| |
TOP


ลักษณะทั่วไป
เบาหวาน พบได้ประมาณ 3.5
เปอร์เซ็นต์ของคนทั่วไป
พบได้ในคนทุกวัย
แต่จะพบมากในคนอายุ
มากกว่า 40 ปีขึ้นไป
และคนที่อยู่ในเมืองมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าชาวชนบท
คนอ้วนและ หญิง
ที่มีลูกดก มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น
ประเภทของเบาหวาน
เบาหวานสามารถแบ่งออกเป็น 2
ชนิดใหญ่ ๆ ที่มีอาการ สาเหตุ
ความ
รุนแรง และการรักษาต่างกัน ได้แก่
1. เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน
(Insulin-dependent diabetes mellitus/IDDM)
เป็นชนิดที่พบ
ได้น้อยแต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง
มักพบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 25
ปี แต่ก็อาจพบในคน
สูงอายุได้บ้าง
ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้จะสร้างอินซูลินไม่ได้เลย
หรือได้น้อยมาก
เชื่อว่าร่างกายมีการสร้าง
แอนติบอดีขึ้น
ต่อต้านทำลายตับอ่อนของตัวเอง
จนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้
ดังที่เรียกว่า "โรค
ภูมิแพ้ต่อตัวเอง" หรือ "ออโตอิมมูน (autoimmune)"
ทั้งนี้เป็นผลมาจากความผิดปกติทาง
กรรมพันธุ์
ร่วมกับการติดเชื้อ
หรือการได้รับสารพิษจากภายนอกผู้ป่วยจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีด
อินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน
จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ
มิเช่นนั้น ร่างกาย
จะเผาผลาญไขมัน
จนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นรุนแรง
จะมีการคั่งของสารคีโตน
(ketones)
ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน
สารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาท
ทำให้ผู้ป่วย
หมดสติถึงตายได้รวดเร็ว
เรียกว่า "ภาวะคั่งสารคีโตน หรือ คีโตซิส (Ketosis)"
2. เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
(Non-insulin-dependent diabetes mellitus/NIDDM) เป็น
เบาหวาน ชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งมักจะมีความรุนแรงน้อย
มักพบในคนอายุมากกว่า
40 ปีขึ้นไป
แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง
ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถสร้าง
อินซูลิน
แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้
กลายเป็น
เบาหวานได้
ผู้ป่วยชนิดนี้ยังอาจแบ่งเป็นพวกที่อ้วนมาก ๆ
กับพวกที่ไม่อ้วน (รูปร่างปกติ
หรือผอม)
สาเหตุอาจเกิดจากกรรมพันธุ์
อ้วนเกินไป มีลูกดก จากการใช้ยา
หรือพบร่วมกับโรคอื่น ๆ
ผู้ป่วย
มักไม่เกิดภาวะคีโตซิส
เช่นที่เกิดกับชนิดพึ่งอินซูลิน การควบคุมอาหาร
หรือการใช้ยาเบาหวาน
ชนิดกิน
ก็มักจะได้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้
หรือบางครั้งถ้าระดับน้ำตาล
สูงมาก
ๆ
ก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราวแต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไป
จึงถือว่าไม่ต้องพึ่ง
อินซูลิน
สาเหตุ
โรคนี้เกิดจากตับอ่อนสร้าง
ฮอร์โมนอินซูลิน (lnsulin)
ได้น้อยหรือไม่ได้เลย
ฮอร์โมนชนิดนี้มี
หน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลให้เป็นพลังงาน
เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ
หรือมีพอ
แต่ใช้ไม่ได้ น้ำตาลก็ไม่ถูกนำไปใช้
จึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่าง
ๆเมื่อน้ำตาล
คั่งในเลือดมาก ๆ ก็จะถูกไตกรองออกมาในปัสสาวะ
ทำให้ปัสสาวะหวาน
หรือมีมดขึ้นได้ จึงเรียก
ว่า
เบาหวาน ผู้ป่วยมักจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก
เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไต
จะดึง
เอาน้ำออกมาด้วย
จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ
เมื่อถ่ายปัสสาวะมาก
ก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ
ต้องคอยดื่มน้ำบ่อย ๆ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน
จึงหันมา
เผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน ทำให้ร่างกายผ่ายผอม
ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ
อ่อนเปลี้ย
เพลียแรงนอกจากนี้
การมีน้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ
ทำให้อวัยวะต่าง ๆ
เกิดความผิดปกติ และ
นำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย
โรคนี้มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์
กล่าวคือ มักมีพ่อแม่
หรือญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุอย่างอื่น เช่น
อ้วนเกินไป (หรือกินหวาน
มากๆ
จนอ้วน ก็อาจเป็นเบาหวานได้)
มีลูกดก หรือเกิดจากการใช้ยา
เช่น สเตอรอยด์ , ยาขับ
ปัสสาวะ ,
ยาเม็ดคุมกำเนิด
หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ,
มะเร็งของ
ตับอ่อน,
ตับแข็งระยะสุดท้าย ,
โรคฟีโอโครโมไซโตมา (Pheochromocytoma)
ซึ่งเป็นเนื้องอก
ของต่อมหมวกไตชนิดหนึ่ง,
โรคคุชชิง เป็นต้น
อาการ
ในรายที่เป็นไม่มาก
(ระดับน้ำตาลในเลือด 140-200
มก.ต่อเลือด 100 มล.)
อาจไม่มีอาการ
ผิดปกติอย่างชัดเจน
และตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะ
หรือตรวจเลือดขณะที่ไปหา
หมอด้วยโรคอื่นในรายที่มีอาการชัดเจน
จะมีอาการปัสสาวะบ่อย
(และออกครั้งละมาก ๆ) กระหาย
น้ำ
ดื่มน้ำบ่อยหิวบ่อย หรือกินข้าวจุ
อ่อนเปลี้ยเพลียแรง
บางคนอาจสังเกตว่าปัสสาวะมีมดขึ้น
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน อาการต่าง ๆ
มักเกิดขึ้นรวดเร็วร่วมกับน้ำหนักตัวลดลง
ฮวบฮาบ
กินเวลาเป็นสัปดาห์หรือเดือน
เด็กบางคนอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืน
ใน
รายที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
อาการมักค่อยเป็นค่อยไปเรื้อรัง
น้ำหนักตัวอาจลดบ้างเล็ก
น้อยบางคนอาจมีน้ำหนักขึ้นหรือรูปร่างอ้วนผู้หญิงบางคนอาจมาหาหมอด้วยอาการคันตาม
ช่องคลอด หรือตกขาว
บางคนอาจมีอาการคันตามตัว
เป็นฝีบ่อย
หรือเป็นแผลเรื้อรังรักษาหายยาก
ผู้หญิงบางคน อาจคลอดทารกที่มีตัวโต
(น้ำหนักมาก) กว่าธรรมดา
หรืออาจเป็นโรคครรภ์เป็นพิษ
หรือคลอดทารกที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
ในรายที่เป็นมานานโดยไม่ได้รับการรักษา
อาจมาหา
หมอด้วยภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น
ชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า
ตามัวลง
ทุกทีหรือต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อย ๆ เป็นต้น
สิ่งตรวจพบ
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน
มักมีรูปร่างซูบผอม ไม่มีไขมัน
กล้ามเนื้อฝ่อลีบ ในรายที่
เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
มักมีรูปร่างอ้วน
อาจพบอาการชาตามมือและเท้า
ความดันโลหิต
สูง ต้อกระจก หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
บางรายอาจตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติตามร่างกาย
การตรวจปัสสาวะ
มักจะพบน้ำตาลในปัสสาวะขนาดมากกว่าหนึ่งบวกขึ้นไป
อาการแทรกซ้อน
มักจะเกิดเมื่อเป็นเบาหวานมานาน
อย่างน้อย 5 ปี
โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจังหรือ
ปล่อยปละละเลยโรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้
เช่น
1. ตา อาจเป็นต้อกระจก ก่อนวัย
ประสาทตาหรือจอตา (retina) เสื่อม
หรือเลือดออกในน้ำวุ้น
ลูกตา (vitreous hemorrhage)
ทำให้มีอาการตามัวลงเรื่อย ๆ
หรือมองเห็นจุดดำลอยไปลอยมา
และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
2. ระบบประสาท
ผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาทอักเสบ
มีอาการชาหรือปวดร้อนตามปลายมือ
ปลายเท้าซึ่งอาจทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย
(อาจลุกลามจนเท้าเน่า)
บางคนอาจมีอาการ
วิงเวียน
เนื่องจากมีภาวะความดันตกในท่ายืน
บางคนอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ
หรือท้องเดิน
ตอนกลางคืนบ่อย หรือ กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน
(กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ)
3. ไต มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย
มีอาการบวม ซีด
ความดันโลหิตสูง
ซึ่งเป็นสาเหตุการ
ตายของผู้ป่วยเบาหวานที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
4. ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis)
ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง,
อัมพาต, โรค
หัวใจขาดเลือดถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็ง
เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พออาจทำให้เท้าเย็น
เป็นตะคริว
หรือ ปวดขณะเดินมาก ๆ
หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยากหรือเท้าเน่า
(ซึ่งอาจเกิดร่วมกับการ
ติดเชื้อ)
5.
