| |
TOP


กลาก (ขี้กลาก) Ring worm / Tenia |
ลักษณะทั่วไป
กลาก (ขี้กลาก)
เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยมากในคนทุกวัย
บางครั้งอาจพบเป็นพร้อมกัน
หลายคนในบ้าน ในโรงเรียน
หรือวัด
เชื้อราพวกนี้สามารถทำให้เกิดโรคตามผิวหนังได้แทบ
ทุกส่วนของร่างกายถ้าพบที่ใบหน้า
คอ ลำตัวแขนขา เรียกว่า
กลากตามลำตัว (Tinea corporis)
เป็นชนิดที่พบได้บ่อยกว่าชนิดอื่นๆ
ถ้าพบที่ศีรษะ เรียกว่า
กลากที่ศีรษะ (Tinea capitis) ซึ่ง
พบมากในเด็ก
แต่พบน้อยในผู้ใหญ่
อาจพบในหมู่พระภิกษุเณร
และแม่ชีที่ใช้มีดโกนร่วมกัน
ถ้าพบที่ขาหนีบ เรียกว่า สังคัง
(Tinea cruris) ซึ่งพบมากในคนที่อับชื้น
มีเหงื่อออกมาก ผู้ชาย
เป็นมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3
เท่า ผู้ป่วยเอดส์
มักพบโรคกลากชนิดนี้ได้บ่อย
ถ้าพบที่ง่ามนิ้วเท้า
เรียกว่า ฮ่องกงฟุต
หรือน้ำกัดเท้า (Athlete's foot/Tinea pedis)
พบในผู้ชาย
มากกว่าผู้หญิง
เพราะใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่ทำให้อับชื้น
นอกจากนี้ยังพบในคนที่เท้าเปียกน้ำ
บ่อย ๆ (เช่น ย่ำน้ำ)
คนที่มีนิ้วเท้าบีบชิดกันตามธรรมชาติ
ทำให้ง่ามนิ้วเท้าอับชื้นง่าย
ถ้าพบที่เล็บ เรียกว่า
โรคเชื้อราที่เล็บ
(เล็บเป็นเชื้อรา)
หรือโรคกลากที่เล็บ
เกิดจากการลุกลาม
ของกลากจากส่วนอื่น
หรือได้รับเชื้อมาจากร้านเสริมสวย
ซึ่งใช้เครื่องมือที่ไม่สะอาดทำเล็บ
ของกลากจากส่วนอื่น
หรือได้รับเชื้อมาจากร้านเสริมสวย
ซึ่งใช้เครื่องมือที่ไม่สะอาดทำเล็บ
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อราพวกเดอร์มาโตไฟต์
(dermatophyte) เชื้อนี้มีอยู่หลายชนิด
ชอบเจริญอยู่เฉพาะ
ในผิวหนังชั้นนอกสุด
รวมทั้งเส้นผมและเล็บ
โรคนี้สามารถติดต่อได้ง่ายโดยการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง
หรือใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย
(เช่น
เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า
ผ้าเช็ดตัว หวี)
หรือติดมาจากร้านตัดผม
ร้านเสริมสวย หรือติดมาจาก
สัตว์เลี้ยงในบ้าน (เช่น สุนัข
แมว)
อาการ
กลากตามลำตัว
เริ่มแรกจะเป็นตุ่มแดง ๆ
แล้วค่อย ๆ ลามออกไป
จนมีลักษณะเป็นวงมีขอบ
เขตชัดเจน
ขอบนูนเล็กน้อยและมีสีแดง
มักมีตุ่มน้ำใสเล็ก ๆ หรือ ขุยขาว
ๆ อยู่รอบ ๆ วง วงนี้
จะลุกลามขยายออกไปเรื่อย ๆ
ส่วนผิวหนังที่อยู่ตรงกลาง ๆ วง
จะมีลักษณะเป็นผิวหนังที่ปกติ
เนื่องจากเป็นส่วนที่เป็นก่อนและเริ่มหายแล้ว
และอาจขึ้นเป็นวงติด ๆ กันหลายวง
หรือเป็นวง
ซ้อนกัน มักมีอาการคันเล็กน้อย
เมื่อเกามาก ๆ
อาจทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียอักเสบแทรกซ้อนได้
กลากที่ศีรษะ (เชื้อราที่ศีรษะ)
มีอาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ
ลักษณะเป็นวง ๆ สีเทา ๆ มีสะเก็ด
เป็นขุย ขาว ๆ
และมีปลายเส้นผมที่หักคาเป็นปลายสั้น
ๆ หรือเห็นเป็นจุดดำ ๆ
มักมีอาการคัน
ในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
จะมีเม็ดหนองเกิดขึ้นรอบ ๆ ขุมขน
และลุกลามเป็น
ก้อนนูนใหญ่แล้วแตกออก
มีน้ำเหลืองเกรอะกรัง เรียกว่า
ชันนะตุ
เมื่อหายแล้วมักจะเป็นแผล
ซึ่งไม่มีผมงอกอีกเลยสังคัง
(เชื้อราที่ขาหนีบ)
เริ่มแรกจะเป็นตุ่มแดง ๆ
ที่ต้นขาหรือขาหนีบ
แล้วลุกลามเป็นวงไปที่ต้นขาด้านใน
และ อวัยวะเพศภายนอก (อัณฑะ
หรือปากช่องคลอด)
หรืออาจลามไปที่ก้น
เป็นผื่นมีลักษณะสีแดง
มีสะเก็ดและขอบชัดเจน
บางคนอาจลุกลาม
รวมกันเป็นวงขนาดใหญ่
ลักษณะพระจันทร์ครึ่งซีก
มีอาการคัน
และมักเป็นทั้งสองข้าง บาง
คนอาจเกาจนมีน้ำเหลืองแฟะ
หรือผิวหนังหนา
เมื่อหายแล้วอาจกำเริบได้ใหม่
มักเป็นใน
ช่วงหน้าร้อนเพราะมีเหงื่ออับชื้น
การใส่กางเกงรัดแน่นเกินไป
หรือคนที่อ้วนมาก ๆ มีโอกาส
เป็นโรคนี้มากขึ้นฮ่องกงฟุต
(เชื้อราที่เท้า)
มักเป็นที่ง่ามเท้าที่ 3,4 และ 5
จะขึ้นเป็นขุยขาว ๆ
และยุ่ย ต่อมาลอกเป็นแผ่น
หรือสะเก็ด
แล้วแตกเป็นร่องและมีกลิ่น
ถ้าแกะลอกขุยขาว ๆ
ที่เปื่อยยุ่ยออกจะเห็นผิวหนังข้างใต้มีลักษณะแดง
ๆ
และมีน้ำเหลืองซึมมักมีอาการคันยิบ
ๆ
ร่วมด้วย
บางคนอาจลามไปที่ฝ่าเท้าหรือเล็บเท้า
อาจทำให้ฝ่าเท้าลอกเป็นขุยขาว ๆ
หรือเป็นตุ่มพอง
ใหญ่และคันมากโรคกลากที่เล็บ
(Tinea unguium)
ถ้าเป็นที่เล็บเท้ามักเกิดจากโรคฮ่องกงฟุต
ที่เป็นเรื้อรัง
จะเป็นที่นิ้วก้อยมากกว่านิ้วอื่น
ๆ เล็บจะด้านไม่เรียบตรง
และมีลักษณะขุ่น ต่อมา
เล็บจะหนาขึ้น
และผุกร่อนทั้งเล็บ
ถ้าเป็นที่เล็บมือ
มักมีอาการของโรคเชื้อราที่บริเวณอื่นมาก่อน
หรือติดเชื้อจากร้านเสริมสวย
(แต่งเล็บด้วยเครื่องมือไม่สะอาด)
เล็บจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
น้ำตาลขาวขุ่น ๆ เป็นหย่อม ๆ
ทำให้มีลักษณะขรุขระและยุ่ย
เล็บจะแยกจากหนังใต้เล็บ
ถ้าเป็นมากเล็บจะผุกร่อนทั้งเล็บ
บางคนอาจพบเป็นเกือบทุกเล็บ
บางคนอาจพบเป็นเกือบทุกเล็บ
การรักษา
1. ถ้าเป็นที่ผิวหนัง ง่ามเท้า
หรือฝ่าเท้าทาด้วยขึ้ผึ้งรักษากลากเกลื้อน
หรือครีมรักษาโรคเชื้อรา
วันละ 2-3 ครั้ง ถ้าดีขึ้น
ควรทาติดต่อกันทุกวันนาน 3-4
สัปดาห์อย่างน้อย
เพื่อรอให้ผิวหนังที่
ปกติงอกขึ้นมาแทนที่ในรายที่เป็น
ๆ หาย ๆ เรื้อรัง
หรือแผ่บริเวณกว้าง
อาจต้องรักษาด้วยยา
ฆ่าเชื้อราชนิดกิน ได้แก่
กริซีโอฟุลวิน นาน 4 สัปดาห์
(ที่เท้ากินยานาน 6-8 สัปดาห์)
สำหรับป่วยฮ่องกงฟุต
ควรล้างเท้าให้สะอาด
และเช็ดให้แห้ง
อย่าปล่อยให้อับชื้น
ควรใส่รองเท้า
สานโปร่ง (เปิดเล็บเท้า)
แทนการสวมถุงเท้าและรองเท้าอย่างมิดชิด
2.
ถ้าเป็นเชื้อราที่ศีรษะหรือเล็บ
ใหกินยาฆ่าเชื้อราได้แก่
กริซีโอฟุลวิน
ถ้าเป็นที่ศีรษะ
ควรให้ยากินติดต่อกันทุกวันนาน
6-8 สัปดาห์ และควรตัดผมให้สั้น
สระผมด้วย
แชมพูคีโตโคนาโซลสัปดาห์ละ 2
ครั้ง
ถ้าเป็นที่เล็บนิ้วมือ
ควรกินยานาน 4-6 เดือน
ส่วนที่เล็บเท้ากินยานาน 12-18
เดือน บางครั้งอาจ
ต้องถอดเล็บ และ
ใช้ยาฆ่าเชื้อราทา
บางคนกว่าจะหายขาดอาจต้องใช้เวลารักษาเป็นปี
ต้องถอดเล็บ และ
ใช้ยาฆ่าเชื้อราทา
บางคนกว่าจะหายขาดอาจต้องใช้เวลารักษาเป็นปี
ข้อแนะนำ
1.
โรคเชื้อราอาจพบในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ
เช่น ผู้ป่วยเอดส์ , เบาหวาน
หรือกินยารักษามะเร็ง
เป็นประจำ เป็นต้น
ถ้าพบคนที่เป็นโรคเชื้อราเรื้อรัง
ควรค้นหาสาเหตุ และแก้ไข
2.
ห้ามใช้ครีมสเตอรอยด์ทารักษาโรคเชื้อรา
มิฉะนั้นอาจทำให้ลุกลามได้
3. อาการผื่นคันเรื้อรัง
บางครั้งอาจแยกไม่ออกระหว่างโรคเชื้อรากับอาการผื่นคันจากการแพ้
โดยเฉพาะถ้าเป็นที่ ขาหนีบ
หรือซอกเท้า (ฮ่องกงฟุต)
ถ้าผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้
ก็ลอง
ทาด้วยครีมสเตอรอยด์ดูก่อน
หากเกิดจากการแพ้มักจะได้ผล
แต่ถ้าทาแล้วกลับลามมากขึ้น ก็
อาจจะเกิดจากเชื้อรา
ในทางตรงกันข้ามถ้าไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้
และผื่นลุกลามออกไปเรื่อย ๆ
ก็ลองทาด้วยยาฆ่าเชื้อราดูก่อนหากไม่ได้ผลค่อยเปลี่ยนไปรักษาแบบโรคภูมิแพ้
หากไม่แน่ใจ
ควรส่งไปตรวจที่โรงพยาบาล
เพื่อจะขูดเอาขุย ๆ
ของผิวหนังส่วนที่เป็นโรค
ใส่น้ำยา
โพแทสเซียม ไฮดรอกไซด์ ขนาด 10%
แล้วนำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
ถ้าเป็นกลาก จะพบ
เชื้อรา
เชื้อรา
การป้องกัน
การป้องกัน
โรคเชื้อราอาจป้องกันได้โดย
1.
อย่าคลุกคลีหรือใช้ของร่วมกับคนที่เป็นโรคนี้
2.
อาบน้ำฟอกสบู่ทุกวันอย่างน้อยวันละ
2 ครั้ง และเช็ดตัวให้แห้ง
ระวังอย่าให้มีเหงื่ออับชื้น
อยู่เสมอ
3. สำหรับโรคสังคัง
อาจป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงการใช้กางเกงในที่รัดแน่น
หรืออบเกินไป,
ถ้าอ้วนควรลดความอ้วน,
หลังอาบน้ำควรเช็ดบริเวณนั้นให้แห้ง
และใช้แป้งธรรมดาโรย
4. สำหรับโรคฮ่องกงฟุต
อาจป้องกันได้โดยอย่าใส่ถุงเท้าที่อบเกินไป
(เช่น ถุงเท้าไนล่อน),
หลังอาบน้ำควรเช็ดบริเวณง่ามเท้าให้แห้ง,
ถ้าซอกเท้าเปียกน้ำ (เช่น ย่ำน้ำ)
หรือมีเหงื่อ
ออกมาก
ควรล้างเท้าให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
ออกมาก
ควรล้างเท้าให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
รายละเอียด
ป้องกันโรคเชื้อราด้วยการรักษาร่างกายให้สะอาด
และระวังอย่าให้มีเหงื่ออับชื้น
ออกมาก
ควรล้างเท้าให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
รายละเอียด
ป้องกันโรคเชื้อราด้วยการรักษาร่างกายให้สะอาด
และระวังอย่าให้มีเหงื่ออับชื้น
|

ลักษณะทั่วไป
เกลื้อน
เป็นโรคเชื้อราของผิวหนังชนิดหนึ่ง
พบได้บ่อยในคนหนุ่นสาว
พบน้อยในเด็กและคนสูงอายุ
มักพบในคนที่ใส่เสื้อผ้าที่อบ
หรือ
มีเหงื่อออกมาก เช่น
คนที่ทำงานกลางแดด (ชาวไร่ ชาวนา
กรรมกร) ทำงานแบกหาม
ขับรถยนต์ นักกีฬา เป็นต้น
คนที่เป็นเกลื้อนซ้ำแล้วซ้ำอีก
อาจมีภาวะบางอย่างที่สนับสนุน
ให้เกิดโรค เช่น
การมีเหงื่อออกมากผิดปกติ
การตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจาง
ขาดอาหาร
วัณโรค หรือการได้สเตอรอยด์
ติดต่อกันนาน ๆ เป็นต้น
โรคนี้ติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งได้ยากมาก
การเกิดโรคขึ้นกับภาวะร่างกายของผู้ป่วย
ที่เสริมให้เชื้อราที่มีอยู่บนผิวหนังของผู้ป่วย
เจริญงอกงามมากกว่าการติดโรคจากการสัมผัส
กับคนที่เป็นเกลื้อน
อาจพบเป็นเรื้อรัง
ในผู้ป่วยเอดส์
มีเหงื่อออกมาก เช่น
คนที่ทำงานกลางแดด (ชาวไร่ ชาวนา
กรรมกร) ทำงานแบกหาม
ขับรถยนต์ นักกีฬา เป็นต้น
คนที่เป็นเกลื้อนซ้ำแล้วซ้ำอีก
อาจมีภาวะบางอย่างที่สนับสนุน
ให้เกิดโรค เช่น
การมีเหงื่อออกมากผิดปกติ
การตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจาง
ขาดอาหาร
วัณโรค หรือการได้สเตอรอยด์
ติดต่อกันนาน ๆ เป็นต้น
โรคนี้ติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งได้ยากมาก
การเกิดโรคขึ้นกับภาวะร่างกายของผู้ป่วย
ที่เสริมให้เชื้อราที่มีอยู่บนผิวหนังของผู้ป่วย
เจริญงอกงามมากกว่าการติดโรคจากการสัมผัส
กับคนที่เป็นเกลื้อน
อาจพบเป็นเรื้อรัง
ในผู้ป่วยเอดส์
มีเหงื่อออกมาก เช่น
คนที่ทำงานกลางแดด (ชาวไร่ ชาวนา
กรรมกร) ทำงานแบกหาม
ขับรถยนต์ นักกีฬา เป็นต้น
คนที่เป็นเกลื้อนซ้ำแล้วซ้ำอีก
อาจมีภาวะบางอย่างที่สนับสนุน
ให้เกิดโรค เช่น
การมีเหงื่อออกมากผิดปกติ
การตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจาง
ขาดอาหาร
วัณโรค หรือการได้สเตอรอยด์
ติดต่อกันนาน ๆ เป็นต้น
โรคนี้ติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งได้ยากมาก
การเกิดโรคขึ้นกับภาวะร่างกายของผู้ป่วย
ที่เสริมให้เชื้อราที่มีอยู่บนผิวหนังของผู้ป่วย
เจริญงอกงามมากกว่าการติดโรคจากการสัมผัส
กับคนที่เป็นเกลื้อน
อาจพบเป็นเรื้อรัง
ในผู้ป่วยเอดส์
มีเหงื่อออกมาก เช่น
คนที่ทำงานกลางแดด (ชาวไร่ ชาวนา
กรรมกร) ทำงานแบกหาม
ขับรถยนต์ นักกีฬา เป็นต้น
คนที่เป็นเกลื้อนซ้ำแล้วซ้ำอีก
อาจมีภาวะบางอย่างที่สนับสนุน
ให้เกิดโรค เช่น
การมีเหงื่อออกมากผิดปกติ
การตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจาง
ขาดอาหาร
วัณโรค หรือการได้สเตอรอยด์
ติดต่อกันนาน ๆ เป็นต้น
โรคนี้ติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งได้ยากมาก
การเกิดโรคขึ้นกับภาวะร่างกายของผู้ป่วย
ที่เสริมให้เชื้อราที่มีอยู่บนผิวหนังของผู้ป่วย
เจริญงอกงามมากกว่าการติดโรคจากการสัมผัส
กับคนที่เป็นเกลื้อน
อาจพบเป็นเรื้อรัง
ในผู้ป่วยเอดส์
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา ที่มีชื่อว่า
มาลาสซีเซีย เฟอร์เฟอร์ (Malassezia furfur)
หรือ พิไทโรสปอรัม
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา ที่มีชื่อว่า
มาลาสซีเซีย เฟอร์เฟอร์ (Malassezia furfur)
หรือ พิไทโรสปอรัม
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา ที่มีชื่อว่า
มาลาสซีเซีย เฟอร์เฟอร์ (Malassezia furfur)
หรือ พิไทโรสปอรัม
ออร์บิคูลาเร (Pityrosporum orbiculare)
ซึ่งเป็นเชื้อราที่มีอยู่ตามหนังศีรษะ
ของคนเราเป็นปกติ
วิสัยอยู่แล้ว
ในคนปกติถึงแม้จะมีเชื้อราชนิดนี้อยู่บนร่างกายก็ไม่ได้ทำให้เกิดโรค
แต่คนบางคน
ที่มีเหงื่อออกมาก
เชื้อรานี้จะเจริญงอกงามจนทำให้กลายเป็นเกลื้อน
อาการ
มีผื่นขึ้นเป็นดวงกลมเล็ก ๆ
ขนาดประมาณ 4-5 มิลลิเมตร
จำนวนหลายดวง กระจายทั่วไปใน
บริเวณที่มีเหงื่อออกมาก เช่น
หน้า ซอกคอ หลัง ไหล่ เป็นต้น
ผื่นมักแยกกันอยู่เป็นดวง ๆ บาง
ครั้งอาจมาต่อกันเป็นแผ่นขนาดใหญ่
ผื่นจะมีสีได้หลายสีตั้งแต่สีขาว
น้ำตาลจาง ๆ จนถึง
น้ำตาลแดง เห็นเป็นรอยด่าง
หรือรอยแต้ม ในระยะที่เป็นใหม่ ๆ
ถ้าเอาเล็บขูดผื่นเหล่านี้ จะ
ร่วนออกมาเป็นสะเก็ดขาวเป็นขุย
ๆคนที่เป็นมักไม่มีอาการคัน
ยกเว้นในบางครั้งขณะมีเหงื่อ
ออกมาก
อาจรู้สึกคันเล็กน้อยพอรำคาญ
การรักษา
ทาด้วยยาน้ำโซเดียม
ไทโอซัลเฟตชนิด 20%
ซึ่งสามารถซื้อเป็นยาสำเร็จรูป
หรืออาจเตรียม
เองโดยผสมตัวยานี้
(หาซื้อจากร้านถ่ายรูปก็ได้
มีชื่อว่า ไฮโป
ซึ่งใช้ผสมเป็นน้ำยาล้างรูป)
หนัก 12 กรัม
กับน้ำกลั่นหรือน้ำสุกที่ใส่เต็มขวดยาขนาด
60 มล. (เช่น ขวดที่ใส่ยาชนิดน้ำ
เชื่อม)
ยานี้ผสมแล้วจะเสื่อมภายใน 2
สัปดาห์
ถ้าใช้อีกต้องเตรียมใหม่ ทาบาง ๆ
วันละ 2 ครั้ง
เช้า เย็นหลังอาบน้ำ
ถ้าดีขึ้นควรทาติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา
3-4 สัปดาห์ หรือจะใช้ครีมรักษา
โรคเชื้อรา
แทนก็ได้หรือจะใช้แชมพูสระผมเซลซัน
(มีตัวยาซีลีเนียม ซัลไฟด์)
โดยอาบน้ำเช็ด
ตัวให้แห้งก่อน
แล้วใช้สำลีชุบยาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน
ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วอาบน้ำใหม่
ล้าง
ยาออก ทำเช่นนี้วันละครั้งนาน 6
สัปดาห์ แต่ระวังอาจแพ้
เกิดอาการบวมแดงคัน หรือเหมือน
น้ำร้อนลวกได้
ถ้าแพ้ควรเลิกใช้หรือใช้แชมพูคีโตโคนาโซล
ทาทิ้งไว้ 5 นาที แล้วล้างออก
วันละ
ครั้ง ติดต่อกัน 5
วันในรายที่เป็นมาก
และบริเวณกว้าง
หรือเป็นเรื้อรัง
ให้กินคีโตโคนาโซล
ข้อแนะนำ
1.
อย่าใส่เสื้อผ้าที่อับเหงื่อนาน
ๆ
ควรรักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้าอยู่เสมอ
2.
บางคนเมื่อรักษาหายแล้วอาจกำเริบได้ใหม่อีก
อาจป้องกันได้
โดยทายาตัวใดตัวหนึ่งดังกล่าว
ทุกเดือน เดือนละ 2 วันติดต่อกัน
ทาวันละ 2 ครั้ง
เช้าเย็นหลังอาบน้ำ
หรือกินยาคีโตโคนาโซล
400 มก. เดือนละครั้ง
3. ห้ามทาด้วยครีมสเตอรอยด์
อาจทำให้โรคลุกลามได้
เวลาซื้อยาจากร้านยามาใช้เอง
ระวัง
อย่าซื้อยาที่เข้าสเตอรอยด์มาใช้
4. อย่าใช้ขี้ผึ้งเบอร์ต่าง ๆ
หรือยาน้ำที่ทาแสบ ๆ
เพราะไม่ค่อยได้ผล
บางคนอาจทำให้ผิวหนัง
ไหม้และอักเสบได้
5. คนที่เคยเป็นเกลื้อน
เมื่อหายแล้ว อาจเป็นใหม่ได้อีก
เพราะเชื้อราที่เป็นสาเหตุ
เป็นเชื้อราที่อยู่ในร่างกายของคนเราเป็นปกติวิสัยอยู่แล้ว
แต่ถ้าเป็นๆ หาย ๆ เรื้อรัง
ควรให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุ
อาจมีภาวะผิดปกติของร่างกายอื่น
ๆ
ร่วมด้วย
6. รอยด่างขาวที่ผิวหนัง
ถ้าเป็นเกลื้อน
ผิวหนังบริเวณนั้น
จะย่นเล็กน้อย
และมีสะเก็ดบางเลื่อม
สีขาว น้ำตาล หรือแดงเรื่อ ๆ
คลุมอยู่บนผิว เวลาเอาเล็บขูด
จะเป็นขุย
ควรแยกออกจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น
โรคด่างขาว กลากน้ำนม
ซึ่งทาด้วยยารักษาเกลื้อน
จะไม่ได้ผล
รายละเอียด
เกลื้อนชอบขึ้นในบริเวณที่มีเหงื่อมาก

