| |
TOP


ลักษณะทั่วไป
สมองอักเสบ หมายถึง
การอักเสบของเนื้อสมอง
ถือเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรงชนิดหนึ่ง
พบได้ทั้งใน
เด็กและผู้ใหญ่
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
ซึ่งมีอยู่หลายชนิด เช่น
เชื้อเริม (Herpes simplex),
เชื้อพิษสุนัขบ้า
(Rabies), เชื้อโปลิโอ เป็นต้น
ในบ้านเรามีเชื้อไวรัสชื่อ เจแพนีสบี
(Japanese B virus)
ซึ่งปกติอาศัยอยู่ในสัตว์ (เช่น
หมู
ม้า แพะ หนู นก)
ติดต่อถึงคนโดยมียุงประเภทคิวเล็กซ์
(Culex) และเอดีส (Aedes) บางชนิด
ซึ่งเป็นยุงรำคาญที่อยู่ตามบ้านเป็นพาหะนำโรค
ทำให้เกิดโรคสมองอักเสบ
ซึ่งบางครั้งอาจพบ
ระบาดในช่วงฤดูฝน
ในแทบทุกภาคของประเทศ
แต่พบระบาดบ่อยทางภาคเหนือ (เช่น
เชียงใหม่
ลำปาง) มักพบในเด็กต่ำกว่า 15 ปี
และในคนแก่ ระยะฟักตัวของโรคนี้
5-14 วัน
นอกจากนี้ยังอาจพบเป็นโรคแทรกซ้อนตามหลังหัด
, หัดเยอรมัน , อีสุกอีใส , คางทูม
อาการ
มักเกิดอย่างเฉียบพลันด้วยอาการไข้สูง
ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้
อาเจียน ที่สำคัญ คือ ผู้ป่วย
จะซึมลงเรื่อย ๆ
จนกระทั่งไม่รู้สึกตัว
ซึ่งอาจเกิดขึ้นภายใน 24-72
ชั่วโมงหลังมีอาการ บางคนอาจ
มีอาการชักร่วมด้วยในเด็กเล็กอาจมีอาการไข้สูง
ซึม ไม่ดูดนม อาเจียน
กระหม่อมโป่งตึง
สิ่งตรวจพบ
ไข้สูง ซึม
หรือหมดสติ รีเฟลกซ์ของข้อ (deep tendon
reflex) ไวกว่าปกติ อาจมีอาการอัมพาต
ของแขนขา มือสั่น อาการคอแข็ง
อาจพบได้ในรายที่เยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย
อาการแทรกซ้อน
อาจทำให้เป็นโรคลมชัก ,
ความจำเสื่อม, แขนขาเป็นอัมพาต,
สมองพิการ
การรักษา
หากสงสัยให้ส่งโรงพยาบาลด่วน
ถ้ามีอาการชัก ใหัยาแก้ชัก เช่น
ไดอะซีแพม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
หรือเหน็บทางทวารหนัก
ถ้ามีภาวะขาดน้ำให้น้ำเกลือมาระหว่างทางด้วยมักจะต้องทำการ
ตรวจวินิจฉัย โดยการเจาะหลัง
(lumbar puncture) เพื่อตรวจน้ำไขสันหลัง
และอาจทำการตรวจ
คลื่นสมอง การรักษา ในปัจจุบัน
ยังไม่มียาที่ใช้รักษาโดยเฉพาะ
มักจะให้การรักษาตามอาการ เช่น
ให้ยาลดไข้, ให้น้ำเกลือ, เจาะคอ
(ถ้าหมดสติหรือมีเสมหะมาก),
ให้อาหารทางสายยางที่ต่อเข้า
กระเพาะ, ให้ยากันชัก
และยาสเตอรอยด์
ผลการรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรค
ถ้ารุนแรง (โดย
เฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กและคนแก่)
อาจตายได้
ถ้าเกิดจากเชื้อเจแพนีสบี
อาจตายถึงประมาณ
25% ถ้าไม่ตายก็อาจพิการ
ส่วนในรายที่ไม่รุนแรง
อาจหายขาดเป็นปกติได้
ข้อแนะนำ
โรคนี้อาจมีอาการคล้ายมาลาเรียขึ้นสมอง
ถ้าพบอาการสมองอักเสบในคนที่อยู่ในเขตป่าหรือเคย
เดินทางไปเที่ยวเขตป่าเขา
ในระยะ 1 เดือนที่ผ่านมา
ควรเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย
และให้
การรักษาแบบมาลาเรียขึ้นสมอง
การป้องกัน
การป้องกัน
สำหรับสมองอักเสบบางชนิด
อาจป้องกันได้โดย
1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด
หัดเยอรมัน และคางทูม
2.