เป็นโรคติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ
เช่น วัณโรคปอด,
กระเพาะปัสสาวะอับเสบ ,
กรวยไตอักเสบ, กลาก ,
โรคเชื้อราแคนดิดา ,
ช่องคลอดอักเสบ
(ตกขาวและคันในช่องคลอด ,
เป็นฝี หรือพุพองบ่อย,
เท้าเป็นแผลซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า
(อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขา)
เป็นต้น
6. ภาวะคีโตซิส (Ketosis)
พบเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน
ที่ขาดการฉีดอินซูลิน
นาน ๆ
ร่างกายจะมีการคั่งของสารคีโตน
ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญไขมัน
ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้
อาเจียน กระหายน้ำ อย่างมาก
หายใจหอบลึก
และลมหายใจมีกลิ่นหอม มีไข้
กระวนกระวาย มีภาวะขาดน้ำรุนแรง (ตาโบ๋ หนังเหี่ยว
ความดันต่ำ ชีพจรเบาเร็ว)
อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน
ผู้ป่วยจะซึมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งหมดสติ
หากรักษาไม่ทันอาจตายได้
การรักษา
1.
หากสงสัยหรือตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ
ควรแนะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาล
โดยให้ผู้ป่วยอด
อาหาร (รวมทั้งเครื่องดื่มทุกชนิด)
ตั้งแต่เที่ยงคืน
แล้วไปเจาะเลือดที่โรงพยาบาลในตอนเช้า
เพื่อตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด ที่เรียกว่า
ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6
ชั่วโมง
(fasting blood sugar) ซึ่งในคนปกติจะมีค่า 60-120
มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มล.
ถ้าพบว่ามีค่า
มากกว่า 140
มก.ต่อเลือด 100 มล. ในการเจาะตรวจ 2 ครั้ง
ก็วินิจฉัยได้ว่าเป็นเบาหวาน
ยิ่งมีค่า
สูงมากเท่าไหร่
ก็แสดงว่ามีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น
การรักษามักจะเริ่มด้วยการแนะนำเรื่องการควบคุมอาหาร
การออกกำลังกาย
และการปฏิบัติตัว
อื่น ๆ (รายละเอียดดูในเรื่องข้อแนะนำ)
ถ้าคุมอาหารอย่างเดียวไม่ได้ผล
อาจต้องให้ยารักษา
เบาหวาน โดยถือหลักดังนี้
1.1 ในรายที่เป็นไม่มาก (เช่น
เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน)
อาจให้ยาชนิดกิน ที่สะดวก
ราคา
ถูก และนิยมใช้กันมาก คือ
ยาเม็ดคลอร์โพรพาไมด์ (Chlorpropamide)
ซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น
ไดอะบีนิส (Diabenese) โดยมากจะมีอยู่ 2 ขนาด คือ
เม็ดเล็กขนาด 100 มิลลิกรัม
และเม็ดใหญ่
ขนาด 250 มิลลิกรัม
ใช้กินวันละครั้งเดียว
คือก่อนอาหารเช้าโดยเริ่มจากขนาดน้อย
ๆก่อน คือใช้
ขนาดเม็ดเล็ก 1 เม็ด หรือเม็ดใหญ่ครึ่งเม็ด
วันละครั้ง
แล้วคอยตรวจน้ำตาลในปัสสาวะทุกวัน
(ถ้า
เป็นไปได้ควรตรวจน้ำตาลในเลือดทุกวัน)
ถ้ากินยาไป 10 วัน
แล้วยังมีน้ำตาลในปัสสาวะขนาด
สองบวก
(2+) ถึงสี่บวก (4+)
หรือน้ำตาลในเลือดยังสูงเกิน 140
มก.ต่อเลือด 100 มล. แสดงว่า
ไม่ได้ผล
ให้เพิ่มยาอีกครั้งละ 1 เม็ดเล็ก หรือครึ่งเม็ดใหญ่
ถ้ายังไม่ได้ผลก็ให้เพิ่มในขนาดนี้ทุก
ๆ
10 วันจนกว่าอาการต่าง ๆ ทุเลาลง
(อ่อนเพลียน้อยลง
ปัสสาวะห่างขึ้น
กระหายน้ำน้อยลง) และ
น้ำตาลในปัสสาวะมีแค่หนึ่งบวก
(1+) หรือไม่มีเลย
ก็ให้กินยาในขนาดนี้ไปเรื่อย ๆ
ถ้าเพิ่มยาจน
ใช้ยาเม็ดใหญ่ (ขนาด
250 มิลลิกรัม) กินวันละครั้งถึง 2 เม็ดแล้วยังไม่ได้ผล
ก็ไม่ควรเพิ่มมาก
กว่านี้
ผู้ป่วยที่กินยานี้ไม่ได้ผล
หรือเป็นผู้สูงอายุ หรือเป็น
โรคไต หรือโรคตับอยู่
ควรเปลี่ยนไปใช้
ยาชนิดอื่น เช่น
ยาเม็ดไกลเบนคลาไมด์ (Glybenclamide)
ซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น ดาโอนิล
(Daonil), ยูกลูคอน (Euglucon) ซึ่งมีขนาด 5
มิลลิกรัม ควรเริ่มจากครั้งละครึ่งเม็ดแบบเดียวกับ
คลอร์โพรพาไมด์
ให้ได้สูงสุดวันละ 4 เม็ด
1.2 ในรายที่ใช้ยาชนิดกินไม่ได้ผล
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน)หรือใน
กรณีที่มีการติดเชื้อรุนแรง
หรือตั้งครรภ์หรือต้องทำผ่าตัดด้วยโรคอื่น
ๆ ก็ต้องรักษาด้วยการฉีด
อินซูลินซึ่งควรปรับให้ได้ขนาดที่พอเหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย
โดยเริ่มจากขนาดทีละน้อยก่อน
เช่นเดียวกัน
ส่วนมากจะสอนให้ผู้ป่วยหรือญาติฉีดเองที่บ้าน
ผู้ป่วยชนิดพึ่งอินซูลิน
อาจต้องฉีด
อินซูลินทุกวันไปตลอดชีวิตส่วนผู้ป่วยชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
เมื่อควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีแล้ว
อาจหัน
กลับมาใช้ยาชนิดกินแทนก็ได้
1.3 ในการติดตามผลการรักษา
นอกจากการตรวจปัสสาวะแล้ว
ควรนัดให้ผู้ป่วยมาตรวจเลือดเป็น
ครั้งคราว ถ้าระดับน้ำตาลวัดได้ 80-120
ถือว่าคุมได้ดี ระหว่าง 121-140
ถือว่าพอใช้ และถ้าเกิน
140 ถือว่าไม่ดี
ต้องปรับปรุงในรายที่ระดับน้ำตาลขึ้น
ๆ ลง ๆ ไม่แน่นอน
หรือไม่ได้ตรวจระดับ
น้ำตาลในเลือดบ่อยก็อาจต้องตรวจเลือดดูระดับน้ำตาลที่เกาะอยู่บนฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง
ที่เรียกว่า
"ฮีโมโกลบิน เอ1ซี" (hemoglobin A1C)
ซึ่งจะวัดค่าน้ำตาลเฉลี่ยย้อนหลังในช่วง
8-12
สัปดาห์
นับว่าเป็นวิธีวัดระดับน้ำตาลได้แม่นยำแน่นอน
ควรตรวจทุก ๆ 3 เดือน
ถ้าวัดได้ต่ำกว่า 6.5% ถือว่าดี
ระหว่าง 6.5-7.5% ถือว่าพอใช้ และถ้าเกิน 7.5%
ถือว่าไม่ดีต้องปรับปรุง
2.
