สงเคราะห์บุตรธิดา
ปกแรก l บทนำ l
บทที่ ๑ l บทที่ ๒ l บทที่ ๓ l บทที่ ๔ l บทที่ ๕ l บทที่ ๖ l บทที่ ๗ l บทที่ ๘ l บทที่ ๙ l บทที่ ๑๐ l
บทที่ ๑๑ l บทที่ ๑๒ l บทที่ ๑๓ l บทที่ ๑๔ l บทที่ ๑๕ l บทที่ ๑๖ l บทที่ ๑๗ l บทที่ ๑๘ l บทที่ ๑๙ l บทที่ ๒๐ l
บทที่ ๒๑ l บทที่ ๒๒ l บทที่ ๒๓ l บทที่ ๒๔ l บทที่ ๒๕ l บทที่ ๒๖ l บทที่ ๒๗ l บทที่ ๒๘ l บทที่ ๒๙ l บทที่ ๓๐ l
บทที่ ๓๑ l บทที่ ๓๒ l บทที่ ๓๓ l บทที่ ๓๔ l บทที่ ๓๕ l บทที่ ๓๖ l บทที่ ๓๗ l บทที่ ๓๘ l บทที่ ๓๙ l บทที่ ๔๐ l

บทที่ ๑๒ สงเคราะห์บุตรธิดา


พ่อแม่ เมื่อให้กำเนิดบุตรธิดา คือ
ลูก ๆ ขึ้นมาแล้ว ย่อมมีความรักเป็นดุจดวงตาดวงใจ
ไม่ต้องการให้ลูกเป็นคนชั่วมีชีวิตวิบัติ
แต่ต้องการให้เป็นคนดีมีความเจริญรุ่งเรือง
ประสพผลสำเร็จในชีวิต
จึงต้องสงเคราะห์ลูก ๆ ในทุก ๆ อย่าง
ด้วยการตั้งตนให้อยู่ในหลักธรรมของศาสนา
ประพฤติในหลักธรรมนั้นเป็นตัวอย่างก่อนแล้ว
อบรมสั่งสอนลูก ๆ ด้วยหลักธรรมนั้นเช่นเดียวกัน
มีเวลาให้ความใกล้ชิดสนิทสนมกับลูก
แสดงความรักลูกทุกคนเสมอเหมือนกันเสมอต้นเสมอปลาย
พูดกับลูกด้วยคำที่สุภาพตามหลักภาษา
ให้ความคิด ชี้ให้เห็นโทษของความชั่ว
แล้วห้ามและป้องกันมิให้ลูกประพฤติชั่ว
แนะนำให้รู้จักความดี ส่งเสริมให้ปฏิบัติตนอยู่ในความดีนั้น
ขวนขวายให้ลูกได้ศึกษาเล่าเรียน เพื่อให้มีวิชาความรู้มาก ๆ
สำหรับใช้ในการประกอบอาชีพโดยไม่ลำบากในอนาคต
เมื่อลูก ๆ เติบโตเป็นผู้ใหญ่พอจะมีคู่ครองได้แล้ว
ก็ช่วยเป็นธุระจัดหาหญิงหรือชายผู้สมควร
ให้แก่ลูกชายลูกหญิง ตามความยินยอมพร้อมใจ
พร้อมกับมอบทรัพย์สมบัติให้สำหรับใช้จ่ายในการครองเรือน
แม้ด้วยเหตุเบื้องต้นเท่านี้ ก็จะเป็นเหตุให้ลูก ๆ
เกิดสำนึกถึงความดีของพ่อแม่แล้วทำตอบแทนในคุณความดีนั้น




songkran2000@chaiyo.com