ลักษณะทั่วไป
คีลอยด์ (แผลปูด) หมายถึง
แผลเป็นที่ปูดโปน
มีขนาดใหญ่กว่าแผลเป็นธรรมดา
เป็นภาวะ
ที่พบได้บ่อย เฉพาะคนบางคน
คนที่เคยเป็นคีลอยด์
เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้น
ก็มักจะกลายเป็น
คีลอยด์ได้อีก
สาเหตุ
เกิดจากการงอกผิดปกติของเนื้อเยื่อผิวหนังส่วนที่เป็นแผล
อาจเกิดกับบาดแผลได้ทุกชนิด
เช่น บาดแผลผ่าตัด
บาดแผลที่เกิดจากได้รับบาดเจ็บ
บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ถูกแมง
กะพรุนไฟ รอยฉีดวัคซีนบีซีจี
รอยสิว เป็นต้น เมื่อแผลหายใหม่ ๆ
อาจมีลักษณะเป็นปกติธรรมดา
แต่ต่อมาอีกหลายสัปดาห์จะค่อย
ๆ งอกโตขึ้น จนเป็นแผลปูด
บางครั้งคีลอยด์อาจเกิดจากแผล
เป็นธรรมดาที่มีอยู่เดิมมานานหลายปี
หรือ
เกิดในบริเวณที่ไม่มีรอยแผลเป็นมาก่อนก็ได้
อาการ
มีลักษณะเป็นก้อนเนื้องอก
แข็งและหยุ่น ๆ คล้ายยาง
เป็นรูปไข่แผ่ออกคล้ายก้ามปู
มีสีแดงหรือ
ชมพู ผิวมัน อาจมีอาการคัน
และกดเจ็บ ก้อนอาจคงที่ หรือค่อย
ๆ โตขึ้นก็ได้ มักไม่หายเอง มัก
พบเพียงหนึ่งก้อน
แต่ก็อาจพบหลายก้อนได้
สามารถพบได้ทุกแห่งของร่างกาย
แต่จะพบมาก
บริเวณหน้าอก หลัง ไหล่ แขน
และขา
การรักษา
ถ้าขึ้นในบริเวณที่มิดชิด
หรือไม่มีลักษณะที่น่าเกลียด
ก็ไม่ต้องให้การรักษาแต่อย่างไร
นอกจาก
ถ้ามีอาการคัน
ให้ทาด้วยครีมสเตอรอยด์
แต่ถ้าก้อนโตน่าเกลียด
หรือทำให้ขาดความสวยงาม
อาจต้องรักษาด้วยการฉีดยาสเตอรอยด์
เช่น ไตรแอมซิโนโลน อะเซโทไนด์
(Triamcinolone acetonide) เข้าไปในแผลคีลอยด์
อาจช่วย
ให้แผลเป็นฝ่อเล็กลงได้บ้าง
ในรายที่มีขนาดใหญ่
อาจต้องทำการผ่าตัดแล้วฉีดยานี้
เมื่อแผลเริ่ม
หายภายใน 1-2 สัปดาห์
นอกจากนี้อาจรักษาด้วยวิธีอื่น
ๆ เช่น รังสีรักษา (ฉายรังสี)
การผ่าตัด
ด้วยความเย็นที่เรียกว่า
ไครโอเซอเจอรี (Cryosurgery)
ข้อแนะนำ
1. คีลอยด์เป็นเนื้องอกธรรมดา
ไม่ใช่มะเร็งหรือเนื้อร้าย
และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างไร
2. คีลอยด์
จะเกิดขึ้นกับเฉพาะคนบางคนเท่านั้น
ซึ่งผิวหนังจะมีธรรมชาติแตกต่างไปจากคนปกติ
เมื่อมีบาดแผล
ก็จะทำให้เกิดเป็นแผลปูด
ทั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการกินของแสลง
(เช่น เนื้อ ไข่) ดังที่
ชาวบ้านเข้าใจกันแต่อย่างไร
3. ห้ามรักษาคีลอยด์
ด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว
(โดยไม่ฉีดยาสเตอรอยด์ตามใน 1-2
สัปดาห์
ต่อมา) เป็นอันขาด
เพราะแผลเป็นที่เกิดขึ้น
จะกลายเป็นคีลอยด์ที่ใหญ่ขึ้นไปกว่าเดิมได้อีก
4.
ควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้เกิดแผลเป็น
เช่น การบีบ หรือแกะสิว
รายละเอียด
แผลปูดไม่ใช่เกิดจากการกินของแสลง

ลักษณะทั่วไป
งูสวัด เป็นโรคที่พบได้บ่อย
ซึ่งจะพบได้มากขึ้นตามอายุ
ในเด็กเล็กจะพบได้น้อย
พบในผู้ชาย
มากกว่าผู้หญิงโรคนี้จะมีอาการรุนแรงขึ้น
และระยะที่เป็นจะนานขึ้นตามอายุมักจะเป็นเพียง
ครั้งเดียวในชีวิต
เมื่อหายแล้วจะไม่เป็นซ้ำอีก
(ตรงข้ามกับโรคเริมที่เป็นซ้ำซากไม่หายขาด)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้องูสวัด หรือ
เฮอร์ปีส์ซอสเตอร์ (Herpes zoster)
ซึ่งเป็นไวรัสตัวเดียวกับที่ทำให้เกิด
อีสุกอีใส
ติดต่อโดยการสัมผัสกับคนที่เป็นงูสวัด
หรืออีสุกอีใส
คนที่ได้รับเชื้อไวรัสดังกล่าว
เป็นครั้งแรกในชีวิต
จะเกิดอีสุกอีใส
แล้วเชื้อจะหลบเข้าไปอยู่ที่ปม
ประสาท แฝงตัวอยู่อย่างสงบ
เป็นเวลานานหลายปี จนโตขึ้น
เมื่อร่างกายมีภาวะภูมิต้านทาน
โรคอ่อนแอ เช่น
ถูกกระทบกระเทือน, มีความเครียด,
ติดเชื้อเอชไอวี, เป็นมะเร็ง,
ใช้ยากดอิมมูน
(ภูมิคุ้มกัน) เป็นต้น
เชื้อก็จะ.แบ่งตัว
จนเกิดเป็นงูสวัด
อาการ
เริ่มแรกจะรู้สึกไม่ค่อยสบาย
อาจมีไข้ขึ้น ปวดตามผิวกาย
โดยเฉพาะตามแนวเส้นประสาทที่
จะเกิดเป็นงูสวัด
บางคนอาจปวดมาก
หรือปวดแสบปวดร้อนคล้ายถูกไฟไหม้
มักพบเพียงซีก
ใดซีกหนึ่งของทรวงอก ใบหน้า
หรือแขนขา 3-4
วันต่อมาจะมีเม็ดผื่นแดง ๆ
ขึ้นตรงบริเวณที่
ปวดแล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใส 2-3
วันต่อมาจะเป็นตุ่มเหลืองขุ่น
ตุ่มเหล่านี้มักเรียงกันเป็นแถว
ยาวตามแนวเส้นประสาท
ต่อมาจะแตกและค่อย ๆ
ยุบไปจนแห้งเป็นสะเก็ดต่อมน้ำเหลือง
ในบริเวณใกล้เคียง
(เช่นที่รักแร้, คอ)
มักโตและเจ็บด้วย
โรคนี้มักจะหายไปเองใน 2-3 สัปดาห์
คนอายุมากอาจเป็นนาน 4-5 สัปดาห์
สิ่งตรวจพบ
มักตรวจพบตุ่มน้ำใสเรียงเป็นแถวยาวตามแนวเส้นประสาท
และต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้
เคียงโต
อาการแทรกซ้อน
อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
ทำให้กลายเป็นตุ่มหนอง
โรคหายช้าและกลายเป็นแผล
เป็นถ้าเกิดขึ้นที่กระจกตา
(ตาดำ)
อาจทำให้กระจกตาอักเสบเป็นแผล
ตาบอดได้
นอกจากนี้ อาจพบอาการปวดประสาท
(neuralgia), อัมพาตปากเบี้ยว
หรือเส้นประสาทเป็น
อัมพาต
(อาการอัมพาตมักเป็นชั่วคราว)
ในรายที่มีภาวะภูมิคุ้มกันโรคต่ำ
เช่น เอดส์ มะเร็ง ใช้ยากดอิมมูน
อาจเป็นงูสวัดชนิดแพร่
กระจาย คล้ายอีสุกอีใส
(จะมีตุ่มขึ้นอยู่นอกแนวเส้นประสาทที่เป็น
มากกว่า 20 ตุ่ม) อาการ
มักจะรุนแรง เป็นอยู่นาน
อาจกระจายเข้าสู่สมอง
และอวัยวะภายในอื่น ๆ
เป็นอันตรายร้าย
แรงถึงตายได้
การรักษา
1. ในรายที่อาการไม่รุนแรง
ให้การรักษาตามอาการ เช่น
ถ้าปวดให้ยาแก้ปวด ถ้าปวดแสบ
ปวดร้อน ทายา แก้ผดผื่นคันหรือ
ครีมพญายอ
ขององค์การเภสัชกรรมถ้าตุ่มกลายเป็น
หนองเฟะ
จากการติดเชื้อแทรกซ้อน
ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น
คล็อกซาซิลลิน, อีริโทรไมซิน
2. ถ้าขึ้นที่บริเวณหน้า
หรือพบเป็นชนิดแพร่กระจาย
(ออกนอกแนวเส้นประสาท) หรือ พบใน
คนอายุมากกว่า 60 ปี
หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
ควรส่งโรงพยาบาล
ในรายที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
หรือเป็นชนิดแพร่กระจาย
อาจต้องพักในโรงพยาบาล และให้
อะไซโคลเวียร์ชนิดฉีด
เข้าหลอดเลือดในขนาด 10-12.5
มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก
8 ชั่วโมง นาน 7 วัน
ในคนอายุมากกว่า 60 ปี
และในรายที่ขึ้นบริเวณหน้า
ให้กินอะไซโคลเวียร์
ครั้งละ 800 มก. วันละ 5 ครั้ง ทุก 4
ชั่วโมง นาน 7 วัน
แต่จะต้องเริ่มให้ ภายใน 48-72
ชั่วโมง
หลังเกิดอาการ
จึงจะได้ผลในการลดความรุนแรง
และย่นเวลาให้หายเร็วขึ้น
รวมทั้งอาจลด
อาการปวดประสาทแทรกซ้อนในภายหลังได้ในรายที่ขึ้นที่ตา
นอกจากกินยาดังกล่าวแล้ว
ควรปรึกษาจักษุแพทย์
อาจต้องใช้ยาป้ายตาอะไซโคลเวียร์ร่วมด้วย
3.ในรายที่มีอาการปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด
(post-zoster neuralgia) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อน
ที่พบได้บ่อยที่สุด
มีลักษณะปวดลึก ๆ
แบบปวดแสบปวดร้อน ตลอดเวลา หรือ
ปวดแปล๊บ ๆ
ปวดเสียวเป็นพัก ๆ หรือ
ปวดเมื่อถูกสัมผัสเพียงเบา ๆ
พบว่ายิ่งอายุมาก ยิ่งปวดรุนแรง
และ
เป็นนาน มักจะหายได้เอง ภายใน 3-6
เดือน
แต่บางคนอาจปวดนานเกิน 6 เดือน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ถ้าขึ้นที่บริเวณหน้า
ระหว่างที่มีอาการ
ปวดประสาทให้พาราเซตามอล
บรรเทาปวด ถ้าไม่ได้ผล
ให้กินอะมิทริปไทลีน (Amitriptyline)
เริ่มต้นด้วยขนาด 10 มก.ต่อวัน
แล้วค่อย ๆ เพิ่มขนาดทุกสัปดาห์
จนได้ผล ถ้าใช้ขนาดสูง
(ประมาณวันละ 75-150 มก.)
ควรแบ่งให้วันละ 3 ครั้ง
ยานี้อาจทำให้ ง่วงนอน
ปากคอแห้ง
ถ้าปวดมาก
ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
อาจต้องใช้ยาชาฉีด ทา หรือพ่น
โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งในรายที่มีอาการปวดประสาทนานเกิน
6 เดือน
ซึ่งมักจะใช้วิธีระงับปวดแบบ\อื่น
ๆไม่ค่อย
ได้ผล
ข้อแนะนำ
1. โรคนี้สำหรับคนทั่วไป
ถือว่าไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง
และจะหายได้เองเป็นส่วนใหญ่
การรักษาเพียง
แต่ให้การบรรเทาตามอาการ
ยกเว้นในผู้สูงอายุ
และคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
และงูสวัดที่ขึ้น
บริเวณตา
ต้องให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัส
2.
สมุนไพรที่นิยมใช้รักษาโรคนี้มาแต่โบราณ
ได้แก่ ต้นเสลดพังพอน (พญายอ
ชองระอา ก็เรียก)
ได้มีวิจัยพบว่า
มีสรรพคุณในการรักษาโรคนี้
ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรม
ได้ผลิตเป็นครีมสำเร็จรูป
ชื่อ ครีมพญายอ
สามารถใช้ทารักษาโรคนี้ร่วมด้วยได้
หรือจะใช้วิธีเอาต้นเสลดพังพอนสด
ล้างน้ำ
ให้สะอาด และบดให้ละเอียด
แล้วนำน้ำคั้นมาทาบริเวณแผลงูสวัดก็ได้
3. เดิมแพทย์เคยนิยมให้สเตอรอยด์
ในระยะแรกที่เป็นงูสวัด
เพื่อป้องกันอาการปวดประสาท
แทรกซ้อนตามมา
แต่มีการศึกษาพบว่า
ไม่ได้ผลจริง (ถึงแม้ยานี้
จะสามารถลดอาการปวดที่
เกิดขึ้น
ในระยะที่เริ่มเป็นใหม่ ๆ ก็ตาม)
วิธีป้องกันการเกิดอาการดังกล่าวที่ได้ผลดี
ก็คือ
การให้ยาต้านไวรัส-อะไซโคลเวียร์
กินตั้งแต่แรก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในคนอายุมากกว่า 60 ปี
และคนที่มีงูสวัดขึ้นที่บริเวณหน้า
4. ชาวบ้านเรามักมีความเชื่อว่า
ถ้างูสวัด (งูตวัด ก็เรียก
ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะอาการ)
เป็นรอบเอวเมื่อใด
จะทำให้ตายได้ แต่ความจริงแล้ว
โรคนี้มีโอกาสทำให้ตายน้อยมาก
และ
ส่วนมากจะขึ้นเพียงข้างเดียวเท่านั้น
ถ้าจะเป็นอันตราย
ก็เกิดจากการอักเสบซ้ำจากเชื้อ
แบคทีเรีย
จนอาจกลายเป็นโลหิตเป็นพิษ
ซึ่งปัจจุบันก็สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ
อย่างไรก็ตาม
งูสวัดที่จะเป็นรุนแรงทั่วร่างกาย
อาจพบในคนที่มีภาวะที่ทำให้ภูมิต้านทานโรค
ต่ำ เช่น เอดส์
เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
หรือได้รับยากดอิมมูน (immuno suppressive)
ซึ่ง
อาจมีอันตรายถึงตายได้
รายละเอียด
ถ้างูสวัดขึ้นตา
อาจทำให้ตาบอดได้