ถ้าพบผู้ป่วยเบาหวานที่ขาดการรักษานาน
ๆ และสงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน
ควรส่งโรงพยาบาล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสงสัยมีภาวะคีโตซิส
ควรให้น้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์
แล้วส่งโรงพยาบาลด่วน
3. ผู้ป่วยที่เป็นแผลอักเสบ
หรือเป็นฝีพุพอง
ให้กินยาปฏิชีวนะ เช่น
คล็อกซาซิลลิน ,อีริโทรไมซิน
4.
ควรตรวจดูภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
เช่น ตรวจเลือด
(หาระดับไขมันในเลือด,
ครีอะตินีน,
บียูเอ็น), ตรวจปัสสาวะ,
คลื่นหัวใจ เป็นครั้งคราว
และตรวจตาโดยจักษุแพทย์
(ปีละครั้ง)
ข้อแนะนำ
1.
เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน
หรือตลอดชีวิต
ซึ่งหากได้รับการ
รักษาอย่างจริงจัง
อาจมีชีวิตเหมือนคนปกติได้แต่ถ้ารักษาไม่จริงจังก็อาจมีอันตรายจาก
โรค
แทรกซ้อนได้มาก
จึงควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ
มิเช่นนั้น
ผู้ป่วยมักจะดิ้นรนเปลี่ยนหมอไปเรื่อย
ๆ
หรือหันไปรักษาทางไสยศาสตร์ หรือกินยาหม้อ
หรือสมุนไพรแทน
2.ผู้ป่วยที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่
บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
คือ มีอาการ
ใจหวิวใจสั่น หน้ามืด ตาลาย
เหงื่อออก
ตัวเย็นเหมือนเวลาหิวข้าว
ถ้าเป็นมาก ๆ อาจเป็นลม
หมดสติ หรือชักได้
ควรบอกให้ผู้ป่วยระวังดูอาการดังกล่าว
และควรพกน้ำตาล
หรือของหวานติด
ตัวประจำ
ถ้าเริ่มรู้สึกมีอาการดังกล่าว
ให้ผู้ป่วยรีบกินน้ำตาลหรือของหวาน
จะช่วยให้หายเป็นปลิด
ทิ้งทันที
(ถ้าตรวจปัสสาวะตอนนั้น
จะไม่พบน้ำตาลเลย)
ผู้ป่วยควรทบทวนดูว่า
กินอาหารน้อยไป
หรือออกกำลังมากไปกว่าที่เคยทำอยู่หรือไม่
ควรปรับทั้งสองอย่างให้พอดีกัน
จะช่วยป้องกันมิให้
เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ถ้ายังเป็นอยู่บ่อย ๆ
ควรไปปรึกษาแพทย์ที่รักษา
อาจต้องลดยา
เบาหวานลง
ผู้ป่วยที่กินอาหารผิดเวลา
ก็อาจเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน
จึงต้องหมั่นกินข้าวให้ตรงเวลา
3. ผู้ป่วยอย่าซื้อยาชุดกินเอง
เพราะยาบางอย่างอาจเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้
เช่น สเตอรอยด์ , ยาขับ
ปัสสาวะ เป็นต้น
และยาบางอย่างอาจเสริมฤทธิ์ของยารักษาเบาหวาน
ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำได้
เช่น แอสไพริน ,
ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
, ซัลฟา เป็นต้น
ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ยาเอง
ต้องแน่ใจว่า
ยานั้นไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
4. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี
และมีญาติพี่น้องเป็นเบาหวาน
หรือคนอ้วน
ควรตรวจเช็กปัสสาวะหรือ
เลือดเป็นครั้งคราว
หากพบเป็นเบาหวานในระยะเริ่มแรก
จะได้ให้การรักษาแต่เนิ่น ๆ
5. ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัว ดังนี้
5.1 พบแพทย์และตรวจเลือดตามนัด
ขอย้ำว่าถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงเล็กน้อย
(140-200
มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร)
ก็อาจไม่มีอาการผิดปกติให้รู้สึกได้
อาจทำให้คนไข้ชะล่าใจ
ปล่อยตัวจนอาจเกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาวได้หากเป็นไปได้ควรตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด
ทุกวัน
หรือทุกสัปดาห์
5.2 กินยาลดน้ำตาล หรือฉีดอินซูลิน
ตามขนาดที่แพทย์สั่ง อย่าลดยา
หรือปรับยาตามความรู้สึก หรือ
การคาดเดาของตัวเองเป็นอันขาด
ควรใช้ยาและกินอาหารให้เป็นเวลา
(ตรงเวลาทุกมื้อ)
ปริมาณอาหารให้พอ ๆ กันทุกวัน
5.3
ควรควบคุมอาหารการกินอย่างเคร่งครัด
โดยมีหลักง่าย ๆ ดังนี้
(1) กินอาหารวันละ 3 มื้อ
กินให้ตรงเวลา
ไม่งดมื้อใดมื้อหนึ่ง
กินในปริมาณใกล้เคียงกันทุกวัน
ทุกมื้อ
(2) อย่ากินจุบจิบ ไม่เป็นเวลา
(3) ในแต่ละมื้อ
ให้กินอาหารที่มีทั้งแป้ง
เนื้อสัตว์ ไขมัน และผัก
(4) ห้ามกินน้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำหวาน
น้ำอัดลม ขนมหวาน
ขนมเชื่อมน้ำตาล นมหวาน
(ให้ดื่มนมจืด
แทน) ผลไม้ที่มีรสหวานจัด (เช่น
ทุเรียน ขนุน ลำไย ลิ้นจี่ องุ่น
ละมุด อ้อย) ผลไม้กระป๋อง
ผลไม้
แช่อิ่ม หรือเชื่อมน้ำตาล
(5) ถ้าชอบหวาน
ให้ใช้น้ำตาลเทียมแทน
(6) ห้ามดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์
ยาดองเหล้า
เครื่องดื่มบำรุงกำลัง
(7)
หลีกเลี่ยงการกินเครื่องในสัตว์
ไขมันสัตว์ น้ำมันหมู เนย มันหมู
มันไก่ เนื้อติดมัน หมูสามชั้น
ครีมกะทิ น้ำมันมะพร้าว
น้ำมันปาล์ม ไข่แดง หอยนางรม
อาหารทอด (เช่น ไก่ทอด กล้วยแขก
ปาท่องโก๋ มันทอด ข้าวเกรียบ)
(8) หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด
และอาหารสำเร็จรูป (เช่น ไส้กรอก
กุนเชียง)
(9) กินอาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว
ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ถั่ว ขนมปัง
ในจำนวนพอเหมาะ ไม่มากหรือ
น้อยจนเกินไป
(10) กินผักให้มาก ๆ (ปริมาณไม่จำกัด)
โดยเฉพาะผักประเภทใบและถั่วสด
เช่น ผักกวางตุ้ง
ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักกะเฉด
มะระ มะเขือยาว ถั่วงอก ถั่วแขก
ถั่วฝักยาว ฯลฯ
(11) กินผลไม้ที่มีรสหวานไม่มาก
ได้มื้อละ 6-8 คำ เช่น ส้ม มังคุด
มะม่วง มะละกอ พุทรา ฝรั่ง
สับปะรด
5.4 ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น
เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ปั่นจักรยาน
ว่ายน้ำ หรือทำงานออก
แรงกายให้มาก ควรทำในปริมาณพอ ๆ
