สาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพ        การตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องแล็ป ตั้งแต่การได้รับตัวอย่าง เลือด/ ปัสสาวะ/ สารคัดหลั่งต่างๆ วิธีการทดสอบไปจนถึงการแปลผล
อาการและปัญหาของโรคภัยไข้เจ็บ       การดูแลป้องกันโรคติดต่อ        สรีระร่างกายของเรา       ชมรมเรารักสุขภาพมาช่วยกันดูแลสุขภาพกัน       สุขอนามัย

cdlogo.gif (7928 bytes)
Healthcare & Diagnostic

winshop.jpg (4697 bytes)
HealthShop l ช็อปปิ้งเพื่อสุขภาพ


สนใจรับข่าวสารสุขภาพใหม่ๆ 
พร้อมประโยชน์อื่นๆ เชิญสมัครฟรี !

Home ] Up ] Endocrine ] [ Muscle/Skeleton ] Cardio ] Skin/Dermal ] Digestive ] Kidney/Urinary ] Tumor/CA ] Infectious ] CBC ] Sexual ] Respiratory ] Brain ] Accident ] HIV ] TropicalParasite ] BabyDisease ] Mental ]
ban3.jpg (13652 bytes)

 

TOP             banner24.gif (8107 bytes)

ข้อเคล็ด/ข้อแพลง
Sprain and Strain

กระดูกคอกดรากประสาท
Cervical Spondolysis

ข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง
Ankylosing Spondylitis

โรคปวดข้อรูมาตอยด์
Rheumatoid Arthritis

เอสแอลอี
SLE

เส้นเอ็นอักเสบ
Tendinitis

ตะคริว
Muscle Cramps

โรคปวดกล้ามเนื้อหลัง Musculotendinous Strain

โรคข้อเสื่อม/ปวดข้อในคนสูงอายุ
Osteoarthritis

กระดูกคองอ กดรากประสาท
Cervical spondolysis

หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
Herniated internertebral disks

เส้นประสาทมือถูกพังผืดรัดแน่น
Carpal Tunnel Syndrom CTS

   bar5.jpg (6486 bytes)











 ข้อเคล็ด/ข้อแพลง Sprain and Strain
ลักษณะทั่วไป
ข้อเคล็ด พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ข้อที่พบได้บ่อยมาก ได้แก่ ข้อเท้า มักจะเกิดจากการเดินสะดุด
หรือหกล้ม ข้อเท้าพลิก หรือบิดงอ นอกจากนยังอาจเกิดที่ข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อมือ และข้อนิ้ว

สาเหตุ
เกิดจากเส้นเอ็น หรือกล้ามเนื้อที่ยึดอยู่รอบ ๆ ข้อต่อ มีการฉีกขาด เนื่องจากหกล้ม ข้อบิด ถูกกระแทก 
หรือ ยกของหนัก

อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเจ็บที่ข้อ หลังได้รับบาดเจ็บทันที โดยจะเจ็บมากเวลาเคลื่อนไหวข้อ หรือใช้นิ้วกดถูก 
อาการจะรุนแรงมากน้อยขึ้นกับปริมาณของเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อที่ฉีกขาด

สิ่งตรวจพบ
ข้อมีลักษณะบวม แดง และ ร้อน

การรักษา
1. หลังได้รับบาดเจ็บ ควรประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำเย็นทันที (ถ้าเป็นที่เท้าอาจใช้เท้าแช่ในน้ำเย็น)เพื่อลด
อาการบวมและปวด และทำอีก 2-3 ครั้งในระยะ 24 ชั่วโมงแรก แต่หลัง 24 ชั่วโมงไปแล้ว ควรประคบด้วย
น้ำร้อน
หรือแช่น้ำอุ่น ครั้งละ 15-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อลดอาการอักเสบ และใช้ขี้ผึ้งน้ำมันระกำ 
(salicylate ointment) หรือยาหม่องทานวด แล้วใช้ผ้าพันแผลชนิดยืด (elastic
bandage) พันพอแน่น 
(อย่าให้แน่นเกินไป) และยกข้อที่แพลงให้สูง เช่น ถ้าข้อเท้าแพลง เวลานอนก็ใช้หมอนรองเท้าให้สูง หรือ
เวลานั่ง ควรยกข้อเท้าวางบนเก้าอี้อีกตัวหนึ่ง (อย่าห้อยเท้า) ถ้าข้อมือแพลงก็อย่าใช้ข้อมือข้างนั้นทำงาน 
(เช่น ยกของ ซักผ้า) ควรพักจนกว่าอาการปวดจะทุเลา ซึ่งอาจกินเวลาหลายวัน แล้วค่อย ๆ เคลื่อนไหว
บริหารข้อนั้นให้คืนสู่สภาพปกติ
2. ถ้าปวด กินยาแก้ปวด  ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง และให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
3. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ หรือสงสัยกระดูกหัก ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์เพื่อ

ตรวจดูว่า กระดูกหัก หรือไม่ เพราะบางครั้งอาจแยกอาการข้อแพลงออกจากอาการกระดูกหักได้ยาก
ในรายที่ข้อแพลงรุนแรง อาจต้องเข้าเฝือก หรือแก้ไขด้วยการผ่าตัด

ข้อแนะนำ
ข้อเคล็ดข้อแพลงส่วนมากจะเป็นไม่รุนแรง และควรจะเริ่มมีอาการดีขึ้น (ปวดและบวมน้อยลง) ภายใน 
1-2 สัปดาห์ และหายขาดภายใน 3-4 สัปดาห์ แต่บางรายโดยเฉพาะถ้าไม่ค่อยได้พัก อาจมีอาการบวม
เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง เป็นเวลา 2-3 เดือนได้

bar5.jpg (6486 bytes)











 กระดูกคอ กดรากประสาท Cervical Spondolysis
ลักษณะทั่วไป
เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เกิดจากกระดูกคอเสื่อมตามวัย และมีกระดูก

งอกตรงบริเวณข้อต่อของกระดูกคอ หมอนรองกระดูกจะเสื่อมและบางตัวลง ทำให้ช่องว่างระหว่าง
ข้อต่อแคบลง ในที่สุดอาจเกิดการกดทับรากประสาทและไขสันหลัง

อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ คอแข็ง และมีอาการปวดร้าวและเสียวชาลงมาที่แขนและมือ ซึ่งมัก

จะเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง (ส่วนน้อยที่อาจเป็นพร้อมกัน 2 ข้าง) อาการจะเป็นมากเวลาเงยหน้า
ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ อาจมีอาการฝ่อตัวของกล้ามเนื้อบริเวณแขนและมือ และถ้าหากมีการกดทับ
ของไขสันหลังร่วมด้วย ก็อาจมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาร่วมด้วย

สิ่งตรวจพบ
ระยะแรกอาจตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน ต่อมาจะพบว่ากล้ามเนื้อแขนและมือฝ่อตัว อ่อนแรง

และมีอาการชา รีเฟลกซ์ของข้อน้อยกว่าปกติ

การรักษา
หากสงสัยควรส่งไปโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก หรือทำการเอกซเรย์

พิเศษที่เรียกว่า ไมอีโลกราฟี (myelography) หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ
ส่วนมากผู้ป่วยจะมีอาการไม่มาก อาจให้การรักษาด้วยการใส่ "ปลอกคอ" ให้ยาแก้ปวด  และ

ไดอาซีแพม บางรายอาจต้องรักษาด้วยการใช้น้ำหนักดึงคอ ในรายที่เป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ถ้ามีการกดไขสันหลัง อาจต้องผ่าตัด เพื่อขจัดการกดทับ และป้องกันมิให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น

bar5.jpg (6486 bytes)






 

 


ข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง Ankylosing Spondylitis
ลักษณะทั่วไป
โรคนี้มีภาวะการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลังแบบเรื้อรัง และค่อย ๆ รุนแรงขึ้นจนมีการเชื่อมต่อ

กันของข้อต่อกระดูก พบได้ประปราย จะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง (ผู้ป่วยชายต่อผู้ป่วยหญิงเท่ากับ
7 : 1 ) และมักพบในคน หนุ่มสาว

สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด พบว่ามีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาของระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ต่อเนื้อเยื่อ

บริเวณข้อต่อกระดูกต่าง ๆ (ออโตอิมมูน) และสันนิษฐานว่า อาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์