ลักษณะทั่วไป
ผมร่วง(ผมบาง)
เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย
แต่จะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
มีสาเหตุได้มากมายหลายอย่าง
บางอย่างจะเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์
เช่น ศีรษะเถิก เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์
เช่น ศีรษะเถิก
ศีรษะล้าน
ศีรษะล้าน
บางอย่างอาจมีสาเหตุจากโรคต่าง
ๆ เช่น ซิฟิลิส เอสแอลอี ,
ต่อมไทรอยด์
ทำงานน้อย , กลาก , ขาดอาหาร,
โรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นต้น
บางอย่างอาจเกิดขึ้นโดยไม่
ทราบสาเหตุก็ได้
ในที่นี้จะกล่าวถึงสาเหตุที่พบบ่อย
สาเหตุ
1. ผมร่วงตามธรรมชาติ
เส้นผมบนศีรษะของคนเรามีประมาณ
100,000 เส้น ประมาณ 85%-90% จะอยู่ในช่วง
ที่มีการเจริญงอกงามซึ่งจะงอกยาวขึ้น
วันละประมาณ 0.35 มิลลิเมตร
และสามารถมี
อายุอยู่ได้นาน 2-6 ปี
แล้วจะหยุดการเจริญงอกงาม
ในส่วนที่เข้าระยะที่หยุดการเจริญ
งอกงามจะมีอยู่ประมาณ 10%-15%
ซึ่งจะร่วงไปในระยะประมาณ 3 เดือน
การหวีผม
หรือสระผม
จะช่วยให้เส้นผมเหล่านี้ร่วงหลุดง่ายขึ้น
คนปกติจะมีผมร่วงเป็นประจำทุกวัน
แต่ไม่เกินวันละ 100 เส้น
ซึ่งถือว่าเป็นผมร่วงตามธรรมชาติ
หลังจากนั้นก็มีเส้นผมใหม่งอก
ขึ้นมาแทน วนเวียนไปเรื่อย ๆ
แบบเดียวกับเซลล์ของผิวหนังที่มีบางส่วนที่ตาย
และหลุด
ลอกออกมาเป็นขี้ไคลทุกวัน
คนบางคน
เมื่อมีความวิตกกังวลอะไรบางอย่าง
จะมีอาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ
ใจสั่น
และอาจรู้สึกว่ามีอาการผมร่วงผิดปกติ
ซึ่งความจริงผมของคนเหล่านี้มิได้ร่วงมากผิด
ธรรมชาติ (คือไม่เกินวันละ 100
เส้น) แต่เนื่องจากความวิตกกังวล
จึงกลัวว่าจะ เป็นโรคอะไร
ผู้ป่วยเหล่านี้จะไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างไร
นอกจากอาการของโรคกังวล
ผมร่วงชนิดนี้
เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดของคนที่บ่นว่า
มีอาการผมร่วง
2. ผมร่วงกรรมพันธุ์
ผมร่วงชนิดนี้เป็นภาวะที่พบได้บ่อย
พบได้ทั้งสองเพศ
แต่จะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
เกิดจากกรรมพันธุ์ คือ
จะมีพ่อแม่พี่น้องที่ผมบาง
(ศีรษะเถิก หรือศีรษะล้าน)
เช่นเดียวกัน
ทำให้รากผมบริเวณที่ร่วงมีความไวต่อฮอร์โมนเพศชาย
ที่เรียกว่า "แอนโดรเจน (androgen)"
ทำให้เส้นผมมีอายุสั้นกว่าปกติ
จึงร่วงเร็วกว่าบริเวณที่ปกติ
(โดยที่จำนวนเส้นผมที่ร่วงใน
แต่ละวันไม่ได้มากกว่าปกติ)
แล้วเส้นผมที่เกิดขึ้นใหม่
จะมีขนาดเล็กบางและสั้นลงจนเป็น
เส้นขนอ่อน ๆ
ทำให้บริเวณนั้นดูว่าผมบางหรือไม่มีผม
โดยมากจะเป็นตรงบริเวณหน้าผาก
และตรงกลางศีรษะ
ส่วนด้านข้างและด้านหลังมักจะปกติมักเริ่มแสดงอาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
หรือเมื่อมีอายุตั้งแต่ 20
ปีขึ้นไป
และจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ
ในผู้ชาย ถ้าเป็นไม่มากผมจะบาง
เฉพาะบริเวณหน้าผาก
กลายเป็นศีรษะเถิกมีรูปร่างเหมือนตัวอักษร
M ถ้าเป็นมาก จะทำให้
ศีรษะล้าน แบบที่เรียกว่า
ทุ่งหมาหลง หรือ
ดงช้างข้ามส่วนในผู้หญิงมักจะเริ่มแสดงอาการ
หลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
มักจะร่วงทั่ว ๆ ไป
โดยเฉพาะตรงบริเวณกลางกระหม่อม
ทำให้แลดูผมบางลง
อาการจะเป็นมากน้อยขึ้นกับกรรมพันธุ์ที่ได้รับมา
และอายุยิ่งมาก ก็ยิ่ง
เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ
บางคนอาจเกิดร่วมกับการมีรังแคมาก
ทำให้มีอาการคัน
และมีขี้รังแคมาก
3. ผมร่วงจากซิฟิลิส
ซิฟิลิส
เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ชนิดหนึ่ง
ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ขอให้อ่านรายละเอียด
เพิ่มเติมอาการผมร่วง
อาจเป็นอาการแสดงออกของ
ผู้ป่วยซิฟิลิสในระยะที่ 2
ผู้ป่วยอาจมีอาการ
เป็นไข้หนาว ๆ ร้อน ๆ
ปวดเมื่อยตามตัว
หรือมีผื่นขึ้นทั่วตัวร่วมด้วย
ส่วนอาการผมร่วง อาจร่วง
เป็นกระจุก ๆ เวลาหวีผม
และจำนวนที่ร่วงในแต่ละวันมากกว่าปกติ
(ปกติไม่ควรร่วงเกินวันละ
100 เส้น)
ลักษณะของหนังศีรษะบริเวณ
ที่มีผมร่วง
อาจดูคล้ายถูกแมลงแทะเป็นหย่อม
ๆ แต่
บางคนอาจมีผมร่วงทั่วศีรษะก็ได้
มักจะพบมีเส้นผมตกตาม
หมอนและที่นอน และถ้าใช้มือดึง
เส้นผมเบา ๆ
ก็จะมีเส้นผมหลุดติดมือมาง่ายกว่าปกติผู้ป่วยมักมีประวัติเที่ยวผู้หญิง
หรือมี
เพศสัมพันธ์
กับคนที่เป็นโรคนี้มาก่อน
และก่อนหน้าที่จะมีอาการผมร่วงเพียงไม่กี่เดือน
หรือไม่
กี่สัปดาห์
อาจมีแผลขึ้นที่อวัยวะสืบพันธุ์
(ซิฟิลิสระยะแรก)
แต่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
4.
ผมร่วงเนื่องจากผมหยุดเจริญชั่วคราว
ปกติเส้นผมของคนเราจะมีอายุนาน
2-6 ปี แล้วจะหยุดการเจริญงอกงาม
ในแต่ละวันจึงมีเส้นผม
ประมาณ 10%-15%
ที่เสื่อมและหลุดร่วงไป
แต่ในบางภาวะ
เส้นผมที่กำลังเจริญอาจหยุดการเจริญในทันที
ทำให้มีเส้นผมเสื่อมและหลุดร่วง
เพิ่มจำนวนมากกว่าปกติ (เช่น
เพิ่มเป็น 30%)
ดังนั้นจึงทำให้เกิดอาการผมร่วงมากกว่าปกติได้
สาเหตุที่ทำให้ผมหยุดการเจริญชั่วคราว
ที่พบได้บ่อย เช่น
(1) ผู้หญิงหลังคลอด
ผมมักร่วงหลังคลอดประมาณ 3 เดือน
เนื่องจากขณะคลอดเส้นผมบางส่วน
เกิดหยุดการเจริญในทันที
ต่อมาอีก 2-3 เดือน
ผมเหล่านี้ก็จะร่วง
(2)
ทารกแรกเกิดอาจมีอาการผมร่วงในระยะ
1-2 เดือนแรก แล้วจะค่อย ๆ
มีผมงอกขึ้นใหม่
(3) เป็นไข้สูง เช่น ไข้รากสาดน้อย
ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ เป็นต้น
จะมีอาการผมร่วง (หัวโกร๋น)
หลังเป็นไข้ ประมาณ 2-3 เดือน
(4) ได้รับการผ่าตัดใหญ่
(5) เจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น วัณโรค,
เบาหวาน , โลหิตจาง, ขาดอาหาร
เป็นต้น
(6) การเสียเลือด การบริจาคเลือด
(7) การใช้ยา เช่น ยาคุมกำเนิด,
อัลโลพูรินอล, โพรพิลไทโอยูราซิล,
เฮพาริน เป็นต้น
(8) ภาวะเครียดทางจิตใจ เช่น ตกใจ
เสียใจ เศร้าใจ เป็นต้น
ผู้ป่วยจะมีอาการผมร่วงมากผิดปกติ
(มากกว่าวันละ 100 เส้น)
ลักษณะร่วงทั่วศีรษะ
ซึ่งมักจะมี
อาการตามหลัง
สาเหตุเหล่านี้ประมาณ 2-3 เดือน
และอาจจะเป็นอยู่นาน 2-6 เดือน
ก็จะหายได้
เองอย่างสมบูรณ์
5. ผมร่วงจากโรคอื่น ๆ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคบางอย่าง เช่น
เอสเอลอี , ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ,
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
ก็อาจมีอาการผมร่วง ผมบาง
ร่วมกับ อาการของโรคเหล่านี้
เช่น เป็นไข้เรื้อรัง ปวดตามข้อ
มีผื่น
ปีกผีเสื้อขึ้นที่หน้า
ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น
6. ผมร่วงจากยาและการฉายรังสี
ยาที่อาจทำให้เกิดอาการผมร่วงมีอยู่หลายชนิด
เช่น ยารักษามะเร็ง,
ยาป้องกันการแข็งตัวของ
เลือด (anticoagulants) เช่น เฮพาริน (Heparin),
ยารักษาคอพอกเป็นพิษ,
ยาคุมกำเนิด,
คอลชิซีน, อัลโลพูรินอล (Allopurinol)
ซึ่งใช้ป้องกัน โรคเกาต์, แอมเฟตามีน (Amphetamine)
เป็นต้น นอกจากนี้
การฉายรังสีในการรักษามะเร็ง
ก็อาจทำให้ผมร่วงได้
7. โรคผมร่วงหย่อมไม่ทราบสาเหตุ
ผมร่วงเป็นหย่อม
อาจมีสาเหตุจากเชื้อรา (กลาก),
ซิฟิลิส, การถอนผม, รอยแผลเป็น
หรือ
สาเหตุอื่น ๆ
แต่มีโรคผมร่วงเป็นหย่อมอยู่ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้น
โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
เรียกว่า
"โรคผมร่วงหย่อมไม่ทราบสาเหตุ
(Alopecia areata)"
เป็นภาวะที่พบได้เป็นครั้งเป็นคราว
พบ
มากในวัยหนุ่มสาว
พบน้อยในคนอายุเกิน 45 ปี ขึ้นไป
ทั้งหญิงและชายมีโอกาสเป็นเท่า
ๆ กัน
ภาวะเครียดทางจิตใจอาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการได้
ผู้ป่วยจะมีอาการผมร่วงเฉพาะที่
ทำให้ผมแหว่งหายไปเป็นหย่อม ๆ
มีลักษณะกลมหรือรี ขอบเขตชัดเจน
ตรงกลางไม่มีเส้นผม
แต่จะเห็นรูขน
หนังศีรษะในบริเวณนั้นเป็นปกติทุกอย่าง
ไม่แดง ไม่เจ็บ ไม่คัน
ไม่เป็นสะเก็ด
หรือเป็นขุย
ในระยะแรกจะพบเส้นผมหักโคนเรียงอยู่บริเวณขอบ
ๆ บางคนอาจพบเส้นผมสีขาว
ขึ้นในบริเวณนั้นผู้ป่วยอาจมีผมร่วงเพียง
1-2 หย่อม หรืออาจมากกว่า 10 หย่อม
ถ้าเป็นมาก
อาจลุกลามจนทั่วศีรษะ
จนไม่มีเส้นผมเหลืออยู่เลยแม้แต่เส้นเดียว
บางคนอาจมีอาการขนตา
และขนคิ้วร่วงร่วมด้วย เรียกว่า
"ผมร่วงทั่วศีรษะ (Alopecia totalis)"
ผู้ป่วยส่วนมากจะหายได้
เองตามธรรมชาติ
แต่อาจกินเวลาเป็นปีกว่าจะหาย
(ประมาณ 50% ของผู้ป่วยหายภายใน 1 ปี
ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วย
จะมีผมขึ้นภายใน 5 ปี)
บางคนเมื่อหายแล้ว
อาจกำเริบได้ใหม่เป็น ๆ
หาย ๆ บ่อยครั้ง ประมาณ 40%
ของผู้ป่วยจะกำเริบซ้ำอีกภายใน 5
ปี หรือไม่อาจมีคนอื่น ๆ ใน
ครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย
(โดยที่ไม่ได้เป็นโรคติดต่อแต่อย่างไร)
บางครั้งอาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ
เช่น
ต่อมไทรอยด์อักเสบจากออโตอิมมูน,
โรคแอดดิสัน,
โรคด่างขาว เป็นต้น
8. ผมร่วงจากเชื้อรา
โรคเชื้อราที่ศีรษะ
(กลากที่ศีรษะ)
อาจพบได้บ่อยในเด็ก
แต่จะไม่ค่อยพบในผู้ใหญ่
เกิดจากการ
ติดเชื้อรา
ซึ่งมักจะลุกลามจากบริเวณอื่นของร่างกาย
โรคนี้ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ
คล้ายโรคผมร่วงหย่อมไม่ทราบสาเหตุ
แต่จะมีลักษณะขึ้นเป็น
ผื่นแดง
คันและเป็นขุยหรือสะเก็ด
นอกจากนี้มักจะพบร่องรอยของโรคเชื้อรา
(กลาก) ที่ มือ เท้า
ลำตัวหรือในบริเวณร่มผ้าร่วมด้วย
การขูดเอาขุยที่หนังศีรษะ
หรือเอาเส้นผมในบริเวณนั้นมา
ละลายด้วยน้ำยาโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
(KOH) แล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
จะพบเชื้อรา
ที่เป็นสาเหตุ
9. ผมร่วงจากการถอนผม
พบได้บ่อยในเด็กที่มีปัญหากดดันทางจิตใจด้วยสาเหตุต่าง
ๆ เช่น ปัญหาทางครอบคัว ปัญหา
การเรียน เป็นต้น
เด็กบางคนอาจถอนผมเล่นจนเป็นนิสัย
โดยไม่มีปัญหาทางจิตใจก็ได้
(เรียก
อาการนี้ว่า Trichotillomania)
ผู้ป่วยจะถอนผมตัวเองเล่น
จนผมร่วงหรือผมแหว่ง บางคนอาจ
เอามาเคี้ยวกินเล่น ถ้ากินมาก
ๆ
อาจทำให้เกิดการอุดตันของกระเพาะลำไส้ได้
เด็กบางคนอาจถอนผมเฉพาะตอนก่อนนอน
ซึ่งจะพบว่ามีเส้นผมตกอยู่ตามหมอนทุกวัน
เส้นผม
เหล่านี้จะไม่มีต่อมรากผม
หนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วง
จะไม่มีผื่นคัน หรือเป็นขุย
และจะพบเส้นผม
ที่เป็นตอสั้น ๆ อยู่มาก
เนื่องจากผู้ป่วยถอนออกไม่ถนัด
10. รอยแผลเป็นที่หนังศีรษะ
รอยแผลเป็นที่หนีงศีรษะ
อาจเกิดจากบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
ถูกสารเคมี หรือเกิดจากการ
ติดเชื้อ รุนแรงจากแบคทีเรีย
(เช่น ฝี พุพอง ชันนะตุ) เชื้อรา
(เช่น กลาก) หรือ งูสวัด ทำให้เป็น
แผลเป็น ไม่มีผมขึ้นอย่างถาวร
11. ผมร่วงจากการทำผม
การทำผมด้วยการม้วนผม ดัดผม
เป่าผม หรือวิธีอื่น ๆ
อาจทำให้มีอาการผมร่วงได้
ไม่ถือว่าเป็น
สาเหตุร้ายแรง
การรักษา
1. ผมร่วงธรรมชาติ
ให้ยากล่อมประสาท เช่น ไดอะซีแพม
และให้การดูแลรักษาแบบเดียวกับโรคกังวล
ส่วนอาการผมร่วง
ไม่ต้องให้ยารักษาแต่อย่างไร
ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า
ไม่ใช่เรื่องผิด
ธรรมชาติ และไม่ทำให้ผมบาง
หรือศีรษะล้าน
แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 1 เดือน
หรือสงสัยจะเกิดจากสาเหตุอื่น
เช่น ซิฟิลิส เอสแอลอี หรือ โรค
เรื้อรังอื่น ๆ
ควรส่งโรงพยาบาล
เพื่อตรวจหาสาเหตุ
2. ผมร่วงกรรมพันธุ์
ในปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ป้องกันและรักษาที่ได้ผล
100 เปอร์เซ็นต์
ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึง
สาเหต
และทำใจยอมรับสภาพของตนเอง
ถือเป็นธรรมชาติของคน ๆ นั้น
เนื่องจากกรรมพันธุ์
เป็นตัวกำหนดปัจจุบันเริ่มค้นพบสาเหตุของการเกิดผมบาง
ผมร่วงมากแบบกรรมพันธุ์ และมียา
ทั้งแผนปัจจุบันและแบบสารสกัดธรรมชาติ
เพื่อช่วยบรรเทาอาการให้กลับมาดีขึ้นได้
แต่ต้อง
ทานอย่างต่อเนื่อง
ถ้ารู้สึกน่าเกลียดหรือมีปมด้อย
อาจแนะนำให้ใส่ผมปลอม (วิก)
การทอผม การผ่าตัดปลูกถ่ายผม
ในบางรายอาจใช้ยาน้ำไมน็อกซิดิล
(Minoxidil) ขนาด 2-3% ทาทุกวัน
ถ้าได้ผลผมจะเริ่มงอก
4-6 เดือนหลังทายา
และได้ผลสูงสุดหลังทายา 12 เดือน
ควรทาติดต่อทุกวันไปตลอด
หรือใช้ยา ฟีแนสเตอไรด์ Finasteride
ขนาด 1 mg ทานทุกวัน
ถ้าได้ผลผมจะเริ่มงอก 2-4 เดือน
หลังทานยา
และได้ผลสูงสุดหลังทานยา 12 เดือน
ควรทานติดต่อทุกวันไปตลอด ดูรายละเอียด
เพิ่มเติม
ดูรายละเอียด
เพิ่มเติม
3. ผมร่วงจากซิฟิลิส
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล
เพื่อตรวจเลือดหา วีดีอาร์แอล (VDRL)
ถ้าเป็นโรคนี้จริง ควร
ให้การรักษาแบบซิฟิลิส ระยะที่
2 (ดูโรคที่ ซิฟิลิส)
ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องมักทำให้
กลายเป็นซิฟิลิสระยะที่ 3
ซึ่งเป็นอันตรายได้
4.
ผมร่วงเนื่องจากผมหยุดเจริญชั่วคราว
ถ้ามีสาเหตุชัดเจน (เช่น หลังคลอด
หลังผ่าตัด จิตใจเครียด)
ก็ไม่ต้องให้การรักษาแต่อย่างไร
ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ
และรอให้ผมงอกขึ้นใหม่ถ้าไม่แน่ใจ
ควรส่งโรงพยาบาล หากสงสัย
โรคซิฟิลิส อาจต้องเจาะเลือด
ตรวจวีดีอาร์แอล
(เลือดบวก)
5. ผมร่วงจากโรคอื่น ๆ
หากสงสัยมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ
เช่น เอสแอลอี,
ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย,
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
เป็นต้น ควรส่งไปตรวจโรงพยาบาล
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามหัวข้อของโรคเหล่านี้)
6. ผมร่วงจากยาและการฉายรังสี
หากสงสัย
ควรแนะนำให้ผู้ป่วยกลับไปปรึกษาแพทย์ที่รักษาอยู่เดิม
7. โรคผมร่วงหย่อมไม่ทราบสาเหตุ
หากสงสัย
ควรแนะนำไปตรวจที่โรงพยาบาล
อาจต้องเจาะเลือดตรวจหาวีดีอาร์แอล
หรือขูดเอา
หนังส่วนนั้นไปตรวจ
เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เกิดจากซิฟิลิส
หรือเชื้อรา
ถ้าเป็นโรคผมร่วงหย่อมไม่ทราบสาเหตุ
ก็ให้ใช้ครีมสเตอรอยด์ เช่น
ครีมไตรแอมซิโนโลนอะเซโทไนด์
หรือ ครีมบีตาเมทาโซนขนาด 0.1%
หรือทาด้วยขี้ผึ้งแอนทราลิน (Anthralin)
ขนาด 0.5% วันละครั้ง
ถ้าไม่ได้ผลใน 1 เดือน
ก็อาจฉีดยาสเตอรอยด์ (เช่น
ไตรแอมซิโนโลนอะเซโทไนด์)
เข้าใต้หนังใน
บริเวณที่เป็นทุก 2 สัปดาห์
ในรายที่เป็นรุนแรง
(ผมร่วงทั้งศีรษะ)
อาจต้องให้เพร็ดนิโซโลน
ชนิดกินยาเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้
ผมงอกเร็วขึ้น
8. ผมร่วงจากเชื้อรา
ให้กินยาฆ่าเชื้อรา ได้แก่
กริซีโอฟุลวิน
ซึ่งอาจต้องให้นาน 6-8 สัปดาห์
9. ผมร่วงจากถอนผม
ควรอธิบายให้ผู้ปกครองทราบถึงสาเหตุ
และหาทางห้ามปรามเด็กมิให้ถอนผมเล่น
ถ้าหยุดถอน
ผมก็จะขึ้นได้เองในรายที่มีปัญหาทางจิตใจ
อาจให้ยากล่อมประสาท เช่น
ไดอะซีแพม ถ้าไม่ได้
ผลควรปรึกษาจิตแพทย์
10. รอยแผลเป็นที่หนังศีรษะ
ไม่มียาที่ใช้รักษาอย่างได้ผล
ถ้าจำเป็นอาจต้องทำการผ่าตัดปลูกผม
11. ผมร่วงจากการทำผม
ถ้าผมร่วงมาก
ควรหลีกเลี่ยงการม้วนผม ดัดผม
เป่าผม
ถ้าไม่ได้ผลควรปรึกษาแพทย์
ข้อแนะนำ
โรคผมร่วงหย่อมไม่ทราบสาเหตุ
1.
โรคนี้อาจมีลักษณะคล้ายโรคเชื้อราที่ศีรษะ
ซึ่งสามารถตรวจให้แน่ชัด
โดยการขูดเอาขุย ๆ ที่
หนังศีรษะไปตรวจ
ถ้าเป็นโรคเชื้อรา
ก็จะพบเชื้อราที่เป็นต้นเหตุ
อย่างไรก็ตามในกรณีที่ไม่มีโอกาส
ตรวจพิเศษ
ถ้าหากรักษาแบบเชื้อราแล้วอาการไม่ดีขึ้น
ก็ควรจะนึกถึงโรคผมร่วงหย่อมไม่ทราบ
สาเหตุ
2. โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ
ดังนั้นจึงไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะเกิดการแพร่โรคโดยการสัมผัสใกล้ชิด
3.
โรคนี้จะหายได้เองโดยธรรมชาติอยู่แล้ว
การใช้ยาสีฟัน ยาขัดรองเท้า
น้ำมันมะกอก ยาสมุนไพร
หรือยาปลูกผมชนิดต่าง ๆ
ทาแล้วได้ผล
ก็เพราะตรงกับจังหวะที่ผมากำลังงอกขึ้นใหม่พอดี
ไม่เกี่ยว
กับยาที่ใช้แต่อย่างไร
ดังนั้นไม่ควรเปลืองเงิน
ซื้อยาปลูกผมต่าง ๆ มาใช้เอง หรือ
เสียเงินแพง ๆ
ไปเข้ารับการรักษาตามศูนย์ต่าง
ๆ ถ้าจะใช้ยา
ควรขอคำแนะนำจากแพทย์
ซึ่งจะใช้สเตอรอยด์ทา
หรือฉีด จะได้ผลกว่า

ลักษณะทั่วไป
ตาปลา หมายถึง
ผิวหนังที่ด้านหนาขึ้นเนื่องจากแรงกด
หรือแรงเสียดสีนาน ๆ มักเกิดตรง
บริเวณ ที่มีปมกระดูกนูน
ตำแหน่งที่พบได้บ่อย ได้แก่
บริเวณ ฝ่าเท้า และใต้นิ้วเท้า
ตาปลาเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป
และเป็นโรคที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนแต่อย่างไร
ยกเว้น
ในผู้ป่วยเบาหวาน
ถ้าเป็นตาปลาแล้วไม่ได้รับการรักษา
อาจมีการอักเสบรุนแรงได้
สาเหตุ
สาเหตุที่พบได้บ่อย คือ
การใส่รองเท้าคับแน่น
ไม่เหมาะกับเท้า
หรือการเดินลงน้ำหนักที่ไม่
เหมาะสม
ทำให้มีแรงกดตรงใต้ฝ่าเท้า
หรือนิ้วเท้านาน ๆ
จึงเกิดการสร้างเนื้อเยื่อพังผืดแข็ง
ๆ
ขึ้นมารองรับจุดนั้นแทนเนื้อธรรมดา
ตาปลาอาจมีลักษณะคล้ายหูดที่ฝ่าเท้า
ต่างกันตรงที่ถ้า
ใช้มีดฝาน หูดจะมีเลือดไหลซิบ
ๆ แต่ตาปลาไม่มี
อาการ
ผิวหนัง
ส่วนที่เป็นตาปลามีลักษณะด้านหนา
หรือเป็นไตแข็ง
แต่ถ้าตาปลามีขนาดโตอาจทำให้
มีอาการปวดเจ็บได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาใส่รองเท้า
การรักษา
1.
ควรเปลี่ยนไปใช้รองเท้าที่มีขนาดพอดีไม่คับ
หรือบีบแน่นเกินไป
และใช้ฟองน้ำรองส่วนที่เป็น
ตาปลาไว้
เวลาใส่รองเท้าเพื่อลดแรงเสียดสี
ตาปลาที่เป็นไม่มากมักจะค่อย ๆ
หายไปได้เองในเวลา
หลายสัปดาห์
2.
ใช้พลาสเตอร์ที่มีกรดซาลิไซลิกขนาด
40% ปิดส่วนที่เป็นตาปลา
ซึ่งจะค่อย ๆ ลอกตาปลา
ออกไปหรือใช้ยากัดตาปลา
หรือหูด ซึ่งมีกรดซาลิไซลิกผสม
มีชื่อทางการค้า เช่น คอลโลแมก
(Collomack), ดูโอฟิล์ม (Duofilm), ฟรีโซน (Free zone)
ก่อนทายา
ให้แช่ตาปลาด้วยน้ำอุ่นใน
อ่าง
หรือโดยใช้ขวดยาน้ำของเด็กใส่น้ำอุ่น
แล้วคว่ำลงไปที่ตาปลา นาน 20 นาที
แล้วใช้ตะไบ
เล็บ
หรือผ้าขนหนูขัดบริเวณตาปลา
จะช่วยให้ผิวหนังที่เป็นขุย ๆ
หลุดออกไป แล้วจึงทายา ทำ
วันละ 1-2 ครั้งเวลาทายา
ระวังอย่าให้น้ำยาถูกผิวหนังปกติ
ข้อแนะนำ
1. ควรแก้ไขที่สาเหตุ คือ
ลดแรงเสียดสี
โดยเลือกใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้า
2. ถ้าไม่จำเป็น
ควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัด
หรือจี้ด้วยไฟฟ้า
จะทำให้เป็นแผลเป็น
และเจ็บทุกครั้ง
ที่ลงน้ำหนัก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ถ้าเป็นที่บริเวณส้นเท้า
3. ห้ามใช้มีด หรือของมีคมเฉือน
อาจทำให้แผลอักเสบและบวม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เป็น
เบาหวาน