กันทุกวัน
อย่าหักโหมทั้งการควบคุมอาหาร
และการออก
กำลัง ควรให้เกิดความพอเหมาะ
ที่จะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ถ้าอ้วนเกิน
แสดงว่า
ยังปฏิบัติทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่ได้เต็มที่
5.5 พักผ่อนให้เพียงพอ
ทำจิตใจให้ร่าเริง
อย่าให้เครียด หรือวิตกกังวล
5.6 ควรเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
มิเช่นนั้น
อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น
ซึ่งเป็น
ต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ
5.7 หมั่นดูแลรักษาเท้า ดังนี้
(1) ทำความสะอาดเท้า
และดูแลผิวหนังทุกวัน
เวลาอาบน้ำควรล้างและฟอกสบู่
ตามซอกนิ้วเท้า
และส่วนต่าง ๆ
ของเท้าอย่างทั่วถึง
หลังล้างเท้าเรียบร้อยแล้ว
ซับทุกส่วนโดยเฉพาะบริเวณซอก
นิ้วเท้าให้แห้งด้วยผ้าขนหนู
ระวังอย่าเช็ดแรงเกินไป
เพราะผิวหนังอาจถลอกเป็นแผลได้
(2) ถ้าผิวหนังที่เท้าแห้งเกินไป
ควรใช้ครีมทาผิวทาบาง ๆ
โดยเว้นบริเวณซอกนิ้วเท้า
และ
รอบเล็บเท้า
(3) ตรวจเท้าอย่างละเอียดทุกวัน
โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า
ฝ่าเท้าบริเวณที่เป็นจุดรับน้ำหนัก
และรอบเล็บเท้า
เพื่อดูว่ามีรอยช้ำ บาดแผล
หรือการอักเสบหรือไม่
หากมีแผลที่เท้า
ต้องรีบไปพบ
แพทย์ทันที
(4) การตัดเล็บ
ควรตัดด้วยความระมัดระวัง
เพื่อป้องกันมิให้เกิดเล็บขบ
ซึ่งอาจลุกลาม และเป็น
สาเหตุของการถูกตัดขาได้
- ควรตัดเล็บในแนวตรง ๆ
และอย่าให้สั้นชิดผิวหนังจนเกินไป
- ไม่ควรใช้วัตถุแข็งแคะซอกเล็บ
- การตัดเล็บ ควรทำหลังล้างเท้า
หรืออาบน้ำใหม่ ๆ
เพราะเล็บจะอ่อนและตัดง่าย
ถ้าสายตามอง
เห็นไม่ชัด
ควรให้ผู้อื่นตัดเล็บให้
(5) ป้องกันการบาดเจ็บและเกิดแผล
โดยการสวมรองเท้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน
(อย่าเดินเท้า
เปล่า) ควรเลือกรองเท้าที่สวมพอดี
ไม่หลวม ไม่บีบรัด พื้นนุ่ม
มีการระบายอากาศและความชื้นได้
ควรสวมถุงเท้าด้วยเสมอ
โดยเลือกสวมถุงเท้าที่สะอาด
ไม่รัดแน่น และเปลี่ยนทุกวัน
ก่อนสวม
รองเท้า ควรตรวจดูว่า
มีวัตถุมีคมตกอยู่ในรองเท้าหรือไม่
สำหรับรองเท้าคู่ใหม่
ในระยะเริ่มแรก
ควรใส่เพียงชั่วเวลาสั้น ๆ ในแต่ละวัน
เพื่อให้รองเท้าค่อย ๆ
ขยายปรับตัวเข้ากับเท้าได้ดี
(6) หลีกเลี่ยงการตัด ดึง
หรือแกะหนังแข็ง ๆ
หรือตาปลาที่ฝ่าเท้า
และไม่ควรซื้อยากัดลอกตาปลา
มาใช้เอง
(7) ถ้ารู้สึกว่าเท้าชา
ห้ามวางขวดหรือกระเป๋าน้ำร้อน
หรือประคบด้วยของร้อนใด ๆ
จะทำให้เกิด
แผลไหม้พองขึ้นได้
และไม่ช่วยให้อาการชาดีขึ้นแต่อย่างใด
(8) ถ้ามีตุ่มหนอง มีบาดแผล
หรือการอักเสบที่เท้า
ควรรีบไปหาแพทย์รักษา
อย่าใช้เข็มบ่งเอง
หรือใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือไฮโดรเจน
เพอร์ออกไซด์ชะแผล
ควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่
และปิดแผลด้วยผ้ากอซที่ปลอดเชื้อ
และติดด้วยพลาสเตอร์อย่างนิ่ม
(เช่น ไมโครพอร์) อย่าปิด
ด้วยพลาสเตอร์ธรรมดา
5.8 ผู้ที่กินยา
หรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ประจำทุกวัน
ถ้าหากมีอาการหิว ใจหวิว ใจสั่น
หน้ามืด
ตาลาย ตัวเย็น
อาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ควรรีบกินน้ำตาลหรือของหวาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในเวลาที่กินอาหารน้อย
หรือกินผิดเวลา
ทำงานหรือออกกำลังกายหักโหมกว่าปกติ
5.9
หมั่นตรวจน้ำตาลในปัสสาวะด้วยตนเอง
ช่วยให้รู้ได้คร่าว ๆ ว่า
ควบคุมเบาหวานได้ดีเพียงไร
ควรปรึกษาแพทย์ถึงเทคนิคการตรวจ
และความถี่ของการตรวจ
การสังเกตจากอาการเพียง
อย่างเดียวบอกไม่ได้ว่า
ควบคุมโรคได้หรือไม่ถ้าเป็นไปได้
ควรซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด
ซึ่ง
มีเทคนิคการตรวจอย่างง่าย ๆ
ไว้ตรวจเองที่บ้านทุกวัน
จะช่วยให้สามารถประเมินผลการรักษา
และปรับอาหารให้สอดคล้องกับระดับน้ำตาลในเลือดได้ดียิ่งขึ้น
5.10 ควรพกบัตรประจำตัว
ที่ระบุถึงโรคที่เป็น
และยาที่ใช้รักษา
หากระหว่างเดินทางไปไหนมา
ไหนประสบอุบัติเหตุ
หรือเป็นลมหมดสติ
แพทย์จะได้ให้การช่วยเหลือที่ถูกต้อง
และทันท่วงที
การป้องกัน
โรคนี้อาจป้องกันได้โดย
การรู้จักกินอาหาร (ลดของหวาน ๆ
อาหารพวกแป้งและไขมัน
กินอาหาร
พวกโปรตีน ผัก และผลไม้ให้มาก ๆ)
อย่าปล่อยตัวให้อ้วน
หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
และทำ
จิตใจให้ร่าเริงเบิกบานอย่าให้เครียด
หรือวิตกกังวล
รายละเอียด
การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ
วิธีที่ 1
การตรวจด้วยน้ำยาเบเนดิกต์ (Benedict
test)
ใส่น้ำยาเบเนดิกต์
(ซึ่งเป็นน้ำยาใส มี
สีน้ำเงิน) 1 ช้อนชาลงในหลอดแก้ว
หรือขวดแก้วทนไฟ
แล้วใช้หลอดแก้วสำหรับหยดยา
ดูด
ปัสสาวะใส่ลงไป 8 หยด เขย่าเบา ๆ
แล้วนำไปแช่ในน้ำเดือดนาน 5 นาที
หรือเผาลนไฟนาน 1
นาที จนน้ำยาผสมปัสสาวะเดือด
แล้วดูสีของน้ำยาถ้ามี
สีน้ำเงินเหมือนเดิม
|
=
ไม่มีน้ำตาล
|
สีเขียว
|
=
มีน้ำตาลหนึ่งบวก (1+)
|
สีเหลือง
|
=
มีน้ำตาลสองบวก (2+)
|
สีส้ม
|
=
มีน้ำตาลสามบวก (3+)
|
สีแสดแดง
|
=
มีน้ำตาลสี่บวก (4+)
|
วิธีที่ 2
การตรวจด้วยยาเม็ดตรวจปัสสาวะ
(Clinitest tablet)
ใส่ปัสสาวะ 5 หยด กับน้ำเปล่า 10
หยด
ลงในหลอดแก้ว แล้วใส่ยาเม็ดลงไป
จะเกิดฟองเดือดขึ้นเอง
(โดยไม่ต้องต้มหรือลนไฟ) รอ
จนหมดฟองแล้วดูสีของน้ำยาเช่นเดียวกับวิธีที่
1
วิธีที่ 3
การตรวจด้วยแผ่นทดสอบ (Paper strip)
จุ่มแผ่นทดสอบสำเร็จรูป (เช่น
Clinistix, Testape) ลงไปในปัสสาวะนานประมาณ 1
นาที แล้วนำ
ขึ้นมาเทียบสีซึ่งจะบอกว่ามีน้ำตาลมากน้อยแค่ไหน
การแปลผล
1.