อาการ
ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดข้อโดยเฉพาะปวดหลังหรือบั้นเอว เมื่ออายุประมาณ
20 ปี (ระหว่าง 10 - 30
 ปี) เริ่มปวดเมื่อมีอายุมากกว่า 30 ปี พบได้น้อย บริเวณที่ปวด เรียงลำดับตามที่พบมาก ได้แก่ บั้นเอว 
แก้มก้น ทรวงอก หัวเข่า ส้นเท้า หัวไหล่ และข้อมือ ในระยะแรกมักมีอาการปวดเป็นครั้งคราว และดีขึ้น
จากการกินยาแก้ปวด ที่เด่นชัด คือ จะปวดหลังมาก เวลานอนโดยเฉพาะในช่วงเช้า บางครั้งจะปวดมาก
จนต้องตื่นนอน อาจมีอาการหลังแข็ง และดีขึ้นหลังจากได้ เคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกาย บางคน
อาจรู้สึกปวดเมื่อยง่ายหลังทำงาน หรือเล่นกีฬาบางรายอาจมีอาการปวดร้าวลงขา แบบรากประสาท
ถูกกด ถ้าเป็นรุนแรงอาจมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีด  ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไปพบแพทย์หลังมี
อาการ 6 เดือนถึง 3 ปี อาการจะค่อย ๆ เป็นมากขึ้นในระยะ 10 - 20 ปี แล้วอาจทุเลา หรือหายไป
ได้เอง หรืออาจปวดเฉพาะที่บั้นเอว หรือข้อสะโพก แต่บางคนอาการอักเสบ อาจลุกลาม ไปตามข้ออื่นๆ 
หรืออวัยวะอื่น ๆ เช่น ม่านตา (iris), หัวใจ, ทางเดินอาหาร,
ปอด เป็นต้น

สิ่งตรวจพบ
ในระยะแรกเริ่ม อาจตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน เมื่อเป็นมากขึ้น จะพบอาการกดหรือคลำถูกเจ็บตรง
ข้อที่ปวด หรือใช้กำปั้นทุบเบา ๆ ตรงกลางหลังจะเจ็บมากขึ้นอาจตรวจพบว่า ผู้ป่วยก้มงอบั้นเอวลง
 ด้านหน้าได้น้อยกว่าปกติ เรียกว่า "การทดสอบแบบโชเบอร์ (Schober test)" การวัดรอบ
ทรวงอกดูการขยายตัว เมื่อหายใจเข้าเต็มที่ จะพบว่าขยายขึ้นได้น้อยกว่าคนปกติ (ขยายได้ต่ำกว่า 5
ซม. ในชายหนุ่ม) ในรายที่มีอาการรุนแรง และละเลยการรักษาที่ถูกต้องเป็นแรมปี จะมีลักษณะเฉพาะ 
คือ หลังแข็งทั้ง ท่อนและโก่ง (kyphosis) ตาไม่สามารถมองตรงไปข้างหน้า บางรายสะโพกแข็ง
แบบอยู่ในท่านั่ง ทำให้ยืนและเดินไม่ได้ บางรายอาจมี ม่านตาอักเสบ  คือ มีอาการปวดตา ตาแดงร่วม
ด้วย เรียกว่า "กลุ่มอาการไรเตอร์"
(Reiter’s syndrome) หรืออาจมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ 
ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว
(Aortic insufficiency) ซึ่งใช้เครื่องฟังตรวจหัวใจได้ยินเสียงฟู่

อาการแทรกซ้อน
ข้อต่อสันหลัง เชื่อมติดกันจนมีความพิการ คือ หลังโก่ง ข้อตะโพกติดแข็ง จนยืน และเดินไม่ได้  ข้อต่อ
กระดูกซี่โครงติดแข็ง ทำให้สมรรถภาพปอดลดลง อาจเกิดการติดเชื้อในปอด ปอดอักเสบได้ข้อขากรรไกร
แข็ง ทำให้กลืนลำบาก ประสาทสันหลังส่วนล่างผิดปกติ เกิดอาการปวดขา ขาอ่อนแรง กลั้นปัสสาวะ
อุจจาระไม่ได้

การรักษา
หากสงสัย ควรส่งต่อเพื่อการตรวจยืนยันด้วยการตรวจเลือด ซึ่งจะพบค่าอีเอสอาร์ (ESR) และ
C - reactive protein สูงกว่าปกติ การตรวจเอกซเรย์ จะพบความผิดปกติของข้อต่อสันหลัง และข้อต่อสะโพก (sacroiliac joint) ในระยะที่โรคเป็นมากแล้ว การรักษา ยังไม่มีการรักษา
จำเพาะ เพียงแต่ให้การบรรเทาอาการปวด อักเสบ และ
ป้องกันความพิการ โดย
1. ให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์   ตัวที่ใช้ได้ผลดี ได้แก่ อินโดเมทาซิน   ซึ่งควรปรับให้เข้ากับ
ความรุนแรง และระยะของโรคในผู้ป่วยแต่ละคน บางคนหลังให้ยาแล้วทุเลา อาจหยุดยาได้เลย
บางคน
อาจต้องการเพียง วันละ 1 แคปซูล (25 มก.) ในรายที่เป็นรุนแรงอาจต้องใช้ถึง 150 - 200 มก.ต่อวัน
2. กายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยคงรูปทรงในท่าตรงให้สามารถยืนและนั่งตรงได้ และรักษามุมการ

เคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง สะโพก คอ และทรวงอกไว้
3. การผ่าตัดสำหรับระยะท้ายของโรคที่มีการติดแข็งของข้อ เช่น การเปลี่ยนข้อสะโพก การดัดกระดูก

เอวที่โก่งโค้งให้ตรง เป็นต้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถช่วยตัวเองได้ ยกเว้นผู้ที่ละเลยการรักษา อาจพบมี
ความพิการได้ประมาณ
10% หากข้อสันหลังและข้อสะโพก ยังมีความยืดหยุ่นหลังมีอาการเกิน 10 ปี ก็มักจะปลอดจากความเสี่ยงที่ข้อจะติดแข็ง

ข้อแนะนำ
.1. โรคนี้ในระยะแรกจะมีอาการปวดเหมือนโรคปวดกล้ามเนื้อหลัง , หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือ

รากประสาทถูกกด, ข้อเสื่อม , แต่ถ้าพบเป็นเรื้อรังในชายหนุ่ม มักปวดตอนเช้าก่อนตื่นนอน และ
อาการทุเลาหลังบริหารร่างกาย ก็ควรคิดถึงโรคนี้
2. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง ระยะและความรุนแรงของโรค จะแตกต่างกันไปตามสภาพของแต่ละคน ส่วนการรักษาในปัจจุบันยังไม่สามารถร่นระยะเวลาของโรคที่เป็น และไม่อาจป้องกันการติดแข็งของข้อ

ในรายที่เป็นรุนแรง อย่างไรก็ตาม ถ้าได้รับการรักษา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็อาจช่วยให้ผู้ป่วยคงสภาพ
การทำงานของร่างกาย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
3. ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัว ดังนี้
(1) ติดตามรักษากับแพทย์อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
(2) หมั่นฝึกทำกายภาพบำบัดด้วยตนเอง ตามคำแนะนำของแพทย์ การบริหารเน้นการเหยียดตรงของ

หลังและคอ
(3) รักษาอิริยาบถ การยืน เดิน นั่ง นอน ให้หลังอยู่ในท่าตรงที่สุด เท่าที่จะทำได้ควรนอนบนที่นอนแข็ง 
ไม่ควรใช้หมอนหนุนใต้เข่า เพื่อลดปวดเหมือนโรคปวดหลังทั่วไป หลีกเลี่ยงการใช้หมอนสูง เพื่อป้องกัน
มิให้คอโก่งโค้ง
(4) เมื่อมีอาการปวด อาจใช้ความร้อนช่วย เช่น อาบน้ำอุ่น ใช้น้ำอุ่นประคบ และบีบนวด
(5) ผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการข้อติดแข็ง สามารถเล่นกีฬาได้ทุกประเภท ยกเว้นประเภทที่ต้องก้มหลัง เช่น