สำหรับสมองอักเสบจากเชื้อเจแพนีสบี
ควรหาทางกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
และระวังอย่าให้ถูก
ยุงกัด
ส่วนวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคนี้
แนะนำเริ่มฉีดในเด็ก อายุ 1-1 1/2 ปี
ควรฉีด 3 เข็ม 2 เข็มแรก
ห่างกัน 1-2 สัปดาห์
(นานกว่านี้ก็ได้ถ้าไม่มาตามกำหนดนัด)
อีก 1 ปี ฉีดเข็มที่ 3 กระตุ้น
รายละเอียด
คนที่มีไข้สูง หมดสติ
หรือชักรุนแรง
อาจเป็นสมองอักเสบ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
หรือมาลาเรียขึ้นสมอง

ลักษณะทั่วไป
เนื้องอกในสมอง
เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนักเมื่อเทียบกับเนื้องอกของอวัยวะอื่น
ๆ แต่ถ้าเป็นแล้ว
ผู้ป่วยมักมาหาแพทย์
เมื่อมีอาการมากแล้ว
การรักษาจึงมักไม่ค่อยได้ผลดี
โรคนี้พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
พบบ่อยในเด็กโตและวัยกลางคน
ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ 100,000 คน
อาจมีสาเหตุจากโรคนี้ประมาณ 10 คน
เนื้องอกในสมองที่พบในเด็กมักเป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในกะโหลกศีรษะ
ส่วนในผู้ใหญ่หรือคนสูงอายุ
อาจเป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในกะโหลกศีรษะ
หรือเป็นเนื้องอกที่แพร่กระจายมาจากที่อื่น
(เช่น ปอด
เต้านม ไต ต่อมไทรอยด์
กระเพาะลำไส้)
อาการ
ผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง
โดยมีลักษณะเฉพาะ คือ
ปวดมากเวลาตื่นนอนตอนเช้า พอสาย
ๆ
ค่อยยังชั่ว
หรืออาจปวดมากเวลาล้มตัวลงนอน
หรือเวลาไอ จาม หรือเบ่งอุจจาระ
อาการปวดศีรษะ
จะรุนแรงขึ้นทุกวัน
จนผู้ป่วยต้องสะดุ้งตื่นตอนเช้ามืด
เพราะอาการปวดศรีษะ
ต่อมาจะมีอาการ
อาเจียนร่วมกับอาการปวดศรีษะ
ซึ่งอาจมีลักษณะอาเจียนพุ่งรุนแรง
โดยไม่มีอาการคลื่นไส้นำมาก่อน
นอกจากนี้ยังอาจมีอาการตามัวลงเรื่อย
ๆ เห็นภาพซ้อน หูอื้อ ตาเหล่
ตากระตุก วิงเวียน เดินเซ
มือเท้าทำงานไม่ถนัด
แขนขาชาหรืออ่อนแรง ชัก
ซึ่งอาจชักทั้งร่างกายหรือเฉพาะส่วนของร่างกาย
ความจำเสื่อม
หรือบุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม
ในรายที่เป็นเนื้องอกของต่อมใต้สมอง
(Pituitary tumor)
นอกจากจะมีอาการดังกล่าวแล้ว
ถ้าพบใน
ผู้หญิงอาจทำให้เป็นประจำเดือนไม่มา
มีน้ำนมออกผิดธรรมชาติ (Galactorrhea)
หรือมีอาการของ
โรคคุชชิง ร่วมด้วย
สิ่งตรวจพบ
ในระยะแรกอาจตรวจไม่พบความผิดปกติอะไร
เมื่อเป็นมากขึ้นอาจพบอาการเดินเซ
ตากระตุก แขนขาอ่อนแรงหรือชัก
การรักษา
ถ้าสงสัย
ควรส่งไปตรวจที่โรงพยาบาล
อาจต้องเอกซเรย์กะโหลกศรีษะ
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง
ตรวจคลื่นสมอง
และตรวจพิเศษอื่น ๆ
ถ้าพบว่าเป็นเนื้องอกในสมอง
อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
หรือฉายรังสี
ผลการรักษาขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของโรค
ในบ้านเราเนื่องจากผู้ป่วยมักมาหา
แพทย์ช้าไป
การรักษาจึงไม่ค่อยได้ผลดี
ข้อแนะนำ
ผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยว่าจะเป็นเนื้องอกในสมอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
มีอาการปวดศีรษะและอาเจียน
ตอนเช้ามืดนานเกินหนึ่งสัปดาห์
ควรรีบไปพบแพทย์
เพราะถ้าพบว่าเป็นเนื้องอกของสมองในระยะ
เริ่มแรก การรักษามักจะได้ผลดี
รายละเอียด
ถ้ามีอาการปวดศีรษะไม่ทราบสาเหตุ
นานเกิน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์

ลักษณะทั่วไป
ไขสันหลังอักเสบ หมายถึง
การอักเสบของประสาทไขสันหลัง
ทำให้เกิดการอัมพาตของขาทั้งสองข้าง
(อัมพาตครึ่งล่าง) หรือแขนขาทั้ง 4
ข้าง (อัมพาตหมดทั้งแขนขา)
เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนัก
แต่อาจเป็นรุนแรงถึงตาย
หรือพิการตลอดชีวิตได้
อาจพบได้ทั้งในเด็ก
และผู้ใหญ่
สาเหตุ
1.
ถ้ามีอาการอักเสบของไขสันหลังเพียงอย่างเดียว
มักมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสบางชนิด
2. ถ้ามีการอักเสบของสมองร่วมด้วย
อาจเกิดจากการติดเชื้อหัด,
หัดเยอรมัน, อีสุกอีใส, คางทูม,
เริม , งูสวัด , โปลิโอ ,
โรคพิษสุนัขบ้า
อาการ
เริ่มแรกมีอาการขาชา
และไม่มีแรงทั้งสองข้าง
ในบางรายอาจมีอาการปวดหลังร่วมด้วย
หลังจากนั้นขาจะอ่อนแรงลงเรื่อย
ๆ จนกระทั่งเป็นอัมพาต
เดินไม่ได้ ถ่ายปัสสาวะ
และอุจจาระไม่ได้
ถ้าเป็นมาก
อาจมีอาการอัมพาตของแขนทั้งสองข้างร่วมด้วย
และถ้าการอักเสบลุกลามถึงไขสันหลัง
ส่วนคอตอนบน
ซึ่งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่ช่วยหายใจ
ก็จะทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่ได้
ถึง
ตายได้
ในบางรายอาจมีอาการไข้และไอคล้ายไข้หวัด
หรือเป็นโรคเยื่อตาขวาอักเสบจากเชื้อไวรัส
นำมาก่อน
สัก 2-3 วัน
ในรายที่มีการอักเสบของสมองร่วมด้วย
มักมีอาการไข้สูง ปวดศรีษะ
คลื่นไส้อาเจียน ซึม
ชัก
หรือหมดสติซึ่งเป็นอาการของสมองอักเสบ
ร่วมด้วย
สิ่งตรวจพบ
แขนขาเป็นอัมพาต
กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก
ไม่มีความรู้สึกเจ็บ
(เข็มแทงไม่เจ็บ) รีเฟลกซ์ของข้อ
(tendon reflex) ไม่มี
การรักษา
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลด่วน
อาจต้องเอกซเรย์ เจาะหลัง
หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ
และอาจให้การรักษาด้วยสเตอรอยด์
ทำกายภาพ
บำบัด
ถ้าหายใจไม่ได้อาจต้องเจาะคอ
และใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผลการรักษาไม่แน่นอน บางรายอาจ
หายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์
บางรายอาจดีขึ้นบ้างแต่ไม่หายขาด
และบางรายอาจไม่ดีขึ้นเลย
และกลาย
เป็นอัมพาตอย่างถาวร
ถ้าจะหายผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการดีขึ้นให้เห็นภายใน
2-6 สัปดาห์ ในรายที่ไม่ดี
ขึ้นเลยภายหลัง 6 เดือน
มักจะเป็นอัมพาตตลอดไป

ลักษณะทั่วไป
เยื่อหุ้มสมอง (Meninges) หมายถึง
แผ่นเยื่อบาง ๆ
ที่ห่อหุ้มเนื้อสมอง
และไขสันหลังไว้ ถ้าเยื่อนี้
เกิดการติดเชื้ออักเสบ
เราเรียกว่า
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
โรคนี้นับว่าเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง
ซึ่งยังพบได้บ่อยในบ้านเราในคนทุกวัย
หากไม่ได้รับการ
รักษาอย่างทันท่วงที
อาจตายหรือพิการได้
สาเหตุ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบแบ่งออกได้หลายชนิด
ซึ่งมีสาเหตุและความรุนแรงแตกต่างกันไป
เช่น
1.
เยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลันชนิดมีหนอง
(Acute purulent meningitis) อาจเกิดจากเชื้อ
นิวโมค็อกคัส (Pneumococcus),
สเตรปโตค็อกคัส (Streptococcus), อีโคไล (E.Coli),
เมนิงโก
ค็อกคัส (Meningococcus) เป็นต้น
ซึ่งมักจะมีอาการเกิดขึ้นฉับพลันทันที
และมีความรุนแรง
อาจเป็นอันตรายในเวลาอันรวดเร็ว
เชื้อโรคอาจแพร่กระจายจากแหล่งติดเชื้อที่ส่วนอื่น
ๆ ของร่างกาย (เช่น ปอดอักเสบ,
เยื่อกระดูก
อักเสบ, คออักเสบ)
ผ่านกระแสเลือดมาที่เยื่อหุ้มสมอง
หรือไม่ก็อาจลุกลามโดยตรง เช่น
ผู้ป่วย
หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง
อาจมีเชื้อโรคจากหูชั้นกลางลุกลามมาถึงเยื้อหุ้มสมองโดยตรง,
หรือผู้ป่วย
ที่มีกะโหลกศีรษะแตกอาจมีเชื้อโรคลุกลามจากภายนอก
เป็นต้น
2. เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค
(Tuberculous meningitis) เกิดจากเชื้อวัณโรค
ซึ่งมักจะแพร่
กระจายจากปอด หรือส่วนอื่น ๆ
ของร่างกายมาที่เยื่อหุ้มสมองโดยผ่านทางกระแสเลือด
โรคนี้มัก
จะมีอาการค่อย ๆ
เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ
อาจกินเวลาเป็นสัปดาห์
แต่ผู้ป่วยมักจะมาหาหมอเมื่อมี
อาการรุนแรง
จึงทำให้มีอัตราตาย
หรือพิการค่อนข้างสูง
พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
พบมากใน
เด็กอายุ 1-5 ปี
3. เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส
(Viral meningitis) อาจเกิดจากเชื้อคางทูม,
เชื้อเอนเทอโรไวรัส
(Enterovirus), เชื้อค็อกแซกคี (Coxsackie)
เป็นต้น
เชื้อโรคมักแพร่กระจายผ่านทางกระแสเลือด
มักจะทำให้มีการอักเสบของสมองร่วมกับเยื่อหุ้มสมอง
4. เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา
ที่พบบ่อยในบ้านเรามีสาเหตุจากเชื้อคริปโตค็อกคัส
(Cryptococcus)