ลักษณะทั่วไป
ผื่นแพ้จากกรรมพันธุ์
(ผื่นคันเอกซีม่า ก็เรียก)
เป็นโรคที่พบบ่อยในทารก เด็กโต
และคนหนุ่ม
คนสาว
ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเป็นเท่ากัน
เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์
ทั้งผู้ป่วยและ
ครอบครัว
มักจะมีประวัติโรคภูมิแพ้ เช่น
หืด , หวัดจากการแพ้ , ลมพิษ
มักตรวจพบว่าผู้ป่วย
มีสารภูมิแพ้ ที่เรียกว่า
"อิมมูโนโกลบูลินอี (lmmunoglobulin E)"
หรือ "ไอจีอี (lgE)" ในเลือดสูง
กว่าปกติ
อาการผื่นคันส่วนมากจะเกิดขึ้น
โดยหาสาเหตุที่แน่นอนไม่ได้
บางคนอาจพบว่าแพ้
อาหาร นมวัว (ทารกที่กินนมวัว
มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าทารกที่กินนมแม่)
ฝุ่นละออง สบู่
ขนสัตว์ อากาศร้อน
หรืออากาศหนาว แสงแดด เป็นต้น
นอกจากนี้การได้รับบาดเจ็บหรือ
เป็น
โรคติดเชื้อของ ผิวหนัง
หรือทางเดินหายใจก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการได้
สาเหตุ
เกิดจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
อาการ
แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะทารก
ระยะเด็ก และระยะผู้ใหญ่
ระยะทารก
จะเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุได้ 2-6
เดือน (เฉลี่ย 4 เดือน)
โดยมีอาการผื่นแดง และ
ตุ่มน้ำใสคัน
บางครั้งมีลักษณะเป็นหนังแห้งกว่าปกติ
เป็นขุย
และเป็นสะเก็ดขึ้นที่จมูก แก้ม
หน้าผาก ศีรษะ
ซึ่งมักจะขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง
บางครั้งอาจลามไปที่ลำตัวตอนบน
แขนขา
และบริเวณที่สัมผัสผ้าอ้อมมักจะเป็น
ๆ หาย ๆ เรื้อรัง
อาการมักจะกำเริบขณะฟันจะขึ้น
หรือ
มีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ
ส่วนมากจะหายได้เมื่ออายุ 2-4 ปี
ในพวกที่ไม่หาย
ก็จะเข้าสู่อาการในระยะเด็ก
ระยะเด็ก จะขึ้นเป็นผื่นแดง
อาจมีตุ่มน้ำปน มีอาการคันมาก
เมื่อเกาหรือถูมาก ๆ หนังอาจหนา
ขึ้น มักพบเป็นบริเวณข้อพับ
เช่น แขนพับ ข้อมือ ขาพับ ข้อเท้า
รอบคอ มักเป็นทั้งสองข้างของ
ร่างกายคล้ายคลึงกันบางคนอาจเกาจนน้ำเหลืองเยิ้ม
หรือเป็นหนองจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
อาจพบมีต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง
มีการอักเสบร่วมด้วย
ระยะผู้ใหญ่
จะมีผื่นคันที่ข้อพับต่าง ๆ
เช่นเดียวกับพบในระยะเด็ก
อาการมักจะกำเริบเวลามี
ภาวะเครียดทั้งทางร่างกาย
และจิตใจ
หรือในระยะก่อนมีประจำเดือน
อาการจะน้อยลงเมื่ออายุ
20 กว่าปี และจะค่อย ๆ
หายไปเมื่ออายุ 30 ปี
สิ่งตรวจพบ
ผื่นแดงและตุ่มน้ำใส
ผิวหนังอาจมีลักษณะหนาตัวขึ้น
บางครั้งอาจพบมีน้ำเหลืองเยิ้ม
อาการแทรกซ้อน
อาจเกาจนมีเชื้อแบคทีเรียเข้าไปอักเสบซ้ำเติม
กลายเป็นตุ่มหนอง หรือแผลพุพอง
ถ้าติดเชื้อเริม
อาจเป็นเริมชนิดร้ายแรงได้
ในรายที่เป็นเรื้อรัง
อาจพบว่าเป็นต้อกระจก
ตั้งแต่อายุ 20-40 ปี
การรักษา
1. ทาด้วยครีมสเตอรอยด์ เช่น
ครีมเพร็ดนิโซโลน
หรือครีมบีตาเมทาโซน
2. ถ้าคันมากให้ยาแก้แพ้ เช่น
คลอร์เฟนิรามีน,ไดเฟนไฮดรามีน
หรือไฮดรอกไซซีน ถ้านอน
ไม่หลับ
หรือชอบเกาตอนนอนควรให้ไดอะซีแพม
ก่อนนอน
3. ถ้าเป็นหนองพุพอง
ควรชะล้างด้วยน้ำเกลือ
และให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนวี ,
คล็อกซาซิลลิน ,
อีริโทรไมซิน กินนาน 10 วัน
4. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์
ควรส่งไปตรวจที่โรงพยาบาล
อาจต้องให้กินเพร็ดนิโซโลนนาน
10 วัน
ข้อแนะนำ
1.
ควรแนะนำข้อปฎิบัติตัวของผู้ป่วย
ดังนี้
1.1 ควรหลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคือง
อย่าอาบน้ำบ่อย
ควรอาบวันละครั้ง
และใช้สบู่อ่อนถูตัว
1.2
รักษาอุณหภูมิรอบตัวให้พอเหมาะ
อย่าให้ร้อนหรือหนาวไป
อย่าอาบน้ำร้อน อย่าใส่เสื้อผ้า
หนา หรืออบเกินไป
1.3 งดอาหารที่อาจทำให้แพ้ง่าย
(เช่น นม, ไข่, อาหารทะเล)
รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่แพ้ง่าย
(เช่น แอสไพริน เพนวี ซัลฟา)
ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ
1.4 เสื้อผ้า ถุงเท้า ควรใช้ผ้าฝ้าย
อย่าใช้ขนสัตว์
1.5 ควรตัดเล็บให้สั้น
เพื่อป้องกันการเกาด้วยเล็บสกปรก
1.6
ควรใช้ครีมทาผิวให้เกิดความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
1.7
ควรหลีกเลี่ยงภาวะเครียดทางจิตใจ
2. โรคนี้ชาวบ้านอาจเรียกว่า
โรคน้ำเหลืองเสีย
ความจริงโรคนี้ไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับน้ำเหลือง
แต่อย่างไร
แต่เนื่องจากผู้ป่วยมักมีอาการคันและเกาจนน้ำเหลืองเยิ้ม
จึงเรียกชื่อตามอาการที่พบ
ทั้งนี้อาจหมายถึงอาการ
ผื่นคันอื่น ๆ เช่น ลมพิษ,
ผื่นแพ้จากการสัมผัส , พุพอง
3. โรคนี้จะหายได้เอง เมื่อโตขึ้น
ยกเว้นในรายที่มีอาการตั้งแต่เล็ก
หรือมีผื่นคันขึ้นทั่วร่างกาย
หรือเป็นโรคหืดร่วมด้วย
ก็อาจจะเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง
ไม่ค่อยหายขาด

ลักษณะทั่วไป
ผื่นแพ้จากการสัมผัส
หมายถึง อาการผื่นคัน
ที่เกิดจากการสัมผัสถูกสิ่งกระตุ้นจากภายนอกร่างกาย
ซึ่งเป็นสารระคายเคือง
หรือสารที่ทำให้เกิดการแพ้ได้ง่าย
โดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีความผิดปกติ
ทางกรรมพันธุ์เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้
การเกิดผื่นอาจเป็นผลมาจากข้อใดข้อหนึ่ง
ดังนี้
1. การระคายเคืองต่อผิวหนัง
เนื่องจากการถูกสารระคายเคือง
ทำให้ผิวหนังเกิด การอักเสบ เช่น
กรด
ด่าง สบู่ ผงซักฟอก ยางไม้
(ยางมะม่วง ต้นรัก) เป็นต้น
2. การแพ้
โดยที่ผู้ป่วยจะต้องเคยสัมผัสถูกสารแพ้มาอย่างน้อยครั้งหนึ่งก่อน
แล้วร่างกายถูกกระตุ้น
ให้สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา
เมื่อสัมผัสซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
ก็ทำให้เกิดอาการแพ้
การสัมผัสครั้งแรกกับครั้ง
หลัง อาจห่างกันเป็นวัน ๆ
เป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้
สารที่ทำให้เกิดการแพ้ได้ง่าย
เช่น โลหะ (นิกเกิล
โครเมียม โคบอลด์ เงิน ปรอท)
ยาทาเฉพาะที่ (เช่น เพนิซิลลิน
ซัลฟา นีโอไมซิน แอนติฮิสตามีน
ยาชา) พลาสเตอร์, เครื่องสำอาง
(เช่น ยาย้อมผม น้ำหอม ยาทาเล็บ
ลิปสติก), เครื่องแต่งกาย
(รองเท้า ถุงมือ เสื้อผ้า),
ปูนซีเมนต์, สี , สารเคมีต่าง ๆ
เป็นต้น
โรคนี้จึงพบบ่อยในคนที่ทำงานบ้าน
โรงงานอุตสาหกรรม
หรือมีอาชีพที่ต้องสัมผัสถูกสารดังกล่าว
เป็นประจำ
อาการ
มีลักษณะเป็นผื่นแดงหรือขึ้นเป็นตุ่มน้ำใสเล็ก
ๆ มีอาการคันมาก
ซึ่งจะขึ้นเฉพาะบริเวณที่สัมผัสถูก
สิ่งที่แพ้
อาจทำให้เห็นเป็นรอยของสิ่งที่แพ้
เช่น รอยสายนาฬิกา สร้อยคอ
ขอบกางเกง สายรองเท้า
เป็นต้น
บางคนอาจเป็นตุ่มน้ำใส
อาจติดต่อกันจนเป็นตุ่มพองใหญ่
เมื่อแตกออก จะมีน้ำเหลืองไหล
และมี
สะเก็ดเกรอะกรัง
เมื่ออาการทุเลา
ผิวหนังอาจแห้งเป็นขุย
หรือหนาตัวขึ้นชั่วคราว
บางคนผิวหนัง
อาจคล้ำลง
หรือเป็นรอยด่างขาวชั่วคราว
อาการแทรกซ้อน
อาจเกาจนมีอาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
การรักษา
1.
ควรหาสาเหตุที่แพ้แล้วหลีกเลี่ยง
โดยสังเกตจาก
1.1 ตำแหน่งที่เป็น เช่น
ที่ศีรษะอาจแพ้ยาย้อมผม
แชมพูสระผม น้ำมันใส่ผม,
ที่ใบหูอาจแพ้ตุ้มหู,
ที่ใบหน้าอาจแพ้เครื่องสำอาง,
ที่คออาจแพ้น้ำหอม สร้อยคอ,
ที่ลำตัวอาจแพ้เสื้อผ้า สบู่,
ที่ขาและ
เท้า อาจแพ้ถุงเท้า รองเท้า
(หนังหรือยาง),
ที่มือและเท้าอาจแพ้ผงซักฟอก
ปูนซีเมนต์, ที่แขนหรือ
ขา อาจแพ้ยุงแมลง เป็นต้น
1.2 อาชีพ และงานอดิเรก เช่น
คนขับรถอาจแพ้เบนซิน
น้ำมันเครื่อง,
แม่บ้านหรือคนซักผ้าอาจแพ้
ผงซักฟอก,
ช่างปูนอาจแพ้ปูนซีเมนต์
เป็นต้น
2. รักษาผื่นแพ้โดย
2.1 ชะแผลด้วยน้ำเกลือ
แล้วเช็ดให้แห้ง
2.2 ทาด้วยครีมสเตอรอยด์ เช่น
ครีมเพร็ดนิโซโลน
หรือครีมบีตาเมทาโซน
ถ้าเป็นบริเวณกว้าง ควร
ให้กินยาแก้แพ้ เช่น
คลอร์เฟนิรามีน, ไดเฟนไฮดรามีน
หรือไดรอกไซซีน ครั้งละ 1/2 - 1 เม็ด
วันละ
3-4 ครั้ง
2.3 ถ้ามีหนองหรือน้ำเหลืองไหล
ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนวี ,
คล็อกซาซิลลิน หรือ
อีริโทรไมซิน
3. ในรายที่เป็นรุนแรง
ควรส่งโรงพยาบาล
อาจต้องให้เพร็ดนิโซโลน
กินนาน 10 วัน
4. ในรายที่เป็นเรื้อรัง
ควรแนะนำไปโรงพยาบาลเพื่อทำการทดสอบทางผิวหนัง
โดยวิธี Patch test
(ใช้น้ำยาที่มีสารต่าง ๆ
ปิดที่หลัง
แล้วดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น)
เพื่อหาสาเหตุ
ซึ่งจะได้หาทางหลีกเลี่ยง)
ข้อแนะนำ
การรักษาโรคนี้ขึ้นอยู่กับการค้นหาสาเหตุของการแพ้
ซึ่งส่วนมากจะวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติ
และตำแหน่งที่เป็น
หรือไม่ก็สามารถบอกจากการทดสอบทางผิวหนัง
ถ้าหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ได้มักจะหาย
ใน 2-3 สัปดาห์หรือ 2-3 เดือน
ทางกรรมพันธุ์เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้
การเกิดผื่นอาจเป็นผลมาจากข้อใดข้อหนึ่ง
ดังนี้
1. การระคายเคืองต่อผิวหนัง
เนื่องจากการถูกสารระคายเคือง
ทำให้ผิวหนังเกิด การอักเสบ เช่น
กรด
ด่าง สบู่ ผงซักฟอก ยางไม้
(ยางมะม่วง ต้นรัก) เป็นต้น
2. การแพ้
โดยที่ผู้ป่วยจะต้องเคยสัมผัสถูกสารแพ้มาอย่างน้อยครั้งหนึ่งก่อน
แล้วร่างกายถูกกระตุ้น
ให้สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา
เมื่อสัมผัสซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
ก็ทำให้เกิดอาการแพ้
การสัมผัสครั้งแรกกับครั้ง
หลัง อาจห่างกันเป็นวัน ๆ
เป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้
สารที่ทำให้เกิดการแพ้ได้ง่าย
เช่น โลหะ (นิกเกิล
โครเมียม โคบอลด์ เงิน ปรอท)
ยาทาเฉพาะที่ (เช่น เพนิซิลลิน
ซัลฟา นีโอไมซิน แอนติฮิสตามีน
ยาชา) พลาสเตอร์, เครื่องสำอาง
(เช่น ยาย้อมผม น้ำหอม ยาทาเล็บ
ลิปสติก), เครื่องแต่งกาย
(รองเท้า ถุงมือ เสื้อผ้า),
ปูนซีเมนต์, สี , สารเคมีต่าง ๆ
เป็นต้น
โรคนี้จึงพบบ่อยในคนที่ทำงานบ้าน
โรงงานอุตสาหกรรม
หรือมีอาชีพที่ต้องสัมผัสถูกสารดังกล่าว
เป็นประจำ
อาการ
มีลักษณะเป็นผื่นแดงหรือขึ้นเป็นตุ่มน้ำใสเล็ก
ๆ มีอาการคันมาก
ซึ่งจะขึ้นเฉพาะบริเวณที่สัมผัสถูก
สิ่งที่แพ้
อาจทำให้เห็นเป็นรอยของสิ่งที่แพ้
เช่น รอยสายนาฬิกา สร้อยคอ
ขอบกางเกง สายรองเท้า
เป็นต้น
บางคนอาจเป็นตุ่มน้ำใส
อาจติดต่อกันจนเป็นตุ่มพองใหญ่
เมื่อแตกออก จะมีน้ำเหลืองไหล
และมี
สะเก็ดเกรอะกรัง
เมื่ออาการทุเลา
ผิวหนังอาจแห้งเป็นขุย
หรือหนาตัวขึ้นชั่วคราว
บางคนผิวหนัง
อาจคล้ำลง
หรือเป็นรอยด่างขาวชั่วคราว
อาการแทรกซ้อน
อาจเกาจนมีอาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
การรักษา
1.
ควรหาสาเหตุที่แพ้แล้วหลีกเลี่ยง
โดยสังเกตจาก
1.1 ตำแหน่งที่เป็น เช่น
ที่ศีรษะอาจแพ้ยาย้อมผม
แชมพูสระผม น้ำมันใส่ผม,
ที่ใบหูอาจแพ้ตุ้มหู,
ที่ใบหน้าอาจแพ้เครื่องสำอาง,
ที่คออาจแพ้น้ำหอม สร้อยคอ,
ที่ลำตัวอาจแพ้เสื้อผ้า สบู่,
ที่ขาและ
เท้า อาจแพ้ถุงเท้า รองเท้า
(หนังหรือยาง),
ที่มือและเท้าอาจแพ้ผงซักฟอก
ปูนซีเมนต์, ที่แขนหรือ
ขา อาจแพ้ยุงแมลง เป็นต้น
1.2 อาชีพ และงานอดิเรก เช่น
คนขับรถอาจแพ้เบนซิน
น้ำมันเครื่อง,
แม่บ้านหรือคนซักผ้าอาจแพ้
ผงซักฟอก,
ช่างปูนอาจแพ้ปูนซีเมนต์
เป็นต้น
2. รักษาผื่นแพ้โดย
2.1 ชะแผลด้วยน้ำเกลือ
แล้วเช็ดให้แห้ง
2.2 ทาด้วยครีมสเตอรอยด์ เช่น
ครีมเพร็ดนิโซโลน
หรือครีมบีตาเมทาโซน
ถ้าเป็นบริเวณกว้าง ควร
ให้กินยาแก้แพ้ เช่น
คลอร์เฟนิรามีน, ไดเฟนไฮดรามีน
หรือไดรอกไซซีน ครั้งละ 1/2 - 1 เม็ด
วันละ
3-4 ครั้ง
2.3 ถ้ามีหนองหรือน้ำเหลืองไหล
ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนวี ,
คล็อกซาซิลลิน หรือ
อีริโทรไมซิน
3. ในรายที่เป็นรุนแรง
ควรส่งโรงพยาบาล
อาจต้องให้เพร็ดนิโซโลน
กินนาน 10 วัน
4. ในรายที่เป็นเรื้อรัง
ควรแนะนำไปโรงพยาบาลเพื่อทำการทดสอบทางผิวหนัง
โดยวิธี Patch test
(ใช้น้ำยาที่มีสารต่าง ๆ
ปิดที่หลัง
แล้วดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น)
เพื่อหาสาเหตุ
ซึ่งจะได้หาทางหลีกเลี่ยง)
ข้อแนะนำ
การรักษาโรคนี้ขึ้นอยู่กับการค้นหาสาเหตุของการแพ้
ซึ่งส่วนมากจะวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติ
และตำแหน่งที่เป็น
หรือไม่ก็สามารถบอกจากการทดสอบทางผิวหนัง
ถ้าหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ได้มักจะหาย
ใน 2-3 สัปดาห์หรือ 2-3 เดือน

