แบ่งใจให้ทาน
ปกแรก l บทนำ l
บทที่ ๑ l บทที่ ๒ l บทที่ ๓ l บทที่ ๔ l บทที่ ๕ l บทที่ ๖ l บทที่ ๗ l บทที่ ๘ l บทที่ ๙ l บทที่ ๑๐ l
บทที่ ๑๑ l บทที่ ๑๒ l บทที่ ๑๓ l บทที่ ๑๔ l บทที่ ๑๕ l บทที่ ๑๖ l บทที่ ๑๗ l บทที่ ๑๘ l บทที่ ๑๙ l บทที่ ๒๐ l
บทที่ ๒๑ l บทที่ ๒๒ l บทที่ ๒๓ l บทที่ ๒๔ l บทที่ ๒๕ l บทที่ ๒๖ l บทที่ ๒๗ l บทที่ ๒๘ l บทที่ ๒๙ l บทที่ ๓๐ l
บทที่ ๓๑ l บทที่ ๓๒ l บทที่ ๓๓ l บทที่ ๓๔ l บทที่ ๓๕ l บทที่ ๓๖ l บทที่ ๓๗ l บทที่ ๓๘ l บทที่ ๓๙ l บทที่ ๔๐ l

บทที่ ๑๕ แบ่งใจให้ทาน


คำว่า ทาน แปลว่า การให้ ถือเป็นเรื่องจำเป็นของคนที่อยู่รวมกัน
ต้องมีการช่วยเหลือกัน ด้วยการแบ่งทรัพย์สิ่งของที่มีอยู่ให้แก่คนอื่นบ้าง
ตามความจำเป็น เช่น ให้อาหาร ในเวลาที่เพื่อนมนุษย์มีความอดอยากหิวโหย
ให้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ในเวลาเพื่อมนุษย์มีความขาดแคลน เช่น ในฤดูหนาว
ให้ที่พักอาศัยเป็นครั้งคราว ให้ยารักษาโรค
หรือให้การช่วยเหลือพยาบาล ในเวลาเพื่อนมนุษย์เจ็บไข้ไม่สบาย
การให้สิ่งของที่ไม่มีโทษ ในเรื่องที่เป็นประโยชน์เช่นนี้
นับว่าเป็นความถูกต้องของการให้ เพราะในเวลาก่อนจะให้ก็มีใจดี
ในขณะกำลังให้ก็มีใจเลื่อมใส ครั้นให้แล้วก็มีใจแช่มชื่นเบิกบาน
เป็นความบริบูรณ์แห่งเจตนา ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสุดท้าย
ผู้ใด แม้มิได้มีทรัพย์สิ่งของจะแบ่งให้
แต่ก็สามารถจะให้เวลาและกำลังกายกำลังใจ
ในการช่วยเหลือคนอื่นได้ และประการสุดท้ายที่สำคัญ
การบอก การแนะนำชี้แจงให้มีปัญญา เครื่องรู้ธรรม
ว่าการประพฤติอย่างนี้เป็นความดี มีคนสรรเสริญ
อย่างนี้ไม่ดี มีคนติเตียน สิ่งนี้มีโทษ ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์
สิ่งมีนี้ไม่มีโทษ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข
แนะนำให้เพื่อนมนุษย์ตั้งอยู่ในการประพฤติความดี
อย่างนี้ก็จัดเป็นทานที่ประเสริฐ




songkran2000@chaiyo.com