<%@LANGUAGE="JAVASCRIPT" CODEPAGE="1252"%> MANGANESE
   

 

แหล่งที่มาของข้อมูล

หน้าแรก

วิตามิน

เกลือแร่

เกี่ยวกับเรา

 


เกลือแร่
เกลือแร่หลัก

กำมะถัน

คลอรีน

แคลเซียม

โคบอลต์

ซิลิคอน

โซเดียม

โปตัสเซียม

ฟอสฟอรัส

แมกนีเซียม

แมงกานีส

เหล็ก

ไอโอดีน

เกลือแร่ส่วนน้อย

โครเมียม

ซีลีเนียม

ทองแดง

นิกเกิล

โบรมีน

โบรอน

ฟลูออรีน

โมลิบดินัม

วานาเดียม

สตรอนเทียม

สังกะสี

อะลูมิเนียม

 

แมงกานีส
(MANGANESE)

 

 

เนื้อหาโดยย่อ    ร่างกายจะขาดไม่ได้จะพบมากที่สุดในโครงกระดูก ตับ ตับอ่อน หัวใจและต่อมพิทูอิทารี่ มีคุณสมบัติเป็นด่าง แมงกานีสส่วนใหญ่จะสูญเสียไประหว่างกระบวนการปรุงอาหาร และส่วนเกินจะออกผ่านทางน้ำดีแล้วจะออกทางอุจจาระ หน้าที่ของแมงกานีสควบคุมการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด , ช่วยในการสังเคราะห์ กรดไขมัน และคอเลสเตอรอล , ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง และกระดูกพร้อมทั้งรักษาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ , ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ให้ทำงานตามปกติและช่วยขับฮอร์โมนเพศ , ควบคุมสุขภาพ และการทำงานของสมองระบบประสาท และระบบกล้ามเนื้อให้มีประสิทธิ การสั่งงาน และมีความสัมพันธ์กัน , ช่วยการทำงานของอินซูลิน , เป็นตัวสำคัญที่ช่วยในการสังเคราะห์ทางเคมีของต่อมไทรอยด์ขับไทรอกซิน , กระตุ้นให้ตับเก็บน้ำตาลในรูปของ Glycogen , ช่วยในการใช้โคลีน,มีความสำคัญในการผลิตน้ำนม และการสร้างยูเรียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัสสาวะ ถ้าขาดแมงกานีสทำให้การเจริญเติบโตช้า แคระแกร็น การเผาผลาญน้ำตาลตลอดถึงการเก็บไม่ดี ทำให้เป็นเบาหวานได้ ระบบการย่อยไม่ปกติ กล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กับประสาท ไม่แข็งแรง อัมพาต ชัก ตาบอด และอาจทำให้เด็กหูหนวกได้ เวียนศีรษะ มีเสียงในหู และหูหนวกในผู้ใหญ่ สามารถพบในอาหารทะเล หอยนางรม ตับสัตว์ ไข่แดง ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวไรน์ ข้าวเจ้า แห้ว แครอท หัวปลี ถั่วลิสง เมล็ดอัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน มะพร้าว คะน้า กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กล้วย สับปะรด องุ่น มะกอก ส้ม เชอรี่ แอปเปิ้ล อะโวคาโด แอพริคอท และผลไม้เปลือกแข็ง เช่น มะตูม มะขวิด กระจับ เป็นต้นถ้าขาดแมงกานีส จะนำไปสู่อัมพาต ตาบอด หูหนวก และชักในทารก สำหรับผู้ใหญ่จะปรากฎการเวียนศีรษะ และไม่สามารถได้ยินเสียง ถ้าได้รับแมงกานีสในปริมาณที่มากจะมีผลทำให้ปริมาณของเหล็กที่ถูกเก็บไว้ลดลง และการใช้เหล็กลดลงด้วย เมื่อแมงกานีสเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเป็นจำนวนมากจะไปทำลายระบบประสาททำให้เกิดอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะกล้ามเนื้อไม่มีแรง เบื่ออาหารไม่สนใจในสภาพสิ่งแวดล้อม ถึงแม้จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปก็ไม่สนใจไม่เสียใจไม่ดีใจ นอนไม่หลับเป็นครั้งคราว พูดน้อยลง ความรู้สึกทางเพศเสื่อมถอย ต่อมาอาการจะมากขึ้น เป็นตะคริวบ่อย ปวดตามกล้ามเนื้อบ่อยไม่ค่อยพูดจาหรือเวลาพูดจะพูดเป็นเสียงเดียว ไม่มีเสียงสูงเสียงต่ำพูดช้าและไม่ชัด เวลาหัวเราะกล้ามเนื้อเกร็งไปทั่วใบหน้า เฉื่อยชา เวลาเดินมีอาการกระตุก
ระยะสุดท้าย อาการต่าง ๆ จะรุนแรงยิ่งขึ้น ท่าเดินแกว่งไปแกว่งมา ก้าวขาสั้น ๆ เดินหัวซุนไปข้างหน้าเดินลักษณะคล้ายเป็ด หกล้มบ่อยมีการสั่นกระตุกของปลายแขนปลายขา บางรายมีอารมณ์ไม่แน่นอน บางครั้งหัวเราะ บางครั้งร้องไห้ กลืนน้ำลายลำบาก ทำให้น้ำลายยืดตลอดเวลา พูดไม่มีเสียง บางคนมีอาการอัมพาตที่ร่างกายเป็นบางส่วน
 
เนื้อหา   

  • ข้อมูลทั่วไป
  • ประโยชน์ต่อร่างกาย
  • แหล่งที่พบ
  • ปริมาณที่แนะนำ
  • ผลของการขาด
  • ผลของการได้รับมากไป
  • ข้อมูลอื่นๆ
 
 
กลับด้านบน
Copyright © All rights reserved.