ถีบจักรยาน โบว์ลิ่ง ตีกอล์ฟ เป็นต้น
(6) ฝึกการหายใจเข้าออกลึก ๆ วันละ 10 - 20 ครั้ง โดยเฉพาะในช่วงหลังตื่นนอนตอนเช้า

bar5.jpg (6486 bytes)










 ตะคริว Muscle Cramps
ลักษณะทั่วไป
ตะคริว หมายถึง อาการกล้ามเนื้อเกร็งแข็งและปวดซึ่งจะเกิดขึ้นรวดเร็ว และมักจะเป็นอยู่เพียงไม่
กี่นาที กล้ามเนื้อที่พบเป็นตะคริวได้บ่อย ได้แก่ กล้ามเนื้อน่องและต้นขา ตะคริวเป็นภาวะที่พบได้บ่อย
มาก ซึ่งจะพบได้เป็นครั้วคราวในคนเกือบทุกคน

สาเหต
ส่วนมากจะไม่มีสาเหตุร้ายแรง เป็นเพียงชั่วเดี๋ยวเดียวก็หายได้เอง บางคนอาจเป็นตะคริวที่น่อง ขณะ
นอนหลับโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด บางคนอาจเป็นหลังออกกำลังมากกว่าปกติ หรือนอน นั่งหรือยืน
ในท่าที่ไม่สะดวกนาน ๆ (ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก)   ผู้ที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
ก็อาจเป็นตะคริวได้บ่อย ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อาจเป็นตะคริวได้บ่อยขึ้น เนื่องจากระดับของแคลเซียม
ในเลือดต่ำ หรืออาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่สะดวก
ในคนที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (arteriosclerosis) เช่น คนสูงอายุ ก็มีโอกาสเป็นตะคริวได้บ่อย
ขึ้น และอาจเป็นขณะที่เดินนาน ๆ หรือขณะที่อากาศเย็นตอนดึกหรือเช้ามืด เนื่องจากการไหลเวียน
ของเลือดไปที่ขาไม่ดีในผู้ป่วยที่ร่างกายเสียเกลือโซเดียม เนื่องจากท้องเดิน อาเจียน หรือสูญเสียไป
ทางเหงื่อเนื่องจากความร้อน (อากาศ หรือทำงานในที่ที่ร้อนจัด) อาจเป็นตะคริวรุนแรง คือ เกิดกับ
กล้ามเนื้อหลายส่วนของร่างกายและมักจะเป็นอยู่นาน)

อาการ
ผู้ป่วยอยู่ ๆ รู้สึกกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง (เช่น น่อง หรือต้นขา) มีการแข็งตัวและปวดมาก เอามือ
คลำดูจะรู้สึกแข็งเป็นก้อน ถ้าพยายามขยับเขยื้อนกล้ามเนื้อส่วนนั้นจะทำให้ยิ่งแข็งตัวและปวดมากขึ้น
การนวดและยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้น จะช่วยให้ตะคริวหายเร็วขึ้น   ถ้าเป็นขณะนอนหลับ ผู้ป่วยอาจรู้สึก
ปวดจนสะดุ้งตื่นโดยทั่วไป จะเป็นอยู่เพียงไม่กี่นาทีก็หายได้เอง และไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ เกิดร่วม
ด้วย เมื่อหายแล้วผู้ป่วยจะรู้สึกเป็นปกติทุกอย่าง

สิ่งตรวจพบ
กล้ามเนื้อเกร็งแข็ง

การรักษา
1. ขณะที่เป็นตะคริว ให้ทำการปฐมพยาบาล โดยใช้มือนวดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว หรือยืดกล้ามเนื้อ
ส่วนนั้นให้ตึง เช่น ถ้าเป็นตะคริวที่น่อง ให้เหยียดหัวเข่าตรง และดึงปลายเท้ากระดกเข้าหาเข่าให้มาก
ที่สุด ถ้าเป็นตะคริว ที่ต้นขาให้เหยียดหัวเข่าตรง ยกเท้าขึ้นให้พ้นจากเตียงเล็กน้อยและกระดกปลาย
เท้าลงล่าง (ไปทางด้านตรงข้ามกับหัวเข่า)
2. ถ้าเป็นตะคริวขณะเข้านอนตอนกลางคืนบ่อย ๆ (เช่น หญิงที่ตั้งครรภ์ คนสูงอายุ) ก่อนนอนควรดื่ม
นมให้มากขึ้นและยกขาสูง (ใช้หมอนรอง) จากเตียงประมาณ 10 ซม.(4 นิ้ว) ในหญิงตั้งครรภ์ อาจให้ยาเม็ดแคลเซียมแลกเทตกินวันละ 1-3 เม็ด
3. ถ้าเป็นตะคริวจากการเสียเกลือโซเดียม (เช่น เกิดจากท้องเดิน อาเจียน เหงื่อออกมาก) ควรให้ดื่ม
สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ถ้าดื่มไม่ได้ ควรให้น้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์ทางหลอดเลือดดำ
4. ถ้าเป็น ๆ หาย ๆ บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นขณะเดินนาน ๆ ควรแนะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อ
ตรวจหาสาเหตุ อาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดที่ขา หรือมีภาวะหลอดเลือดแดง
แข็งจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่น ๆ
ในผู้สูงอายุที่เป็นตะคริวตอนกลางคืนเป็นประจำ ควรให้กินไดเฟนไฮดรามีน  ขนาด 50 มก.ก่อนนอน
อาจช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริวขณะเข้านอนได้

bar5.jpg (6486 bytes)










  โรคปวดกล้ามเนื้อหลัง Musculotendinous Strain
ลักษณะทั่วไป
โรคปวดกล้ามเนื้อหลัง เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการปวดหลัง พบได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว
เป็นต้นไป เป็นภาวะที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง และมักจะหายได้เอง แต่อาจเป็นๆ หาย ๆ เรื้อรังได้

สาเหตุ
มักเกิดจากการทำงานก้ม ๆ เงย ๆ ยกของหนัก นั่ง ยืน นอน หรือยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง ใส่รองเท้า
ส้นสูงมากเกินไป หรือนอนที่นอนนุ่มเกินไป ทำให้เกิดแรงกดตรงกล้ามเนื้อสันหลังส่วนล่าง ซึ่งจะมี
อาการเกร็งตัว ทำให้เกิดอาการปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง คนที่อ้วน หรือหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ก็อาจ
มีอาการปวดหลังได้เช่นกัน

อาการ
ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง (ตรงบริเวณกระเบนเหน็บ) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉียบพลัน หรือ
ค่อยเป็นทีละน้อย อาการปวดอาจเป็นอยู่ตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะในท่าบางท่า การไอ จาม หรือ
บิดตัว เอี้ยวตัวอาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยจะแข็งแรงดี และไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ
ร่วมด้วย

สิ่งตรวจพบ
มักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติอะไร

การรักษา
1. สังเกตว่ามีสาเหตุจากอะไร แล้วแก้ไขเสีย เช่น ถ้าปวดหลังตอนตื่นนอน ก็อาจเกิดจากที่นอนนุ่ม
ไป หรือนอนเตียงสปริง ก็แก้ไขโดยนอนบนที่แข็งและเรียบแทน
ถ้าปวดหลังตอนเย็น ก็มักจะเกิดจากการนั่งตัวงอตัวเอียง หรือใส่รองเท้าส้นสูง ก็พยายามนั่งให้ถูกท่า 
หรือเปลี่ยนเป็นรองเท้าธรรมดาแทน ถ้าอ้วนไป ควรพยายามลดน้ำหนัก
2. ถ้ามีอาการปวดมาก ให้นอนหงายบนพื้น แล้วใช้เท้าพาดบนเก้าอี้ให้เข่างอเป็นมุมฉาก สักครู่หนึ่ง
ก็อาจทุเลาได้ หรือจะใช้ยาหม่อง หรือน้ำมันระกำทานวด หรือใช้น้ำอุ่นประคบก็ได้  ถ้าไม่หาย ก็ให้ยา
แก้ปวด เช่น แอสไพริน, พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด จะกินควบกับไดอะซีแพมขนาด 2 มก. ด้วย
ก็ได้ ถ้ายังไม่หาย อาจให้ยาคลายกล้ามเนื้อ  เช่น เมโทคาร์บามอล , คาริโซม่า ครั้งละ 1 เม็ด ซ้ำได้
ทุก 6-8 ชั่วโมง ผู้ป่วยควรนอนที่นอนแข็ง และหมั่นฝึกกายบริหารให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง
3. ถ้าเป็นเรื้อรัง หรือมีอาการชาที่ขา หรือขาไม่มีแรง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ควรแนะนำผู้ป่วยไป
โรงพยาบาล อาจ ต้องเอกซเรย์หลัง หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ

ข้อแนะนำ
อาการปวดหลังแบบนี้เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในหมู่ชาวไร่ชาวนา กรรมกรที่ทำงานหนัก และในหมู่คน
ที่ทำงานนั่งโต๊ะนาน ๆ ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่า เป็นอาการของโรคไต โรคกษัย และซื้อยาชุด ยาแก้กษัย
หรือยาแก้โรคไต กินอย่างผิด ๆ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดโทษได้ ดังนั้น จึงควรแนะนำชาวบ้านเข้าใจ
ถึง สาเหตุของอาการปวดหลัง และควรใช้ยาเท่าที่จำเป็นโดยทั่วไป การปวดหลังเนื่องจากกล้ามเนื้อ
มักจะปวดตรงกลางหลัง ส่วนโรคไตมักจะปวดที่สีข้าง และอาจมีไข้สูง หนาวสั่น หรือปัสสาวะขุ่น
หรือแดงร่วมด้วย

การป้องกัน
โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยระวังรักษาท่านั่ง ท่ายืน ท่ายกของ ให้ถูกต้อง หมั่นออกกำลังกล้ามเนื้อ
หลังเป็นประจำ และนอนบนที่นอนแข็ง

bar5.jpg (6486 bytes)


 

 




โรคข้อเสื่อม/ปวดข้อในคนสูงอายุ Osteoarthritis
ลักษณะทั่วไป
โรคข้อเสื่อม พบเป็นสาเหตุอันดับแรกของอาการปวดข้อในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือหลังวัย
หมดประจำเดือน พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 3 เท่า ถือเป็นโรคเรื้อรัง ที่ไม่ค่อยมีโรคแทรก
ซ้อนที่อันตรายร้ายแรง แต่จะมีอันตรายที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดอย่างพร่ำเพรื่อ

สาเหตุ
เกิดจากข้อเสื่อมตามวัย หรือข้อรับน้ำหนักมากเกินไป หรือมีการบาดเจ็บทำให้กระดูกอ่อนตรงผิวข้อ
ต่อสึกกร่อน และมีกระดูกงอก (หินปูนเกาะ) ขรุขระ เวลาเคลื่อนไหวข้อจึงทำให้เกิดอาการปวดขัดใน
ข้อ อาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ อายุมาก ความอ้วน (น้ำหนักมาก) อาชีพที่ต้องใช้ข้อมาก (เช่น อาชีพ
ที่ต้องยืนนาน ๆ) เป็นต้น
ข้อที่เป็นได้บ่อย มักเป็นข้อที่รับน้ำหนักมาก ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง ข้อกระดูกคอ
เป็นต้น นอกจากนี้บางคนอาจเป็นตามข้อนิ้วมือ (ปลายนิ้วมือ และกลางนิ้วมือ) ได้ ผู้ป่วยอาจมีภาวะ
เสื่อมของข้อหลาย แห่งพร้อมกัน แต่มักจะมีอาการแสดงเพียง 1-2 ข้อเท่านั้น

อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดขัดในข้อ (เช่น ปวดเข่า ปวดสะโพก ปวดหลัง ปวดต้นคอ) เรื้อรังเป็นแรมเดือน
แรมปี บางครั้งอาจมีเสียงดังกร๊อบแกร๊บขณะที่เคลื่อนไหว
ผู้ป่วยที่ปวดที่ข้อเข่า มักจะปวดมากเวลาเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลานั่งคุก
เข่า พับเพียบ หรือ ขัดสมาธินาน ๆ) หรือเดินขึ้นบันได หรือยกของหนัก อาการปวดข้อมักจะเป็นตอน
กลางคืน หรือเวลาอากาศเย็นชื้น
ข้อที่ปวดมักจะไม่มีอาการบวมแดงร้อน แต่ถ้าเป็นมาก อาจมีอาการบวม และมีน้ำขังอยู่ในข้อ โดย
ทั่วใปผู้ป่วยจะมีอาการทั่วไปเป็นปกติทุกอย่าง

สิ่งตรวจพบ
เมื่อจับข้อเข่าหรือข้อสะโพกที่ปวดโยกไปมา จะมีเสียงดังกร๊อบแกร๊บ

อาการแทรกซ้อน
ถ้าเป็นรุนแรงอาจมีอาการเคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก เช่น เดินไม่ถนัด

การรักษา
1. ถ้ามีอาการปวด ให้พักข้อที่ปวด (เช่น อย่าเดินมาก ยืนมาก) และใช้น้ำร้อนประคบ และกินยา
แก้ปวดพาราเซตามอล บรรเทา ถ้ามีอาการปวดมาก อาจให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ 3-5 วัน
ไม่ควรกินติดต่อกันนาน ๆ และควรระมัดระวังในการใช้ยานี้ในผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคกระเพาะ
2. พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้อาการปวดข้อกำเริบ เช่น ห้ามยกของหนัก อย่ายืนนาน อย่านั่ง
คุกเข่า พับเพียบ หรือขัดสมาธิ พยายามนั่งในท่าเหยียดเข่าตรง
ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เช่น หลังจากนั่งทำงานนาน 1 ชั่งโมง ควรพัก และลุกขึ้นเดินสัก 2-3 นาที
เป็นต้นถ้าน้ำหนักมาก ควรพยายามลดน้ำหนัก ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดทุเลาได้มาก
3. พยายามบริหารกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวข้อให้แข็งแรง เช่น ถ้าปวดหลังก็ให้บริหารกล้ามเนื้อหลัง
ถ้าปวดเข่าก็บริหารกล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้า
การฝึกกล้ามเนื้อควรเริ่มทำเมื่ออาการปวดทุเลาลงแล้ว ระยะแรกฝึก วันละ 2-3 ครั้ง ๆ ละ 3-5 นาที
จนไม่รู้สึกเมื่อย จึงเพิ่มเป็นวันละ 3-5 ครั้ง
การบริหารกล้ามเนื้อเข่า เริ่มแรกไม่ต้องถ่วงด้วยน้ำหนัก ต่อไปค่อย ๆ ถ่วงน้ำหนัก (เช่น ใส่ถุงทราย)
ที่ข้อเท้า ทีละน้อย จาก 0.3 กก. เป็น 0.5 กก. 0.7 กก. และ 1 กก. โดยเพิ่มไปเรื่อย ๆ ทุก 2-3 สัปดาห์ จนยกได้ 2-3 กก. ข้อเข่าก็จะแข็งแรง และลดอาการปวด
4. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 3-4 สัปดาห์ หรือบวมตามข้อ หรือ มีอาการปวดร้าวหรือชาตามแขน (ร่วมกับ
ปวดคอ) หรือขา (ร่วมกับปวดหลัง) ควรแนะนำไปโรงพยาบาล อาจต้องตรวจโดยการเอกซเรย์ดูการ
เปลี่ยนแปลงของข้อ หรือถ้าบวมตามข้ออาจเจาะน้ำในข้อมาตรวจพิสูจน์ และรักษาด้วยการให้ยา
ต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์   ถ้าเป็นมากอาจฉีดสเตอรอยด์ เข้าในข้อเป็นครั้งคราว (ไม่ควรเกินปี
ละ 2-3 ครั้ง อาจทำให้กระดูกเสื่อม หรือสลายตัวเร็วขึ้น) และให้การรักษาทางกายภาพบำบัด ในบาง
รายแพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ (สำหรับข้อเข่าหรือข้อสะโพก)