ซึ่งพบในอุจจาระของนกพิราบ ไก่
และตามดิน
เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายโดยการ
หายใจเข้าทางปอด
ผ่านกระแสเลือดไปที่เยื่อหุ้มสมอง
จะมีอาการค่อย ๆ
เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ
เช่นเดียวกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค
มักพบในคนสูงอายุและคนที่มีร่างกายอ่อนแอ
เนื่องจากเป็นโรคเอดส์ มะเร็ง
หรือโรคเรื้อรัง
ส่วนในเด็กพบได้น้อยมาก
เป็นโรคที่มีอันตราย
ร้ายแรงชนิดหนึ่ง
เยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดนี้
มีชื่อเรียกว่า
"เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริป
โตค็อกคัส" (Cryptococcal meningitis)
5. เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ
(Eosinophilic meningitis) ที่พบบ่อยในบ้านเรา
ได้แก่ ตัวจี๊ด
และพยาธิแองจิโอ (Angiostrongylus canthonensis)
โรคนี้อาจมีความรุนแรงมากน้อย
แล้วแต่ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสมอง
ถ้ามีเลือดคั่งในสมองหรือสมองส่วนสำคัญถูกทำลาย
ก็อาจทำให้ตายหรือพิการได้
ถ้าเป็นไม่รุนแรงก็จะหายได้เอง
พยาธิแองจิโอ
พบมากทาง
ภาคกลางและภาคอีสาน
เป็นพยาธิที่มีอยู่ในหอยโข่ง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีประวัติกินหอยโข่ง
ดิบก่อนมีอาการประมาณ 1-2 เดือน
พยาธิเข้าไปในกระเพาะลำไส้และไชเข้าสู่กระแสเลือด
แล้วขึ้นไปที่สมอง
โรคนี้มักพบในตอนปลายฤดูฝน
เพราะเป็นช่วงที่หอยโข่งตัวโตเต็มที่
ซึ่ง
ชาวบ้านจะจับกิน
อาการ
อาการที่เป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้
ได้แก่ มีไข้ ปวดศีรษะรุนแรง
อาเจียนมาก และคอแข็ง
(คอแอ่นไปข้างหลัง และก้มไม่ลง)
ผู้ป่วยส่วนมากจะบ่นปวดทั่วศรีษะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เวลามีการเคลื่อนไหวของศีรษะ
(เช่น ก้มศรีษะ)
มักจะปวดติดต่อกันหลายวัน
และอาจรู้สึก
ปวดคล้ายศีรษะจะระเบิด
กินยาแก้ปวดก็ไม่ช่วยให้ทุเลาส่วนอาการไข้
อาจมีไข้สูงตลอดเวลา
หรือไข้ต่ำ ๆ ก็ได้
แล้วแต่สาเหตุ
ถ้ามีสาเหตุจากพยาธิอาจมีไข้ต่ำๆ
หรือไม่มีไข้ก็ได้
ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา
ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย
สับสน ซึมเรื่อย ๆ จนกระทั่ง
หมดสติ
นอกจากนี้ยังอาจมีอาการกลัวแสง
เห็นภาพซ้อน กลืนลำบาก
แขนขาเป็นอัมพาตหรือ
ชักติด ๆ กันนาน ๆ
ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ
อาการอาจไม่ค่อยชัดเจน
อาจมีไข้สูง กระสับ
กระส่าย ร้องไห้เสียงแหลม
อาเจียน ชัก และกระหม่อมโป่งตึง
อาจตรวจไม่พบอาการคอแข็ง
ในผู้ป่วยที่เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลันชนิดเป็นหนอง
