|
|
 |
เนื้อหาโดยย่อ |
สารไอโอดีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งในการผลิตธัยรอยด์ฮอร์โมน Thyroxine (T4) และ Triiodotyronine (T3) ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้จะเก็บอยู่ในต่อมธัยรอยด์ ส่วนที่เหลือจะกระจายอยู่ตามกล้ามเนื้อ ผิวหนัง ขุมขน ต่อมน้ำลาย ระบบทางเดินอาหารและกระดูก ในเลือดจะมีไอโอดีนอยู่น้อยมากหน้าที่สำคัญของไอโอดีนต่อร่างกายช่วยในการทำงานและเจริญเติบโตของต่อมธัยรอยด์ ,ช่วยให้ร่างกายผลิตพลังงานได้ตามปกติ,ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและกระตุ้นอัตราการเผาผลาญ ,ไปกระตุ้นให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น,ไปเพิ่มการเคลื่อนย้ายแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากกระดูก,ช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะและควบคุมการกระจายของน้ำตามอวัยวะต่าง ๆ ,กระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนมมากขึ้น ,ควบคุมประสาท ให้มีกำลังคล่องแคล้ว กระฉับกระเฉง อาการขาดไอโอดีนเซื่องซึม เหนื่อยง่าย ความดันต่ำ ผิวหนัง และ ผมแห้ง อ้วนพี ความจำไม่ดี ร่างกายเติบโตช้า เริ่มมีอาการปัญญาอ่อน ไม่สนใจทางเพศ เด็กที่เกิดจากมารดาขาดไอโอดีน มีลักษณะโตช้า พุงโร และมีอาการบวมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นโรคคอพอกทำให้ต่อมธัยรอยด์โตขึ้นที่เห็นได้ชัดที่บริเวณคอซึ่งอาจไปกดหลอดลมทำให้ไอ สำลัก หายใจลำบากได้โดยสาเหตุอาจเกิดจากบริโภคอาหารที่มีสารนี้น้อยมาก, ร่างกายมีความต้องการไอโอดีนเพิ่มขึ้น, ไอโอดีนมีสมรรถภาพลดน้อยลงจากการบริโภคแคลเซียมมากหรือขาดวิตามินเอ, การได้รับสารที่ไปต่อต้านการทำงานของต่อมธัยรอยด์การรักษาโดยการให้ไอโอดีนหรือไม่ผ่าตัดแล้วให้กินเกลือไอโอดีนในรูปแบบต่างๆแหล่งอาหารที่ดีที่สุด ได้แก่ เกลือที่ได้จากน้ำทะเลหรือเกลือสมุทร อาหารทะเล พืชทะเลนอกจากนี้พบในสับปะรด ลูกแพร์ ส้ม แอปเปิ้ล ผักโขม กระจับ กระเทียม มันฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ ไข่แดง และเนยแข็ง แต่สำหรับผักตระกูลกะหล่ำ จะขัดขวางการใช้ไอโอดีนในร่างกาย |
|
|
|