ข้อแนะนำ
1. ภาวะข้อเสื่อมมักจะเป็นอยู่ตลอดไปไม่หายขาด จึงมักจะมีอาการปวดเรื้อรัง และบางคนอาจรู้สึก
ปวดทรมานหรือเคลื่อนไหวไม่สะดวก ควรหาทางบรรเทาปวดข้อ ด้วยการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเป็น
สำคัญ ได้แก่ รู้จักฝึกบริหารกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อที่ปวดให้แข็งแรง ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) และหลีกเลี่ยง
อิริยาบถที่ทำให้ อาการปวดกำเริบ
2. ยาแก้ปวด ควรเลือกใช้พาราเซตามอล ใช้เวลามีอาการปวดมาก ไม่ควรกินเป็นประจำ
3. ควรแนะนำผู้ป่วยอย่าซื้อยาชุด ยาแก้ปวดข้อหรือยาแก้ปวดเส้น หรือยาลูกกลอนไทยมากินเอง
ยาเหล่านี้มักมียาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ และยาสเตอรอยด์ อาจช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ
ได้ แต่หากกินเป็นประจำ อาจเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงได้ เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหาร,กระเพาะ
อาหารทะลุ, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, กระดูกผุ

bar5.jpg (6486 bytes)









โรคปวดข้อรูมาตอยด์ Rheumatoid Arthritis
ลักษณะทั่วไป
โรคปวดข้อรูมาตอยด์ เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งพบได้ประมาณ 1-3 % ของคนทั่วไป พบในผู้หญิง

มากกว่าผู้ชาย ประมาณ 4-5 เท่า และพบมากในช่วงอายุ 20-50 ปี แต่ก็พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย

สาเหตุ
โรคนี้พบว่ามีการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุข้อเกือบทุกแห่งทั่วร่างกายพร้อม ๆ กัน ร่วมกับมีการอับเสบ

ของพังผืดหุ้มข้อ เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อ เชื่อว่าเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
มีการตอบสนองอย่างผิดปกติต่อเชื้อโรค หรือสารเคมีบางอย่าง (ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่
แน่นอน) ทำให้มีภูมิต้านทานที่เกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อในบริเวณข้อของตัวเอง เรียกว่า ภูมิแพ้ต่อตัว
เอง หรือ ออโตอิมมูน (Autoimmune)

อาการ
อาการจะค่อยเป็นค่อยไปเป็นแรมเดือน เริ่มด้วยมีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด (บางคน

อาจลดฮวบฮาบ จนนึกว่าเป็นมะเร็ง) ชาปลายมือปลายเท้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาถูกอากาศเย็น ๆ
ปวดเมื่อยตามตัวและข้อต่าง ๆ แล้วต่อมาจึงมีอาการอับเสบของข้อปรากฏให้เห็น
บางคนอาจมีอาการของข้ออับเสบทันทีภายหลังได้รับบาดเจ็บ เป็นโรคติดเชื้อ ตกเลือดหลังคลอด

หรืออารมณ์เครียด ข้อที่เริ่มมีอาการอับเสบก่อน ได้แก่ ข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ข้อมือ ข้อเท้า ข้อเข่า ต่อมา
จะเป็นที่ข้อไหล่ ข้อศอกผู้ป่วยจะมีลักษณะจำเพาะ คือปวดข้อพร้อมกันทั้งสองข้าง และข้อจะบวมแดง
ร้อน นิ้วมือนิ้วเท้าจะบวม เหมือนรูปกระสวย ต่อมาอาการอักเสบจะลุกลามไปทุกข้อทั่วร่างกาย ตั้งแต่
ข้อขากรรไกรลงมาที่ต้นคอ ไหปลาร้า ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อนิ้วมือลงมาจนถึงข้อเท้าและข้อนิ้วเท้า
อาการปวดข้อ และข้อแข็ง (ขยับลำบาก) มักจะเป็นมากในเวลาที่อากาศหนาวเย็น หรือในตอนเช้า

ทำให้รู้สึกขี้เกียจหรือไม่อยากตื่นนอน พอสาย ๆ จะทุเลาอาการปวดข้อจะเป็นอยู่ทุกวัน และมากขึ้น
ทุกขณะนานเป็นแรมเดือนแรมปี โดยมีบางระยะอาจทุเลาไปได้เอง แต่จะกลับกำเริบรุนแรงขึ้นอีก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะมีความเครียดหรือขณะตั้งครรภ์ถ้าข้ออักเสบเรื้อรัง อยู่หลายปี ข้อจะแข็งและ
พิการนอกจากนี้ ผู้ป่วยยังอาจมีอาการซีด ฝ่ามือแดง หรือมีผื่นหรือตุ่มขึ้นตามผิวหนัง ส่วนน้อยอาจมี
ต่อมน้ำเหลืองโต ม้ามโต ตาอักเสบ หัวใจอักเสบ หรือปอดอักเสบร่วมด้วย

สิ่งตรวจพบ
ในระยะแรกอาจตรวจไม่พบอาการชัดเจน ในระยะที่เป็นมาก อาจพบข้อนิ้วมือนิ้วเท้าบวมเหมือนรูป

กระสวย

อาการแทรกซ้อน
ถ้าเป็นรุนแรงและเรื้อรังอาจทำให้ข้อพิการผิดรูปผิดร่าง ใช้การไม่ได้ บางคนอาจมีการผุกร่อนของ

กระดูกในบ้านเราพบว่ามีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่อาจมีอาการแทรกซ้อนดังกล่าว

การรักษา
หากสงสัย ควรแนะนำไปโรงพยาบาล การตรวจเลือด จะพบค่าอีเอสอาร์ (ESR)* สูง และมักจะพบ

รูมาตอยด์ แฟกเตอร์ (Rheumatoid Factor) เอกซเรย์ข้อ จะพบมีการสึกกร่อนของกระดูก และความ
ผิดปกติของข้อการรักษา ให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์   ตัวที่ใช้ได้ผลดีและราคาถูก ได้แก่
แอสไพริน ผู้ใหญ่วันละ 4-6 กรัม (12-20 เม็ด) เด็กให้ขนาด 60-80 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร และกินร่วมกับยาลดกรด   เพื่อป้องกันมิให้เป็นโรค
กระเพาะ/แผลเพ็ปติกยานี้ต้องกินติดต่อกันทุกวัน นานเป็นเดือน ๆ หรือปี ๆ จนกว่าอาการจะทุเลา
(โดยทั่วไปต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 เดือน)**
ขณะเดียวกันก็ควรให้การรักษาทางภายภาพบำบัดร่วมไปด้วย เช่น การใช้น้ำร้อนประคบ การแช่

หรืออาบน้ำอุ่น (ซึ่งมักจะแนะนำให้ทำในตอนเช้านาน 15 นาที) ผู้ป่วยควรพยายามขยับข้อต่าง ๆ
อย่างช้า ๆ ท่าละ 10 ครั้ง ทำซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้ภายหลังกินแอสไพริน
ได้ 1 สัปดาห์ ควรแนะนำให้ผู้ป่วยทำการฝึกกายบริหาร ในท่าต่างๆ ซึ่งควรทำเป็นประจำทุกวัน
จะช่วยให้ข้อทุเลาความฝืดและเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นนอกจากนี้ผู้ป่วยควรหาเวลาพักผ่อน สลับกับการ
ทำงาน หรือการออกกำลังกายเป็นพัก ๆ ในรายที่เป็นรุนแรง อาจต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
นานเป็นสัปดาห์ หรือเดือน และอาจต้องเข้าเฝือกเพื่อให้ข้อที่ปวดได้พักอย่างเต็มที่ในรายที่ใช้
แอสไพรินไม่ได้ผล ควรเปลี่ยนไปใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์   ตัวอื่น ๆ ถ้ายังไม่ได้ผล อาจต้อง
ให้ไฮดรอกซีคลอโรควีน (Hydroxychloroquine) หรือสารเกลือของทอง (gold salt) เช่น  ออราโนฟิน
(auranofin) ควบด้วย เพื่อลดการอักเสบ ซึ่งมักจะได้ผลค่อนข้างดีในบางรายอาจต้องให้สเตอรอยด์
เพื่อลดการอักเสบ แต่จะให้กินเป็นระยะสั้น หรือให้ยากดอิมมูน เช่น เมโทเทรกเซต (Methotrexate),
ไซโคลฟอสฟาไมด์ เป็นต้น

*อีเอสอาร์ (ESR) ย่อจาก Erythrocyte Sedimentation Rate หมายถึง อัตราการตกตะกอนของ

เม็ดเลือดแดง ค่าปกติต่ำกว่า 20 มิลลิเมตรใน 1 ชั่วโมง
**เล็ก ปริวิสุทธ์ รูมาตอยด์ หมอชาวบ้าน 2527; 5 (65) : 29-34