อาจมีอาการคล้ายไข้หวัด หรือ
เจ็บคอนำมาก่อนสัก 12-14 ชั่วโมง
แล้วจึงเกิดอาการปวดศีรษะ
อาเจียน คอแข็ง
ในรายที่เป็นเยื่อหุ่มสมองอักเสบจากเชื้อเมนิงโกค็อกคัส
(Meningococcal meningitis)
อาจมีผื่นแดงจ้ำเขียวขึ้นตามผิวหนังร่วมด้วย
และอาจเกิดภาวะช็อกอย่างรวดเร็ว
โรคนี้อาจพบ
ระบาดได้
สามารถติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ
ชาวบ้านเรียกว่า ไข้กาฬหลังแอ่น
(แปลว่า ไข้
ออกผื่น ร่วมกับอาการหลังแอ่น
หรือ คอแอ่น คอแข็ง)
ในรายที่เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส
มักมีอาการเกิดขึ้นเฉียบพลันด้วย
อาการไข้ ปวดศีรษะ
อาเจียน คอแข็ง ซึม หรือ ชัก
ส่วนมากจะมีอาการอยู่ประมาณ 2
วันถึง 2 สัปดาห์ แล้วจะค่อย ๆ
หายจนเป็นปกติ
ส่วนน้อยอาจมีโรคแทรกซ้อน
ถ้ามีสาเหตุจากเชื้อวัณโรคหรือเชื้อรา
มักจะมีอาการ
เป็นไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย
เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
นำมาก่อนประมาณ 2-3 สัปดาห์
ต่อมาจึงมี
อาการคอแข็ง ปวดศรีษะรุนแรง
หรือชัก ถ้ามีสาเหตุจากพยาธิ
มักมีอาการปวดศีรษะรุนแรง
อาเจียน
คอแข็ง
บางคนอาจมีอาการอัมพาตของใบหน้าหรือแขนขา
ถ้ามีสาเหตุจากตัวจี๊ด
อาจมีประวัติ
อาการของโรคพยาธิตัวจี๊ด
นำมาก่อน
สิ่งตรวจพบ
ไข้สูง ซึม คอแข็ง
แขนขาเป็นอัมพาต ชัก
อาการแทรกซ้อน
มักพบในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
หรือได้รับการรักษาช้าไป
มักพบในผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากเชื้อ
แบคทีเรีย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เชื้อวัณโรค,
เชื้อเมนิงโกค็อกคัส)
เชื้อราและพยาธิ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ เช่น
แขนขาเป็นอัมพาต หูหนวก ตาเหล่
ปากเบี้ยว โรคลมชัก
สมองพิการ , ปัญญาอ่อน,
น้ำคั่งในสมองหรือไฮโดรเซฟาลัส
(hydrocephalus), ฝีในสมอง
เป็นต้น
การรักษา
หากสงสัยให้ส่งโรงพยาบาลด่วน
ถ้ามีอาการชักควรฉีดไดอะซีแพม
เข้าหลอดเลือดดำ หรือ
ทางทวารหนักเพื่อลดอาการชักเกร็ง
ถ้ามีภาวะขาดน้ำหรือช็อก
ให้น้ำเกลือไประหว่างทางด้วย
มักจะต้องทำการวินิจฉัยโดยการเจาะหลัง
(lumbar puncture)
ซึ่งจะพบว่าน้ำไขสันหลังขุ่น
และวัดดูความดันน้ำไขสันหลังจะพบว่าสูงกว่าปกติ
นอกจากนี้
ควรนำน้ำไขสันหลังไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
เพาะเชื้อและหาสารเคมี เพื่อแยก
แยะสาเหตุ
ถ้าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
จะให้ยาปฏิชีวนะตามชนิดของเชื้อที่พบถ้าเกิดจากเชื้อวัณโรค
จะให้ยารักษาวัณโรค นาน 6-9
เดือน
ถ้าเกิดจากเชื้อรา
จะให้ยาฆ่าเชื้อรา ได้แก่
แอมโฟเทอริซิน บี (Amphotericin B)
ถ้าเกิดจากเชื้อไวรัส
ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ
จะให้การรักษาตามอาการ
ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นภายใน
2-3 สัปดาห์
ถ้าเกิดจากพยาธิ
ไม่มียาโดยเฉพาะ
จะให้การรักษาตามอาการและทำการเจาะหลังซ้ำบ่อย
ๆ
เพื่อลดความดันน้ำไขสันหลังให้กลับลงสู่ปกติ
หลังเจาะผู้ป่วยจะรู้สึกอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
หรือ
ทางทวารหนักเพื่อลดอาการชักเกร็ง
ถ้ามีภาวะขาดน้ำหรือช็อก
ให้น้ำเกลือไประหว่างทางด้วย
มักจะต้องทำการวินิจฉัยโดยการเจาะหลัง
(lumbar puncture)
ซึ่งจะพบว่าน้ำไขสันหลังขุ่น
และวัดดูความดันน้ำไขสันหลังจะพบว่าสูงกว่าปกติ
นอกจากนี้
ควรนำน้ำไขสันหลังไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
เพาะเชื้อและหาสารเคมี เพื่อแยก
แยะสาเหตุ
ถ้าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
จะให้ยาปฏิชีวนะตามชนิดของเชื้อที่พบถ้าเกิดจากเชื้อวัณโรค
จะให้ยารักษาวัณโรค นาน 6-9
เดือน
ถ้าเกิดจากเชื้อรา
จะให้ยาฆ่าเชื้อรา ได้แก่
แอมโฟเทอริซิน บี (Amphotericin B)
ถ้าเกิดจากเชื้อไวรัส
ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ
จะให้การรักษาตามอาการ
ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นภายใน
2-3 สัปดาห์
ถ้าเกิดจากพยาธิ
ไม่มียาโดยเฉพาะ
จะให้การรักษาตามอาการและทำการเจาะหลังซ้ำบ่อย
ๆ
เพื่อลดความดันน้ำไขสันหลังให้กลับลงสู่ปกติ
หลังเจาะผู้ป่วยจะรู้สึกอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
ข้อแนะนำ
โรคนี้จัดเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง
ถ้าหากให้การรักษายิ่งช้าก็ยิ่งมีอันตราย
ดังนั้น ถ้าพบคนที่มี
อาการปวดศรีษะ
หรืออาเจียนอย่างรุนแรงที่ชวนให้สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้
ควรส่งผู้ป่วยไป
โรงพยาบาลทันที
การป้องกัน
โรคนี้อาจป้องกันได้โดย
1. การป้องกันมิให้เป็นวัณโรค
โดยการฉีดวัคซีนบีซีจีตั้งแต่แรกเกิด
และถ้าเป็นวัณโรค
ควรรักษาให้หายขาด
เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคแทรกซ้อน
หรือแพร่เชื้อให้ผู้อื่น
2.
ป้องกันมิให้เป็นโรคพยาธิตัวจี๊ด
และโรคพยาธิแองจิโอ
โดยการไม่กิน กุ้ง ปลา
หรือหอยโข่งดิบ
3. ถ้าเป็นโรคหูน้ำหนวก
หรือหูชั้นกลางอักเสบ
ควรรีบรักษา
อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรังจนเข้าสมอง
4. ในกรณีที่เป็นผู้สัมผัส
(ใกล้ชิด) ผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่น
ควรให้ยาปฏิชีวนะ ไรแฟมพิซิน
รายละเอียด
ถ้าพบคนที่มีไข้สูง
ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนรุนแรง
อย่าลืมตรวจอาการคอแข็ง


ThaiL@bOnline
- Crystal Diagnostics
Email : vichai-cd@usa.net
|