สาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพ        การตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องแล็ป ตั้งแต่การได้รับตัวอย่าง เลือด/ ปัสสาวะ/ สารคัดหลั่งต่างๆ วิธีการทดสอบไปจนถึงการแปลผล
อาการและปัญหาของโรคภัยไข้เจ็บ       การดูแลป้องกันโรคติดต่อ        สรีระร่างกายของเรา       ชมรมเรารักสุขภาพมาช่วยกันดูแลสุขภาพกัน       สุขอนามัย

cdlogo.gif (7928 bytes)
Healthcare & Diagnostic

winshop.jpg (4697 bytes)
HealthShop l ช็อปปิ้งเพื่อสุขภาพ


สนใจรับข่าวสารสุขภาพใหม่ๆ 
พร้อมประโยชน์อื่นๆ เชิญสมัครฟรี !

Home ] Up ] Endocrine ] Muscle/Skeleton ] Cardio ] Skin/Dermal ] Digestive ] [ Kidney/Urinary ] Tumor/CA ] Infectious ] CBC ] Sexual ] Respiratory ] Brain ] Accident ] HIV ] TropicalParasite ] BabyDisease ] Mental ]
ban3.jpg (13652 bytes)

 

Top            banner8.gif (26157 bytes)

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
Cystitis

ภาวะไตวาย
Renal failure

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
Vesicular stone

หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน
Acute Glomerulonephritis

กรวยไตอักเสบ 
Pyolonephritis

โรคไตเนโฟรติก 
Nephrotic Syndrome

  bar5.jpg (6486 bytes)













กระเพาะปัสสาวะอักเสบ-Cystitis

ลักษณะทั่วไป
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ของคนเรา
โดยเข้าไปทางท่อปัสสาวะ โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากท่อปัสสาวะของ
ผู้หญิงสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของ
ผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย
ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ พบมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) หรือผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนาน ๆ
อาจพบเป็นโรคแทรกของผู้ป่วยเบาหวาน นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือพบภาย
หลังการสวนปัสสาวะ ผู้หญิงที่แต่งงานใหม่ หรือหลังร่วมเพศ อาจมีอาการขัดเบาแบบ กระเพาะ
ปัสสาวะอักเสบ แพทย์เรียกว่า โรค ฮันนีมูน (Honeymoon's cystitis) สาเหตุเกิดจากการฟกช้ำ
จากการร่วมเพศ แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสาวะ
ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อยมาก ถ้าพบมักมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมลูกหมากโต หรือมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีความผิดปกติทาง โครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ

อาการ
ปัสสาวะกะปริดกะปรอย (ออกทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง) รู้สึกปวดขัด หรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ อาจมีอาการปวดที่ท้องน้อยร่วมด้วย ปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็น สีมักจะใส แต่บางคนอาจขุ่นหรือมี
เลือดปนอาการอาจเกิดขึ้นหลังอั้นปัสสาวะนาน ๆ หรือหลังร่วมเพศ
ในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน อาจมีไข้ เบื่ออาหาร และอาเจียน

สิ่งตรวจพบ
มักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน บางคนอาจมีการกดเจ็บเล็กน้อยตรงกลางท้องน้อย

อาการแทรกซ้อน
ส่วนมากมักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แต่บางคนอาจเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ซึ่งถ้าไม่ได้
รับการรักษาเชื้อโรคอาจลุกลาม ทำให้กลายเป็นกรวยไตอักเสบ ได้

การรักษา
1. ขณะที่มีอาการ ให้ดื่มน้ำมากๆ ถ้าปวดมากให้ ยาแก้ปวด และให้ยาปฏิชีวนะเช่น โคไตรม็อก
ซาโซล 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง, อะม็อกซีซิลลิน  500 มก.ทุก 8 ชั่วโมง หรือนอร์ฟล็อกซาซิน 400 มก. 
วันละ 2 ครั้ง  นาน 3 วัน
2. ถ้าไม่ดีขึ้นหรือเป็นซ้ำมากกว่า 2-3 ครั้ง หรือเป็นในผู้ชาย ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ
โดยการตรวจปัสสาวะ (พบเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก) นำปัสสาวะไปเพาะหาเชื้อ เอกซเรย์ หรือใช้
กล้องส่องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (cystoscope) แล้วให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ

ข้อแนะนำ
1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบเป็นสาเหตุอันดับแรก ๆ ของอาการขัดเบา แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีโรคอีกหลายชนิดที่อาจมีอาการแสดงคล้ายโรคนี้ได้อีก ดังนั้นก่อนให้การรักษาโรคนี้ ควร
ซักถามประวัติอาการอย่างถี่ถ้วน ( ขัดเบา/ปัสสาวะบ่อย/ปัสสาวะมาก)
2. ในเด็กเล็กที่มีอาการปัสสาวะรดที่นอนบ่อย หรือมีไข้ และอาเจียนไม่ทราบสาเหตุ ควรนึกถึง
โรคนี้ไว้เสมอ การตรวจปัสสาวะจะช่วยวินิจฉัยโรคนี้ได้
3. ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ควรดื่มน้ำมาก ๆ (ประมาณวันละ 3-4 ลิตร) เพื่อช่วยขับเชื้อโรคออก และช่วย
ลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะ
4. การป้องกัน ผู้ที่เคยเป็นโรคนี้ เมื่อรักษาหายแล้วควรป้องกันมิให้เป็นซ้ำโดย
4.1 พยายามดื่มน้ำมาก ๆ และอย่าอั้นปัสสาวะควรฝึกถ่ายปัสสาวะในห้องน้ำนอกบ้าน หรือระหว่าง
เดินทางได้ทุกที่ การอั้นปัสสาวะทำให้เชื้อโรคอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้นานจนสามารถเจริญ
แพร่พันธุ์ ประกอบกับในภาวะที่มีกระเพาะปัสสาวะยืดตัวความสามารถในการขจัดเชื้อโรคของ
เยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะลดน้อยลง จึงทำให้เกิดอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้
4.2 หลังถ่ายอุจจาระ ควรใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดจากข้างหน้าไปข้างหลัง เพื่อป้อง กันมิให้นำเชื้อโรคจากบริเวณทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ
4.3 สำหรับอาการขัดเบาหลังร่วมเพศ (โรคฮันนีมูน) อาจป้องกันได้โดยดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนร่วมเพศ
ควรใส่ครีมหล่อลื่นช่องคลอด และถ่ายปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพศ

โดยเข้าไปทางท่อปัสสาวะ โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากท่อปัสสาวะของ
ผู้หญิงสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของ
ผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย
ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ พบมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) หรือผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนาน ๆ
อาจพบเป็นโรคแทรกของผู้ป่วยเบาหวาน นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือพบภาย
หลังการสวนปัสสาวะ ผู้หญิงที่แต่งงานใหม่ หรือหลังร่วมเพศ อาจมีอาการขัดเบาแบบ กระเพาะ
ปัสสาวะอักเสบ แพทย์เรียกว่า โรค ฮันนีมูน (Honeymoon's cystitis) สาเหตุเกิดจากการฟกช้ำ
จากการร่วมเพศ แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสาวะ
ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อยมาก ถ้าพบมักมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมลูกหมากโต หรือมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีความผิดปกติทาง โครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ

อาการ
ปัสสาวะกะปริดกะปรอย (ออกทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง) รู้สึกปวดขัด หรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ
อาจมีอาการปวดที่ท้องน้อยร่วมด้วย ปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็น สีมักจะใส แต่บางคนอาจขุ่นหรือมี
อาการปัสสาวะกะปริดกะปรอย (ออกทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง) รู้สึกปวดขัด หรือแสบร้อนเวลาถ่าย
ปัสสาวะ อาจมีอาการปวดที่ท้องน้อยร่วมด้วย ปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็น สีมักจะใส แต่บางคนอาจ
ขุ่นหรือมีเลือดปนอาการอาจเกิดขึ้นหลังอั้นปัสสาวะนาน ๆ หรือหลังร่วมเพศ     ในเด็กเล็กอาจมี
อาการปัสสาวะรดที่นอน อาจมีไข้ เบื่ออาหาร และอาเจียน

สิ่งตรวจพบ
มักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน บางคนอาจมีการกดเจ็บเล็กน้อยตรงกลางท้องน้อย

อาการแทรกซ้อน
ส่วนมากมักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แต่บางคนอาจเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ซึ่งถ้าไม่ได้รับ
การรักษาเชื้อโรคอาจลุกลาม ทำให้กลายเป็นกรวยไตอักเสบ ได้

การรักษา
1. ขณะที่มีอาการ ให้ดื่มน้ำมากๆ ถ้าปวดมากให้ ยาแก้ปวด และให้ยาปฏิชีวนะเช่น โคไตรม็อก
ซาโซล 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง, อะม็อกซีซิลลิน  500 มก.ทุก 8 ชั่วโมง หรือนอร์ฟล็อกซาซิน 400 มก.
วันละ 2 ครั้ง  นาน 3 วัน
2. ถ้าไม่ดีขึ้นหรือเป็นซ้ำมากกว่า 2-3 ครั้ง หรือเป็นในผู้ชาย ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ
โดยการตรวจปัสสาวะ (พบเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก) นำปัสสาวะไปเพาะหาเชื้อ เอกซเรย์ หรือใช้
กล้องส่องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (cystoscope) แล้วให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ

ข้อแนะนำ
1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบเป็นสาเหตุอันดับแรก ๆ ของอาการขัดเบา แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีโรคอีกหลายชนิดที่อาจมีอาการแสดงคล้ายโรคนี้ได้อีก ดังนั้นก่อนให้การรักษาโรคนี้ ควร
ซักถามประวัติอาการอย่างถี่ถ้วน ( ขัดเบา/ปัสสาวะบ่อย/ปัสสาวะมาก)
2. ในเด็กเล็กที่มีอาการปัสสาวะรดที่นอนบ่อย หรือมีไข้ และอาเจียนไม่ทราบสาเหตุ ควรนึกถึง
โรคนี้ไว้เสมอ การตรวจปัสสาวะจะช่วยวินิจฉัยโรคนี้ได้
3. ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ควรดื่มน้ำมาก ๆ (ประมาณวันละ 3-4 ลิตร) เพื่อช่วยขับเชื้อโรคออก และช่วย
ลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะ
4. การป้องกัน ผู้ที่เคยเป็นโรคนี้ เมื่อรักษาหายแล้วควรป้องกันมิให้เป็นซ้ำโดย
4.1 พยายามดื่มน้ำมาก ๆ และอย่าอั้นปัสสาวะควรฝึกถ่ายปัสสาวะในห้องน้ำนอกบ้าน หรือระหว่าง
เดินทางได้ทุกที่ การอั้นปัสสาวะทำให้เชื้อโรคอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้นานจนสามารถเจริญ
แพร่พันธุ์ ประกอบกับในภาวะที่มีกระเพาะปัสสาวะยืดตัวความสามารถในการขจัดเชื้อโรคของ
เยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะลดน้อยลง จึงทำให้เกิดอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้
4.2 หลังถ่ายอุจจาระ ควรใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดจากข้างหน้าไปข้างหลัง เพื่อป้อง กันมิให้นำเชื้อโรคจากบริเวณทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ
4.3 สำหรับอาการขัดเบาหลังร่วมเพศ (โรคฮันนีมูน) อาจป้องกันได้โดยดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนร่วมเพศ
ควรใส่ครีมหล่อลื่นช่องคลอด และถ่ายปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพศ

bar5.jpg (6486 bytes)















ลักษณะทั่วไป
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เป็นโรคที่พบได้บ่อยทางภาคอีสาน และภาคเหนือ พบได้ในคนทุกวัย
แต่จะพบมากในเด็กผู้ชายอายุต่ำกว่า 10 ปี ในหมู่ชาวชนบทที่ยากจน ทั้งนี้มีความเกี่ยวข้อง
กับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในท้องถิ่นเหล่านี้ (เช่นการป้อนข้าวเหนียว หรือ
ข้าวย้ำแก่ทารกเล็ก ๆ โดยได้รับอาหารโปรตีนจำนวนน้อย) จากการศึกษาของศูนย์วิจัย 
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่านิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่พบในภาคอีสาน และ
ภาคเหนือ มีสาเหตุจากการขาดสารฟอสเฟต ซึ่งมีมากในอาหารประเภทโปรตีน ร่วมกับการ
กินผักที่มีสารออกซาเลต (oxalate) สูง และดื่มน้ำน้อยทำให้มีการสะสมผลึกของสารแคลเซียม
ออกซาเลต ในกระเพาะปัสสาวะ จนกลายเป็นก้อนนิ่วในที่สุด นอกจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว ในคน
ทั่วไปยังอาจพบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ร่วมกับการอุดตันของท่อปัสสาวะ, ต่อมลูกหมากโต, 
กระเพาะปัสสาวะหย่อน (cystocele), กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน เนื่องจากเป็นอัมพาต (neuro
genic bladder) เป็นต้น
ก้อนนิ่วอาจมีขนาดแตกต่างกันไปตั้งแต่ขนาดเท่าเม็ดทราย จนถึงส้มโอ

อาการ
เนื่องจากก้อนนิ่วลงไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการขัดเบา ปัสสาวะกะปริดกะปรอย
ปวดเบ่งคล้ายว่ายังถ่ายไม่สุด ปัสสาวะสะดุดและออกเป็นหยด  บางรายอาจปัสสาวะออกเป็น
เลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ หรืออาจถ่ายเป็นก้อนนิ่ว หรือเม็ดกรวดทรายเล็ก ๆ หรือปัสสาวะขุ่นขาว
เหมือนมีผงแป้งปนถ้าก้อนนิ่วตกลงไปอุดตันท่อปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยมาก 
ปัสสาวะไม่ออก และมีปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ

อาการแทรกซ้อน
มักทำให้มีอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะซึ่งถ้าปล่อยไว้เรื้อรัง อาจกลายเป็นกรวยไตอักเสบ
และไตวายได้

การรักษา
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์ ตรวจอัลตราซาวนด์ หรือใช้เครืองมือส่องตรวจ
กระเพาะปัสสาวะหรือ ซิสโตสโคป (cystoscope)
การรักษา อาจใช้เครื่องมือคีบเอานิ่วออก (สำหรับนิ่วขนาดเล็ก) หรือผ่าตัด (สำหรับนิ่วก้อนใหญ่)
เมื่อหายแล้ว ส่วนใหญ่มักจะไม่เป็นซ้ำใหม่

ข้อแนะนำ
อาการขัดเบา หรือถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด นอกจากนิ่วแล้วยังอาจมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ
อักเสบ ต่อมลูกหมากโต เนื้องอก หรือมะเร็งของกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