ลักษณะทั่วไป
ลมพิษ
เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในคนทุกวัย
แต่จะพบมากในช่วงอายุ 20-40 ปี
พบในผู้หญิง
มากกว่าผู้ชายประมาณ 3 ต่อ 2
ส่วนใหญ่จะเป็นอยู่เพียงไม่กี่วันก็หายได้เอง
โดยไม่มีภาวะ
แทรกซ้อนแต่อย่างไร
แต่บางคนอาจเป็น ๆ หาย ๆ
เรื้อรังได้
ถ้าพบว่าเป็นลมพิษติดต่อกันนาน
เกิน 2 เดือน เรียกว่า
ลมพิษชนิดเรื้อรัง
ถ้าเป็นไม่เกิน 2 เดือน เรียกว่า
ลมพิษชนิดเฉียบพลัน
ผู้ป่วยอาจมีประวัติเคยเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน
หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ร่วมด้วย
สาเหตุ
เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง
เมื่อร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสิ่งที่แพ้
จะสร้างสารแพ้ที่เรียกว่า
ฮิสตามีน
(histamine)
ออกมาจากเซลล์ในชั้นใต้ผิวหนัง
ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว
มีพลาสมา (น้ำเลือด)
ซึมออกมาในผิวหนัง
ทำให้เกิดเป็นผื่นนูนแดง
ลมพิษ
มักมีสาเหตุจากการแพ้อาหาร (เช่น
อาหารทะเล กุ้ง ปลา ไข่
เนื้อสัตว์ ถั่ว มะเขือเทศ ซีอิ๊ว
เต้าเจี้ยว อาหารใส่สี
อาหารกระป๋อง), เหล้า เบียร์, ยา
(เช่น แอสไพริน เพนิซิลลิน ซัลฟา
ฯลฯ),
เซรุ่ม, วัคซีน,
พิษแมลงสัตว์กัดต่อย (เช่น ผึ้ง
มด ยุง), ฝุ่น ละอองเกสร, ขนสัตว์,
นุ่น (ที่นอน หมอน),
ไหม หรือสารเคมี (เช่น
เครื่องสำอาง สเปรย์ ยาฆ่าแมลง)
บางคนที่เป็นโรคติดเชื้อ เช่น
ต่อมทอนซิลอักเสบ หูอักเสบ
ท้องเดิน ไซนัสอักเสบ ไตอักเสบ
โรค
เชื้อรา โรคพยาธิ เป็นต้น
ก็อาจมีอาการของลมพิษเกิดขึ้นได้
แต่บางคนก็อาจตรวจไม่พบสาเหตุ
ชัดเจนในรายที่เป็นลมพิษเรื้อรัง
(เป็นติดต่อกันนานกว่า 2 เดือน)
ส่วนมากจะไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด
ส่วนน้อยที่อาจพบว่ามีสาเหตุ
ซึ่งนอกจากเกิดจากสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวแล้ว
ยังอาจมี
สาเหตุจากการแพ้ ความร้อน,
ความเย็น (น้ำเย็น น้ำแข็ง
อากาศเย็น ห้องปรับอากาศ), แสงแดด,
เหงื่อ (เช่น
หลังจากออกกำลังกาย), น้ำ, แรงดัน
แรงกด
หรือการขีดข่วนที่เกิดกับผิวหนัง,
การยก
น้ำหนัก, โรคติดเชื้อเรื้อรัง
(เช่น ฟันผุ โรคพยาธิลำไส้
ตัวจี๊ด หูน้ำหนวก)
บางคนอาจเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ
เช่น เอสเอลอี มะเร็ง เป็นต้น
ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้เป็นส่วนน้อย
นอกจากนี้ความตึงเครียด
ความวิตกกังวล
และอารมณ์ของผู้ป่วย
ก็อาจเป็นสาเหตุของลมพิษ
เรื้อรังได้
รวมทั้งทำให้อาการกำเริบในรายที่เกิดจากสาเหตุอื่น
ๆ
อาการ
มักเกิดขึ้นเฉียบพลัน
ด้วยอาการขึ้นเป็นวงนูนแดง
มีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น
วงกลม วงรี
วงหยัก
เนื้อภายในวงจะนูนและสีซีดกว่าขอบเล็กน้อย
ทำให้เห็นเป็นขอบแดง ๆ
คล้ายเอาลิปสติก
ผู้หญิงมาขีดเป็นวงไว้
ผู้ป่วยจะรู้สึกคันมาก
พอเกาตรงไหน
ก็จะมีผื่นแดงขึ้นตรงนั้น
บางคนอาจมี
ไข้ขึ้นเล็กน้อย
หรือรู้สึกร้อนผ่าว ตามผิวกาย
ลมพิษอาจเกิดขึ้นที่หน้า แขนขา
ลำตัว หรือส่วนอื่น ๆ
ของร่างกายก็ได้
มักขึ้นกระจายตัว
ไม่เหมือนกันทั้งสองข้างของร่างกาย
วงนูนแดงจะเป็นอยู่ประมาณ
3-4 ชั่วโมง ก็จะยุบหายไปเอง
แต่อาจเกิดขึ้นใหม่ในตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งใหม่ได้อีกภายในวัน
เดียวกัน หรือวันต่อมา
หรือในเดือนต่อ ๆ มาก็ได้
บางคนอาจขึ้นติดต่อกันเป็นวัน ๆ
ก็ได้ แต่ส่วนมาก
มักจะยุบหายได้เองภายใน 1-7
วันในรายที่เป็นลมพิษชนิดรุนแรง
ที่เรียกว่า ลมพิษยักษ์ หรือ
แองจิโอเอดิมา (Angioedema)
จะมีอาการบวมของเนื้อเยื่อชั้นลึกของผิวหนัง
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์
กลางประมาณ 1-3 นิ้ว หรือมากกว่า
กดไม่บุ๋ม มักขึ้นที่ริมฝีปาก
หนังตา หู ลิ้น หน้า มือ แขน หรือ
ส่วนอื่น ๆ มักเป็นอยู่ไม่เกิน
24 ชั่วโมง ก็จะยุบหายไปเอง
แต่ถ้ามีอาการบวมของกล่องเสียงร่วมด้วย
อาจทำให้หายใจลำบาก ตัวเขียว
เป็นอันตรายได้
ในรายที่เป็นเรื้อรัง
มักมีลมพิษขึ้นเป็น ๆ หาย ๆ
ติดต่อกันแทบทุกวันเป็นเวลานานกว่า
2 เดือน แต่
อาจเป็นอยู่เป็นปี ๆ
กว่าจะหายขาดไปได้เอง
สิ่งตรวจพบ
จะตรวจพบลมพิษ
ลักษณะเป็นวงนูนแดง
มีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ
บางครั้งอาจพบรอยเการ่วมด้วย
การรักษา
ในรายที่เป็นเฉียบพลัน
1. ประคบด้วยน้ำเย็น น้ำแข็ง
หรือทายาแก้ผดผื่นคัน
หรือทาด้วยเหล้า หรือแอลกอฮอล์
(ถ้าไม่แพ้
สารนี้)
2. ให้ยาแก้แพ้ เช่น
คลอร์เฟนิรามีน,
หรือไดเฟนไฮดรามีน ,หรือ
ไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine) ขนาด
10 มก. มีชื่อทางการค้า เช่น
อะตาแรกซ์ (Atarax) ให้กินครั้งละ 1-2
เม็ด (เด็กลดลงตามอายุ) ถ้ายังมี
อาการซ้ำได้ทุก 6-8 ชั่วโมง
ถ้าเป็นมากหรือกินยาไม่ได้
ควรใช้ยาแก้แพ้ดังกล่าว
ชนิดฉีดครั้งละ 1/2 -
1 หลอด หรือฉีดอะดรีนาลิน (ย11) 0.5
มล. (เด็ก 0.2- 0.3 มล.)
ในรายที่มีอาการหายใจลำบาก
เนื่องจากเป็นลมพิษยักษ์
ควรฉีดอะดรีนาลินทันที
3. พยายามหาสาเหตุ
แล้วกำจัดหรือหลีกเลี่ยงเสีย
เช่น ถ้าแพ้ยาหรืออาหาร
ก็หยุดยาหรือเลิกกิน
อาหารชนิดนั้น
ถ้าเป็นโรคพยาธิลำไส้
ก็ให้ยาถ่ายพยาธิ เป็นต้น
4.ให้ยาแล้วไม่ดีขี้นใน 1 สัปดาห์
หรือเป็น ๆ หาย ๆ
(กินยาแก้แพ้แล้วดีขึ้น
พอหยุดยาก็กลับกำเริบ
ใหม่) นานเกิน 2 เดือน
หรือสงสัยมีโรคอื่นร่วมด้วย
ควรส่งตรวจที่โรงพยาบาล
การตรวจหาสาเหตุ
นอกจากการซักถามประวัติและการตรวจร่างกาย
อย่างละเอียดแล้ว อาจต้อง
ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ
เอกซเรย์ หรือทำการทดสอบผิวหนัง
(skin test ) หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ
ตามแต่สาเหตุที่สงสัยการรักษา
ควรให้การรักษาดังนี้
4.1
ในรายที่เป็นเฉียบพลันโดยไม่มีโรคอื่นร่วมด้วย
ถ้าใช้ยาแก้แพ้ไม่ได้ผล
อาจให้เพร็ดนิโซโลน วัน
ละครั้ง หลังอาหารเช้า
เป็นเวลา 10 วัน โดยวันแรกให้ขนาด
40-60 มก. (เด็ก เริ่มด้วยขนาด 1 มก.
ต่อกิโลกรัมต่อวัน) แล้วค่อย ๆ
ลดลงจนวันสุดท้าย เหลือขนาด 5-10 มก.
4.2 ในรายที่เป็นเรื้อรัง
ถ้าตรวจพบสาเหตุ
ก็ให้การแก้ไขตามสาเหตุ
และให้ยาแก้แพ้ ไฮดรอกไซซีน
(Hydroxyzine) ขนาด 10-20 มก. วันละ 1-3 ครั้ง
ซึ่งจะใช้ได้ผลดีในรายที่แพ้เหงื่อ
แพ้แดด หรือแพ้รอย
ขีดข่วน ในรายที่แพ้ความเย็น
หรือน้ำ
อาจให้ยาแก้แพ้ที่มีชื่อว่า
ไซโพรเฮปตาดีน (Cyproheptadine)
มีชื่อทางการค้า เช่น
เพอริแอกทิน (Periactin) 1 เม็ดวันละ 3
ครั้ง ถ้าเป็นอยู่ประจำ
ควรให้กินก่อนจะ
สัมผัสถูกความเย็นหรือน้ำประมาณ
1/2 - 1 ชั่วโมง
เพื่อป้องกันมิให้เกิดอาการ
เมื่อกินยาแก้แพ้
แล้วอาการทุเลา
อาจลดยาเหลือเพียงวันละครั้ง
ในขนาดต่ำสุด (1/2-1 เม็ด) ก่อนนอน
ทุกวัน สัก 2-3
เดือน แล้วลองหยุดยา
ถ้ากำเริบใหม่ ก็กินยาใหม่
บางคนอาจต้องกินยานานเป็นแรมปี
กว่าจะหายขาด
(หยุดยาได้)
4.3 ถ้าตรวจพบโรคที่เป็นร่วมด้วย
เช่น เอสแอลอี โรคติดชื้อ
โรคพยาธิ มะเร็ง เป็นต้น
ก็ให้การรักษา
โรคเหล่านี้ร่วมกับการรักษาอาการลมพิษ
ข้อแนะนำ
1.
ผู้ป่วยควรสังเกตสาเหตุที่ทำให้เกิดลมพิษ
อาจเป็นอาหาร ยา สิ่งแวดล้อมต่าง
ๆ แล้วหาทาง
หลีกเลี่ยงเสีย
จะช่วยให้หายขาดได้
2.
ควรพยายามหลีกเลี่ยงภาวะเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ
และทำใจให้สบาย อย่าวิตกกังวล
อาจช่วยให้อาการบรรเทาได้
3.
ลมพิษเรื้อรังส่วนมากจะไม่ทราบสาเหตุ
และไม่มีอันตรายร้ายแรง
อาจเป็นอยู่เป็นปี ๆ แล้วหาย
ไปได้เอง
ผู้ป่วยควรกินยาแก้แพ้เป็นประจำ
จนกว่าจะหาย
ส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจมีโรคร้ายแรงร่วม
ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม
ควรให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุให้แน่นอนเสียก่อน

ลักษณะทั่วไป
สิว
เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในวัยรุ่น
มักจะเริ่มเป็นหลังจากเข้าสู่วัยสาว
(มีประจำเดือน
มาครั้งแรก)
หรือวัยแตกเนื้อหนุ่ม
และจะเป็นมากในช่วงอายุ 17-18 ปี
(สำหรับผู้หญิง) และ
19 ปี (สำหรับผู้ชาย)แล้วค่อย ๆ
ทุเลาลงจนกระทั่งอายุมากกว่า 25
ปีขึ้นไป ก็จะหายได้เอง
เป็นส่วนใหญ่
แต่บางคนอาจเป็นเรื้อรังจนถึงอายุ
40-50 ปีก็ได้
ผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเป็น
สิวเท่า ๆ กัน
แต่ผู้ชายมักจะเป็นรุนแรงกว่า
สาเหตุ
เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
ร่างกายจะมีการสร้างฮอร์โมนเพศที่สำคัญ
ได้แก่
ฮอร์โมนเพศชายที่มีชื่อว่า
เทสโตสเตอโรน(testosterone)
ซึ่งสร้างโดยอัณฑะ (ในผู้ชาย)
และต่อมหมวกไต (ในผู้หญิง)
ฮอร์โมนชนิดนี้จะกระตุ้นให้ต่อมไขมัน
(sebaceous gland)
ที่บริเวณผิวหนังสร้างไขมัน (sebum)
ออกมามาก
ซึ่งจะระบายออกมาตามรูขุมขน
ถ้าหากรูขุมขนเกิดการอุดตัน
เนื่องจากหนังกำพร้า
ชั้นนอกตรงบริเวณนั้น
มีการหนาตัว
(ซึ่งเกิดจากการระคายเคือง
ของไขมันจากต่อมไขมัน) ก็จะ
ทำให้เกิดการคั่งของน้ำมันในขุมขน
เกิดเป็นหัวสิวหรือโคมีโดม (Comedome)
เรียกว่า "สิวเสี้ยน"
ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสิวหัวดำและสิวหัวขาว
เมื่อมีการอุดตันมากขึ้น
ไขมันจะสะสมในท่อมากขึ้น
จนพองโตและแตก
สารที่อยู่ภายในต่อมไขมันกระจายไปยังหนังกำพร้าและหนังแท้บริเวณใกล้
เคียง
ทำให้เกิดการอักเสบของสิวขึ้น
นอกจากนี้การอักเสบก็ยังเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในต่อม
ไขมันชนิดหนึ่ง มีชื่อว่า
พีแอกเนส์ (P. acnes/Propionibacterium acnes)
ซึ่งจะย่อยไขมันเป็นกรด
ไขมันอิสระ (free fatty acid)
ทำให้เกิดการอักเสบของหัวสิว
ร่วมกับสารต่าง ๆ
ที่เชื้อแบคทีเรียชนิด
นี้หลั่งออกมา สิวที่อักเสบ
จะมีลักษณะเป็นสิวหัวแดง
หรือตุ่มหนอง ถ้าอักเสบรุนแรง
หัวสิวอาจปูด
โปนเป็นตุ่มใหญ่ เรียกว่า
สิวหัวช้างเชื่อว่ากรรมพันธุ์อาจมีความสัมพันธ์กับการ
เกิดสิว มักพบว่า
ถ้ามีพ่อแม่เป็นสิว
ลูกก็มีโอกาสเป็นสิวมากขึ้น
นอกจากนี้ยังพบว่ามีสาเหตุอีกหลายอย่างที่กระตุ้นให้สิวกำเริบ
เช่น ความวิตกกังวล หรืออารมณ์
เครียด (เช่น เวลาใกล้สอบ),
พักผ่อนไม่เพียงพอ,
ระยะก่อนมีประจำเดือน, การใช้ยา
(เช่น ยาคุม
กำเนิดทั้งชนิดกินและฉีด
ที่เข้าฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน,
ยาสเตอรอยด์ทั้งกินและทา,
ไอเอ็นเอช,
ไรแฟมพิซิน, ฟีโนบาร์บิทาล,
เฟนิโทอิน, ไทโอยูราซิล,
วิตามินบี 12 ฯลฯ), การระคายผิว (เช่น
การ
นวดหน้า, การขัดหน้า,
การใช้ผ้าถูหน้าแรง ๆ),
การใช้เครื่องสำอาง
(ที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะกอก,
ลาโนลิน หรือขี้ผึ้งขาว), สบู่
(ที่มีส่วนผสมของทาร์หรือ
กำมะถัน), น้ำมันใส่ผม
(ชนิดเหนียวเหนอะหนะ
หรือ พอมเมด) หรือ
ครีมทาฝ้าลอกฝ้า,
การทำงานอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนชื้น
เหงื่อออกมาก เป็นต้น
อาการ
ในระยะเริ่มเป็น
จะพบสิวหัวดำหรือสิวหัวขาวขนาดเท่าหัวเข็มหมุดขึ้นที่บริเวณหน้าผากและแก้ม
บางคนอาจขึ้นที่หน้าอกและหลังด้วย
ต่อมาเมื่อมีการอักเสบจะกลายเป็นตุ่มแดง
(สิวหัวแดง) และ
ตุ่มหนอง
บางคนเมื่อหัวสิวยุบแล้ว
อาจเป็นรอยสีน้ำตาลดำ
อยู่นานหลายเดือนกว่าจะจางลงไป
พบได้บ่อยในคนผิวคล้ำถ้าเป็นมากจะปูดโปน
(เรียกว่า สิวหัวช้าง) หรือ
เป็นถุงซิสต์ใหญ่ขนาด
0.5-1 ซม.
เมื่อหายแล้วจะกลายเป็นหลุม
หรือเป็นแผลเป็น
(บางคนอาจกลายเป็น คีลอยด์ หรือ
แผลปูด) ถ้าเป็นไม่มาก
หัวสิวที่เกิดขึ้น
อาจไม่มีการอักเสบ
และยุบหายไปได้เอง
แต่ก็อาจทิ้งรอย
แผลเป็นเล็ก ๆ
อาการแทรกซ้อน
มักไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง
บางคนอาจมีการอักเสบรุนแรง
และกลายเป็นแผลเป็น หรือแผล
คีลอยด์ หรือ ผิวหน้าขุรขระ
อาจทำให้ขาดความเชื่อมั่น
และเสียบุคลิกภาพ
การรักษา
1.
แนะนำข้อปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่เป็นสิว
ดังนี้
1.1 ล้างหน้าด้วยสบู่เด็ก
หรือสบู่อ่อน
(ที่ใช้สารเคมีที่ผ่านการทดสอบแล้วว่า
ไม่ก่อให้เกิดสิว) กับ
น้ำสะอาด (น้ำก๊อก ธรรมดา)
วันละไม่เกิน 2 ครั้ง
ห้ามล้างหน้านาน ๆ หรือถูแรง ๆ
การใช้สบู่มาก
เกินไปอาจทำให้เกิดสิวได้
1.2 อย่าบีบ เค้น กด หรือแกะสิวเอง
อาจทำให้ติดเชื้อลุกลามได้
1.3
หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางที่มีผลต่อผิวหนัง
และต่อมไขมัน เช่น ครีมบำรุงผม
ครีมนวดหน้า
ครีมแก้รอยเหี่ยวย่นที่มีสเตอรอยด์ผสม
ถ้าจำเป็นต้องใช้
ควรเลือกครีมที่มีความชุ่มชื้น
ซึ่งมีสารเคมี
ที่ไม่ก่อให้เกิดสิว
(โดยทั่วไป ชุดแต่งหน้า เช่น
ลิปสติก แป้ง ชุดรองพื้น บรัชออน
มาสคารา อายแชโดว์
จะไม่ก่อให้เกิดสิว)
1.4 หลีกเลี่ยงจากอารมณ์เครียด
และความวิตกกังวลต่าง ๆ
เพราะอาจทำให้สิวเห่อได้
1.5 ออกกำลังกายเป็นประจำ
2. ถ้าเป็นเพียงสิวเสี้ยน
(สิวหัวดำ หรือหัวขาว)
ยังไม่มีการอักเสบเป็นตุ่มแดง
หรือตุ่มหนอง ควรให้
การรักษาดังนี้
2.1 ใช้ยาทารักษาสิว
ชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- เทรติโนอิน (Tretinoin) ชนิดเจลหรือครีม
ขนาด 0.025%, 0.05% และ 0.1% มีชื่อทางการค้า
เช่น แอรอล (Airol), ยูไดนา (Eudyna),
เรติน-เอ (Retin-A)
ยานี้อยู่ในกลุ่มกรดเรติโนอิก
(Retinoic acid) มีฤทธิ์ละลายขุย
ทำให้หัวสิวหลุดลอก
และป้องกันมิให้เกิดสิวใหม่
ใช้ทาทั่ว
ใบหน้า ยกเว้นรอบตา และซอกจมูก
วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
(ถ้าใช้ขนาดเข้มข้นสูง
หรือใช้ร่วม
กับยารักษาสิวตัวอื่น
ควรใช้ทาวันเว้นวัน)
จะเริ่มเห็นผลเมื่อใช้นาน 3-4
เดือน ยานี้อาจทำให้
เกิดการระคายเคือง หน้าแดง แสบ
แห้ง ลอก และเกิดการแพ้แดดได้
ในบางคนอาจทำให้เป็น
สิวมากขึ้นในช่วง 3-4
สัปดาห์แรกของการใช้ยา
- ไอโซเทรติโนอิน (Isotretinoin) ชนิดเจล
ขนาด 0.05%
ยานี้อยู่ในกลุ่มกรดเรติโนอิกเช่นกัน
มีฤทธิ์ทำให้การสร้างเคอราตินกลับสู่สภาพปกติ
และลดการอักเสบ ใช้ทาวันละ 1
ครั้ง ก่อนนอน
มีผลข้างเคียงน้อยกว่าเทรติโนอิน
- เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide/BP)
ชนิดเจลหรือครีม ขนาด 2.5%, 5% และ 10%
มีชื่อทางการค้า เช่น
แอกเนโรซิด (Akneroxid), เบนแซก (Benzac),
พาโนซิล (Panoxyl) ยานี้
ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อพีแอกเนส์
ลดการอักเสบ
และลดปริมาณไขมันที่ผิวหนัง
แต่อาจทำให้หน้าแดง
แสบ แห้งเป็นขุย
เริ่มต้นควรใช้ขนาดความเข้มข้นต่ำก่อน
ทาทิ้งไว้ 5-10 นาที
แล้วล้างออกด้วย
น้ำสะอาด วันละ 2 ครั้ง
ตอนเช้าและก่อนนอน
เมื่อเริ่มคุ้นกับยา
จึงเพิ่มเวลาให้นานขึ้น
และเพิ่ม
ขนาดของยาได้ ทุก ๆ 1-2 เดือน
ถ้าใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ได้ผล
ก็อาจให้ 2 ชนิดร่วมกัน โดยใช้
เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์
ทาตอนเช้า
และใช้กรดเรติโนอิกชนิดใดชนิดหนึ่งข้างต้น
ทาตอนก่อนนอน
เริ่มต้นควรให้สลับวันก่อน
เมื่อเริ่มคุ้นกับยา
จึงปรับมาใช้ในวันเดียวกันต่อไป
2.2 ทำการกดสิว
โดยใช้เครื่องมือกดสิว
ในรายที่รูเปิดเล็กมาก
อาจจำเป็นต้องใช้เข็มเบอร์ 25
หรือ
26 ขยายรูเปิด
ช่วยให้การกดสิวเป็นไปได้ง่ายขึ้น
การกดสิวควรทำให้ถูกหลักวิธีและสะอาด
3. ถ้าเป็นสิวหัวแดง หรือตุ่มหนอง
นอกจากใช้ยาทาดังกล่าวในข้อ 2.1
แล้ว ควรให้ยาปฏิชีวนะร่วม
ด้วย ถ้าอักเสบไม่มาก
ให้ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทา เช่น
คลินดาไมซิน (Clindamycin) ชนิดน้ำ 1%
หรืออีริโทรไมซิน ชนิดน้ำ 1%
ทาวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น นาน 8-12
สัปดาห์ ยานี้อาจมีผลข้าง
เคียง ทำให้เกิดการระคายเคือง
ผิวหนังแดง แห้ง ลอก และคันได้
(จากตัวยาที่ใช้ผสม)
ถ้าไม่ได้ผล หรือมีการอักเสบมาก
ให้กินยาปฏิชีวนะ เช่น
เตตราไซคลีน หรือ อีริโทรไมซิน
ครั้งละ
2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง นาน 1 เดือน,
เดือนที่ 2 ลดเหลือครั้งละ 1 แคปซูล
วันละ 3 ครั้ง, เดือนที่
3 ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง,
เดือนที่ 4 ครั้งละ 1 แคปซูล
วันละครั้ง (ห้ามใช้เตตราไซคลีน
ในหญิงตั้งครรภ์
และเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี)
ยาปฏิชีวนะ
จะช่วยฆ่าเชื้อพีแอกเนส์
และลดปริมาณ
ของกรดไขมันอิสระ
ที่เป็นต้นเหตุของการอักเสบของสิว
4.
การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวไม่ได้ผล
หรือมีการอักเสบรุนแรง (เช่น
มีสิวหัวช้างขึ้นหลายแห่ง)
หรือมีแผลเป็น หรือแผลปูด
(คีลอยด์) หรือผิวหน้าขรุขระมาก
ควรปรึกษาแพทย์ทางโรคผิวหนัง
ซึ่งอาจใช้วิธีปรับยารักษาใหม่
ในผู้หญิง
อาจให้กินยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีตัวยา
ไซโพรเทโรน
อะเซเทต (Cyproterone acetate) เช่น ไดแอน-35
(Diane-35) นาน 6-12 เดือน (เริ่มเห็นผลหลัง
ใช้ยา 3-4 เดือน)
ยานี้จะลดขนาดของต่อมไขมัน
และปริมาณของไขมัน
ในรายที่เป็นรุนแรง
ขึ้นเป็นถุงซิสต์
อาจรักษาโดยการฉีดสเตอรอยด์
ได้แก่ ไตรแอมซิโนโลน
อะเซโทไนด์ เข้าที่หัวสิว
หรือให้กินไอโซเทรติโนอิน
(กรดเรติโนอิก) ชนิดเม็ด
ยากินชนิดนี้
มีฤทธิ์ในการทำให้ต่อมไขมันมีขนาดเล็กลง
ลดปริมาณไขมันในต่อมไขมัน
ลดจำนวนเชื้อ
แบคทีเรีย และลดการอักเสบ
กินในขนาดวันละ 20-30 มก.
แบ่งกินวันละ 1-2 ครั้ง นาน
16-20 สัปดาห์ จะเริ่มเห็นผลใน 3-4
สัปดาห์ (บางราย
สิวอาจจะเห่อมากขึ้น ใน 2-4 สัปดาห์
แรก) ใช้ได้ผลดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ผู้ที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยาอื่น
ๆ แต่ยานี้มีผลข้างเคียง
เช่น ริมฝีปากอักเสบ ตาอักเสบ
ตาแห้ง สู้แสงไม่ได้ ปากแห้ง
จมูกแห้ง ปวดกล้ามเนื้อ ปวด
ศีรษะ ภาวะไขมันในเลือดสูง
การทดสอบการทำงานของตับผิดปกติ
ไม่ควรใช้ร่วมกับ
เตตราไซคลีน
อาจทำให้เกิดภาวะความดันของน้ำในสมองสูงได้
และข้อสำคัญหญิง
ตั้งครรภ์ที่กินยานี้
อาจทำให้ทารกพิการได้
(ควรระวังการใช้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์
ก่อนใช้
ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า
ไม่ได้ตั้งครรภ์
และระหว่างที่ใช้
ก็ต้องหาวิธีคุมกำเนิด และควร
หยุดกินยา
ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 2 เดือน)
ดังนั้น
ยาชนิดนี้จึงควรสั่งใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยว
ชาญเท่านั้นในรายที่เป็นถุงซิสต์
อาจใช้ไนโตรเจนเหลว (liquid nitrogen)
แตะที่สิวที่เป็น
ถุงซิสต์ เพื่อช่วยลดการอักเสบ
และใช้ความเย็นจากสารชนิดนี้
ทำลายผนังของถุงซิสต์
ในรายที่เป็นแผลเป็น
ผิวหน้าขรุขระมาก
อาจต้องแก้ไขด้วยการใช้เครื่องมือขัดผิวหน้า
(dermabrasion)
หรือใช้สารเคมีกัดส่วนที่เป็นริ้วรอยแผลเป็นออกไป
(chemosurgery)
ซึ่งต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
ข้อแนะนำ
1.
สิวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นธรรมชาติในคนที่ย่างเข้าสู่วัยรุ่นแทบทุกคน
เนื่องจากการเปลี่ยน
แปลงของฮอร์โมนเพศในวัยนี้
แต่อาจมีความรุนแรงแตกต่างกันไป
ขึ้นกับปัจจัยทาง
กรรมพันธุ์และอื่น ๆ
2. ยาและเครื่องสำอาง
อาจเป็นสาเหตุของการเกิดสิว
ควรซักถามประวัติทางด้านนี้ ถ้า
พบว่าเกิดจากยาหรือเครื่องสำอาง
ควรงดการใช้ยา
หรือเครื่องสำอางนั้น ๆ
เสียอาจช่วย
ให้อาการดีขึ้น
3.
การเกิดสิวไม่ได้มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกทางเพศ
หรือกิจกรรมทางเพศ รวมทั้ง
อาหารก็ไม่มีผลต่อการเกิดสิวแต่อย่างไร
จึงไม่มีข้อห้ามในเรื่องนี้
ยกเว้นสำหรับบางราย
ถ้ากินอาหารบางอย่าง (เช่น
ช็อกโกแลต, นม,
อาหารทะเล)แล้วสิวเห่อ
ก็ควรจะงดอาหาร
นั้น ๆ เสีย
4. การรักษาสิว จะเริ่มเห็นผล
ต้องใช้เวลา 3-6 สัปดาห์
และกว่าจะได้ผลจริงจัง
ก็อาจเป็น
เวลาหลายเดือน และมักเป็น ๆ หาย
ๆ เรื้อรัง
ผู้ป่วยจึงควรติดตามรักษากับแพทย์อย่าง
ต่อเนื่อง
และรู้จักดูแลตนเองอย่างจริงจัง
5.
ในรายที่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะเป็น
เวลานาน ๆ
อาจทำให้มีอาการตกขาวจากเชื้อรา
ได้
ถ้าพบควรหยุดยาแล้วกลับไปปรึกษาแพทย์ที่รักษาอยู่เดิม

