลำไยสด 350 กก.

2. เนื้อลำไยสด 350 กก. อบแห้งแล้วจะได้เนื้อลำไยแห้งจำนวน 150 กก.

3. หากใช้เตาอบขนาดเนื้อลำไยสด 100 กก. อบแห้งแล้วจะเหลือลำไยระหว่าง 16 - 18 กก.

4. ราคาจำหน่าย กก.ละ 400 บาท ( ปี 2540 )

การปลูกและการดูแลรักษา กลยุทธ์การพัฒนาลำไย พฤษกศาสตร์และนิเวศน์วิทยา การใช้สาlรโปรแตสเซียมในการเร่งดอก การผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสม การตลาดลำไย ประโยชน์ของลำไย สถานการณ์ผลิตลำไยจังหวัดเชียงใหม่ เอกสารอ้างอิง พันธุ์ลำไย มาตรฐานลำไยของประเทศไทย ประวัติและถิ่นกำเนินของลำไย การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับลำไย ราคาและต้นทุนการผลิตลำไย
กลับไปหน้าแรก กลับไปหน้าสารบัญลำไย