การป้องกัน
ควรแนะนำให้ประชาชนในท้องถิ่นที่เป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ รับประทานอาหารประเภทโปรตีน
(เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วต่าง ๆ ) ซึ่งมีปริมาณของสารฟอสเฟตสูง และลดการกินผักที่มีสารออกซาเลต
(เช่น ผักแพว ผักโขม ชะพลู ใบมันสำประหลัง หน่อไม้ ผักสะเม็ด ผักกะโดน เป็นต้น) เพื่อป้องกันมิให้
เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

bar5.jpg (6486 bytes)













ลักษณะทั่วไป
ภาวะไตวาย (ไตล้ม ไตไม่ทำงาน ก็เรียก) หมายถึง ภาวะที่ไตทำงานไม่ได้ หรือ ทำงานได้น้อยกว่า
ปกติ ทำให้มีการคั่งของน้ำและของเสียในร่างกาย สามารถแบ่งเป็น ชนิดเฉียบพลัน และ ชนิดเรื้อรัง

สาเหตุ
1. ไตวายเฉียบพลัน มักเกิดจากภาวะช็อก , การติดเชื้อรุนแรง (เช่น มาลาเรีย เล็ปโตสไปโรซิส),
โลหิตเป็นพิษ, กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน, หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน, การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ
(เช่น นิ่ว,ท่อไตถูกผูกโดยความเผอเรอ จากการผ่าตัดในช่องท้อง) หรือจากพิษของยา (เช่น ซัลฟา,
คาน่าไมซิน), พิษงูแมวเซาหรืองูทะเล , ภาวะเม็ดเลือดแดงแตก
2. ไตวายเรื้อรัง มักเป็นผลแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง , เบาหวาน , โรคเกาต์ , เอสเอลอี ,
ตับแข็ง ,ภาวะหัวใจวาย , กรวยไตอักเสบเรื้อรัง , โรคไตเนโฟรติก , นิ่วในไต , พิษของยา (เช่น
เฟนาซีติน) เป็นต้น

อาการ
1. ไตวายเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะออกน้อยกว่า 400 มิลลิลิตรใน 24 ชั่วโมง หรือไม่มีปัสสาวะ
ออกเลย (สวนปัสสาวะดูก็ไม่มีปัสสาวะออกมากกว่านี้) ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้
อาเจียน ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะมีอาการซึม สับสน ความดันโลหิตสูง ชัก และหมดสติในที่สุด   ผู้ป่วยอาจ
มีอาการแสดงต่าง ๆ ของโรคที่เป็นสาเหตุ
2. ไตวายเรื้อรัง เริ่มแรกจะสังเกตว่ามีปัสสาวะออกมาก และปัสสาวะบ่อยขึ้นตอนกลางคืน ต่อมาจะ
มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ตามัว
ผิวหนังแห้งและมีสีคล้ำ คันตามผิวหนัง บางคนอาจมีอาการบวม หอบเหนื่อย สะอึก เป็นตะคริว
ใจหวิว ใจสั่น อาจมีเลือดออกตามผิวหนังเห็นเป็นจุดแดงพรายย้ำ หรืออาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็น
เลือด ในที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการซึม ชัก หมดสติและตาย
การตรวจร่างกายอาจพบภาวะซีด (โลหิตจาง) ความดันโลหิตสูง ใช้เครื่องฟังปอดมีเสียงกรอบแกรบ
(crepitation) ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ

อาการแทรกซ้อน
ผู้ป่วยอาจมีความดันโลหิตสูง , อัมพาต , โรคหัวใจขาดเลือด , ภาวะหัวใจวาย , โลหิตจาง

การรักษา
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจเลือด (ดูระดับ BUN, Creatinine, Electrolyte เป็นต้น)
เอกซเรย์ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ และให้การรักษาตามอาการและตามสาเหตุที่พบ เช่น ให้ยารักษา
ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ภาวะหัวใจวาย, ซีด เป็นต้น
บางครั้งอาจต้องทำการฟอกล้างของเสียออกทางช่องท้อง เรียกว่า ไดอะไลซิสทางช่องท้อง
(peritoneal dialysis)
ถ้าจำเป็นอาจทำการฟอกล้างของเสียทางเลือด เรียกว่า ไดอะไลซิสทางเลือด (hemodialysis) ซึ่ง
ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และมักจะเลือกทำในรายที่เป็นไตวายเฉียบพลันที่มีสาเหตุที่แก้ไขให้หายขาด
ได้ ผลการรักษาขึ้นกับสาเหตุที่พบ ในรายที่เป็นเฉียบพลันบางรายอาจหายขาดได้ ในรายที่เป็น
เรื้อรังมักจะไม่หายขาด แต่อาจให้การดูแลรักษาประคับประคองให้มีชิวิตอยู่ได้หลายปี และบางราย
แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

