<%@LANGUAGE="JAVASCRIPT" CODEPAGE="1252"%> CALCIUM
   

 

แหล่งที่มาของข้อมูล

หน้าแรก

วิตามิน

เกลือแร่

เกี่ยวกับเรา

 


เกลือแร่
เกลือแร่หลัก

กำมะถัน

คลอรีน

แคลเซียม

โคบอลต์

ซิลิคอน

โซเดียม

โปตัสเซียม

ฟอสฟอรัส

แมกนีเซียม

แมงกานีส

เหล็ก

ไอโอดีน

เกลือแร่ส่วนน้อย

โครเมียม

ซีลีเนียม

ทองแดง

นิกเกิล

โบรมีน

โบรอน

ฟลูออรีน

โมลิบดินัม

วานาเดียม

สตรอนเทียม

สังกะสี

อะลูมิเนียม

 

แคลเซียม
(CALCIUM)

 

 

เนื้อหาโดยย่อ    แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่พบมากในร่างกาย ส่วนใหญ่ถูกเก็บไว้ในกระดูก ฟัน เล็บและอื่นๆ แคลเซียมเป็นเกลือแร่ขี้เหงา คือไม่ชอบทำงานตัวเดียว เพื่อนรักของแคลเซียมคือ ฟอสฟอรัส จะพบว่ามีแคลเซียม 5 ส่วน ต่อ ฟอสฟอรัสถึง 2 ส่วนในกระดูก และนอกจากนี้ในการที่แคลเซียมจะทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ แคลเซียมต้องทำงานควบคู่กันกับแมกนีเซียม วิตามินเอ ซี ดี อี และแน่นอนทีเดียว ฟอสฟอรัสจะขาดไม่ได้ ( วิตามินเอ และซีเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดูดซึมของแคลเซียม ) นมและผลิตภัณฑ์ของนมเป็นแหล่งแคลเซียมที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะนมวัว กระดูกต่างๆก็เป็นแหล่งแคลเซียมเช่นกันโดยเฉพาะกระดูกปลาที่สามารถเคี้ยวกลืนได้ เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาเล็กปลาน้อยของไทย เช่น ปลารากกล้วย ปลาซิว เป็นต้น ความต้องการของแคลเซียมเพิ่มขึ้นตามวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน ประโยชน์ของแคลเซียม ในร่างกายเกือบทั้งหมดจะสะสมในกระดูกและฟัน ซึ่งเป็นที่ที่มันไปช่วยทำให้เกิดความแข็งแรง อีกทั้งจะมีปริมาณแคลเซียมจำนวนน้อยๆ ที่อยู่ในกระแสเลือดที่จะมีส่วนช่วยในการสร้างฮอร์โมนและเอนไซม์ต่างๆ เพื่อให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ และแคลเซียมเป็นตัวหลักในการนำสัญญาณระหว่างเซลประสาทให้สื่อสารกันได้เป็นปกติ การขาดแคลเซียมทำให้เกิดอาการ เหล่านี้ เป็นตะคิว ชา เกิดภาวะกระดูกพรุน ฟันบางหากทานมากเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมทำงานมากเกินไป แข็งเกร็งจนไม่สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ คนไข้จะตายทันที เพราะหัวใจวาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นโรคหัวใจมาก่อน นอกจากนี้ยังมีอาการทางจิต ความคิดสับสน เก็บกด และในที่สุดจะปรากฏอาการทางจิต ดังนั้นแม้ว่าท่านจะอยู่ในวัยใดก็ตาม ต้องรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แม้เพียงวันละ 15-20 นาที จะทำให้ท่านมีโครงสร้างของร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนได้นานเท่านาน "รับประทานแคลเซียมทุกวันกระดูกและฟันจะแข็งแรง"
 
เนื้อหา   

  • ข้อมูลทั่วไป
  • ประโยชน์ต่อร่างกาย
  • แหล่งที่พบ
  • ปริมาณที่แนะนำ
  • ผลของการขาด
  • ผลของการได้รับมากไป
  • ข้อมูลอื่นๆ
 
 
กลับด้านบน
Copyright © All rights reserved.