ข้อแนะนำ
1. โรคนี้ที่พบในบ้านเรา กว่า 70% จะไม่มีอาการรุนแรง สามารถรักษาด้วยการกินแอสไพริน

การรักษาทางกายภาพบำบัด และการกำหนดเวลาพักผ่อน และทำงาน หรือออกกำลังให้พอเหมาะ
จนผู้ป่วยสามารถทำงานได้เป็นปกติ (โดยผู้ป่วยจะต้องกินยาแอสไพรินติดต่อกันทุกวันเป็นปี ๆ)
หรืออาจหายขาดได้ มีเพียง 20-30% ที่อาจมีอาการรุนแรงที่ต้องใช้ยาอื่น ๆ รักษา**
2. หัวใจของการรักษาโรคอยู่ที่การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเป็นสำคัญ กล่าวคือ จะต้องพยายาม

เคลื่อนไหวข้อ และฝึกกายบริหารเป็นประจำทุกวัน อย่าอยู่นิ่ง ๆ เพราะยิ่งอยู่นิ่ง ข้อยิ่งฝืดแข็ง และ
ขยับยากยิ่งขึ้น
3. ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยาชุดกินเอง เพราะถึงแม้จะช่วยให้อาการทุเลาได้ แต่ก็อาจเกิดโทษจากยา

สเตอรอยด์ หรือยาอันตรายอื่น ๆ ที่ผสมอยู่ในยาชุด ในกรณีที่จำเป็นต้องซื้อยากินเอง ขอแนะนำ
ให้ใช้แอสไพริน ควบกับยาลดกรด
4. ชาวบ้านอาจมีความสับสนในคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้เรียกเกี่ยวกับอาการปวดข้อ เช่น คำว่า

รูมาติสซั่ม (Rheumatism) ซึ่งหมายถึงภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้มีอาการเจ็บปวด ปวดเมื่อย หรือ ปวดล้า
ของข้อ เส้นเอ็น หรือ กล้ามเนื้อ ดังนั้น จึงเป็นคำที่ใช้เรียกโรคปวดข้อ ปวดเส้นเอ็น และปวดเมื่อย
กล้ามเนื้อโดยรวม ๆ ซึ่งสามารถแบ่งแยกสาเหตุได้มากมายดังนั้น รูมาติสซั่ม (โรคปวดข้อ) จึงอาจมี
สาเหตุจาก ข้อเสื่อม   โรคปวดข้อรูมาตอยด์ , ไข้รูมาติก , โรคเกาต์  และอื่น ๆ
บางคนอาจเข้าใจผิดว่า รูมาติสซั่ม หมายถึง โรคปอดข้อรูมาตอยด์ เวลามีอาการปวดข้อเรื้อรัง เกิดขึ้

นจึงเหมาเอาว่า เป็นโรคปวดข้อรูมาตอยด์ไปเสียหมด ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล และปฏิบัติตัว
อย่างผิด ๆ ดังนั้นจึงควรอธิบายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจในเรื่องนี้

**เล็ก ปริวิสุทธิ์. รูมาตอยด์. หมอชาวบ้าน 2527; 5 (65): 29-34

 

bar5.jpg (6486 bytes)











เอสแอลอี  SLE
ลักษณะทั่วไป
เอสแอลอี เป็นชื่อเรียกทับศัพท์ของอักษรย่อในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคำเดิมว่า Systemic lupus
erythematosus (ซิสเทมิกลูปัสอีริทีมาโตซัส) โรคนี้มักจะมีความผิดปกติ ของอวัยะได้หลายระบบ
พร้อม ๆ กัน และอาจมีความรุนแรง ทำให้พิการ หรือตายได้ โรคนี้พบประปรายได้ทั้งในเด็กและ
ผู้ใหญ่ พบมากในช่วงอายุ 20-45 ปี และพบในผู้หญิง มากว่าผู้ชายประมาณ 10 เท่า

สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีการตอบสนองอย่างผิดปกติ
ต่อเชื้อโรค หรือสารเคมีบางอย่าง ทำให้มีการสร้างแอนติบอดีหรือภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของ
ตัวเอง จึงจัดเป็น โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune) ชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับ
โรคปวดข้อรูมาตอยด์ แต่โรคนี้มักจะมีการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ เช่น ผิวหนัง ข้อกระดูก ไต
 ปอด หัวใจ เลือด สมอง เป็นต้น บางครั้งอาจพบมีสาเหตุกระตุ้นให้อาการกำเริบ เช่น ยาบางชนิด
 (เช่น ซัลฟา, ไฮดราลาซีน, เมทิลโดพา,โปรเคนเอไมด์, ไอเอ็นเอช, คลอโพรมาซีน, ควินิดีน, 
เฟนิโทอิน, ไทโอยูราซิล) การถูกแดด การกระทบกระเทือนทางจิตใจ การตั้งครรภ์ ฯลฯ

อาการ
ที่พบได้บ่อยคือ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเมื่อยตามตัว ปวดและบวมตามข้อต่าง ๆ
ซึ่งโดยมากจะเป็นตามข้อเล็ก ๆ (เช่น ข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า) ทั้งสองข้าง คล้าย ๆ กับ โรคปวดข้อ
รูมาตอยด์ (แต่ต่างกันที่ไม่มีลักษณะ หงิกงอ ข้อพิการ) ทำให้กำมือลำบาก อาการเหล่านี้จะค่อยเป็น
ค่อยไป เป็นแรมเดือนนอกจากนี้ผู้ป่วยยังมักจะมีผื่น หรือฝ้าแดงขึ้นที่ข้างจมูกทั้ง 2 ข้าง ทำให้มี
ลักษณะเหมือนปีกผีเสื้อเรียกว่า ผื่นปีกผีเสื้อ (butterfly rash) บางรายมีอาการแพ้แดด คือ เวลาไป
ถูกแดด ผิวหนังจะมีผื่นแดงเกิดขึ้น และ ผื่นแดงที่ข้างจมูก (ผื่นปีกผีเสื้อ) จะเกิดขึ้นชัดเจน อาการไข้ 
และปวดข้อจะเป็นรุนแรงขึ้นบางรายอาจมีจุดแดง (petichiae) หรือมีประจำเดือนมากกว่าปกติ ซึ่ง
อาจเป็นอาการระยะแรกของโรคนี้ก่อนมีอาการอื่น ๆ ให้เห็นชัดเจน บางครั้งแพทย์อาจวินิจฉัยว่าเป็น
ไอทีพี บางรายอาจมีอาการผมร่วงมาก มีจ้ำแดง ๆ ขึ้นที่ฝ่ามือนิ้วมือ นิ้วเท้าซีดขาว และเปลี่ยนเป็น
สีเขียวคล้ำ เวลาถูกความเย็น (Raynaud's phenomenon) ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วไป ตับม้ามโต
 หรือมีภาวะซีด โลหิตจาง (จากเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย)
ในรายที่เป็นรุนแรง อาจมีอาการบวมทั้งตัว (จากไตอักเสบ), หายใจหอบ (จากปอดอักเสบ ภาวะมีน้ำ
ในช่องปอด หรือหัวใจวาย) ชีพจรเต้นเร็วหรือไม่เป็นจังหวะ (จากหัวใจอักเสบ)
ในรายที่มีการอักเสบของหลอดเลือดในสมอง อาจทำให้มีอาการทางประสาท เช่น เสียสติ ซึม เพ้อ
ประสาทหลอน แขนขาอ่อนแรง ตาเหล่ ชัก หมดสติ และอาจตายภายใน 3-4 สัปดาห์ ส่วนมากจะมี
อาการกำเริบ เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังเป็นปี ๆ

สิ่งตรวจพบ
ไข้ ผื่นปีกผีเสื้อที่แก้ม อาจพบจุดแดง ภาวะซีด ข้อนิ้วมือนิ้วเท้าบวมแดง

อาการแทรกซ้อน
อาจทำให้ไตอักเสบ ปอดอักเสบ หัวใจอักเสบ หัวใจวาย ไตวาย และอาจเกิดภาวะติดเชื้อร้ายแรง
แทรกซ้อนได้

