ทำงานไม่ให้คั่งค้าง
ปกแรก l บทนำ l
บทที่ ๑ l บทที่ ๒ l บทที่ ๓ l บทที่ ๔ l บทที่ ๕ l บทที่ ๖ l บทที่ ๗ l บทที่ ๘ l บทที่ ๙ l บทที่ ๑๐ l
บทที่ ๑๑ l บทที่ ๑๒ l บทที่ ๑๓ l บทที่ ๑๔ l บทที่ ๑๕ l บทที่ ๑๖ l บทที่ ๑๗ l บทที่ ๑๘ l บทที่ ๑๙ l บทที่ ๒๐ l
บทที่ ๒๑ l บทที่ ๒๒ l บทที่ ๒๓ l บทที่ ๒๔ l บทที่ ๒๕ l บทที่ ๒๖ l บทที่ ๒๗ l บทที่ ๒๘ l บทที่ ๒๙ l บทที่ ๓๐ l
บทที่ ๓๑ l บทที่ ๓๒ l บทที่ ๓๓ l บทที่ ๓๔ l บทที่ ๓๕ l บทที่ ๓๖ l บทที่ ๓๗ l บทที่ ๓๘ l บทที่ ๓๙ l บทที่ ๔๐ l

บทที่ ๑๔ ทำงานไม่ให้คั่งค้าง


ในการประกอบอาชีพเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินและสิ่งของที่ต้องการ
แต่ละคนมีวิชาความรู้ใช้ประกอบอาชีพสิ่งของที่ต้องการ
แต่ละคนมีวิชาความรู้ใช้ประกอบอาชีพไม่เหมือนกัน
แต่ก็ถือว่างานในอาชีพนั้นเป็นธุระต้องทำเหมือนกัน
ผู้ใดมีธุระ แต่ทำย่อหย่อน หรือไม่ทำ
หรือปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป ด้วยอ้างว่า
เวลานี้หนาวนัก เวลานี้ร้อนนัก เวลานี้เย็นนัก
ยังไม่ถึงฤกษ์งามยามดี ย่อมพลาดจากประโยชน์ที่จะพึงได้รับ
และทำให้ธุรการงานนั้นคั่งค้าง
จนกระทั่งมากขึ้น ๆ ในวันต่อ ๆ ไป
เมื่อเห็นงานมากขึ้นก็เป็นเหตุให้ท้อแท้เบื่อหน่าย
กลายเป็นคนเกียจคร้านไป ส่วนผู้ใดมีธุระที่ต้องจัดทำ
มองเห็นประโยชน์ใหญ่อยู่ข้างหน้า
เป็นไม่เกียจคร้าน ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร
รีบลงมือทำอย่างจริงจังตามลำดับของงาน
ทำให้สมควรพอเหมาะพอดีกับเวลาในแต่ละวัน
ทำให้สำเร็จไม่คั่งค้าง อดทนต่อความหนาวความร้อน
เมื่อทำได้อย่างนี้ย่อมชื่อว่ารวบรวมทรัพย์ไว้ได้
เมื่อรวบรวมไว้ได้อย่างสม่ำเสมอ
ทรัพย์ทั้งหลายก็ย่อมเพิ่มขึ้น ๆ
เหมือนแมลงผึ้งรวบรวมน้ำหวานไว้วันละเล็กวันละน้อย
จนกลายเป็นรังใหญ่มีน้ำหวานมาก ฉะนั้น




songkran2000@chaiyo.com