ลักษณะทั่วไป
หูด
เป็นเนื้องอกชนิดธรรมดาของผิวหนัง
เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในเด็กวัยเรียน
ในผู้ใหญ่ก็เป็นได้
แต่จะพบได้น้อยในคนอายุมากกว่า 45
ปีขึ้นไป
หูดมีหลายชนิด
อาจมีขนาดแตกต่างกันไป
ขึ้นกับตำแหน่งที่เป็น
อาจขึ้นเดี่ยว ๆ
หรือหลายอันก็ได้
มักขึ้นที่มือ เท้า ข้อศอก
ข้อเข่า ใบหน้า ฝ่ามือฝ่าเท้า
อาจขึ้นตามผิวหนังส่วนอื่น ๆ
รวมทั้งที่อวัยวะ
เพศ
หูดเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายแต่อย่างไร
นอกจากทำให้แลดูน่าเกลียดน่ารำคาญ
หรืออาจมีอาการ
ปวดได้เป็นบางครั้ง
ส่วนมากจะยุบหายได้เองตามธรรมชาติ
(แม้จะไม่ได้รับการรักษา)
ภายหลังที่เป็น
อยู่หลายเดือน
บางคนอาจเป็นอยู่เป็นปี ๆ
กว่าจะยุบหาย
เมื่อหายแล้วอาจกลับเป็นใหม่ได้อีก
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า
เอชพีวี (HPV/Human papilloma virus) ซึ่งมีประมาณ 70
ชนิด
เมื่อเชื้อไวรัสแทรกซึมเข้าไปในเซลล์ผิวหนัง
ก็จะเกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว
จนกลายเป็นหูด
งอกออกจากผิวหนังส่วนที่ปกติ
หูดสามารถติดต่อโดยการสัมผัสถูกคนที่เป็นหูดโดยตรง
ระยะฟักตัว 2-18 เดือน
อาการ
หูดชนิดพบเห็นทั่วไป เรียกว่า
common warts จะมีลักษณะเป็นตุ่มกลมแข็ง
ผิวหยาบ ออกเป็นสีเทา ๆ
เหลือง ๆ หรือน้ำตาล
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-10
มิลลิเมตร
มักจะขึ้นตรงบริเวณที่ถูกเสียดสีง่าย
(เช่น
นิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อศอก
ข้อเข่า ใบหน้า หนังศีรษะ
เป็นต้น)
และอาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น
ๆ ของ
ร่างกาย
หูดที่เป็นที่ฝ่ามือฝ่าเท้า
จะมีลักษณะเป็นไตแข็ง ๆ หยาบ ๆ
แต่จะแบนราบเท่าระดับผิวหนังที่
ปกติ
เพราะมีแรงกดขณะเดินใช้งาน
ลักษณะคล้าย ๆ ตาปลา
แต่จะแยกกันได้ตรงที่หูดถ้าใช้มีดฝาน
อาจมีเลือดไหลซิบ ๆ
และอาจมีอาการเจ็บปวดได้
หูดที่เป็นติ่ง (Filiform warts)
จะมีลักษณะเป็นติ่งเนื้อเล็ก ๆ
ขึ้นที่หนังตา ใบหน้า ลำคอ
หรือริมฝีปาก
การรักษา
1. หูดที่ฝ่าเท้า
ใช้พลาสเตอร์ที่มีกรดซาลิไซลิกขนาด
40% ปิดโดยฝานหูดจนมีเลือดซิบ
แล้วใช้
พลาสเตอร์ดังกล่าวปิด พอครบ 1
สัปดาห์
ก็ทำการฝานหูดซ้ำอีกครั้ง
แล้วปิดพลาสเตอร์ต่อไป
ทำเช่นนี้ทุกสัปดาห์จนกว่าจะหาย
2. หูดที่เป็นติ่ง ให้พ่นด้วยยาชา
แล้วใช้กรรไกรตัด
3. หูดที่เป็นตุ่มหรือไตขนาดใหญ่
ควรแนะนำไปรักษาที่โรงพยาบาล
อาจต้องฉีดยาชาเฉพาะที่
แล้วทำการผ่าตัดและขูดออก
(อาจใช้ไฟฟ้าจี้ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้)
ซึ่งอาจให้เวลา 4 สัปดาห์กว่า
แผลจะหายดี
หรือไม่ก็อาจรักษาโดยใช้
กรดซาลิไซลิก ขนาด 10% และ
กรดแล็กติกชนิด 10%
ใน คอลลอยเดียนเบสทา
หรือทาด้วยกรดไตรคลอร์อะซิติก
(Trichloracetic acid) ขนาด 30-50%
ในโรงพยาบาลบางแห่งอาจใช้ไนโตรเจนเหลว
(liquid nitrogen) หรือ
คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง
(solid CO2) ในการรักษาหูดโดยจี้ทุก ๆ 2
สัปดาห์ เป็นเวลา 3 เดือน
หรือใช้แสงเลเซอร์ในการ
รักษา
ข้อแนะนำ
หูด
1. ควรหาทางป้องกัน
โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็นหูด
2.
เมื่อเป็นหูดพยายามอย่าเกาบริเวณที่เป็น
อาจลุกลามหรือแพร่กระจายไปตามส่วนอื่น
ๆ
ของร่างกายได้
รายละเอียด
หูดและหงอนไก่สามารถติดต่อได้
โดยการสัมผัส

|
ลักษณะทั่วไป
ตาปลา หมายถึง
ผิวหนังที่ด้านหนาขึ้นเนื่องจากแรงกด
หรือแรงเสียดสีนาน ๆ
มักเกิดตรงบริเวณ
ที่มีปมกระดูกนูน
ตำแหน่งที่พบได้บ่อย ได้แก่
บริเวณ ฝ่าเท้า และใต้นิ้วเท้า
ตาปลาเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป
และเป็นโรคที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนแต่อย่างไร
ยกเว้นใน
ผู้ป่วยเบาหวาน
ถ้าเป็นตาปลาแล้วไม่ได้รับการรักษา
อาจมีการอักเสบรุนแรงได้
สาเหตุ
สาเหตุที่พบได้บ่อย คือ
การใส่รองเท้าคับแน่น
ไม่เหมาะกับเท้า
หรือการเดินลงน้ำหนักที่ไม่
เหมาะสม
ทำให้มีแรงกดตรงใต้ฝ่าเท้า
หรือนิ้วเท้านาน ๆ
จึงเกิดการสร้างเนื้อเยื่อพังผืดแข็ง
ๆ
ขึ้นมารองรับจุดนั้นแทนเนื้อธรรมดา
ตาปลาอาจมีลักษณะคล้ายหูดที่ฝ่าเท้า
ต่างกันตรงที่ถ้าใช้
มีดฝาน หูดจะมีเลือดไหลซิบ ๆ
แต่ตาปลาไม่มี
อาการ
ผิวหนัง
ส่วนที่เป็นตาปลามีลักษณะด้านหนา
หรือเป็นไตแข็ง
แต่ถ้าตาปลามีขนาดโตอาจทำให้มี
อาการปวดเจ็บได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาใส่รองเท้า
การรักษา
1.
ควรเปลี่ยนไปใช้รองเท้าที่มีขนาดพอดีไม่คับ
หรือบีบแน่นเกินไป
และใช้ฟองน้ำรองส่วนที่เป็นตาปลา
ไว้
เวลาใส่รองเท้าเพื่อลดแรงเสียดสี
ตาปลาที่เป็นไม่มากมักจะค่อย ๆ
หายไปได้เองในเวลาหลายสัปดาห์
2.
ใช้พลาสเตอร์ที่มีกรดซาลิไซลิกขนาด
40% ปิดส่วนที่เป็นตาปลา
ซึ่งจะค่อย ๆ ลอกตาปลาออกไป
หรือใช้ยากัดตาปลา หรือหูด
ซึ่งมีกรดซาลิไซลิกผสม
มีชื่อทางการค้า เช่น คอลโลแมก
(Collomack),
ดูโอฟิล์ม (Duofilm), ฟรีโซน (Free zone)
ก่อนทายา
ให้แช่ตาปลาด้วยน้ำอุ่นในอ่าง
หรือโดยใช้ขวด
ยาน้ำของเด็กใส่น้ำอุ่น
แล้วคว่ำลงไปที่ตาปลา นาน 20 นาที
แล้วใช้ตะไบเล็บ
หรือผ้าขนหนูขัดบริเวณ
ตาปลา
จะช่วยให้ผิวหนังที่เป็นขุย ๆ
หลุดออกไป แล้วจึงทายา ทำวันละ 1-2
ครั้งเวลาทายา ระวังอย่า
ให้น้ำยาถูกผิวหนังปกติ
ข้อแนะนำ
1. ควรแก้ไขที่สาเหตุ คือ
ลดแรงเสียดสี
โดยเลือกใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้า
2. ถ้าไม่จำเป็น
ควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัด
หรือจี้ด้วยไฟฟ้า
จะทำให้เป็นแผลเป็น
และเจ็บทุกครั้ง
ที่ลงน้ำหนัก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ถ้าเป็นที่บริเวณส้นเท้า
3. ห้ามใช้มีด หรือของมีคมเฉือน
อาจทำให้แผลอักเสบและบวม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เป็น
เบาหวาน
รายละเอียด
ป้องกัมมิให้เป็นตาปลา
โดยหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่คับแน่นเกินไป

ลักษณะทั่วไป
เริม
เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริม
พุขึ้นเป็นตุ่มใสเล็ก ๆ
พบได้ในคนทุกวัย
และมักเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อเริม
หรือเฮอร์ปีส์ ซิมเพลกซ์ (Herpes simplex
virus/HSV) ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ HSV-1
(ก่อให้เกิดเริมตามผิวหนังทั่วไป
และในช่องปากเป็นส่วนใหญ่) กับ HSV-2
(ก่อให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศ
เป็นส่วนใหญ่)
ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรง
ระยะฟักตัวประมาณ 1-2 สัปดาห์
สำหรับโรคเริมที่อวัยวะ
เพศ
ถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง
อาการ
มักจะมีอาการแสบ ๆ คัน ๆ
นำมาก่อนเล็กน้อย
แล้วมีตุ่มน้ำใสขนาด 2-3
มิลลิเมตรขึ้นอยู่กันเป็นกลุ่ม
โดยรอบจะเป็นผื่นแดง
ต่อมาตุ่มน้ำใสนี้จะกลายเป็นสีเหลืองขุ่น
แล้วแตกกลายเป็นสะเก็ด หายไปได้
เองภายใน 1-2 สัปดาห์ (เร็วสุด 3
วัน)
ลักษณะของตุ่มใสที่อยู่กันเป็นกลุ่มแบบนี้
ชาวบ้านบางแห่ง
จึงเรียกโรคนี้ว่า
"ขยุ้มตีนหมา"
ตำแหน่งที่พบบ่อย ได้แก่
ริมฝีปาก แก้ม จมูก หู ตา ก้น
อวัยวะสืบพันธุ์
นอกจากนี้
ต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงมักจะโต
และเจ็บด้วย เมื่อหายแล้ว
เชื้อจะหลบไปที่ปม
ประสาท แล้วอาจโผล่ขึ้นมาใหม่
ทำให้โรคกำเริบได้บ่อย ๆ
ประมาณปีละ 1-4 ครั้ง
มักเกิดหลังมีไข้
ถูกแดดจัด อาหารไม่ย่อย
ร่างกายอิดโรย อารมณ์เครียด
ระหว่างมีประจำเดือน
หรือตั้งครรภ์
เริมที่อวัยวะเพศ (Herpes genitalis)
ติดต่อโดยการร่วมเพศกับกันคนที่เป็นโรคนี้อยู่ก่อน
หลังจาก
นั้น 4-7 วัน จะมีอาการแสบ ๆ คัน ๆ
ต่อมาจะขึ้นเป็นตุ่มใส ๆ เล็ก ๆ
หลายตุ่มที่อวัยวะเพศ ในผู้ชาย
อาจขึ้นที่หนังหุ้มปลายองคชาต
ที่ตัวหรือที่หัวองคชาต
ส่วนผู้หญิง
อาจขึ้นที่ปากช่องคลอด ในช่อง
คลอด หรือที่ปากมดลูก
ต่อมาตุ่มใสเหล่านี้จะแตกกลายเป็นแผลเล็ก
ๆ หลายแผลคล้าย ๆ
แผลถลอกและมีอาการเจ็บ
แล้วแผลจะค่อย ๆ หายไปเองภายใน 1-2
สัปดาห์ โดยไม่มีแผลเป็น
ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ (ไข่ดัน)
จะโตและเจ็บด้วย
เมื่อเคยเป็นครั้งหนึ่งแล้ว
เชื้อจะหลบไปที่ปมประสาท
เมื่อร่างกายทรุดโทรม
หรือมีการเสียดสี
(การร่วมเพศ)
เชื้อก็จะโผล่ขึ้นมาทำให้เกิดโรคได้อีกโดยไม่ได้ติดเชื้อจากการร่วมเพศมาใหม่
ดังนั้นคนที่เคยเป็นโรคนี้
ก็อาจจะมีอาการกำเริบซ้ำ ๆ ซาก ๆ
(ประมาณปีละ 3-4 ครั้ง) เมื่อ
ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคนี้ก็อาจจะหายขาดไปได้เอง
ถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของ
อาการเป็นแผลที่อวัยวะเพศ
เริมที่ริมฝีปาก (Herpes labialis หรือ Fever blister)
มักขึ้นที่บริเวณผิวหนังใกล้ ๆ
ริมฝีปาก
อาจพบร่วมกับไข้หวัด ปอดบวม
มาลาเรีย
การติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส (เช่น
ทอนซิลอักเสบ)
เชื้อเมนิงโกค็อกคัส
(โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ )
และเชื้อริกเกตเซีย (เช่น
ไข้ไทฟัส ) เริมใน
ช่องปาก มักพบในเด็ก 1-5 ปี
เริ่มพุเป็นตุ่มน้ำเจ็บปวด
แล้วแตกเป็นแผลตื้น ๆ มีฝ้าขาว
หรือ
เลือดแห้งกรัง
บริเวณกระพุ้งแก้ม เหงือก
เพดานปาก ลิ้น
อาจรุนแรงจนกินอาหารไม่ได้
สิ่งตรวจพบ
อาจตรวจพบตุ่มน้ำใสขนาด 2-3
มม.อยู่กันเป็นกลุ่มหรืออาจพบตุ่มตกสะเก็ด
หรือแผลเล็ก ๆ
คล้ายรอยถลอก
และอาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงโต
อาการแทรกซ้อน
ส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง
แล้วอาจกำเริบเป็นครั้งคราว
ส่วนน้อยที่อาจมีภาวะแทรกซ้อน
เช่น
ตุ่มกลายเป็นหนองพุพองจากการอักเสบซ้ำของเชื้อแบคทีเรีย
อาจทำให้เป็นสมองอักเสบ
ซึ่งพบได้น้อยมาก
ถ้าเกิดที่ตา
อาจทำให้กระจกตาอักเสบ (Keratitis)
ถึงกับตาบอดได้
ถ้าเกิดในผู้หญิงระหว่างตั้งครรภ์
เชื้ออาจผ่านไปยังทารก
ทำให้ทารกพิการตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้
ถ้าเกิดในช่องคลอดของหญิงครรภ์แก่
ทารกที่คลอดออกมาอาจได้รับเชื้อ
กลายเป็นโรคเริมชนิด
รุนแรง อาจถึงตายได้
จึงควรแนะนำให้ผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้อง
เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ
ทางช่องคลอด
ถ้าเกิดที่ปากมดลูก
อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก
ได้
การรักษา
1. ให้การรักษาตามอาการ เช่น
ถ้าปวดหรือมีไข้
ให้ยาแก้ปวดลดไข้ ถ้ารู้สึกแสบ ๆ
คัน ๆ ให้ทาด้วย
ยาแก้ผดผื่นคัน
ขณะพุเป็นตุ่มน้ำใสในระยะเริ่มแรก
อาจใช้เข็มปราศจากเชื้อสะกิดให้แตก
แล้วใช้
น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น
โพวิโดนไอโอดีน (เบตาดีน)
แอลกอฮอล์ หรือ ทิงเจอร์ใส่แผลสด
(Merthiolate)
เช็ดแผลวันละ 2-3 ครั้ง
จะช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น
ถ้าพบขณะตุ่มแตกเป็นแผลแล้ว
ก็ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดวันละ 2-3
ครั้ง
ห้ามใช้ยาทาพวกสเตอรอยด์
อาจทำให้แผลลุกลาม หายยาก
หรือติดเชื้อแทรกซ้อนได้
ถ้าแผลติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเป็นหนองเฟะ
(ซึ่งพบได้น้อยมาก) ให้ยาปฏิชีวนะ
เช่น คล็อกซาซิลลิน
หรือ อีริโทรไมซิน นาน 5-7 วัน
2. เด็กที่เป็นเริมในช่องปาก
ให้ดื่มน้ำบ่อย ๆ
บ้วนปากด้วยน้ำเกลือบ่อย ๆ
แล้วใช้กลีเซอรีน โบแรกซ์
หรือ เจนเชียนไวโอเลต
ป้ายภายในช่องปาก วันละ 3-4 ครั้ง
ถ้ามีไข้ให้พาราเซตามอล
และถ้ากินไม่ได้
อาจต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ
3. ถ้าเป็นรุนแรงหรือขึ้นในตาดำ
ควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง
ในปัจจุบันมียาต้านไวรัส ได้แก่
อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir)
ซึ่งมีชื่อทางการค้า เช่น
โซวิแรกซ์ (Zovirax)
ยานี้จะใช้ในกรณีที่มีอาการสมองอักเสบจากเชื้อเริม
ทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อเริมระหว่างคลอด
กระจกตาอักเสบจากเชื้อเริม
สำหรับกระจกตาอักเสบจากเชื้อเริม
ควรปรึกษาจักษุแพทย์
อาจต้องใช้ขี้ผึ้งป้ายตา
อะไซโคลเวียร์ชนิด
3 % ป้ายตาทุก 2-3
ชั่วโมงในสัปดาห์แรก
และป้ายต่ออีกราว 1 สัปดาห์
สำหรับเริมที่อวัยวะเพศ
ที่เพิ่งเป็นครั้งแรก
และมีอาการไม่เกิน 5 วัน
ให้กินยาเม็ดอะไซโคลเวิยร์ ขนาด
200 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด วันละ
5 ครั้ง ห่างกันทุก 4 ชั่วโมง
(เว้นช่วงนอนหลับตอนกลางคืน) หรือ
ครั้งละ400 มก.ทุก 8 ชั่วโมง หรือ
ครั้งละ 800 มก. ทุก 12 ชั่วโมง นาน 5-10
วัน ทั้งนี้เพื่อย่นระยะให้
หายเร็วขึ้น และลดการแพร่โรค
แต่ไม่มีผลในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ส่วนการใช้ครีมอะไซโคลเวียร์
ขนาด 5% ทาแผลเริมวันละ 4 ครั้ง 5-7 วัน
อาจทำให้ผื่นหายเร็วขึ้น
แต่ได้ผลสู้ชนิดกินไม่ได้
ข้อแนะนำ
1.
พยายามให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่า
โรคนี้ถึงแม้จะเป็น ๆ หาย ๆ
เรื้อรัง
แต่โดยทั่วไปก็ไม่ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด
ไม่ควรเปลี่ยนหมอ
เปลี่ยนโรงพยาบาลบ่อย
ยกเว้นในผู้หญิง
ถ้าเป็นที่ปากมดลูก
ควรตรวจหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกปีละครั้ง
ถ้าเป็นระหว่างตั้งครรภ์
หรือใกล้คลอด ควรแนะนำไปพบแพทย์
อาจต้องผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้อง
2. ถ้าเป็นเริมที่อวัยวะเพศ
ควรงดร่วมเพศจนกว่าแผลเริมจะหาย
หรือไม่ก็ควรป้องกันการแพร่เชื้อโดยการใช้ถุงยางอนามัย
3.
ถึงแม้ยังไม่มีวิธีรักษาโรคเริมให้หายขาด
ไม่ให้เป็นซ้ำ
แต่คณะกรรมการอาหารและยา
สหรัฐอเมริกา
ได้แนะนำว่า
ในรายที่เป็นเริมที่อวัยวะเพศ
กำเริบตั้งแต่ปีละ 6 ครั้งขึ้นไป
ให้กินอะไซโคลเวียร์ (200 มก.)
ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เช้า
และเย็น นาน 1 ปี
จะช่วยระงับอาการกำเริบให้ห่างขึ้นได้
และมีความ
ปลอดภัยจากยาสูง
4. ผู้ที่เป็นโรคเริมกำเริบถี่มาก
หรือเป็นรุนแรง
ควรตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี
เพราะอาจพบว่าเป็น
เอดส์ได้
5. ครีมพญายอ ขององค์การเภสัชกรรม
ซึ่งทำจากสมุนไพร
ได้ผ่านการศึกษาวิจัยแล้วพบว่า
สามารถรักษาเริมที่อวัยวะเพศที่เป็นครั้งแรก
ได้ผลพอ ๆ กับครีมอะไซโคลเวียร์
(ซึ่งประสิทธิผลสู้
อะไซโคลเวียร์ ชนิดกินไม่ได้)
และไม่สามารถป้องกันการกำเริบซ้ำ
ส่วนเริมที่กำเริบซ้ำ จะใช้ยาทา
เหล่านี้ไม่ได้ผล
รายละเอียด
ผู้หญิงที่เป็นเริมที่ปากมดลูก
ควรตรวจเชื้อมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ

ลักษณะทั่วไป
ผิวหนังอักเสบ
เป็นการอักเสบของชั้นไขมันใต้ผิวหนัง
เกิดจาก เชื้อสเตรปโตค็อกคัส
หรือสแตฟฟีโลค็อกคัส
ซึ่งเข้าไปทางบาดแผล (เช่น
แมลงกัด หนามตำ ผิวหนัง
มีรอยขีดข่วน)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส
หรือสแตฟฟิโลค็อกคัส
อาการ
ผิวหนังมีลักษณะบวมแดงร้อนและปวด
ขอบเขตไม่ชัดเจน
มักเกิดขึ้นตามแขนขาหรือใบหน้า
อาจมีไข้
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ต่อมน้ำเหลืองอาจโต
และอาจมีท่อน้ำเหลืองอักเสบเป็นรอยแดงเป็นแนวยาว
อาการแทรกซ้อน
เชื้ออาจลุกลามเข้ากระแสเลือดกลายเป็นโลหินเป็นพิษ
ได้
การรักษา
1. ควรให้ผู้ป่วยพักผ่อน
พยายามอย่างเคลื่อนไหวส่วนที่อักเสบ
และยกแขนหรือขาส่วนที่อักเสบให้สูง
และใช้
น้ำอุ่นจัด ๆ ประคบ
ผู้ป่วยสามารถกินอาหารได้ตามปกติ
ไม่มีของแสลง
ควรกินอาหารพวกโปรตีน (เนื้อ นม
ไข่) ให้มาก ๆ
2. ให้ยาแก้ปวดลดไข้
ถ้าปวดหรือมีไข้
และให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนวี
คล็อกซาซิลลิน หรือ
อีริโทรไมซิน
ถ้าดีขึ้นให้ยาต่อจนครบ 10 วัน
แต่ถ้าไม่ดีขึ้นใน 3-5 วัน
ควรส่งโรงพยาบาล
อาจต้องฉีดเพนิซิลลินจีขนาด
600,000ยูนิตเข้ากล้ามวันละ 2 ครั้ง

ผิวหนังที่เป็นรอยด่างขาว
อาจมีสาเหตุได้หลายอย่าง
ที่พบได้บ่อย ได้แก่ เกลื้อน,
โรคเรื้อน, กลากน้ำนม
และโรคด่างขาว สำหรับเกลื้อน
และโรคเรื้อน
ได้กล่าวไว้ในโรคที่ 191 และ 197
ตามลำดับ ในที่นี้จะขอ
กล่าวถึง กลากน้ำนม และ
โรคด่างขาว
กลากน้ำนม
กลากน้ำนม
เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อย
พบมากในเด็กช่วงอายุ 3-16 ปี
และพบได้ทั้งผู้หญิง
และผู้ชาย
เด็กที่มีอายุน้อยกว่านี้และผู้ใหญ่ก็อาจเป็นโรคนี้ได้มักพบบ่อยในคนที่เป็นผื่นแพ้จากกรรมพันธุ์
อาการมักจะเป็นมากในหน้าร้อน
หรือหลังตากแดด ตากลม
โรคด่างขาว
เป็นภาวะที่ผิวหนังบางส่วนกลายเป็นรอยด่างขาว
เนื่องจากผิวหนังในบริเวณนั้นไม่มีเซลล์สร้างเม็ดสี
(melanocyte)จึงไม่สามารถสร้างเม็ดสี (pigment)
ได้เป็นปกติเช่นเดียวกับผิวหนังส่วนที่อยู่โดยรอบ
พบได้ประมาณ 1% ของคนทั่วไป พบได้ในคนทุกวัย
พบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี
บางครั้งอาจเกิดร่วม
กับโรคคอพอกเป็นพิษ
, ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย , เบาหวาน
, โรคแอดดิสัน ,
ผมร่วงเป็นหย่อมไม่ทราบ
สาเหตุ , มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น ประมาณ 30% ของผู้ป่วย
อาจพบว่ามีคนในครอบครัวเป็นด้วย
สาเหตุ
กลากน้ำนม
เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี (melanocyte)
ที่ชั้นหนังกำพร้าไม่สามารถสร้างเม็ดสี
(pigment ) ได้ตามปกติ
ทำให้ผิวหนังในส่วนนั้นกลายเป็นรอยด่างขาว
แต่
สาเหตุที่ทำให้เซลล์สร้างเม็ดสีเกิดความผิดปกติ
ยังไม่ทราบแน่ชัดเชื่อว่า
อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
การขาดอาหาร หรือแพ้ลม แพ้แดด
โรคด่างขาว
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
บางคนเชื้อว่าอาจเกี่ยวกับออโตอิมมูน
(Autoimmune) กล่าวคือ
มีการสร้างแอนติบอดี
ต่อแอนติเจนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเม็ดสี
หรืออาจมีการกระตุ้นปลายประสาท
ทำให้มีการหลั่งสารที่
ทำลายเซลล์สร้างเม็ดสี
หรือในกระบวนการสร้างเม็ดสี
อาจมีการสะสมของเมตาบอไลต์บางอย่าง
ที่มีฤทธิ์
ทำลายเซลล์สร้างเม็ดสี
อาการ
กลากน้ำนม
เริ่มแรกจะเกิดเป็นจุดแดงเล็ก ๆ
ก่อน แล้วแผ่ขยายเป็นวงแดงจาง ๆ
ขนาด 0.5 - 3 ซม. มีขุยบางๆ ต่อมาสีจะ
จางลงเป็นวงสีขาว ๆ
ลักษณะเป็นวงกลม หรือวงรี
ขอบเขตไม่ชัดเจน และมีขุยบาง ๆ
โดยมากจะไม่มีอาการคัน
ตำแหน่งที่พบได้บ่อย ได้แก่
บริเวณหน้า (รอบปาก แก้ม
หรือหน้าผาก) บางคนอาจพบที่คอ
ไหล่ และแขน
วงด่างขาวนี้มักเป็นอยู่นานเป็นแรมเดือน
แรมปี หรือเป็น ๆ หาย ๆ
จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะหายไปได้เอง
โรคด่างขาว
เป็นผื่นราบสีขาว ขอบเขตชัดเจน
มีรูปร่างไม่แน่นอนและมีขนาดต่าง
ๆ กันไปตั้งแต่ 1 ซม. ถึง 10 ซม.
ซึ่งอาจ
เกิดที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของผิวกายก็ได้
แต่มักจะเกิดตรงบริเวณหน้า
ริมฝีปาก คอ หลังมือ และหลังเท้า
โดยมาก
จะมีลักษณะการกระจายตัวเหมือน ๆ
กันทั้ง 2 ข้างของร่างกาย (เช่น
ขึ้นที่หลังมือ
พร้อมกันทั้งซ้ายและขวา)
ขอบของวงด่างขาว
จะมีลักษณะโค้งหรือนูนออก
จึงทำให้ผิวหนังส่วนที่ปกติที่อยู่โดยรอบมีลักษณะตรงกันข้าม
คือเว้าเข้า
ขนหรือผมที่ขึ้นอยู่ในรอยด่างขาวจะกลายเป็นสีขาวเช่นกัน
รอยด่างขาว เมื่อถูกแดด
มักจะมีอาการแพ้แดดได้ง่าย
ทำให้ออกแดงและแสบร้อนได้แต่โดยปกติ
จะไม่มี
อาการคัน
หรือปวดแสบปวดร้อนแต่อย่างไร
และยังมีการรับรู้ความรู้สึกได้เป็นปกติ
(รู้สึกเจ็บ เมื่อถูกเข็มแทง)
รอยด่างขาวมักจะลามออกไปอย่างช้า
ๆ บางคนจะเป็นเฉพาะที่
แต่บางคนอาจมีรอยด่างขาวกระจายไปเกือบ
ทั่วตัว แต่อาจมีบางคนที่พบว่า
รอยด่างขาวสามารถหายได้เอง
หลังจากเป็นอยู่เป็นแรมเดือนแรมปี
ซึ่งก็พบ
ได้เป็นส่วนน้อย
การรักษา
กลากน้ำนม
ทาด้วยครีมสเตรอรอยด์ เช่น
ครีมเพร็ดนิโซโลน
หรือครีมบีตาเมทาโซน
บางคนอาจได้ผล แต่บางคนอาจ
ไม่ได้ผลควรใช้สูบ่อ่อน (เช่น
สบู่น้ำ หรือสบู่เด็ก)
ในการล้างทำความสะอาดบริเวณที่เป็น
โรคด่างขาว
ถ้าเป็นไม่มาก ไม่ต้องทำอะไร
เพราะไม่มีอันตรายแต่อย่างไร
แต่ถ้าเป็นมาก
หรือลุกลามจนน่าเกลียด
ควรปรึกษาแพทย์ทางโรคผิวหนัง
ซึ่งอาจให้ยารักษา ได้แก่
ซอลาเรน (Psolaren) มีชื่อทางการค้า
เช่น
เมลาดินีน (Meladinine)
ซึ่งมีทั้งชนิดกินและทาสำหรับชนิดกินผู้ใหญ่
ให้กินครั้งละ 3 เม็ด
ในตอนเช้าก่อน
จะอาบแดด 2 ชั่วโมง
แล้วจึงให้ผิวหนังส่วนที่เป็นด่างขาวอาบแดด
(ควรจะเป็นช่วง 9.00 น.) ในวันแรกควร
อาบนาน 5
นาทีก่อนแล้วครั้งต่อไป ค่อย ๆ
เพื่อขึ้นอีกวันละ 5 นาที
จนกระทั่งนานเป็น 15 ถึง 30 นาที
ควรทำสัปดาห์ละ 3 วัน
สำหรับชนิดทา มีชนิด 1% ซึ่งแรงไป
ควรใช้น้ำผสมเจือจางเป็น 0.1% (ใช้ยา
1 ส่วนผสมน้ำ 9 ส่วน) แล้วใช้พู่กัน
เล็ก ๆ ทาเฉพาะบริเวณที่เป็น
ทิ้งไว้สัก 1/2 - 1 ชั่วโมง
แล้วจึงอาบแดดตามวิธีดังกล่าว
ควรระวังอย่าอาบแดดนานเกินไป
อาจทำให้ผิวหนังพองเป็นตุ่มน้ำได้
อาจต้องใช้ครีมสเตอรอด์ ทาหลังอาบแดด
เพื่อป้องกันมิให้ผิวหนังพองถ้ามีตุ่มพอง
ควรหยุดใช้ซอลาเรน
แล้วทาด้วยครีมสเตอรอยด์จนกว่าจะหาย
แล้วจึงเริ่มใช้ซอลาเรนใหม่
แต่ควรลดเวลาอาบแดดลง ถ้าได้ผล
ผิวหนังส่วนนั้นจะเริ่มแดงก่อน
ต่อมาจะมี
สีคล้ำ โดยเริ่มจากบริเวณรอบ ๆ
ขนก่อน แล้วจะค่อย ๆ
ขยายกว้างออกไประยะเวลาของการรักษา
อาจนาน
ถึง 2-3 ปี บางคนหลังหยุดยา
ผิวสีอาจกลับขาวได้อีก บางคน
หากใช้วิธีดังล่าวไม่ได้ผล
อาจต้องเปลี่ยนไปใช้
วิธีอื่นแทนในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผลถาวรและน่าพอใจ
ข้อแนะนำ
กลากน้ำนม
1. โรคนี้อาจเป็นเรื้อรัง
หรือเป็น ๆ หาย ๆ นาน 1-2 ปี
แต่ก็ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด
และไม่ติดต่อให้ผู้อื่น เมื่อโต
เป็นผู้ใหญ่จะหายได้เอง
2. โรคนี้ต่างจากเกลื้อน
ตรงที่เกลื้อนจะเกิดขึ้นที่หลัง
คอ และหน้าอก
และพบมากในคนหนุ่นสาวที่มีเหงื่ออกมาก
แต่กลากน้ำนมจะเกิดมากที่ใบหน้าและไหล่
และพบมากในเด็กจนถึงวัยหนุ่มสาวถ้าหากแยกกันไม่ออกให้ลอง
รักษาแบบเกลื้อน ดูก่อน
หรือถ้าใช้สเตอรอยด์ทาแล้ว
กลับลุกลามมากขึ้น
ก็อาจเป็นเกลื้อน ควรหยุดยา แล้ว
ให้ยารักษาเกลื้อนแทน
3. โรคนี้ไม่ได้เกิดจากการกินนม
แต่ที่เรียกว่ากลากน้ำนม
เพราะว่ามักจะพบในระยะ
ที่เด็กกินนม และลักษณะ
เหมือนน้ำนมแห้งติดอยู่ที่แก้ม
4.
ไม่ควรซื้อยาทาประเภทแสบร้อนหรือขี้ผึ้งเบอร์ต่าง
ๆ มาทา อาจทำให้หน้าไหม้เกรียม
หรือหนังแห้งเป็นผื่นดำ
โรคด่างขาว
1. ควรแยกโรคด่างขาวออกจากเกลื้อน
โรคเรื้อน และกลากน้ำนม
โดยที่โรคด่างขาวมักจะขึ้นกระจาย
เหมือนกัน
ทั้งสองข้างของร่างกาย
มีขอบเขตชัดเจน ไม่คัน ไม่ชา (เข็มแทงจะรู้สึกเจ็บ)
และมักเป็นเรื้อรังตลอดชีวิตเกลื้อน
มักขึ้นเป็นรอยแต้มๆ มีสีต่าง ๆ
มีขุยบางๆ
และหลุดออกเมื่อใช้เล็บขูด
เมื่อใช้ยารักษาเกลื้อน ก็มัก
จะหายได้
เป็นพัก ๆ
โรคเรื้อนจะเป็นวงด่างซึ่งจะไม่มีขน
ไม่มีเหงื่อ และชา (หยิกไม่เจ็บ)
ส่วนกลากน้ำนม
มักพบในเด็กและ
วัยรุ่นวงด่าง
มีขอบเขตไม่ชัดเจนและมีขุยบาง ๆ
เมื่อโตขึ้นจะหายได้เอง
2.
โรคด่างขาวไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
จึงไม่ติดต่อให้ผู้อื่น
3.
โรคนี้บางครั้งอาจพบร่วมกับโรคอื่น
ๆ เช่น เบาหวาน คอพอกเป็นพิษ
ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย
โรคแอดดิสัน
ผมร่วงเป็นหย่อมไม่ทราบสาเหตุ
เป็นต้น
ถ้าพบมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
ร่วมด้วย ควรแนะนำไปโรงพยาบาล
เพื่อตรวจหาร่องรอยของโรคอื่น
ๆ
ข้อแนะนำ
กลากน้ำนม
ไม่ได้เกิดจากเชื้อรา หรือน้ำนม
และเมื่อโตขึ้นจะหายได้เอง
ฝี เป็นการอักเสบของต่อมไขมันและขุนขน พบได้บ่อยในคนทุกวัย คนที่เป็นเบาหวานหรือกินสเตอรอยด์
เป็นประจำอาจเป็นฝีได้บ่อยส่วนใหญ่มักขึ้นเพียงหัวเดียว บางคนอาจขึ้นหลายหัว ติด ๆ กัน เรียกว่า ฝีฝักบัว (Carbuncles)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสแตฟฟีโลค็อกคัส อาจติดต่อโดยการสัมผัสถูกผู้ป่วยโดยตรง
อาการ
มักจะขึ้นเป็นตุ่ม หรือก้อนบวมแดง และปวด กดถูกเจ็บ มีผมหรือขนอยู่ตรงกลาง ขึ้นใหม่ ๆ จะมีลักษณะแข็ง
ตุ่มนี้จะขยายโตขึ้นและเจ็บมาก ต่อมาค่อย ๆ นุ่มลงและกลัดหนอง บางครั้งเมื่อฝีเป่งมาก ๆ อาจแตกเองได้
(หลังฝีขึ้นไม่กี่วันหรือ 1-2 สัปดาห์) แล้วอาการเจ็บปวดจะทุเลา
บางครั้งอาจพบต่อมน้ำเหลืองในบริเวณ
ใกล้เคียงอักเสบด้วย เช่น ถ้าเป็นฝีที่เท้า อาจมีไข่ดัน (ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ) บวมและปวด, ถ้าเป็นที่มือ
ก็มีการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ เป็นต้น
ในรายที่เป็นฝีฝักบัว อาจมีไข้ อ่อนเพลีย ร่วมด้วย
ในรายที่
เป็นฝีหัวเดียว
อาการทั่วไปมักเป็นปกติเมื่อหายแล้ว มักเป็นแผลเป็น
อาการแทรกซ้อน
อาจลุกลามเข้ากระแสเลือด ทำให้เป็นฝีที่ไต (Perinephric abscess) เยื่อกระดูกอักเสบ (osteomyelitis) โลหิตเป็นพิษ ถ้าเป็นฝีตรงบริเวณกลาง ๆ ใบหน้า (เช่น กลางสันจมูก หรือริมฝีปากบน) แล้วบีบแรง ๆ
เชื้ออาจแพร่กระจายเข้าสมองเป็นอันตรายถึงตายได้
การรักษา
1. ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นจัด ๆ (ขนาดที่พอทนได้ อย่าร้อนจัด) ประคบวันละ 2-3 ครั้ง ๆ ละ 10-15 นาที
2. ให้ยาแก้ปวดลดไข้
3. ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น คล็อกซาซิลลิน
หรือ อีริโทรไมซิน นาน 5-7 วัน
4. ถ้าฝีสุก (ฝีนุ่มเต็มที่) อาจใช้เข็มเจาะดูด หรือผ่าระบายเอาหนองออก พร้อมกับใส่ผ้าเป็นหมุดระบายหนอง
ชะล้างแผล และเปลี่ยนหมุดทุกวัน จนกระทั่งแผลตื้น
ข้อแนะนำ
1. ถ้าเป็นฝีบ่อย ๆ อาจมีภูมิต้านทานต่ำ เนื่องจากขาดอาหาร โลหิตจาง เป็นเบาหวาน
หรือกินสเตอรอยด์
นาน ๆ ควรตรวจหาสาเหตุ และให้การดูแลรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น ควรตรวจปัสสาวะ ถ้าพบมีน้ำตาล
ก็อาจเป็นเบาหวาน ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล
2. ควรป้องกันการเกิดฝี โดยการอาบน้ำฟอกสบู่วันละ 2 ครั้ง และกินอาหารที่มีประโยชน์เป็นประจำ
3. อย่าบีบหัวฝี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าขึ้นตรงกลางใบหน้า

ฝ้า เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่ง พบมากในอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป
สาเหตุ
เกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ผิวหนังมีการสร้างเม็ดสี (pigment)
มากกว่า
ปกติพบมากในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่กินหรือ ฉีดยาคุมกำเนิด แต่ก็อาจพบในผู้ชาย และผู้หญิงทั่วไป
ผู้ที่ถูกแสงแดด หรือแสงไฟ (แสงอัลตราไวโอเลต) บ่อยอาจมีโอกาสเป็นฝ้าได้ง่าย
และเชื่อว่ากรรมพันธุ์
ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดฝ้า
นอกจากนี้ความเครียด สารเคมี (เช่น น้ำมันดิน) น้ำหอม เครื่องสำอาง ก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดฝ้า
หรือรอย
ด่างดำบนใบหน้าได้
ผู้ที่เป็นโรคบางชนิด เช่น เนื้องอกของรังไข่ โรคแอดดิสัน
ก็อาจทำให้หน้าเป็นฝ้าดำได้เช่นกัน
บางคน
อาจเกิดฝ้าโดยไม่ทราบสาเหตุก็ได้
อาการ
มีลักษณะเป็นรอย หรือปื้นสีน้ำตาลออกดำขึ้นที่บริเวณใบหน้าส่วนที่ถูกแสงแดดมาก ๆ เช่น หน้าผาก
โหนกแก้มทั้งสองข้าง และดั้งจมูก บางคนอาจมีรอยดำ ที่หัวนม รักแร้ ขาหนีบ หรืออวัยวะเพศร่วมด้วย
การรักษา
1. ควรแนะนำข้อปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย คือ อย่าถูกแดดมาก (เวลาออกกลางแจ้ง ควรใส่หมวก หรือกางร่ม)
ควรหลบแสงไฟแรง ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำหอม และเครื่องสำอาง ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
และอย่า
ให้อารมณ์เครียด
2. ใช้ยาลอกฝ้า ได้แก่ ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) ขนาด 2-4 % ทาวันละ 2 ครั้ง
จะช่วยลดการสร้าง
เม็ดสี ทำให้ฝ้าจางลงได้ ยานี้อาจทำให้แพ้ได้ จึงควรทดสอบโดยทาที่แขน แล้วทิ้งไว้ 2-3 วัน (ห้ามล้าง
ออก) ดูว่ามีผื่นแดงหรือไม่
ถ้ามีก็ห้ามใช้ยานี้
อาจผสมกับกรดเรติโนอิก ขนาด 0.01-0.05%
และสเตอ
รอยด์ทำเป็นครีมยี่ห้อต่าง ๆ
3. ใช้ยากันแสง ได้แก่ พาบา (PABA ซึ่งย่อมา จาก Para-aminobenzoic acid) ทาตอนเช้า
หรือก่อนออก
กลางแดด ควรใช้ชนิดที่มีความสามารถในการกรองแสง (sun protective factor/SPF) มากกว่า 15ขึ้น
ไป ยานี้อาจทำให้แสบตา แสบจมูก เป็นสิว หรือแพ้ได้
โดยทั่วไป
มักจะต้องใช้เวลาเป็นเดือนกว่าอาการ
จะดีขึ้น และจะต้องใช้ยากันแสงไปเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันการกลับเป็นฝ้าอีกถ้าไม่ดีขึ้นใน 1-2 เดือน
หรือ
แพ้ยาที่ทารักษาฝ้า หรือสงสัยเป็นโรคอื่นควรปรึกษาแพทย์ทางโรคผิวหนังซึ่งอาจเปลี่ยนไปใช้รักษาฝ้าชนิด
อื่นแทน
ข้อแนะนำ
1. ฝ้าที่เกิดจากการตั้งครรภ์ หรือกินหรือฉีดยาคุมกำเนิด อาจหายได้เองหลังคลอด
หรือหลังหยุดใช้
ยาคุมกำเนิด (อาจใช้เวลาเป็นสองเท่าของระยะเวลาที่กินยาคุมกำเนิด เช่น ถ้ากินยาอยู่นาน 1 ปี
ก็อาจ
ใช้เวลาถึง 2 ปีกว่าฝ้าจะหาย)
2. ฝ้า อาจมีสาเหตุจากโรคที่ซ้อนเร้นภายในร่างกาย เช่น เนื้องอกของรังไข่ โรคแอดดิสัน
เป็นต้น
นอกจากนี้โรคเอสแอลอี ก็อาจมีผื่นแดงขึ้นที่แก้ม คล้ายรอยฝ้าได้ ดังนั้นถ้าพบมีอาการผิดสังเกตอื่น ๆ
เช่น อ่อนเพลีย เป็นลมบ่อย ปวดข้อ ผมร่วง เป็นไข้เรื้อรัง เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์
3. ยารักษาฝ้าบางชนิด อาจมีสารเคมีที่ทำลายเซลล์สร้างเม็ดสี (melanocytes) ทำให้หน้าขาววอก
หรือ
เป็นรอยแดงหรือรอยด่างอย่างน่าเกลียด ดังนั้น จึงควรระมัดระวังอย่าซื้อยาลอกฝ้ามาทาเองอย่างส่งเดช
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาที่โฆษณาว่าทำให้หายได้ทันที
ยาลอกฝ้าที่เข้าสารปรอท อาจทำให้ฝ้าจางลง
แต่อาจมีอันตรายจากการสะสมปรอทที่ผิวหนัง และในร่างกายได้
4. ในการรักษาฝ้า อาจต้องใช้เวลานานเป็นแรมเดือน หรืออาจไม่มีทางรักษาให้หายขาด
เพียงแต่ใช้
ยากันแสง และยาลอกฝ้าทาไปเรื่อย ๆ ถ้าหยุดยา อาจกำเริบได้ใหม่
ฝ้าที่อยู่ตื้น ๆ (สีน้ำตาล
หรือ
น้ำตาลเข้ม) มักจะรักษาได้ผลดี แต่ฝ้าที่อยู่ลึก (สีน้ำตาลเทา หรือสีดำ) อาจได้ผลช้าหรือไม่ได้ผลเลย
5. การลอกหน้า ขัดผิว ตามร้านเสริมสวย นอกจากจะไม่ช่วยการรักษาฝ้าแล้ว
ยังอาจเสี่ยงต่อภาวะ
แทรกซ้อน เช่น การแพ้สัมผัส จึงไม่แนะนำให้ไปลอกหน้าขัดผิว
รายละเอียด
ยาคุมกำเนิดอาจทำให้เกิดฝ้า