ข้อแนะนำ
1. ผู้ป่วยควรลดอาหารประเภทโปรตีน (เช่น เนื้อสัตว์ ไข่) ควรกินอาหารพวกแป้งและน้ำตาล
 ส่วนอาหารเค็มจัดควรงดในรายที่มีอาการบวม หรือมีความดันโลหิตสูง
2. ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิดอาจมีพิษต่อไต หรืออาจต้องปรับขนาดที่ใช้ ดังนั้น
 ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์
3. ในรายที่เป็นเรื้อรัง ควรติดต่อรักษากับแพทย์อย่าได้ขาด และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์
อย่างเคร่งครัด อาจช่วยให้มีชีวิตยืนยาวไปได้อีกหลายปี

การป้องกัน
การป้องกันโรคนี้อยู่ที่การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุเสียแต่เนิ่น ๆ อย่าให้ลุกลามจนเกินการณ์ เช่น ควรรีบ
ให้การรักษาภาวะช็อก ที่เกิดจากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม, ควรรักษาโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน
โลหิตสูง โรคเกาต์ โรคไต อย่างจริงจังและสม่ำเสมอ เป็นต้น

รายละเอียด
ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย ควรระมัดระวังในการใช้ยา

bar5.jpg (6486 bytes)






 




ลักษณะทั่วไป
หน่วยไต (glomerulus) เป็นหน่วยเล็ก ๆ ที่กระจายอยู่ในเนื้อไต ทำหน้าที่กรองของเสียและน้ำออก
มาเป็นปัสสาวะ เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นที่หน่วยไต ทำให้ร่างกายขับปัสสาวะออกได้น้อย มีของเสีย
คั่งอยู่ในเลือดมากกว่าปกติ รวมทั้งมีเม็ดเลือดแดง และสารไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ทำให้เกิด
อาการบวม และปัสสาวะออกมาเป็นสีแดง

สาเหตุ
โรคนี้มักเกิดตามหลังการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า บีตา-สเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ
(Beta-streptococcus group A) เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ ผิวหนังอักเสบ ไฟลามทุ่ง พุพองตาม
ผิวหนังประมาณ 1-4 สัปดาห์ (เฉลี่ย 10-14 วัน) โดยทำให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นที่หน่วยไต ทำให้หน่วยไต
เกิดการอักเสบไปทั่ว นอกจากนี้ยังอาจเกิดร่วมกับโรคเอสเอลอี , ซิฟิลิส , การแพ้สารเคมี (เช่น 
ตะกั่ว) เป็นต้น

อาการ
ผู้ป่วยจะสังเกตเห็นปัสสาวะออกมาเป็นสีแดงเหมือนน้ำล้างเนื้อ หรือน้ำหมาก และจำนวนปัสสาวะ
มักออกน้อยกว่าปกติ อาจพบอาการบวมที่หน้า หนังตา เท้า และท้อง มักมีอาการปวดศีรษะ   มีไข้
อ่อนเพลีย เบื่ออาหารคลื่นไส้ อาเจียน ถ้าเป็นรุนแรง อาจมีอาการหอบเหนื่อย หรือชัก

สิ่งตรวจพบ
ไข้ หน้าบวม หนังตาบวม เท้าบวมกดบุ๋ม อาจมีอาการท้องบวม ปัสสาวะขุ่นแดง และตรวจพบสาร
ไข่ขาว (albumin)
ขนาด 1+ ถึง 3+ อาจมีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย

อาการแทรกซ้อน
อาจมีความดันโลหิตสูงมาก ๆ จนเกิดอาการทางสมอง เช่น ชัก ไม่ค่อยรู้สึกตัวบางรายอาจพบ
ภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ใช้เครื่องฟังปอดมีเสียงกรอบแกรบ (crepitation) มีอาการหอบเหนื่อยและเกิดภาวะหัวใจวาย   อาจทำให้เกิดภาวะไตวาย   ซึ่งร้ายแรงถึงตายได้

การรักษา
1.หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจปัสสาวะซึ่งจะพบเม็ดเลือดแดงเกาะกันเป็นแพ
(red blood cell cast) และพบเม็ดเลือดขาวอยู่กันเดี่ยวหรือเกาะกันเป็นแพ และตรวจเลือด
อาจพบความผิดปกติต่าง ๆ เช่น สารบียูเอ็น (BUN) และครีอะตินีน (creatinine) สูง ซึ่งแสดง
ว่าไตขับของเสียไม่ได้เต็มที่ควรให้การรักษา โดยให้นอนพักผ่อน งดอาหารเค็ม ให้ยาปฎิชีวนะ
ได้แก่ เพนวี   หรือ อีริโทรไมซิน ,ให้ยาขับปัสสาวะ (เช่น ลาซิกซ์) และยาลดความดัน
2. ถ้ามีอาการชักหรือหอบ ให้ฉีดไดอะซีแพม และลาซิกซ์ 1/2-1 หลอด เข้าหลอดเลือดดำ แล้ว
ส่งโรงพยาบาลทันที

ข้อแนะนำ
โรคนี้ส่วนใหญ่ (ประมาณ 95%) จะหายได้ อาการทั่วไปจะดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่ควรตรวจ
ปัสสาวะ
ตรวจปัสสาวะบ่อย ๆ ต่อไปอีกหลายเดือน ประมาณ 2% อาจกลายเป็นเรื้อรัง และ 2% อาจตายระหว่างที่มีอาการ ดังนั้นจึงควรแนะนำให้ผู้ป่วยรักษากับแพทย์อย่างจริงจัง