ถ้าตรวจพบน้ำตาลตั้งแต่หนึ่งบวกขึ้นไป
ก็ให้นึกสงสัยว่าเป็นเบาหวาน
ยกเว้น ผู้หญิงตั้งครรภ์
และผู้ที่เป็นโรคไตเนื่องจากกินเตตราไซคลีนที่หมดอายุ
ก็อาจตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะได้
ผู้
ที่กินยาบางชนิดก่อนตรวจ เช่น แอสไพริน
วิตามินซี เมทิลโดพา (แอลโดเมต)
ก็อาจทำให้น้ำยา
เปลี่ยนสี
ให้ผลบวกที่ไม่จริงได้
2. ผู้ป่วยเบาหวานบางคน
อาจตรวจพบน้ำตาลในเลือดสูง
โดยตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะก็ได้
เช่นคนสูงอายุ ผู้ป่วยโรคไต
วิธีที่ 4
การตรวจด้วยเครื่องวัดระดับน้ำตาลจากเลือดปลายนิ้ว
(Glucose Meter)
เป็นวิธีแม่นยำสูงกว่าวิธีข้างต้น
เพราะเป็นการตรวจจากเลือดโดยตรง
และเพื่อให้สะดวกในการ
ทดสอบได้ด้วยตนเอง
ได้พัฒนาให้สามารถตรวจจากเลือดปลายนิ้วโดยตรง
โดยใช้เครื่องช่วย
เจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้องควรงดอาหารต่างๆเป็นเวลาอย่างน้อย
6 ชั่วโมงก่อนทำ
การทดสอบ บีบเลือดให้ได้ขนาดหยดเลือดประมาณเท่าหัวเข็มหมุด
หยดลงบนแถบทดสอบ นำเข้า
เครื่องตรวจวัด
เครื่องจะทำการวัดค่าระดับน้ำตาลให้เป็นที่เรียบร้อย
การแปลผล
-
ค่าระดับน้ำตาลจากเลือดในคนปรกติทั่วไปจะอยู่ที่ระดับ
60 - 100 mg/dl
-
คนที่เป็นเบาหวานระดับน้ำตาลที่ได้จะสูงขึ้นกว่าระดับปรกติ
ค่าตัวเลขที่สูงขึ้นจะแปรผันตาม
ระดับความรุนแรงของโรค
- คนที่ได้ค่าต่ำกว่าระดับปรกติ
แสดงว่าอยู่ในภาวะขาดน้ำตาล
อาจเนื่องจากอยู่ในภาวะอดอาหาร
เป็นเวลานานเกินไป
หรืออยู่ในภาวะได้รับอินซูลินมากเกินกว่ากำหนด
อาการที่ปรากฏจะรู้สึก
วิงเวียนศีรษะหน้ามืด
เป็นลมได้ถ้าไม่ได้น้ำตาลเข้าไปทันท่วงที
ดูรายละเอียดชุดทดสอบ
|

ลักษณะทั่วไป
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
หมายถึง ระดับน้ำตาล หรือกลูโคส
(glucose) ในเลือดต่ำกว่าปกติ (ระดับ
น้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70
มก.ต่อเลือด 100 มล.)
เป็นภาวะที่ร้ายแรง
หากรักษาไม่ทันอาจเป็น
อันตรายได้
สาเหตุ
อาจมีสาเหตุได้หลายอย่าง
เช่น
1. พบหลังดื่มเหล้าจัด อดข้าว
มีไข้สูง หรือออกกำลังมากไป
2.
ผู้ป่วยเบาหวานที่กำลังได้รับยาเบาหวาน
บางครั้งกินอาหารน้อยไปหรือกินอาหารผิดเวลา
หรือ
ออกกำลังมากไปกว่าที่เคยทำอยู่
ก็อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
ผู้ป่วยที่กินยาเม็ด
รักษาเบาหวาน ในตอนเช้า
มักจะมีอาการตอนเช้ามืดของวันรุ่งขึ้น
ส่วนผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลินตอนเช้า
มักจะมีอาการตอนบ่าย ๆ
3.
พบในทารกแรกคลอดที่แม่เป็นเบาหวาน
หรือทารกมีน้ำหนักน้อย
4. ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์
บางคนก็อาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นครั้งคราวได้
เนื่องจากร่างกายมีการ
ใช้น้ำตาลมากขึ้น
5.
ผู้ป่วยที่ผ่าตัดกระเพาะออกไปแล้ว
อาจเกิดภาวะนี้ได้บ่อย ๆ
โดยมากจะเกิดหลังกินอาหาร 2-4
ชั่วโมง
เนื่องจากลำไส้มีการดูดซึมน้ำตาลเร็วเกินไป
ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลิน
ออกมา
เป็นจำนวนมาก
ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
เรียกว่า Dumping syndrome
6. ถ้าเป็นอยู่บ่อย ๆ
อาจมีสาเหตุจากเบาหวานระยะเริ่มแรก,
โรคตับเรื้อรัง,
มะเร็งของตับอ่อน
(Insulinoma), มะเร็งต่าง ๆ, โรคแอดดิสัน
เป็นต้น
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการรอ่อนเพลีย
วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจหวิว
ใจสั่น มือสั่น เหงื่อออก
รู้สึกหิว บางคน
อาจมีอาการปวดศีรษะ ซึม
กระสับกระส่าย พูดอ้อแอ้
แขนขาอ่อนแรง ปากชา มือชา พูดเพ้อ
เอะอะ
โวยวาย ก้าวร้าว ลืมตัว
หรือทำอะไรแปลก ๆ
(คล้ายคนเมาเหล้า) ถ้าเป็นรุนแรง
อาจมีอาการชัก
หมดสติ
ในรายที่เกิดจากการดื่มเหล้า
ผู้ป่วยอาจมีอาการตัวเย็นชืด
แขนขาเกร็ง ขากรรไกรแข็ง
สิ่งตรวจพบ
เหงื่อออก มือเท้าเย็น
อาจมีอาการชักหรือหมดสติ
ชีพจรมักเบาเร็ว
และความดันเลือดต่ำ (แต่ก็อาจ
พบว่าปกติก็ได้)
รูม่านตามักจะมีขนาดปกติ
และหดลงเมื่อถูกแสง
อาการแทรกซ้อน
หากปล่อยให้หมดสติอยู่นาน
หรือเป็นอยู่ซ้ำ ๆ
จะทำให้สมองพิการ ความจำเสื่อม
บุคลิกภาพเปลี่ยน
ไปจากเดิม วิกลจริต
บางคนอาจหลับไม่ตื่นเนื่องจากสมองพิการอย่างถาวร
การรักษา
หากสงสัย ให้ฉีดกลูโคสขนาด 50%
จำนวน 50-100 มล. เข้าทางหลอดเลือดดำ
หากผู้ป่วยฟื้นแล้ว
แต่ยังกินไม่ค่อยได้ ควรให้ 5%
เดกซ์โทรส (5% D/W)
เข้าทางหลอดเลือดดำจำนวน 500-1000
มล.
ถ้าเป็นไปได้ ก่อนฉีดกลูโคส
ควรเจาะเลือดตรวจหาระดับน้ำตาล
ซึ่งมักจะพบต่ำกว่า 70 มิลลิ
กรัมต่อเลือด 100 มล. (ในรายที่เป็นมาก
อาจต่ำกว่า 40)
ถ้าฉีดกลูโคสแล้วไม่ดีขึ้นภายใน
30 นาที
ควรส่งโรงพยาบาลด่วน
อาจต้องตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ
หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ
และให้การรักษา
ตามสาเหตุที่พบ
ข้อแนะนำ
1.