การรักษา
หากสงสัย ควรแนะนำไปโรงพยาบาลโดยเร็ว การตรวจเลือดพบว่า ค่าอีเอสอาร์ (ESR) สูง, 
พบแอนตินิวเคลียร์ แฟกเตอร์ (Antinuclear factor) และ แอลอีเซลล์ (LE cell) ตรวจปัสสาวะ  
อาจพบสารไข่ขาว และเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ อาจทำการตรวจเอกซเรย์   คลื่นหัวใจและ ตรวจ
พิเศษอื่น ๆ การรักษาในรายที่เป็นไม่รุนแรง (เช่น มีไข้ ปวดข้อ มีผื่นแดงขึ้นที่หน้า) อาจเริ่มให้ ยา
ต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ , ถ้าไม่ได้ผลอาจให้ไฮดรอกซีคลอโรควีน (Hydroxychloroquine)
วันละ 1-2 เม็ด เพื่อช่วยลดอาการเหล่านี้
ในรายที่เป็นรุนแรง ควรให้สเตอรอยด์  เช่น เพร็ดนิโซโลน ขนาด 8-12 เม็ดต่อวัน ติดต่อกันเป็น
สัปดาห์ หรือหลายเดือน เพื่อลดการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ เมื่อดีขึ้นจึงค่อย ๆ ลดยาลง และให้ใน
ขนาดต่ำ ควบคุมอาการไปเรื่อย ๆ อาจนานเป็นแรมปี หรือจนกว่าจะเห็นว่าปลอดภัยถ้าไม่ได้ผล อาจ
ต้องให้ยากดระบบภูมิคุ้มกัน หรือยากดอิมมูน (lmmunosuppressive) เช่น ไซโคลฟอสฟาไมด์
(Cyclophosphamide) อะซาไทโอพรีน (Azathioprine) เป็นต้น ยานี้เป็นยาอันตราย อาจทำให้
ผมร่วงหรือหัวล้านได้ผมร่วงหรือหัวล้านได้
ผมร่วงหรือหัวล้านได้ เมื่อหยุดยา ผมจะงอกขึ้นใหม่ได้
นอกจากนี้ อาจให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้  ยาบำรุงโลหิต (ถ้าซีด)  ยาปฏิชีวนะ 
(ถ้ามีการติดเชื้อ) เป็นต้น
ผลการรักษา ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และตัวผู้ป่วย บางคนอาจมีโรคแทรกซ้อน
และถึงแก่กรรมในเวลาไม่นาน บางคนอาจมีอาการกำเริบเป็นครั้งคราว ถ้าผู้ป่วยสามารถมีชีวิต
รอดจากโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้เกิน 5 ปี โรคก็จะไม่กำเริบรุนแรง และค่อย ๆ สงบไปได้ นาน ๆ
ครั้งอาจมีอาการกำเริบ แต่อาการมักจะไม่รุนแรง และผู้ป่วย สามารถมีชีวิตเยี่ยงคนปกติได้

ข้อแนะนำ
1. โรคนี้สามารถแสดงอาการได้หลายแบบ เช่น มีไข้เรื้อรังคล้ายมาลาเรีย มีจุดแดงขึ้นคล้ายไอทีพี
บวมคล้ายโรคไต ชักหรือหมดสติคล้ายสมองอักเหบ   เสียสติ เพ้อคลั่งคล้ายคนวิกลจริต เป็นต้น
ดังนั้นถ้าพบผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นอาการของระบบใด โดยไม่ทราบสาเหตุควรนึกถึงโรค
นี้ไว้เสมอ
2. โรคนี้ถึงแม้จะมีความรุนแรง แต่ถ้าติดต่อรักษากับแพทย์เป็นประจำ และปฏิบัติตามคำแนะนำของ
แพทย์อย่างเคร่งครัด จะช่วยลดอาการแทรกซ้อน และมีชีวิตยืนยาวได้
3. ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจป้องกันมิให้อาการกำเริบได้ โดยการทำจิตใจให้สบาย อย่าท้อแท้สิ้นหวัง
 หรือ วิตกกังวลจนเกินไป ส่วนผู้ที่แพ้แดดง่าย ควรหลีกเลี่ยงการออกกลางแดด ถ้าจำเป็นต้องออก
กลางแดดควรกางร่ม ใส่หมวกใส่เสื้อแขนยาว ควรพยายามหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ เช่น อย่ากินอาหาร
หรือน้ำดื่มที่ไม่สะอาด อย่าเข้าใกล้คนที่ไม่สบาย อย่าเข้าไปในที่ ๆ มีคนแออัด เป็นต้น และทุกครั้ง
ที่รู้สึกไม่สบาย ควรรีบไปหาหมอที่เคยรักษา

bar5.jpg (6486 bytes)








เส้นเอ็นอักเสบ   Tendinitis
ลักษณะทั่วไป
ตำแหน่งที่พบได้บ่อย ได้แก่ เส้นเอ็นที่ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อสะโพก และเส้นเอ็นร้อยหวาย
(เอ็นส้นเท้า)โรคนี้พบได้ค่อนข้างบ่อย เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่อาจเป็นเรื้อรัง และทำให้
ทำงานไม่ถนัด

สาเหตุ
การอักเสบของเส้นเอ็น (tendon) มักมีสาเหตุจากการได้รับบาดเจ็บ หรือทำงานหนัก

อาการ
มีอาการเจ็บปวดตรงเส้นเอ็นที่อักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเคลื่อนไหว ไปในทิศทางที่ทำให้
เส้นเอ็นส่วนนั้นถูกยืดและดึงรั้ง   อาการมักจะเป็นอยู่นานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือ เป็นเดือน ๆ

สิ่งตรวจพบ
เมื่อใช้นิ้วมือกดแรง ๆ จะพบจุดที่กดเจ็บจุดเดียว ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณข้อ บางคนอาจมีอาการบวมของ
เส้นเอ็นส่วนนั้นร่วมด้วย

การรักษา
1. ควรหยุดพักการใช้ข้อที่ปวด ใช้ ถุงน้ำร้อนประคบ ทานวดด้วยขี้ผึ้งน้ำมันระกำ หรือยาหม่อง ใช้
ผ้าพันแผล ชนิดยืดพันให้พอแน่น และกินยาแก้ปวด และยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ เช่นเดียว
กับการดูแลผู้ป่วยข้อแพลง  เมื่อทุเลาปวด ให้ค่อย ๆ เคลื่อนไหวบริหารข้อนั้นให้คืนสู่สภาพปกติ
2. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ ควรแนะนำไปโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์ (บางคนอาจพบมี
หินปูน หรือ แคลเซียมเกาะที่เส้นเอ็น) ในรายที่เป็นมากอาจต้องฉีดสเตอรอยด์ ตรงบริเวณที่ปวด
(การฉีดยาชนิดนี้ อาจทำให้ปวดมาก บางครั้งอาจต้องผสมยาชา) ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดี แต่ไม่
ควรฉีดเกินปีละ 2-3 ครั้ง อาจทำให้เส้นเอ็นเปื่อยฉีกขาดได้

bar5.jpg (6486 bytes)








เส้นประสาทมือถูกพังผืดรัดแน่น   Carpal Tunnel Syndrom CTS
ลักษณะทั่วไป
เส้นประสาทมือ ที่เรียกว่า ประสาทมีเดียน (median nerve) เมื่อลงมาที่ข้อมือ จะวิ่งผ่านช่องเล็ก ๆ
ซึ่งประกอบด้วยกระดูกข้อมือ และแผ่นพังผืดเหนียว ๆ ที่อยู่ข้างใต้ของกระดูกข้อมือ เราเรียกช่อง
เล็ก ๆ นี้ว่า คาร์พัลทูนเนล (ช่องใต้กระดูกข้อมือ) ในบางครั้ง เนื้อเยื่อภายในช่องแคบนี้อาจเกิดการ
ฃบวม ทำให้เส้นประสาทมีเดียนถูกบีบรัด ทำให้มีอาการปวดชาที่ปลายมือ เรียกว่า โรคคาร์พัลทูนเนล
โรคนี้พบได้ค่อนข้างบ่อย พบมากในผู้หญิงอายุ 30-60 ปี หญิงตั้งครรภ์ คนอ้วน