การป้องกัน
เมื่อเป็นต่อมทอนซิลอักเสบ หรือแผลพุพอง ควรกินยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 10 วัน เพื่อป้องกันมิให้
เกิดโรคหน่วยไตอักเสบแทรกซ้อน

รายละเอียด

เป็นหน่วยไตอักเสบ ควรให้แพทย์ตรวจปัสสาวะบ่อย ๆ

bar5.jpg (6486 bytes)

 

 

 

 

 

 

กรวยไตอักเสบ หมายถึง การติดเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นในบริเวณกรวยไต แบ่งเป็น ชนิดเฉียบพลัน
 ซึ่งมีอาการแสดงชัดเจน กับชนิดเรื้อรัง ซึ่งไม่มีอาการแสดงชัดเจนพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
อาจเป็นโรคแทรกซ้อนของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ, นิ่วในทางเดินปัสสาวะ

กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย เกิดจากการติดเชื้ออักเสบเฉียบพลันในบริเวณ
กรวยไต ส่วนมากเชื้อโรคมักจะแพร่กระจายมาจากบริเวณผิวหนังรอบ ๆ ท่อปัสสาวะ เข้ามาใน
ท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ และผ่านท่อไตขึ้นมาที่ไต การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะมักเป็นปัจจัย
เสริม ให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เช่น นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต กระเพาะปัสสาวะไม่
ทำงานในผู้ป่วยอัมพาต การตั้งครรภ์หรือมีก้อนในช่องท้อง เป็นต้น

เชื้อที่พบได้บ่อย เป็นเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบ ได้แก่ อีโคไล (Escherichia coli), เคลบซิลลา (Klebsiella), สูโดโมแนส (Pseudomonas) นอกจากนี้ ในบางรายเชื้อโรคอาจแพร่กระจายจาก
ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยทางกระแสเลือดก็ได้
โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 4 เท่า มักพบในผู้หญิงในวัยเด็กหรือขณะตั้งครรภ์,
ในคนที่เป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะ, ต่อมลูกหมากโต, เนื้องอก หรือมะเร็งของกระเพาะปัสสาวะ,
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือผู้ป่วยที่เคยสวนปัสสาวะมาก่อน (เช่น ผู้ป่วยหนักที่นอนพักรักษา
อยู่ในโรงพยาบาล) ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน  หรือกินสเตอร์รอยด์  นาน ๆ ก็อาจมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้
ง่ายขึ้น

กรวยไตเสบอักเสบเรื้อรัง
กรวยไตอักเสบเรื้อรัง มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียในบริเวณกรวยไต เนื่องจากมีการอุดกั้น
หรือมีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ แต่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดงแต่อย่างไร นอกจากการตรวจ
พบเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะ (bacteriurea) โดยบังเอิญ หรือบางครั้งบางคราวอาจมีอาการของ
กรวยไตอักเสบกำเริบเฉียบพลัน หรือมีอาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยมักจะมีการอักเสบ
ของกรวยไตนานเป็นแรมปี จนในที่สุด เซลล์ของไตถูกทำลาย ไตฝ่อ และเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง  มีอาการซีด อ่อนเพลีย ความดันโลหิตสูง

อาการ
กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการปวดที่บริเวณสีข้างขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยจะปวดมากที่ข้างใดข้างหนึ่ง
และอาจปวดร้าวลงมาที่บริเวณขาหนีบ พร้อมกับมีไข้สูง หนาวสั่นมากเป็นพัก ๆ (อาจต้องห่มผ้าหลาย
ผืนคล้ายไข้มาลาเรีย แต่จะจับไข้ไม่เป็นเวลาแน่นอน) ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
 บางรายอาจมีอาการขัดเบาร่วมด้วยปัสสาวะมักมีลักษณะขุ่น บางครั้งอาจข้นเป็นหนอง

สิ่งตรวจพบ
กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ไข้สูง 39-40 ํซ ถ้าใช้กำปั้นทุบเบา ๆ ที่สีข้างตรงที่ปวด ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บ
จนสะดุ้งหน้าท้องอาจมีอาการกดเจ็บ หรือท้องเกร็งแข็งเล็กน้อยปัสสาวะมีลักษณะขุ่น

อาการแทรกซ้อน
กรวยไตอักเสบเฉียบพลันถ้าไม่ได้รับการรักษา เชื้ออาจลุกลามเข้ากระแสเลือด กลายเป็นภาวะ
โลหิตเป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ในบางรายอาจกลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรัง
 และภาวะไตวาย