ผู้ป่วยที่มีอาการที่ชวนสงสัยว่าเป็นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ถ้ายังรู้สึกตัวดี
ควรรีบกินน้ำตาล
น้ำหวานหรือของหวาน ๆ ทันที
ซึ่งจะช่วยให้อาการต่าง ๆ
ทุเลาลงทันที
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วย
เบาหวานที่ได้รับยารักษาเบาหวานอยู่
ควรพกน้ำตาลติดตัวไว้กินทุกครั้งที่เริ่มรู้สึกมีอาการแต่ถ้า
หมดสติ
อย่ากรอกน้ำตาลหรือน้ำหวานเข้าปากผู้ป่วย
อาจทำให้สำลักลงปอดได้
ควรรีบนำไปหา
หมอที่อยู่ใกล้บ้านที่สุด
เพื่อฉีดกลูโคสเข้าหลอดเลือดดำ
2. ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้บ่อย ๆ
ควรบอกให้ญาติและเพื่อนใกล้ชิดทราบ
เพื่อจะได้หาทางแก้ไขได้ท่วง
ทันทีหากปล่อยไว้จนหมดสติหรือชักนาน
ๆ อาจทำให้สมองพิการได้
3. ในรายที่มีภาวะนี้บ่อย ๆ
โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
ควรให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด
การป้องกัน
ผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาเบาหวานรักษา
ต้องปรับอาหารการกินและการออกกำลังกาย
(การใช้แรง
กาย) ให้พอเหมาะ อย่าอดอาหาร
อย่ากินอาหารผัดเวลา
อย่าใช้แรงกายหักโหมหรือหนักกว่าที่เคย
ทำ
และข้อสำคัญอย่าใช้เกินขนาดที่แพทย์สั่ง
รายละเอียด
ยารักษาเบาหวาน
อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ |

ลักษณะทั่วไป
โรคของหญิงวัยหมดประจำเดือน
มักพบในผู้หญิงที่ใกล้ประจำเดือนหมด
หรือหมดไปแล้ว (อายุ
ประมาณ 45-55 ปี)
ผู้หญิงในวัยนี้ประมาณ 25%
จะไม่มีอาการใด ๆ ทั้งสิ้น ประมาณ
50% อาจมี
อาการเพียงเล็กน้อย และอีก 25 %
จะมีอาการไม่สบายต่าง ๆ
สาเหตุ
มีสาเหตุจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย
ร่วมกับความแปรปรวนทางด้านจิตใจ
และอารมณ์
อาการ
ก่อนประจำเดือนจะหมดอย่างถาวร
มักมีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
หรือประจำเดือนมาน้อย แล้ว
ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการร้อนซู่ซ่าตามผิวกาย
(เช่น บริเวณหน้าอก คอ และใบหน้า)
มีเหงื่อออก ใจสั่น
ปวดตามข้อ ปวดศีรษะ
บางคนอาจมีอาการหงุดหงิด
โมโหง่าย ขี้วิตกกังวล ซึมเศร้า
ไม่มีสมาธิ และ
นอนไม่หลับอาการอาจเป็นอยู่เพียง
2-3 สัปดาห์ หรือนานที่สุดถึง 5 ปี
(เฉลี่ยประมาณ 2-3 ปี) แล้วจะ
หายไปได้เอง
อาการแทรกซ้อน
เยื่อบุช่องคลอดบางและแห้ง
ผิวหนังบาง
และอาจมีภาวะกระดูกพรุนหรือกระดูกผุ
(osteoporosis)
และย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ
อาจมีการแตกหักของกระดูกง่าย
การรักษา
1.
ถ้าผู้ป่วยมีอาการเพียงเล็กน้อย
ไม่ต้องให้ยารักษาแต่อย่างใด
ควรให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่า
อาการที่เกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
ตามธรรมชาติ
และจะหายได้เองในไม่ช้า
2. ถ้ามีอาการไม่สบายมาก
ให้ยารักษาตามอาการ เช่น
ถ้าหงุดหงิด นอนไม่หลับ
ให้ไดอะซีแพม ถ้า
ปวดข้อหรือปวดศีรษะ
ให้ยาแก้ปวด เป็นต้น
3. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น
หรือสงสัยว่ามีสาเหตุอื่น
ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
อาจต้องทำการตรวจ
พิเศษเพิ่มเติม
ถ้าเป็นโรคของหญิงวัยหมดประจำเดือน
อาจให้กินฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน
เพื่อ
ลดอาการไม่สบายต่าง ๆ
รวมทั้งป้องกันอาการเยื่อบุช่องคลอดบาง
และภาวะกระดูกพรุน การให้
ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน
อาจเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
- ให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน (เช่น conjugated
estrogen 0.3 มก.หรือ 0.625 มก., หรือ estradiol 0.5
หรือ 1 มก., หรือ estrone sulfate 0.625 มก.) วันที่ 1-25
ของแต่ละเดือน,
ร่วมกับฮอร์โมน
โพรเจสเตอโรนได้แก่ medroxyprogesterone acetate 5-10 มก. ในวันที่
14-25 ของเดือน หยุด
กินทั้ง 2
ชนิดตั้งแต่วันที่ 26
จนถึงสิ้นเดือน
ผู้ป่วยจะมีเลือดประจำเดือนมาในช่วงปลายเดือน
- ให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับ
medroxyprogesterone acetate 0.25 มก.ทุกวันไม่มีเว้น
ในระยะ
2-3 เดือนแรกอาจมีเลือดออกกะปริดกะปรอย
หลังจากนั้นเลือดจะหยุด
และไม่ออกอีกเลย
ข้อแนะนำ
1.
โรคนี้ไม่ใช่โรคที่มีอันตรายร้ายแรง
ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า
เป็นเรื่องของธรรมชาติ
ไม่ควร
วิตกทุกข์ร้อนจนเกินไป
2.
ถ้าพบว่ามีเลือดออกจากช่องคลอดกะปริดกระปรอย
หรือออกนานกว่าปกติ
หรือกลับมีประจำเดือน
ครั้งใหม่หลังจากหมดไปนานกว่า
6 เดือนแล้ว
ควรแนะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาล
อาจเป็นอาการของ
มะเร็งปากมดลูก ได้
3. ผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือน
เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดลง
ทำให้เยื่อบุช่อง
คลอด บางและระคายเคืองได้ง่าย
จะมีอาการคัน
และช่องคลอดมักจะแห้ง
ทำให้เจ็บปวดเวลา
ร่วมเพศบางครั้งอาจมีอาการตกขาวร่วมด้วย
ถ้ามีอาการตกขาวและคันในช่องคลอด
ควรปรึกษา
แพทย์ เพื่อตรวจให้แน่ใจว่าไม่มีสาเหตุอื่น
ๆ
แพทย์จะให้ครีมสเตอรอยด์ทาแก้อาการคัน
ผู้ป่วยที่มี
ความรู้สึกเจ็บขณะร่วมเพศ
ก่อนร่วมเพศควรใช้เยลลี่หล่อลื่น
เช่น ยาเยลลี่ เค-วาย (K-Y jelly)
ใส่ใน
ช่องคลอด จะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้
การกินฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน
จะช่วยป้องกันภาวะ
เหล่านี้ได้
ส่วนในรายที่ไม่ได้กินฮอร์โมน
อาจใช้เอสโตรเจนชนิดครีมทาในช่องคลอด
7-10 คืน แล้ว
ต่อไป ทาสัปดาห์ละ 2
คืนหรือคืนเว้นคืนก็ได้ผลเช่นกัน
4. หลังวัยหมดประจำเดือน
เนื้อกระดูกซึ่งมีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
จะลดลงในอัตราที่เร็ว
ขึ้นกว่าเดิม
เนื่องจากการลดลงของเอสโตรเจน
(ซึ่งมีฤทธิ์ป้องกันการสึกหรอหรือลดลงของเนื้อ
กระดูก)ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน
(กระดูกผุ) ได้
และเมื่อปล่อยไว้จนย่างเข้าวัยสูงอายุ
หรือ หลัง
หมดประจำเดือน 10-20 ปีขึ้นไป
ก็มักจะเกิดปัญหากระดูกแตกหักง่าย
เช่น กระดูกสะโพกหัก
กระดูกข้อมือหักกระดูกสันหลังทรุดหรือหัก
(ทำให้หลังค่อม)
อาจทำให้พิการหรือเป็นภาระแก่ผู้
ใกล้ชิดได้ ภาวะกระดูกพรุนพบบ่อยในผู้หญิงที่กินแคลเซียมน้อยตั้งแต่วัยสาว,
สูบบุหรี่, ดื่มเหล้า,
ขาดการออกกำลังกาย, กินยา สเตอรอยด์เป็นประจำ