รังแค หมายถึง สะเก็ดสีขาวบนหนังศีรษะ ซึ่งจะหลุดร่วงเมื่อแปรงหรือหวีผม เป็นสิ่งที่พบได้ในคนกว่า
50%โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะเป็นมากในช่วงอายุประมาณ 20 ปี
การมีขี้รังแคมาก ไม่ถือว่าเป็นโรค
และไม่ทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นผมหรือการอักเสบของหนัง
ศีรษะแต่อย่างไรนอกจากทำให้รำคาญและเสียบุคลิกภาพ
สาเหตุ
สะเก็ดรังแค เกิดจากหนังศีรษะชั้นบนสุด (ชั้นขี้ไคล) ที่ตายแล้ว และหลุดลอกออกมาตามธรรมชาติ
ผมบนศีรษะ อาจจะรบกวนกระบวนการหลุดลอกของชั้นขี้ไคล ทำให้มีสะเก็ดหรือขุยเกิดขึ้น
เนื่องจากภาวะนี้พบมากในวัยรุ่น จึงเชื่อว่า อาจเกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนแอนโดรเจน
และการทำงานของต่อมไขมัน และอาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่มีรังแคมาก
จะมีปริมาณของเชื้อรา (Pityrosporon ovale และ Pityrosporon orbiculare) มากกว่าคนปกติ
ซึ่งยังไม่แน่ใจว่า จะเป็นสาเหตุของการเกิดรังแคหรือไม่
อาการ
เป็นสะเก็ด หรือขุยสีขาว หรือเทาเงิน ขนาดเล็ก ๆ อาจเป็นขุยละเอียด หรือเป็นแผ่น
อาจเป็นเพียงแห่ง
เดียว หรือหลายแห่ง หรืออาจเป็นทั้งหนังศีรษะก็ได้ สะเก็ดรังแคจะติดค่อนข้างแน่นบนหนังศีรษะ
และจะ
หลุดร่วงก็ต่อเมื่อแปรงหรือหวีผม หรือเมื่อถูกลมพัด
ความรุนแรงของรังแคจะแปรผันไม่แน่นอนในแต่
ละช่วง โดยที่ไม่ทราบสาเหตุ บางคนอาจมีอาการคันร่วมด้วย
การรักษา
สระผมด้วยแชมพูที่มีตัวยารักษารังแค เช่น ซีลีเนียมซัลไฟด์ (Selenium sulfide มีชื่อการค้า เช่น
แชมพูสระผมเซลซัน), ซิงค์ไพริไทออน (Zinc pyrithion) หรือ โคลทาร์ (Coal tar เช่น ทาร์แชมพู)
ใช้สระผมสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ควรสระทิ้งไว้นาน 5-10 นาที แล้วค่อยล้างออก
นอกจากนี้อาจใช้แชมพู
คีโตโคนาโซล ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา สระผม ก็ได้ผลเช่นกัน
ถ้าได้ผล ควรใช้แชมพูดังกล่าวไปเรื่อย ๆ
หากหยุดใช้อาจกลับมีขี้รังแคได้อีก
ในรายที่ใช้แชมพูดังกล่าว 2 สัปดาห์ แล้วยังไม่ได้ผล
หรือหนัง
ศีรษะมีลักษณะอักเสบ หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคผิวหนังชนิดอื่น ๆ
ควรตรวจ
หาสาเหตุอื่น ๆ เพิ่มเติม
รายละเอียด
ขจัดรังแค ด้วยแชมพูเซลซัน แชมพูคีโตโคนาโซล หรือทาร์แชมพู

โรคเรื้อน (ขึ้ทูต กุฏฐัง ไทกอ หูหนาตาเร่อ โรคใหญ่ โรคพยาธิ เนื้อตาย โรคผิดเนื้อ ก็เรียก)
เป็นโรค
ติดต่อเรื้อรังชนิดหนึ่ง โรคนี้พบได้ทุกภาคของประเทศ แต่จะพบมากทางภาคอีสาน
โรคเรื้อน สามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิด ขึ้นกับภูมิต้านทานของผู้ป่วยได้แก่
1. โรคเรื้อนไม่ทราบชนิด (Indeterminate leprosy) ซึ่งเป็นโรคเรื้อนในระยะเริ่มแรก
อาการแสดง
ยังไม่ชัดเจน ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 2-3 เดือน บางคนอาจมีอาการคงที่อยู่นาน
และบางคนอาจ
แปรเปลี่ยนเป็นโรคเรื้อนชนิดอื่น ๆ
2. โรคเรื้อนชนิดทูเบอร์คูลอยด์ (Tuberculoid leprosy) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในบ้านเรา
ผู้ป่วยมี
ภูมิต้านทานขนาดปานกลาง แต่ไม่สามารถขจัดเชื้อได้หมด เชื้อโรคเรื้อนสามารถเจริญได้ช้า ๆ
ทำให้
ผิวหนังชา และมีการทำลายเส้นประสาทตั้งแต่ในระยะแรก โรคเรื้อนชนิดนี้จะตรวจไม่ค่อยพบเชื้อ
และ
ไม่ติดต่อไปยังผู้อื่น การอักเสบมักจะบรรเทาได้เอง ภายใน 1-3 ปี แต่อาจมีอาการพิกลพิการได้
3. โรคเรื้อนชนิดก้ำกึ่ง (Borderline leprosy) ผู้ป่วยมีภูมิต้านทานโรคน้อยกว่าชนิดที่ 2
แต่มากกว่า
ชนิดที่ 4 อาจตรวจพบเชื้อได้บ้าง แต่ติดต่อไปยังผู้อื่นได้ มีอาการ และความรุนแรงก้ำกึ่งระหว่าง
ชนิด
ทูเบอร์คูลอยด์ กับชนิดเลโพรมาตัส
4. โรคเรื้อนชนิดเลโพรมาตัส (Lepromatous leprosy) ผู้ป่วยไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคนี้
หรือถ้ามีก็น้อย
มาก เชื้อโรคเรื้อนสามารถแบ่งตัวเป็นล้าน ๆ ตัว แพร่กระจายไปทั่วร่างกาย และตรวจพบเชื้อได้ง่าย
จัดเป็นชนิดร้ายแรงและติดต่อได้ง่ายที่สุด เส้นประสาทจะถูกทำลายในระยะท้ายของโรค
นอกจากนี้
ยังมีชนิดก้ำกึ่ง-ทูเบอร์คูลอยด์ (Borderline-tuberculoid) มีความรุนแรงอยู่ระหว่างชนิดที่ 2 และ 3
และชนิดก้ำกึ่ง-เลโพรมาตัส (Borderline-lepromatous) มีความรุนแรงระหว่างชนิดที่ 3 และ 4
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อโรคเรื้อน ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียมเลเพร (Mycobacterium
leprae) เชื่อว่าติดต่อโดย การสัมผัสทางผิวหนัง หรือสูดเข้าทางเดินหายใจ โรคนี้ติดต่อกันได้ยาก
จะต้องอยู่
ใกล้ชิดกับผู้ป่วย โรคเรื้อนระยะติดต่อเป็นเวลานาน ๆ จึงจะรับเชื้อเข้าร่างกายระยะฟักตัว เฉลี่ย 3-5 ปี
(ต่ำสุด 6 เดือน และนานสุดเป็นเวลาหลายสิบปี)
ผู้ที่รับเชื้อโรคเรื้อน ไม่จำเป็นจะต้องกลายเป็นโรคเรื้อทุกราย ทั้งนี้ขึ้นกับภูมิต้านทานของร่างกาย
ถ้า
ภูมิต้านทานเป็นปกติมักจะหายได้เองหรือ มีอาการอย่างอ่อน (ไม่ร้ายแรง) แต่ถ้าภูมิต้านทานผิดปกติ
ก็อาจเป็นโรคชนิดร้ายแรงได้
อาการ
ระยะแรก (โรคเรื้อนไม่ทราบชนิด) ผิวหนังจะเป็นวงขาว หรือสีจาง ขอบไม่ชัดเจน
ผิวหนังในบริเวณ
นี้จะมีขนร่วง และเหงื่อออกน้อยกว่าปกติ แต่ยังไม่ค่อยรู้สึกชา และเส้นประสาทเป็นปกติ มักจะพบที่หลัง
ก้น แขน และขา ระยะนี้อาจหายได้เอง หรืออาจมีอาการเปลี่ยนแปลงเป็นโรคเรื้อนชนิดอื่น
โรคเรื้อนชนิดทูเบอร์คูลอยด์ ส่วนมากจะมีผื่นเดียวเป็นวงขาว หรือสีจางขอบชัดเจน หรือเป็นวงขาว
มีขอบแดงนูนเล็กน้อย หรือเป็นวงขาว ขอบนูนแดง หนาเป็นปื้น อาจมีสะเก็ดเล็กน้อยหรือไม่มีก็ได้
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-10 ซม. ตรงกลางผื่นจะไม่มีขน ไม่มีเหงื่อและชา (หยิกหรือใช้เข็มแทงไม่เจ็บ
หรือใช้สำลีแตะไม่มีความรู้สึก) พบบ่อยที่บริเวณหน้า ลำตัว และก้น โรคเรื้อนชนิดนี้จะตรวจไม่พบเชื้อ
บางครั้งอาจตรวจพบเส้นประสาทบวมโตที่ใต้ผิวหนังในบริเวณที่เป็นโรค หรือ
อาจคลำได้เส้นประสาท
อัลนา (ulnar nerve) ที่บริเวณด้านในของข้อศอก หรือเส้นประสาทที่ขาพับ (peroneal nerve)
ตรง
บริเวณใต้หัวเข่าด้านนอก หรือเส้นประสาทใหญ่ใต้หู (great auricular nerve) ตรงด้านข้างของคอ
จะมีลักษณะเป็นเส้นแข็ง ๆ และอาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย
ส่วนมากจะตรวจพบเส้นประสาทบวมโต
เพียงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเท่านั้น
โรคเรื้อนชนิดก้ำกึ่ง-ทูเบอร์คูลอยด์ อาการทางผิวหนัง คล้ายกับชนิดทูเบอร์คูลอยด์
แต่จะมีจำนวนผื่น
มากกว่า การตรวจเชื้อจากผิวหนัง พบได้บ้าง แต่ไม่มากนัก
โรคเรื้อนชนิดก้ำกึ่ง ผิวหนังขึ้นผื่นเป็นวงแหวน หรือวงรี ขอบนูนแดงหนาเป็นมัน
ขอบในชัดเจนกว่า
ขอบนอก ตรงกลางผื่นจะไม่มีขน ไม่มีเหงื่อ แบบเดียวกับชนิดทูเบอร์คูลอยด์
และจะชาน้อยกว่าชนิด
ทูเบอร์คูลอยด์ การตรวจเชื้อจากผิวหนัง พบได้บ้างแต่ไม่มากนัก
โรคเรื้อนชนิดก้ำกึ่ง-เลโพรมาตัส และชนิดเลโพรมาตัส จะมีลักษณะคล้ายกัน ต่างกันที่จำนวน
และ
การกระจายของรอยโรค และจำนวนเชื้อที่ตรวจพบจากผิวหนัง หรือเยื่อบุจมูก
ผิวหนังจะมีลักษณะ
เป็นผื่นแดง ขอบเขตไม่ชัดเจน แล้วต่อมาจะหนาเป็นเม็ด เป็นตุ่มหรือเป็นแผ่น ผิวมักแดงเป็นมันเลื่อม
ไม่เจ็บ ไม่คัน ไม่ชา ผื่นตุ่มเหล่านี้จะขึ้นกระจายทั้งสองข้างของร่างกาย พบบ่อยตามใบหน้า ใบหู
ข้อศอก ข้อเข่า ลำตัวและก้น ขนคิ้วส่วนนอก (ส่วนหางคิ้ว) มักจะร่วง และขาบวม
ในระยะท้ายของโรค
ผิวหนังจะเห่อหนา มีลักษณะหูหนาตาเล่อ และมีเส้นประสาทบวมโตพร้อมกันทั้งสองข้างของร่างกาย
เส้นประสาทที่พบได้บ่อย ได้แก่ เส้นประสาทอัลนา และเส้นประสาทใหญ่ใต้หู ทำให้มีอาการชา
นิ้วมือนิ้วเท้างอ เหยียดไม่ออก มือหงิก เท้าตก นิ้วกุด หรือตาบอด
เยื่อบุจมูกมักมีอาการอักเสบตั้งแต่ในระยะแรก ๆ (มีอาการคันจมูก น้ำมูกมีเลือดปน)
ต่อมาจะมีแผลเปื่อยที่ผนังกั้นจมูก จนทำให้จมูกแหว่ง นอกจากนี้ก็ยังมักจะมีการอักเสบของกระจกตา
และเยื่อบุในช่องปากร่วมด้วย โรคเรื้อนชนิดนี้ มักตรวจพบเชื้อจำนวนมาก
แพร่กระจายโรคให้ผู้อื่น
ได้ง่าย มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจตายภายใน 10-20 ปี
อาการแทรกซ้อน
ถ้าไม่ได้รับการรักษา เส้นประสาทจะถูกทำลายทำให้มือเท้าชา กล้ามเนื้อมือเท้าอ่อนแรง
กล้ามเนื้อ
ฝ่ามือและหลังมือลีบ ข้อมือตก เดินเท้าตก
ถ้าเส้นประสาทที่หน้าเสีย
จะทำให้หลับตาไม่ได้ทำให้
ตาอักเสบเป็นแผลที่กระจกตา และตาบอดได้ผู้ป่วยมักมีแผลเปื่อยที่มือเท้า
เนื่องจากมี อาการชา
และอาจทำให้นิ้วมือนิ้วเท้ากุดหายไปได้ในรายที่เป็นโรคเรื้อนชนิดเลโพรมาตัส
อาจติดเชื้อ
วัณโรคได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานน้อย นอกจากนี้อาจมีการทำลายของกระดูก
เป็นหมัน
เนื่องจากอัณฑะฝ่อ หรือมีอาการทางไตร่วมด้วย
การรักษา
หากสงสัย เช่น พบวงด่างขาว ซึ่งเข็มแทงไม่เจ็บหรือมีผื่นหรือตุ่มขึ้นที่ใบหน้า ใบหูสองข้าง หรือส่วนอื่น ๆ ซึ่งเป็นเรื้อรังหรือใช้ยาทาเป็นเดือน ๆ แล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ควรส่งไปตรวจที่โรงพยาบาล หรือศูนย์โรคเรื้อนเขต เพื่อวินิจฉัยโดยทำการขูดผิวหนัง ใส่บนแผ่นกระจกใส และย้อมด้วยสีแอซิดฟาสต์ (acid fast stain) เช่นเดียวกับการตรวจเชื้อวัณโรค ถ้าเป็นชนิดเลโพรมาตัส และชนิดก้ำกึ่ง มักจะพบเชื้อโรคเรื้อน แต่ถ้าเป็นชนิดทูเบอร์คูลอยด์ อาจตรวจไม่พบเชื้อ
นอกจากนี้ อาจทำการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อของผิวหนัง และเส้นประสาทที่บวมโตไปตรวจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์เรียกว่า การตรวจชื้นเนื้อ (biospy)
หรืออาจทำการทดสอบทางผิวหนัง เรียกว่า การทดสอบเลโพรมิน (Lepromin test) ซึ่งจะให้ผลบวกในผู้ป่วยชนิดทูเบอร์คูลอยด์ และให้ผลลบในผู้ป่วยชนิดเลโพรมาตัส
การรักษา
ให้ยารักษาโรคเรื้อน ซึ่งมีให้เลือกใช้ 3 ตัวได้แก่ แดปโซน (Dapsone) หรือ ดีดีเอส (DDS ซึ่งย่อมาจาก
Diaminodiphenyl sulphone), ไรแฟมพิซิน, (Rifampicin) และโคลฟาซิมีน (Clofazimine) มีชื่อการค้า
เช่น แลมพรีน (Lamprene) โดยเลือกใช้ให้เหมาะกับชนิดและความรุนแรงของโรค ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. ประเภทที่ตรวจไม่พบเชื้อ หรือเชื้อน้อยมากจนตรวจไม่พบ ได้แก่ โรคเรื้อนไม่ทราบชนิด,
ชนิด
ทูเบอร์คูลอยด์ และชนิดก้ำกึ่ง-ทูเบอร์คูลอยด์ ให้ยาแดปโซน 100 มก. (เด็ก 1-2 มก./น้ำหนักตัว 1
กิโล
กรัม) วันละครั้ง ทุกวัน ร่วมกับไรแฟมพิซิน (ย4.14) 600 มก. (เด็ก 10 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) เดือนละครั้ง นาน 6 เดือน
ถ้าครบ 6 เดือนแล้ว ตรวจพบว่ามีอาการกำเริบ ให้การรักษาต่ออีก 6 เดือน ควรตรวจร่างกาย และตรวจเชื้อ
อย่างน้อยปีละครั้ง เป็นเวลา 3 ปี
2. ประเภทเชื้อมาก ได้แก่ โรคเรื้อนชนิดก้ำกึ่ง, ชนิดก้ำกึ่ง-เลโพรมาตัส และชนิดเลโพรมาตัส
ให้ไรแฟมพิซิน (ย4.14) 600 มก. (เด็ก 10 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) ร่วมกับโคลฟาซิมีน 300 มก.
(เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 100 มก., 6-14 ปี 150-200 มก. และตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 300 มก.) เดือนละครั้ง
และให้แดปโซน 100 มก. (เด็ก 1-2 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) ร่วมกับโคลฟาซิมีน 50 มก. (เด็ก 1
มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) วันละครั้ง ทุกวัน อย่างน้อย 2 ปี (ได้ยาเดือนละครั้ง 24 ครั้ง)
จนกว่าตรวจไม่พบเชื้อ และอาการไม่กำเริบ ควรตรวจร่างกาย และตรวจเชื้ออย่างน้อย ปีละครั้ง เป็นเวลา
5 ปี
สำหรับ แดปโซน หรือดีดีเอส อาจทำให้เกิดอาการแพ้เป็นผื่นคัน ตับอักเสบ หรือเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ
(agranulocytosis)
ในผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ จี-6-พีดี อาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก
นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดอาการเห่อ
(lepra reaction) ทำให้มีผื่นตุ่มขึ้น มีไข้ ปวดตามข้อตามกระดูก
และปวดประสาท ถ้าสงสัยมีผลข้างเคียงจากยา ควรรีบหยุดยาและกลับไปพบแพทย์ที่รักษาโดยเร็ว
ข้อแนะนำ
1. โรคเรื้อนเป็นโรคที่มีทางรักษาให้หายขาดได้ และถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
จะสามารถป้องกันมิให้เกิดความพิการได้
2. ผู้ป่วยควรกินยาตามแพทย์สั่งเป็นประจำ อย่าหยุดยาเองจนกว่าแพทย์จะบอกให้เลิก
3. ถ้ามีอาการชาของมือเท้า ควรระวังอย่าถูกของร้อน (เช่น บุหรี่ เตาไฟ น้ำร้อน) หรือของมีคม
ควรใช้ผ้าพันมือเวลาทำงานและสวมรองเท้าเวลาออกนอกบ้าน
ถ้ามีบาดแผลเกิดขึ้น ควรรีบหาหมอโดยเร็ว อย่าปล่อยให้ลุกลามจนพิการ
4. ผู้ป่วยควรนอนแยกต่างหากจากคนอื่น และอย่าใช้เสื้อผ้า และของใช้ร่วมกับผู้อื่น
5. ควรอธิบายให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ ความเข้าใจต่อโรคนี้อย่างถูกต้อง และแก้ไขความเชื่อผิด ๆ
เช่น
- โรคเรื้อนไม่ใช่โรคกรรมพันธุ์ที่ติดไปชั่วลูกชั่วหลาน แต่เป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อได้ยาก
ถ้ามีพ่อหรือแม่
เป็นโรคเรื้อน หากแยกลูกอย่าให้ใกล้ชิดด้วยจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ ลูกก็จะไม่เป็นโรคนี้
- โรคเรื้อนไม่ได้ติดจากสุนัขขี้เรื้อน ไม่ได้เกิดจากการร่วมประเวณีกับผู้หญิงที่มีประจำเดือน
ไม่ติดต่อทางอาหารและน้ำ หรือเกิดจากการกินของแสลง เช่น หูฉลาม เป็ด ห่าน เป็นต้น
6. ถึงแม้จะรักษาให้พ้นระยะติดต่อ (เชื้อในร่างกายหมดไป) แต่ความพิการที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
มักจะเป็นอย่างถาวร แพทย์อาจแก้ไขด้วยศัลยกรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางกายภาพบำบัดต่าง ๆ
การป้องกัน
การป้องกัน สามารถทำได้ดังนี้
1. อย่าอยู่ใกล้ชิดหรือคลุกคลีกับผู้ป่วยระยะติดต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีเด็กอยู่ในบ้านเดียวกับผู้ป่วย
ควรแยกเด็กออกต่างหาก อย่าให้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย จนพ้นระยะติดโรค
(ตรวจไม่พบเชื้อบนผิวหนัง
ของผู้ป่วย)
2. อย่าใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และของใช้ร่วมกับผู้ป่วย
3. หมั่นตรวจดูอาการทางผิวหนังของสมาชิกทุกคนในครอครัวของผู้ป่วย ถ้ามีอาการน่าสงสัย
ควรรีบไป
ตรวจที่โรงพยาบาลศูนย์โรคเรื้อนเขต


ThaiL@bOnLine - Crystal Diagnoatics Co.,Ltd.
Email : vichai-cd@usa.net
|