การรักษา
กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
1. หากสงสัย ควรส่งตรวจปัสสาวะเพิ่มเติม จะพบเม็ดเลือดขาวอยู่กันเดี่ยว ๆ และเกาะกันเป็นแพ 
(white blood cells cast) ถ้าอาการไม่รุนแรง อาจให้การรักษาด้วยยาลดไข้  และยาปฏิชีวนะ 
เช่น อะม็อกซีซิลลิน  500 มก. ทุก 8 ชั่วโมง หรือ โคไตรม็อกซาโซล  2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง   หรือ นอร์ฟล็อกซาซิน  400 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 14 วัน  ถ้ากินยาไม่ได้ ให้ฉีดเจนตาไมซิน ครั้งละ
1.7 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 8 ชั่วโมง
2. ถ้าให้การรักษา 3 วันแล้วยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรง หรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ช็อก ความดัน
โลหิตสูง ปัสสาวะออกน้อย ซีด เหลือง หรือสงสัยโลหิตเป็นพิษ  ควรส่งโรงพยาบาล การเพาะเชื้อจาก
ปัสสาวะ จะพบเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุนอกจากนี้ อาจต้องเอกซเรย์ ตรวจเลือด หรือตรวจพิเศษอื่นๆ
 
เพื่อค้นหาความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสริมให้มีการติดเชื้อ
การรักษา ควรให้ยาปฏิชิวนะตามชนิดของเชื้อที่ตรวจพบ และถ้าพบความผิดปกติอื่น ๆ ก็อาจให้การ
แก้ไขร่วมไปด้วยโดยทั่วไป มักจะรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยเมื่อรักษาจนอาการหายดีแล้ว ควรทำ
การตรวจปัสสาวะให้แน่ใจว่าไม่มีอาการอักเสบเรื้อรัง มิเช่นนั้นอาจกลายเป็นกรวยไตอักเสบเรื้อรัง
ซึ่งเป็นอันตรายในระยะยาวได้


กรวยไตอักเสบเรื้อรัง
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ และตรวจพิเศษอื่น ๆ เพื่อค้นหาความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ (เช่น นิ่ว การตีบตันของทางเดินปัสสาวะ) ถ้าพบอาจ
ต้องผ่าตัดแก้ไข หรืออาจต้องให้ยาปฏิชีวนะ และติดตามดูอาการของผู้ป่วยติดต่อกันเป็นเวลานาน
ด้วยการตรวจปัสสาวะและตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ ดูว่ามีภาวะไตวายแทรกซ้อนหรือไม่

ข้อแนะนำ
กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
1. ผู้ป่วยที่เป็นกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน มักมีไข้สูงหนาวสั่น คล้ายไข้มาลาเรีย  
    แต่จะมีอาการปวดและเคาะเจ็บที่สีข้าง และปัสสาวะขุ่น ดังนั้น เมื่อพบคนที่มีอาการไข้หนาวสั่น
    มาก ควรนึกถึงโรคนี้ไว้เสมอ
2. ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากโต  ควรหาทางรักษา
    ให้หายขาด มิฉะนั้นอาจมีกรวยไตอักเสบแทรกซ้อนได้

รายละเอียด
ถ้าเป็นกรวยไตอักเสบเรื้อรัง ควรติดต่อรักษากับแพทย์ อย่าได้ขาด 

bar5.jpg (6486 bytes)

 

 

 

 

 

 

โรคไตเนโฟรติก เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก พบได้ในคนทุกวัย แต่พบมากในเด็กอายุ 1 1/2-5 ปี
มักเป็นเรื้อรัง และมีโอกาสเป็น ๆ หาย ๆ บ่อย ถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของโรคไตเรื้อรังชนิดหนึ่ง
บางครั้งแพทย์อาจเรียกโรคนี้ว่า "โรคไตเรื้อรัง"

สาเหตุ
อาการเกิดเนื่องจากร่างกายมีการสูญเสียโปรตีนออกไปทางปัสสาวะ เพราะมีความผิดปกติของ
หน่วยไต
(glomerulus) ซึ่งเป็นหน่วยเล็กๆ ที่ทำหน้าที่กรองปัสสาวะทำให้มีระดับโปรตีนในเลือดต่ำ
จึงเกิดอาการบวมทั้งตัว ผู้ป่วยส่วนมาก จะไม่ทราบสาเหตุของความผิดปกติอย่างแน่ชัด  บางคนมี
ประวัติเป็นโรคหน่วยไตอักเสบ  มาก่อน หรือพบเกิดร่วมกับเบาหวาน , โรคเอสเอลอี , โรคปวดข้อ
รูมาตอยด์, ซิฟิลิส มาลาเรีย, ตับอักเสบจากไวรัสบีหรือซี, การติดเชื้อเอชไอวี, มะเร็งเต้านม, มะเร็ง
ต่อมน้ำเหลือง, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, ผึ้งต่อย, แพ้สาร หรือยาบางชนิด (เช่น โพรเบเนซิด, แคปโทพริล, 
ไรแฟมพิซิน, ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์, การเสพเฮโรอีน)

