<%@LANGUAGE="JAVASCRIPT" CODEPAGE="1252"%> SODIUM
   

 

แหล่งที่มาของข้อมูล

หน้าแรก

วิตามิน

เกลือแร่

เกี่ยวกับเรา

 


เกลือแร่
เกลือแร่หลัก

กำมะถัน

คลอรีน

แคลเซียม

โคบอลต์

ซิลิคอน

โซเดียม

โปตัสเซียม

ฟอสฟอรัส

แมกนีเซียม

แมงกานีส

เหล็ก

ไอโอดีน

เกลือแร่ส่วนน้อย

โครเมียม

ซีลีเนียม

ทองแดง

นิกเกิล

โบรมีน

โบรอน

ฟลูออรีน

โมลิบดินัม

วานาเดียม

สตรอนเทียม

สังกะสี

อะลูมิเนียม

 

โซเดียม
(SODIUM)

 

 

เนื้อหาโดยย่อ    โซเดียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นทำงานร่วมกับโปตัสเซียม และคลอไรด์ ที่ของเหลวภายนอกเซลล์ เพื่อควบคุมดุลยภาพของแรงออสโมติค และปริมาตรของของเหลว ไตทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของโซเดียมในเลือดโดยมีอัลโดสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนจากต่อมแอดรีนัลเป็นตัวควบคุมอีกตัวหนึ่ง โซเดียมที่มากเกินไปจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ การขาดโซเดียมไม่ค่อยพบ เนื่องจากอาหารส่วนมากจะมีโซเดียม และเกลือแกงที่ใส่ลงไปในอาหารอีกด้วย การมีเหงื่อออกมากเกินไป ท้องร่วง หรือการใช้ยาขับปัสสาวะเป็นเวลานานๆ อาจทำให้โซเดียมในร่างกายลดน้อยลง ทำให้เกิดอาการขาดโซเดียมได้ อาจแสดงอาการดังนี้ คือคลื่นไส้ กล้ามเนื้อไม่มีแรง เหน็บ หรือ ตะคิว ปวดหัว โรคทางจิต อาจเกิดภาวะ ความดันเลือดต่ำ ปริมาณเลือดน้อย ระบบทางเดินหายใจทำงานล้มเหลว
การมีโซเดียมมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งพบในคนที่สูญเสียน้ำมาก หรือได้รับน้ำในปริมาณที่จำกัด และในคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับไตทำงานไม่ปรกติ ( nephrotic syndrome ) จึงทำให้มีการคั่งของโซเดียมความผิดปรกติที่พบแสดงอาการดังนี้คือ ร่างกายอยู่ในสภาวะบวมน้ำ อาจจะแสดงลักษณะรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา ระดับเกลือแร่ในเลือดสูงเกินไปจะทำให้เลือดแข็งตัวได้ ซึ่งนำไปสู่ภาวะต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น เส้นเลือดในสมองตีบตัน ไตวาย หัวใจวาย และยัง สนับสนุนให้ความดันเลือดสูง โซเดียมพบมากในอาหารแทบทุกชนิด โดยเฉพาะโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือและพบมากที่สุดในอาหารทะเล ปลา และเนื้อ สาหร่ายทะเลก็เป็นแหล่งของโซเดียมที่ดี
 
เนื้อหา   

  • ข้อมูลทั่วไป
  • ประโยชน์ต่อร่างกาย
  • แหล่งที่พบ
  • ปริมาณที่แนะนำ
  • ผลของการขาด
  • ผลของการได้รับมากไป
  • ข้อมูลอื่นๆ
 
 
กลับด้านบน
Copyright © All rights reserved.