สาเหตุ
อาจเกิดจากการบาดเจ็บที่ข้อมือ ภาวะบวมในระยะก่อนมีประจำเดือน หรือระหว่างตั้งครรภ์ หรือ
อาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคปวดข้อรูมาตอยด์ , โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย, เบาหวาน เป็นต้น 
บางคนอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออาจพบมีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย

อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนหรือรู้สึกชาเป็นพัก ๆ ที่มือ (โดยเฉพาะที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลางและ
นิ้วนาง) บางครั้งอาจปวดร้าวขึ้นไปที่แขนหรือหัวไหล่ อาการปวดมักจะเป็นมากตอนกลางคืนหรือตอน
เช้ามืด จนบางครั้งอาจทำให้ผู้ป่วยสะดุ้งตื่น บางคนเมื่อได้ห้อยข้อมือตรงขอบเตียง และสะบัดมือ 
จะรู้สึกทุเลาได้
การทำงานโดยใช้ข้อมือ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่างอข้อมือมาก ๆ หรือ เร็ว ๆ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน
พิมพ์ดีด) งอข้อมือเร็ว ๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหรือชาได้ถ้าเป็นมาก อาจทำให้นิ้วหัวแม่โป้งและ
นิ้วอื่น ๆ ชาและอ่อนแรงได้   อาการอาจเกิดที่มือข้างเดียว หรือ 2 ข้างก็ได้ ในรายที่เป็นระหว่าง
ตั้งครรภ์ หลังคลอดอาการมักจะหายไปได้เอง

สิ่งตรวจพบ
การกดหรือเคาะที่ข้อมือ (ตรงด้านเดียวกับฝ่ามือ) อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหรือชาที่ปลายนิ้วมือ
ได้

อาการแทรกซ้อน
หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อมือฝ่อได้

การรักษา
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องวินิจฉัยด้วยการตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อด้วยเครื่องไฟฟ้า
(Electromyography) การรักษา ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อย อาจให้กินยาแก้ปวด, ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่
สเตอรอยด์ และใส่เฝือกที่มือเวลาเข้านอน บางคนอาจต้องฉีดสเตอรอยด์เข้าที่ข้อมือข้างที่ปวด
ถ้าเป็นมาก อาจต้องผ่าตัด (โดยตัดแผ่นพังผืดที่บีบรัดเส้นประสาท) ซึ่งจะช่วยให้อาการทุเลาภายใน
เวลาไม่กี่วัน

bar5.jpg (6486 bytes)


 

 



หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน  Herniated intervertebral disks
โรคนี้พบได้บ่อยในคนอายุ16-60 ปี พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2 เท่า มักพบในคนที่แบก
ของหนัก หรือได้รับบาดเจ็บที่บริเวณหลัง หรือในคนสูงอายุ ที่มีหมอนรองกระดูกเสื่อม

สาเหตุ
เกิดจากหมอนรองกระดูก หรือดิสก์ (disk) ซึ่งเป็นกระดูกอ่อนที่คั่นอยู่ระหว่างข้อต่อกระดูกสันหลัง
เลื่อนลงไป กดทับรากประสาท (nerve root) ที่ไปเลี้ยงแขนหรือขา ทำให้มีอาการปวดเสียว และชา
ของแขนหรือขาส่วนนั้น ทั้งนี้อาจเนื่องจากได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดจากความเสื่อมตามอายุ ส่วนมาก
มักเกิดตรงบริเวณกระดูกหลัง ทำให้มีการกดทับรากประสาทไซอาติก (sciatic nerve) ที่ไปเลี้ยงขา
 เรียกว่า "โรคไซอาติคา (Sciatica)"ส่วนน้อยอาจเกิดที่กระดูกคอ ทำให้มีการกดทับรากประสาท
บริเวณคอ ทำให้มีอาการปวดเสียวและชาที่แขน

อาการ
ผู้ป่วยอาจมีอาการเกิดขึ้นเฉียบพลันทันที (เช่น หลังจากได้รับบาดเจ็บหรือยกของหนัก) หรือค่อย ๆ เกิดทีละน้อยก็ได้ โดยมีอาการปวดตรงกระเบนเหน็บ ซึ่งจะปวดร้าวลงมาที่สะโพก ต้นขา น่อง และ
ปลายเท้า อาการปวดจะเป็นมากขึ้นภายหลังจากการเดินมาก ๆ และอาจปวดมากเวลาก้ม นั่ง ไอ 
จาม หรือเบ่งถ่าย ในรายที่เป็นมาก เท้าจะไม่ค่อยมีแรงและชา อาจถ่ายปัสสาวะไม่ได้หรือกลั้น
ปัสสาวะไม่อยู่  มักพบเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น นอกจากในรายที่เป็นมากอาจมีอาการทั้ง
สองข้าง ในรายที่มีการกดทับของประสาทในบริเวณคอ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณต้นคอ  และ
ปวดร้าวและชาลงมาที่ไหล่ แขน และ ปลายมือ มักมีอาการชาเวลาแหงนคอไปด้านหลัง หรือหันศีรษะ
ไปข้างที่เป็น ถ้าเป็นมากแขนและมืออาจมีอาการอ่อนแรง

สิ่งตรวจพบ
การตรวจวินิจฉัยในรายที่มีการกดทับรากประสาทขา สามารถทำได้ดังนี้
1. ให้ผู้ป่วยนอนหงาย แล้วจับเท้าที่สงสัยค่อย ๆ ยกขึ้น โดยให้หัวเข่าเหยียดตรง จะพบว่าผู้ป่วยไม่
สามารถยกเท้าเหยียดตรงได้ 90 องศาเช่นคนปกติ หรือได้น้อยกว่าเท้าอีกข้างหนึ่ง เพราะรู้สึกปวด
เสียวตามหลังเท้าจนทนไม่ได้ วิธีนี้เรียกว่า "การทดสอบเหยียดขาตรงตั้งฉาก" (straight leg raising test) 
2. ใช้เข็มแทงที่หลังเท้าและน่อง ในรายที่เป็นมากจะรู้สึกเจ็บน้อยกว่าอีกข้างหนึ่ง
3. ให้ผู้ป่วยออกแรงเหยียดหัวแม่เท้าขึ้นต้านแรงกดของนิ้วมือผู้ตรวจ ในรายที่เป็นมากจะพบว่ามี
แรงอ่อนกว่าหัวแม่เท้าข้างที่ปกติ
4. การตรวจรีเฟลกซ์ของข้อ (tendon reflex) จะพบว่าน้อยกว่าปกติ

ส่วนในรายที่มีการกดทับของประสาทในบริเวณคอ ในระยะแรกอาจตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน ในระยะที่เป็นมากอาจพบกล้ามเนื้อแขนมีอาการชาและอ่อนแรง รีเฟลกซ์ของข้อน้อยกว่าปกติ

การรักษา
หากสงสัย ควรส่งไปโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์กระดูกสันหลัง ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI)
หรือทำการเอกซเรย์พิเศษ ที่เรียกว่าไมอีโลกราฟี (myelography) หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าเป็น
ไม่มาก การนอนพักอย่างเต็มที่ ให้ยาแก้ปวด  และไดอะซีแพม  และใช้น้ำหนักถ่วงดึง อาจช่วยให้
ทุเลาได้ บางคนอาจต้องใส่ "เสื้อเหล็ก" หรือ "ปลอกคอ" ถ้ารักษาด้วยวิธีดังกล่าวไม่ได้ผล อาจต้องผ่าตัด

ข้อแนะนำ
1. ผู้ป่วยควรฝึกบริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือการเข็นหรือดันรถ
และระวังท่านอน ท่านั่ง ท่ายืน และท่ายกของให้ถูกต้อง อย่าให้กระดูกสันหลังบิดเบี้ยว
2. ขณะที่มีอาการกำเริบ ควรนอนหงายนิ่ง ๆ บนที่นอนแข็งตลอดทั้งวัน (ลุกเฉพาะช่วงกินอาหารและ
เข้าห้องน้ำ) สัก 2-3 วัน การนอนจะลดแรงกดดันที่มีต่อหมอนรองกระดูกให้เหลือน้อยที่สุดจะ
ช่วยบรรเทาอาการปวดได้


bar5.jpg (6486 bytes)

wpe5.jpg (2190 bytes)
ThaiL
ThaiL@bOnLine - Crystal Diagnostics Co.,Ltd.
Email : vichai-cd@usa.net