อาการ
มีอาการบวมทั่วตัว ทั้งที่หน้า หนังตา ท้อง และเท้า 2 ข้าง ซึ่งมักจะค่อย ๆ เกิดเพิ่มขึ้นทีละน้อย (มี
เพียงส่วนน้อยที่อาจเกิดขึ้นเฉียบพลัน) ผู้ป่วยอาจสังเกตเห็นหนังตาบวมชัดเจนเวลาตื่นนอน ปัสสาวะ
สีใสเหมือนปกติ แต่จะออกน้อยกว่าปกติผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร แต่ไม่มีไข้ นอนราบ
ได้ และมักจะเดินเหินและทำงานได้

สิ่งตรวจพบ
หน้าบวม หนังตาบวม เท้าบวมกดบุ๋ม และอาจมีท้องบวม  ตรวจปัสสาวะพบสารไข่ขาว (albumin) 
ขนาด 3+ ถึง 4+ ถ้าเป็นนาน ๆ อาจมีอาการซีดร่วมด้วย

อาการแทรกซ้อน
อาจเป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากมีภูมิต้านทานต่ำ เช่น เป็นฝีพุพองตามผิวหนัง ปอดอักเสบ
 เยื่อบุช่องท้องอักเสบ กรวยไตอักเสบเรื้อรัง บางรายอาจมีภาวะไตวาย  ภาวะลิ่มเลือดอุดตันใน
หลอดเลือด (เช่น ที่เท้า, ในปอด, ในไต), ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำเนื่องจากขาดวิตามินดี หรือ
ภาวะขาดอาหารแทรกซ้อน

การรักษา
หากสงสัย ควรแนะนำไปโรงพยาบาล เพื่อการวินิจฉัยให้แน่นอน โดยการตรวจเลือด และปัสสาวะ
 ซึ่งจะพบว่า ระดับสารไข่ขาวหรือโปรตีนในเลือดต่ำ (hypoproteinemia) ระดับไขมันในเลือดสูง
 (hyperlipemia) และมีสารไข่ขาวในปัสสาวะมาก การรักษา ควรให้สเตอรอยด์  เช่น เพร็ดนิโซโลน 
วันละ 16-24 เม็ด หรือขนาด วันละ 1-2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมสำหรับเด็ก และให้ยา
ลดกรดกินควบด้วย เพื่อป้องกันโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก ควรนัดไปตรวจเเลือดและปัสสาวะเป็น
ประจำ ถ้าพบว่าสารไข่ขาวในเลือดมีระดับสูงขึ้น และสารไข่ขาวในปัสสาวะลดน้อยลง   พร้อมกับ
อาการบวมลดลง (น้ำหนักตัวลดลง) ก็แสดงว่าอาการดีขึ้น ควรจะค่อย ๆ ลดยาลงทีละน้อย อาจให้
กินยาอยู่นาน 2-3 เดือน
แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจให้ยาขับปัสสาวะ  เช่น ลาซิกซ์ วันละ 1-2 เม็ด เพิ่มอีกชนิดหนึ่ง ถ้าไม่ได้ผล 
อาจต้องเจาะไตเอาเนื้อไตไปตรวจ (renal biopsy) หาสาเหตุและชนิดของโรค และอาจให้ยากดอิมมูน
(immunosuppressive) เช่น ไซโคลฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide), ไซโคลสปอริน (Cyclo
spoin) ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ผลการรักษา ขึ้นกับสาเหตุและชนิดของโรค
ถ้าผลการพิสูจน์ชิ้นเนื้อพบว่าเป็นชนิดเล็กน้อย (minimal lesion) ซึ่งเป็นชนิดที่พบมากในเด็ก ก็มักจะ
หายขาดได้ บางรายเมื่อหยุดยาหลังจากอาการดีขึ้น ก็อาจกำเริบได้ใหม่ในภายหลัง และอาจต้องกินยา
นาน 6 เดือน -1 ปี ซึ่งในที่สุดก็มักจะหายขาดได้ มีผู้ป่วยบางรายที่เป็นชนิดร้ายแรง อาจรักษาไม่ได้ผล 
และเกิดภาวะไตวายแทรกซ้อน ถึงตายได้

ข้อแนะนำ
1. โรคนี้จะต้องรักษากันเป็นเวลานาน ครรติดต่อรักษากับแพทย์คนใดคนหนึ่งเป็นประจำ อย่าเปลี่ยน
หมอเปลี่ยนโรงพยาบาลเอง โดยทั่วไปถ้ามีปัญหาในการรักษา แพทย์ที่รักษาอยู่เดิม มักจะมีจดหมาย
ส่งตัวผู้ป่วยไปรักษากับแพทย์ที่มีความชำนาญกว่า
2. ระหว่างการรักษา ควรพักผ่อนให้มาก ๆ งดอาหารเค็มเพื่อลดอาการบวม และกินอาหารพวกโปรตีน
(เนื้อ นม ไข่) ให้มาก ๆ

รายละเอียด
โรคไตเนโฟรติกอาจเป็นเรื้อรัง แต่มีทางรักษาได้

bar5.jpg (6486 bytes)


wpe5.jpg (2190 bytes)
ThaiL
@bOnLine - Crystal Diagnostics
Email : vichai-cd@usa.net