หรือมีคนในครอบครัวเป็นกระดูกพรุนด้วยภาวะ
กระดูกพรุนสามารถป้องกันได้โดยการกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง
(เช่น นม เต้าหู้ ปลาไส้ตัน
กุ้งฝอย
กุ้งแห้ง งาดำมะเขือพวงผักคะน้า ใบยอ เป็นต้น)
และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ตั้งแต่อายุ 20-30 ปี
ส่วนผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน
ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงความจำเป็นที่ต้องกิน
ฮอร์โมน
เอสโตรเจนทดแทน ซึ่งต้องกินติดต่อกันนานเป็นปี ๆ
ฮอร์โมนนี้ยังมีข้อดีในการป้องกันโรคหัวใจ
ขาดเลือด
ส่วนผลข้างเคียง (เช่นทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด,
ความดันโลหิตสูง) จะ
พบได้น้อยมากเนื่องจากเป็นการใช้ฮอร์โมนในขนาดต่ำกว่าที่ใช้อยู่ในยาเม็ดคุมกำเนิดมาก
และ
การกินฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนควบด้วยจะป้องกันผลข้างเคียงเหล่านี้
รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการ
เป็นมะเร็งเต้านมและโพรงมดลูก
จากการใช้เอสโตรเจนลงด้วย
นอกจากนี้อาจจำเป็นต้องกิน
แคลเซียมเสริมวันละ
1 กรัมควบด้วย |

ลักษณะทั่วไป
โรคเกาต์
เป็นโรคปวดข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้ไม่น้อย
พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ
9-10
เท่า ส่วนมากจะพบในผู้ชายอายุมากกว่า
30 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงพบได้น้อย
ถ้าพบมักจะเป็นหลังวัย
หมดประจำเดือน
เป็นโรคที่มีทางรักษาให้หายได้
แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา
อาจมีภาวะแทรกซ้อน
ที่เป็นอันตรายได้
สาเหตุ
เกิดจากร่างกายมีกรดยูริก (uric
acid) มากเกินไป กรดยูริก
เป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นผลมาจาก
การเผาผลาญสารเพียวรีน (purine ซึ่งมีมากในเครื่องในสัตว์
เนื้อสัตว์ ถั่วต่าง ๆ
พืชผัก หน่ออ่อน
หรือยอดอ่อน)
และการสลายตัวของเซลล์ในร่างกาย
จึงเป็นสิ่งที่พบได้เป็นปกติในเลือดของคนเรา
และจะถูกขับออกไปทางไต
แต่ถ้าหากว่าร่างกายมีการสร้างกรดยูริก
มากเกินไป
หรือไตขับกรดยูริก
ได้น้อยลง
ก็จะทำให้มีกรดยูริกคั่งอยู่ในร่างกายมากผิดปกติ
ซึ่งจะตกผลึกสะสมอยู่ตามข้อ ผิวหนัง
ไตและอวัยวะอื่น ๆ
ทำให้เกิดอาการไม่สบายต่าง ๆ
ผู้ป่วยส่วนมากมีสาเหตุจากร่างกายสร้างกรดยูริก
มากเกินไป
เนื่องจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์
จึงมักพบมีพ่อแม่ญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
ส่วนน้อยอาจมีสาเหตุจากร่างกายมีการสลายตัวของเซลล์มากเกินไป
เช่น โรคทาลัสซีเมีย, มะเร็งใน
เม็ดเลือดขาว ,
การใช้ยารักษามะเร็งหรือฉายรังสี
เป็นต้น หรือ
อาจเกิดจากไตขับกรดยูริกได้น้อยลง
เช่น ภาวะไตวาย
ตะกั่วเป็นพิษ ,
ผลจากการใช้ยาไทอาไซด์ เป็นต้น
อาการ
มีอาการปวดข้อรุนแรง
ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันที
ถ้าเป็นการปวดครั้งแรกมักจะเป็นเพียงข้อเดียว
ข้อที่
พบมาก ได้แก่ นิ้วหัวแม่เท้า
(ส่วนข้อเท้า ข้อเข่า
ก็อาจพบในผู้ป่วยบางราย)
ข้อจะบวมและเจ็บมาก
จนเดินไม่ไหว
ผิวหนังในบริเวณนั้นจะตึง
ร้อนและแดง และจะพบลักษณะจำเพาะ
คือ ขณะที่อาการ
เริ่มทุเลาผิวหนังในบริเวณที่ปวดนั้นจะลอกและคันผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการปวดตอนกลางคืน
และมักจะ
เป็นหลังดื่มเหล้าหรือเบียร์
(ทำให้ไตขับกรดยูริกได้น้อยลง)
หรือหลังกินเลี้ยง
หรือกินอาหารมาก
ผิดปกติ หรือเดินสะดุด
บางครั้งอาจมีอาการขณะมีภาวะเครียดทางจิตใจ
เป็นโรคติดเชื้อ หรือได้
รับการผ่าตัดด้วย สาเหตุอื่น บางครั้งอาจมีไข้
หนาวสั่น ใจสั่น (ชีพจรเต้นเร็ว)
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
ในการปวดข้อครั้งแรก
มักจะเป็นอยู่เพียงไม่กี่วัน
(แม้จะไม่ได้รับการรักษาก็จะค่อย
ๆ หายไปได้เอง)
ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา ในระยะแรก ๆ
อาจกำเริบทุก 1-2 ปี
โดยเป็นที่ข้อเดิม
แต่ต่อมาจะเป็น
ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ
เช่น ทุก 4-6 เดือน แล้วเป็นทุก 2-3 เดือน
จนกระทั่งทุกเดือน
หรือเดือนละหลายครั้ง
และระยะการปวดจะนานวันขึ้นเรื่อย ๆ เช่น กลายเป็น
7-14 วัน
จนกระทั่งหลายสัปดาห์หรือปวดตลอด
เวลา
ส่วนข้อที่ปวดก็จะเพิ่มจากข้อเดียวเป็น 2-3 ข้อ
(เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเข่า
ข้อเท้า นิ้วมือนิ้ว
เท้า)
จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อ
ในระยะหลัง
เมื่อข้ออักเสบหลายข้อ
ผู้ป่วยมักสังเกตว่ามีปุ่มก้อนขึ้นที่บริเวณที่เคยอักเสบบ่อย
ๆ เช่น
ข้อนิ้วเท้า ข้อนิ้วมือ ข้อศอก
ข้อเข่า รวมทั้งที่หู เรียกว่า
ตุ่มโทฟัส (tophus/tophi)
ซึ่งเป็นแหล่งสะสม
ของสารยูริก
ปุ่มก้อนนี้จะโตขึ้นเรื่อย ๆ
จนบางครั้งแตกออกมีสารขาว ๆ
คล้ายช็อล์ก หรือยาสีฟันไหล
ออกมา กลายเป็นแผลเรื้อรัง
หายช้า ในที่สุดข้อต่าง ๆ จะค่อย
ๆ พิการและใช้งานไม่ได้
สิ่งตรวจพบ
ข้อที่ปวดมีลักษณะบวมแดงร้อน
อาจมีไข้ร่วมด้วย
บางคนอาจมีตตุ่มโทฟัส
อาการแทรกซ้อน
ถ้าไม่ได้รับการรักษา
อาจกลายเป็นโรคความดันโลหิตสูง ,
โรคหัวใจขาดเลือด,นิ่วในทางเดินปัสสาวะ
(พบได้ประมาณ 25%), ภาวะไตวาย
การรักษา
1. ถ้ามีอาการชัดเจน ให้
ยาเม็ดคอลชิซีน (Colchicine) ขนาด 0.5
มิลลิกรัม ครั้งแรกให้ 1-2 เม็ด
แล้วให้ ซ้ำอีกครั้งละ 1 เม็ดทุก 1
ชั่วโมงเป็นเวลา 8 ชั่วโมง
แล้วให้เป็น 1 เม็ดทุก 2 ชั่วโมง
จนกว่า
จะหายปวด แต่ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
หรือท้องเดิน
ซึ่งเกิดจากพิษของยาก็ให้หยุดยาเสีย
โดย
ทั่วไปจะให้ได้ประมาณ 8-20 เม็ด
และอาการปวดข้อจะหายใน 24-72
ชั่วโมง
ถ้ามีอาการท้องเดินให้กินยาแก้ท้องเดิน
ถ้าไม่มีคอลชิซีน
อาจให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
เช่น อินโดเมทาซิน หรือ
ไอบูโพรเฟน ครั้งแรกให้ 2 เม็ด แล้วให้ 1 เม็ดทุก 6
ชั่วโมง จนกว่าจะหาย
แต่ไม่ควรให้นานกว่า 3 วัน
และควรกินยาลดกรด ควบด้วยควรให้ผู้ป่วยนอนพัก ดื่มน้ำมาก
ๆ ใช้
น้ำร้อนประคบข้อที่ปวด
และลดอาหารที่มีกรดยูริกสูง
เมื่ออาการทุเลาแล้ว
ควรแนะนำไปตรวจที่
โรงพยาบาล
ซึ่งมักจะให้การดูแลรักษาต่อไป
ดังในข้อ 2
2.ในรายที่อาการไม่ดีขึ้นหรืออาการไม่ชัดเจนควรส่งโรงพยาบาล
อาจต้องเจาะเลือดหาระดับของ
กรดยูริกในเลือด
(ค่าปกติเท่ากับ 3-7
มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มล.)
และตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าจำเป็น
ควรให้ยารักษาแบบเดียวกับข้อ 1
ถ้าไม่ได้ผลอาจให้สเตอรอยด์
ระหว่างที่ไม่มีอาการปวดข้อ
ควร
ให้ คอลชิซีนวันละ 1-2 เม็ด
กินเป็นประจำเพื่อป้องกันมิให้ข้ออักเสบกำเริบรุนแรง
และให้ยาลดกรด
ยูริกในร่างกาย
ซึ่งมีให้เลือกใช้อยู่ 2 ชนิด
ได้แก่
ก. ยาขับกรดยูริก
เช่นยาเม็ดโพรเบเนซิด (Probenecid) 1-2
เม็ดต่อวัน ผู้ป่วยที่กินยานี้
ควรดื่ม
น้ำมากๆ(ประมาณวันละ 3 ลิตร)
เพื่อป้องกันมิให้เกิดนิ่วในไต
เนื่องจากการตกตะกอนของกรดยูริก
ยานี้ห้ามใช้
ในผู้ป่วยที่มีนิ่วในไต
หรือมีภาวะไตวายนอกจากนี้ผู้ที่กินยานี้
ไม่ควรกินแอสไพริน
เพราะจะทำให้
ฤทธิ์ในการขับกรดยูริกลดน้อยลง
ข. ยาลดการสร้างกรดยูริก เช่น
ยาเม็ดอัลโลพูรินอล (Allopurinol)
ขนาดเม็ดละ 100 มิลลิกรัม วัน
ละ 2-3 เม็ด
ยานี้อาจทำให้เกิดการแพ้ยารุนแรงได้
(ถ้ากินแล้วมีอาการคันตามตัว
ควรหยุดยาทันที)
และอาจทำให้ตับอักเสบได้
การให้ยาลดกรดยูริก
จะเลือกใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของ
ผู้ป่วย
ซึ่งจะให้ผู้ป่วยกินเป็นประจำทุกวันตลอดชีวิต
จะช่วยให้สารยูริกที่สะสมตามข้อ
และอวัยวะ
ต่าง ๆ ละลายหายไปได้
รวมทั้งตุ่มโทฟัสจะยุบหายไปในที่สุด
ผู้ป่วยที่ใช้ยานี้ก็ไม่จำเป็นต้องงด
อาหารประเภทเนื้อสัตว์
และเครื่องในสัตว์อย่างเคร่งครัด
สามารถกินอาหารได้ทุกชนิด
ในปริมาณ
ที่พอเหมาะกับขนาดของยาที่ใช้ควรนัดผู้ป่วยไปตรวจเลือด
ตรวจหาระดับกรดยูริกในเลือดเป็นระยะๆ
ข้อแนะนำ
1. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง
ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา
มักมีโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรง
ควรแนะนำให้
ผู้ป่วยรับการรักษาอย่าได้ขาด
ควรกินยาตามแพทย์สั่งไปตลอดชีวิต
และหมั่นตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ
2.
ในรายที่มีเพียงกรดยูริกในเลือดสูง
โดยไม่มีอาการปวดข้อ
หรืออาการอื่น ๆ
ก็ไม่ต้องให้ยารักษา
ยกเว้นถ้ามีระดับของกรดยูริกสูงเกิน
12 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มล.
ก็ควรกินยาลดกรดยูริกเป็น
ประจำ
3.
ข้อปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์
3.1 ควรดื่มน้ำมาก ๆ ทุกวัน
(อย่างน้อยวันละ 3 ลิตร)
เพื่อป้องกันมิให้เกิดนิ่วในไต
3.2 ถ้าอ้วน
ควรลดน้ำหนักลงทีละน้อย
อย่าลดฮวบฮาบ
อาจทำให้มีการสลายตัวของเซลล์รวดเร็ว
และมีการสร้างกรดยูริก
ทำให้ข้ออักเสบกำเริบได้
3.3 ขณะที่มีอาการปวดข้อ
ควรงดเหล้า เบียร์
และอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น
เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
กะปิ
น้ำสกัดจากเนื้อ เนื้อหมู
เนื้อวัว เนื้อกระต่าย กุ้ง หอย
กุนเชียง ไส้กรอก เนื้อเป็ด
เนื้อห่าน เนื้อไก่
เนื้อไก่งวง ปลาซาร์ดีน ไข่แมงดา ชะเอม
กระถิน แตงกวา หน่อไม้ แอสปารากัส
เห็ด ดอกกะหล่ำ
ถั่วต่าง ๆ
ถั่วงอก ยอดแค ดอกสะเดา สาหร่าย
ยอดผักต่าง ๆ เป็นต้น
(แต่ถ้าไม่มีอาการปวดข้อ
และ
กินยาลดกรดยูริกอยู่เป็นประจำ
ก็ไม่ต้องงดอาหารเหล่านี้อย่างเคร่งครัด)
3.4
ยาบางชนิดอาจมีผลต่อการรักษาโรคนี้
เช่น แอสไพริน หรือยาขับปัสสาวะ
ไทอาไซด์ อาจทำให้
ร่างกายขับกรดยูริกได้น้อยลง
ดังนั้นจึงไม่ควรซื้อยากินเอง
ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนจะ
ใช้ยา
4.
ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคเกาต์
ควรตรวจเช็กเลือดเป็นระยะ
รายละเอียด
ผู้ป่วยโรคเกาต์
ถ้ากินยาทุกวัน
สามารถกินอาหารได้เช่นคนปกติ
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ |
โรคเก๊าท์เป็นโรคทางกรรมพันธุ์
เกิดจากความผิดปกติในการใช้สารพวกพิวรีน
ทำให้เกิดสารยูริคสูงในเลือด
และจะสะสมในข้อโดยเฉพาะข้อเล็กๆ
เช่น ข้อนิ้วเท้า ข้อนิ้วมือ
ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน
ในข้อ
การใช้ยารักษาโรคเกาท์จะช่วยทำให้อาการของโรคดีขึ้นและช่วยขับกรดยูริค
ออกจากร่างกาย
แต่การทานอาหารที่ถูกต้องจะช่วยบรรเทาให้อาการลดลง
และไม่กำเริบบ่อย
หลักในการจัดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
มีดังนี้
ทานอาหารที่มีพิวรีนน้อยหรือไม่มีพิวรีน
ได้แก่ นม ไข่ ฯลฯ
งดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมาก เช่น
เครื่องในสัตว์
ปลาซาร์ดีน ฯลฯ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนปานกลาง
เช่น สัตว์ปีก
อาหารทะเล
อาหารที่ปรุงไม่ควรใส่ผงชูรส
หลีกเลี่ยง อาหารทอด
น้ำต้มเนื้อ เช่นก๊วยเตี๋ยวน้ำ |
อาหารพิวรีนมาก
(50 150 มก./อาหาร 100 กรัม)
|
อาหารพิวรีนปานกลาง
(มากกว่า 15
มก./อาหาร 100 กรัม) |
อาหารพิวรีนน้อย
(0 15 มก./อาหาร
100 กรัม) |
ตับอ่อน
ตับ
ไต
มันสมอง
ปลาแอนโชวี่
ปลาซาร์ดีน
น้ำต้มเนื้อ |
น้ำเกรวี่หรือซุบไก่
เนื้อสัตว์
ปลา
อาหารทะเล
หน่อไม้ฝรั่ง
ผักโขม
ดอกกระหล่ำ
|
ข้าวไม่ขัดขาว
น้ำตาลและขนมหวาน
|
ในคนที่อ้วนควรลดน้ำหนักโดยทานอาหารให้มี
พลังงานต่ำประมาณวันละ 1,200
1,500
แคลอรี
ควรจำกัดอาหารที่มีไขมันสูงเพราะอาจกระตุ้นให้
อาการกำเริบได้
ควรงดเครื่องดื่มพวกโกโก
ช็อคโกแลต
ควรทานนมพร่องมันเนย
งดการดื่มสุราส่วนกาแฟอาจทานได้บ้างพอประมาณ
ควรทานผักใบเขียวที่มีธาตุเหล็กสูง
เพื่อทดแทน
ธาตุเหล็กที่ขาดเนื่องจากการงดทานเนื้อสัตว์
โดย พญ.รุ่งทิพย์
วรรณวิมลสุข
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
|


ThaiL@bOnLine - Crystal Diagnostics Co.,Ltd.
Email : vichai-cd@usa.net
|